Knowledge Management at Hewlett-Packard


ทำไม ปี1995 Hewlett-Packard จึงประสบความสำเร็จมีรายได้มากกว่า 31พันล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตขึ้นจากปีก่อนถึง 30%

Hewlett-Packard เป็นบริษัทที่ใหญ่และประสบความสำเร็จมีรายได้มากกว่า 31พันล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตขึ้นจากปีก่อนถึง 30% บริษัทมีการแข่งขันด้านการตลาดรวมทั้งคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ตรวจและทดสอบ อุปกรณ์อิเล็คโทรนิคและเครื่องมือแพทย์ มีพนักงาน 110,000คนและมากกว่า 400 สาขาทั่วโลก HP ถูกรู้จักว่าเป็นเป็นองค์กรที่ผ่อนคลายและเปิดกว้าง พนักงานทุกคนรวมไปถึง CEO

HP เป็นองค์กรที่มีการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการ แต่ละกลุ่มธุรกิจมีความเป็นอิสระสูงมีการแบ่งปันให้ความร่วมมือกัน (sharing) ข้อมูลข่าวสาร ทรัพยากรและพนักงานระหว่างกลุ่มธุรกิจ ผู้จัดการของ HP รู้สึกว่าการกระจายอำนาจมีส่วนช่วยให้ธุรกิจมีความแข่งแกร่ง และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ แม้ว่าวัฒนธรรมจะเปิดสำหรับการแบ่งปันให้ความร่วมมือ บางกลุ่มธุรกิจยังเต็มใจที่จะลงทุนทั้งเงินและเวลา อย่างไรก็ตามสำหรับการโยกย้ายพนักงานจากกลุ่มธุรกิจหนึ่งไปยังกลุ่มธุรกิจอื่นๆใน HP ทำให้เกดการถ่ายทอดองค์ความรู้ภายในองค์กร

ในช่วงกลางปี 1995 เริ่มมีการทำ KM ในองค์กรของ HP โดยทีมงานได้ประกอบด้วย CIO, Vice President และ Manager of Information System Service and Technology (ISST) เริ่มจากนำเสนอแนวความคิดให้กลุ่มต่างใน HP ที่เริ่มทำ KM ในแบบต่างๆอยู่แล้วและกลุ่มคนที่สนใจใน KM กลุ่ม ISST ส่งเสริมให้เริ่มมีการทำ workshop ในกลุ่มที่มีการทำ reengineering หรือ กลุ่มที่มีการเปลี่ยนการบริหารในผังองค์กร โดยเริ่มมีเครือข่าย KM อย่างไม่เป็นทางการเริ่ม workshop จาก Web-based system
Workshop แรกจัดขึ้นในเดือนตุลาคม ปี1995 โดยเริ่มจากการประชุม นำเสนอวัตถุประสงค์ และกรอบการทำงาน และมีการชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมประชุมตระหนักถึง KM จากนั้น กลุ่มของ HP มากกว่า 20 site ก็เริ่มมีส่วนร่วมใน KM 
Trainer’s Trading Post
Karney ประมาณว่ามี educator หรือ trainer มากกว่า 2,000 คน กระจายอยู่ทั่วองค์กรของ HPซึ่งส่วนใหญ่จะทำงานเป็น small group และพบว่าเป็นการยากที่จะ share ความรู้ และเมื่อ 2 ปีก่อน มีการร้องเรียนจากกลุ่ม educator ว่า พวกเขาไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น Karney เริ่มงานจาก Knowledge sharing สำหรับ HP educator และเขาหวังว่าจะทำให้มีกลุ่มเพิ่มขึ้นจากการที่ไม่มีมาก่อน ทั้งกระบวนการและเครื่องมือ
มีการใช้เทคโนโลยี คือ Lotus Notes เป็นตัวขับเคลื่อนและใช้ ฐานความรู้ “Knowledge base” ที่ต่างกัน 3 รูปแบบคือ “Trainer’s Trading Post” ใช้ในการอภิปราย ข้อมูลที่เกี่ยวกับหัวข้อการอบรม“Training Library”  ใช้ในการเก็บเอกสารที่เกี่ยวกับการอบรม และ “Training Review” ในการเก็บข้อมูลการประเมินการฝึกอบรมของผู้เข้าอบรม
จากการทำ Training reviewพบว่า, educators ไม่เต็มใจที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ course material หรือการจัดหาจากภายนอกที่ไม่ดี และไม่มีการให้รางวัลตอบแทนในการมีส่วนร่วม Training Library ไม่เคยได้รับเอกสารการอบรม ดังนั้นจึงรวมกับ Trainer’s Trading Post จากนั้นTraining Library จึงได้รับเอกสารการอบรม
Knowledge base จึงเกิดขึ้นในระยะเริ่มแรก Karney ต้องใช้การให้รางวัลเป็นกลยุทธ์ในการได้มาซึ่ง Knowledge base การได้รับความร่วมมือและมีส่วนร่วมของพนักงานจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อมามีการสร้างเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญ (Building a Net Work of Expert) การจัดการองค์ความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต รวมไปถึงการจัดการในส่วนของผู้จัดจำหน่าย computer

ซึ่ง HP ได้เริ่มใช้ arguably  mixture สำหรับ knowledge and information   รวมถึงการนำ knowledge management net workมาใช้ในการ share และ transfer เพื่อให้ความรู้นั้นปรากฏออกมา    โดย HP พยายามทำให้ KM เป็นวัฒนธรรมขององค์กร ที่ทุกคนทำ KM ด้วยใจและยังรวมถึงการนำเทคนิคอื่น ๆ มาใช้   จะเห็นได้ว่าระบบสารสนเทศที่มีอยู่หลากหลายใน HP  นั้นถือเป็นสิ่งที่ดีและประสบการณ์ในการจัดการ data and information ที่มีอยู่มากมาย 

ลองมาอ่านดูใน case study นี้กันนะครับ

http://www.mccombs.utexas.edu/kman/hpcase.htm#intro

และถ้าสนใจที่จะรู้จักองค์กรของ HP มากขึ้นก็สามารถเข้าไปดูข้อมูลกันได้

http://www.hp.com/

สวัสดีครับ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1505เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2005 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท