สรุปรายงานหน้าห้องของทุกกลุ่มคะ


KM สู่การเรียนรู้ มุ่งสู่ความเป็นมืออาชีพ

1.  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์                                                                 

เป้าประสงค์โดยภาพรวม : ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและมีคุณธรรม เป็นศูนย์กลางการศึกษาและการฝึกอบรมทางวิชาการระดับสูง เป็นผู้นำในการวิจัย เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ระดับตติยภูมิ มีบทบาทในการกำหนดนโยบายระดับประเทศ เป็นผู้นำในการพัฒนาและประกันคุณภาพ                                                                                           

พันธกิจคณะแพทยศาสตร์                                                                    

1. ผลิตและพัฒนาแพทย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและบุคลากร ทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและคุณธรรมให้สอดคล้องต่อความต้องการของสังคม โดยเน้นการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง                                                                                                            

2. สร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพและมีทิศทางที่ตอบสนองต่อปัญหาของประเทศ โดยเฉพาะภาคใต้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ                                                                 

3. ให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ เพื่อสนับสนุนการผลิตแพทย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรทางการแพทย์ และเป็นศูนย์การแพทย์ระดับตติยภูมิ เพื่อเป็นแหล่งส่งต่อของผู้ป่วยที่เป็นโรคซับซ้อนในภาคใต้                                                                                             

4. ชี้นำสังคมในการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพของประชาชนและ ร่วมพัฒนาระบบบริการสุขภาพ                                                                                                                                                                     

***มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   มีการจัดทำ  KM  ขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ระหว่างกัน  ไม่ว่าจะเป็น  หมอ  พยาบาล  นักศึกษาแพทย์  และผู้ที่สนใจในความรู้ต่าง ๆ   โดยมีการจัดทำกระบวนการต่าง ๆ  อาทิเช่น  CoP , Web Board ,  Web  Link   ฯลฯ  และกิจกรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับงาน  อาชีพ  และการศึกษาหาความรู้ของหมอ  และพยาบาล ***


2. บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)                                                                    อุดมการณ์   ตั้งมั่นในความเป็นธรรม ”  “ มุ่งมั่นความในความเป็นเลิศ ”  “ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน ”   “ ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม ”                                                        Strategies  กลยุทธ์ของเครือซีเมนต์ไทย  คือ                                

Merit System : ระบบคุณธรรม                                                            

Fairness : มีความเป็นธรรม  มีเหตุผล                                                      

Best recruit and retain : มีกระบวนการในการสรรหา                                                         

Training and Development
        องค์กรแห่งการเรียนรู้      บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นว่า........ พนักงานมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อองค์กร  ให้ความสำคัญกับการดูแล เอาใจใส่สุขภาพอนามัย และความปลอดภัยในการทำงานส่งเสริมให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน   พัฒนาความรู้ความเข้าใจ และสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย  และพนักงานสามารถปฏิบัติงานโดยปลอดอุบัติเหตุจากการทำงาน เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้  เน้นการสอน    จากการทำโครงงาน (Project Based Learning)   และเชื่อมั่นว่า พนักงานเกิดการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง   ส่งผลให้บริษัทฯ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)


3. GotoKnow.org                                                                      

     บล็อก   คือ    เว็บไซต์เพื่อการบันทึกไดอารี่   และ   GotoKnow.org  ให้บริการระบบบล็อก  โดยเน้นกลุ่มผู้ต้องการบันทึก   ถ่ายทอด   และ   แลกเปลี่ยน   ความรู้ ประสบการณ์ และ เทคนิคการทำงานต่างๆ  อีกทั้ง  Feed คือ ไฟล์ข้อมูลประเภท XML มาตรฐานแบบ RSS และ Atom  และFeed บรรจุข้อมูลข่าวสารล่าสุดของเว็บไซต์    รวมถึง  PlanetMatter คือ ระบบดึงและรวบรวมไฟล์Feedเข้าไว้ด้วยกันในเว็บไซต์ศูนย์รวม ซึ่งเรียกว่า Planet Site


4. True                                                                   

      ทรู คือผู้ให้บริการสื่อสารครบวงจรในประเทศไทย และเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่แข็งแกร่งที่สุดของประเทศ เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานรายใหญ่ที่สุดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเป็นผู้ที่ให้บริการบรอดแบนด์หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงรายใหญ่ที่สุดของประเทศ รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตชั้นนำ


5.  ไม้เรียง  มหาวิทยาลัยชีวิต                                                           

คนไทยเกือบทั้งประเทศมารู้จัก "ประยงค์ รณรงค์"    เอาเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา  เมื่อมีการประกาศว่าเขาคือผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ  สาขาผู้นำชุมชนปี 2547 และชื่อ "ไม้เรียง" ก็เป็นที่รู้จักในฐานะชุมชนแห่งการพึ่งตนเอง ไม้เรียง  คือตำบลหนึ่งในอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช   ไม้เรียงวันนี้   มี "ทุนทางปัญญา" เพราะมีการเรียนรู้  มีการคิดแบบยุทธวิธี  มีการวางแผนในการทำงาน  มีการ share  ความรู้กันระหว่างผู้ทำงาน                

 ชุมชนเข้มแข็ง  ไม้เรียง                                                                                       ๑. ชุมชนเข้มแข็ง >เป็นชุมชนเรียนรู้                                                                                                                        ๒. ชุมชนเข้มแข็งตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ                                                                     ๓. ชุมชนเข้มแข็งจัดการ "ทุน" ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ                                          ๔. ชุมชนเข้มแข็งมีธรรมภิบาล มีการบริหารจัดการที่ดีโปร่งใส ตรวจสอบได้ กระจายอำนาจ   

    
6.  กรมส่งเสริมการเกษตร                                                          

      กรมส่งเสริมการเกษตรได้ยึดเอาพันธกิจหลักของกรม คือ ต้องการให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน  เป็น เป้าหมาย / หัวปลา  ของการจัดการความรู้  พร้อมทั้งยืนยันในบทบาทของกรมที่เป็น  คุณอำนวย  ส่งเสริมเกษตรกร  คุณกิจ  ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างแท้จริง      กรมส่งเสรมการเกษตรได้กำหนดวิธีการดำเนินงานเป็น  3  ขั้นตอนหลัก  คือ   1.ขั้นตอนการเตรียมการ     2.ขั้นตอนการดำเนินงาน       3.ขั้นตอนการติดตามและประเมินผล                                        การจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร  ได้กำหนดวิธีการดำเนินงานออกเป็น         -ขั้นตอนการเตรียมการ  เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะต้องสร้างความเข้าใจในทุกระดับเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ                                                               

-ขั้นตอนการดำเนินการ  จะดำเนินการตามแนวการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร  มีการจัดทำเป้าหมาย  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน                                                                     

-ขั้นตอนการติดตามและประเมินผล  จะติดตามผลว่า การดเนินงานนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่อย่างไร  เพื่อจะได้นำมาแก้ไข  ปรับปรุง  และวางแผนขยายผล


7.   7 - Eleven                                                                   

         มีการจัดทำ KA  โดยจัดทำแผนพัฒนาองค์กร  ซึ่งมีการเรียนรู้ร่วมกันทั่วทั้งองค์กร   และนำเอากิจกรรมต่าง ๆ มาแบ่งปันความรู้กันภายในองค์กร  รวมถึงการแบ่งการสื่อสารแบบ 2  way  communication  รวมถึงการนำเอา tacit  มาโชว์เป็น  Explicit  และมีการใช้แบบจำลอง  ที่เริ่มจาก   Input  ->> Process ->> Output


8. บริษัทAIS                                                                    

       มีการสร้างศูนย์กลางของผู้เชี่ยวชาญ  ซึ่งการสร้างวิทยากรภายในนั้นจะเป็นการถ่ายทอดความรู้ประเภท Tatic ที่วิทยากรมีไปเป็น Tatic ของผู้เรียนอีกหลายๆคน  โดยการสร้างวิทยากรภายใน  มีขั้นตอนดังนี้        กำหนดขอบเขต          กำหนดชื่อหลักสูตร    แต่งตั้งคณะทำงาน  ทดสอบสอน  และติดตามผล


9. Toyota                                                                 

         วัฒนธรรมการเรียนรู้ขององคกรนี้เรียกวToyota Way  และไม่เรียกว่า KM   ไม่เอ่ยคำว่า "ความรู้"  ทุกคนในบริษัทจะต้องขึ้นใจกับคำว่า “The Toyota Way” พัฒนาตนเองอยูตลอดเวลาและอยางตอเนื่อง  เรียกวKaizen  อีกทั้งในการปฏิบัติงานก็มีระบบการใช้ความรู้ในการวิเคราะห์ในแทบทุกกระบวนการ ซึ่งเรียกว่า 5 Whys   และการแลกเปลี่ยน tacit knowledge ระหว่างกันในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่างๆ จะยึดหลัก Genchi-Genbutsu (Go and See)  รวมถึง "การเรียนรู้" ของโตโยต้าเน้นที่ OJT - on the job training   การนำเสนอ "ความรู้" ระดับบุคคล  ได้แก่  Suggestion System  และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำวัน   เรียกว่า Morning Talk


10.  กรมอนามัย                                                                  

     บทบาทหน้าที่  เป็นแหล่งรวบรวมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และสืบทอดความรู้ ของระบบการจัดการความรู้ของกรมอนามัย โดยเป็นแหล่งทั้งส่วนสนับสนุน และแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนแนวปฏิบัติด้านการส่งเสริมสุขภาพ และการจัดการทั้งภายในและภายนอกกรมอนามัย  โดยใช้เครื่องมือ คือ  Web Board  ,   KM Forum   ,   Sharing of Knowledge 


11.  พิจิตรแข็งแรง                                                         

     KM เพื่อเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ จ. พิจิตร    ชมรมเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดสารพิษ เป็นองค์กรที่มี  เป้าหมายคือ การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองของเกษตรกร    มีพื้นที่การทำงานในจังหวัดพิจิตร   โดยมีวัตถุประสงค์การดำเนินงาน  คือ  สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง  ,  สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ผู้มีน้ำใจ  ,  เป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรปลอดสารพิษ ,  ส่งเสริมภูมิปัญญาและพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน , ส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ  ,  พัฒนาและส่งเสริมธุรกิจชุมชน ,  ผลักดันนโยบายที่สอดคล้องกับเป้าหมายสู่ภาครัฐ


12.  โรงพยาบาลศิริราช                                                        

แผนปฏิบัติการโครงการ การจัดการความรู้ในองค์กร ”                           

1. Transition and Behavior Management           

2. Communication                                  

3. Process and tools                                        

4. Learning                                                  

5. Measurements                        

6. Recognition  and  Reward          

ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการจัดการความรู้                                        

1.ผู้บริหารต้องเข้าใจอย่างดีถึงประโยชน์ของการนำการจัดการความรู้มาใช้ ในองค์กรที่    

2. มอบหมายผู้รับผิดชอบอย่างเต็มเวลา                                                                         3. มีการพัฒนา Facilitator เข้าใจแนวคิดและมีทักษะเพียงพอ                                                 

4. กำหนด Milestone ให้ชัดเจน เพื่อให้มีการติดตามและประเมินผล                                  

5. สื่อสารทำความเข้าใจกับคนในองค์กรให้เห็นความสำคัญของการจัดการความรู้    

6. จัดให้มีช่องทางของการโอนความรู้ที่หลากหลาย                                         

7.กระตุ้นให้มีการจัดตั้ง  CoP  ทั้งในแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการทั่วทั้งองค์กร


13. สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ( สคส. )                                                                   การจัดการ “ความรู้เด่นชัด” จะเน้นไปที่การเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบ และตีความได้ เมื่อนำไปใช้แล้วเกิดความรู้ใหม่ ก็นำมาสรุปไว้ เพื่อใช้อ้างอิง หรือให้ผู้อื่นเข้าถึงได้ต่อไป  ส่วนการจัดการ “ความรู้ซ่อนเร้น” นั้นจะเน้นไปที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่อยู่ในตัวผู้ปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ ที่แต่ละคนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ต่อไป
                ในชีวิตจริง ความรู้ ๒ ประเภทนี้จะเปลี่ยนสถานภาพ สลับปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา บางครั้ง Tacit ก็ออกมาเป็น Explicit และบางครั้ง Explicit ก็เปลี่ยนไปเป็น Tacit                                       “โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี ๓ ส่วน คือ
๑. ส่วน “หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์  โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “คุณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “คุณเอื้อ” และ “คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ
๒. ส่วน “ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   ซึ่ง “คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
๓. ส่วน “หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ
 

  
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15032เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2006 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท