ความเชื่อมโยง การจัดทำคำของบประมาณ และ การประกันคุณภาพ


แผนงาน งบประมาณ และ ประกันคุณภาพ

เอกสารเรื่องการใช้ระบบ e-Budgeting ในการจัดการงบประมาณ 2550 ซึ่งมีข้อมูลหลายอย่างที่น่าใจ และ ถูกเชื่อมโยงเข้ากับระบบประกันคุณภาพอย่างไร

ก่อนการจัดทำงบประมาณ ให้มีการทบทวนงบประมาณ 49 เพื่อนำมาจัดทำงบประมาณ 50 สิ่งที่ต้องทบทวนคือ

   1. ภารกิจตามยุทธศาสตร์ โดยทบทวน เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ผลผลิต /โครงการ และ ตัวชี้วัด

   2. ทบทวนภารกิจพื้นฐาน ลักษณะเป็นงานประจำ โดยทบทวนภารกิจพื้นฐานให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความสามารถในการดำเนินงาน เพื่อปรับลด ชะลอ หรือ ยกเลิกผลผลิต กิจกรรมที่หมดความจำเป็น หรือ มีความสำคัญระดับรอง และเลือกดำเนินการเฉพาะที่เกิดประโยชน์คุ้มค่าต่อผู้รับบริการ  

    3. การทบทวนค่าใช้จ่าย ได้แก่การทบทวนปรับลดรายจ่ายประจำที่สามารถประหยัดได้ รายจ่ายก่อหนี้ผูกพัน ทบทวนค่าใช้จ่ายต่อหน่วยที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าหน่วยงานอื่นที่ดำเนินงานในลักษณะเดียวกัน หรือ ที่สามารถลดต้นทุนได้

    ซึ่งวงจรการประกันคุณภาพ PDCA ในที่นี้ก็คือ C นั่นเอง ลองเชื่อมโยงเข้ากับระบบประกันคุณภาพของ มก. จะเห็นว่าเรามีดัชนีประเมิน เรื่องการพัฒนาปรับปรุงระบบงาน (สำหรับคณะวิชา จะไม่มีการบังคับให้ทำ ด้วยเห็นว่าภารกิจของคณะวิชาจัดเจน เลยไม่ต้องมีการปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะถูกต้อง เพราะงานต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง)

     ในทางปฏิบัติยังไม่มีการตรวจสอบทั้งข้อสองและข้อสาม แต่สิ่งที่พบเห็นในระหว่างการประเมินคุณภาพ คือ หน่วยงานขาดบุคลากรที่เพียงพอในการดำเนินงานตามภารกิจ (แต่ไม่เห็นหลักฐานในการวิเคราะห์ที่เพียงพอ)

     ระบบประกันคุณภาพสำหรับสำนัก สถาบัน เริ่มให้มีการประเมินภาระงานเป็นคนวัน (ManDays) เพื่อใช้ในการประเมินอัตรากำลัง (เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินแผนงาน) มีการกำหนดให้มีการคำนวณต้นทุนต่อหน่วย

     ซึ่งหลายหน่วยงานมีปัญหาในการคำนวณต้นทุนต่อหน่วย ถ้าดูจากข้อกำหนดของการจัดทำงบประมาณการคำนวณต้นทุนจะเป็นต้นทุนต่อผลผลิต หรือ ต้นทุนของกิจกรรม

     สำหรับคณะวิชาแล้ว ท่านคณบดีต้องการทราบต้นทุนต่อการผลิตบัณฑิต/คน ซึ่งรวมค่าใช้จ่าย ๆ ต่างในส่วนของภารกิจการจัดการเรียนการสอน

     หน่วยงานย่อย ๆ ที่เป็นหน่วยงานสนับสนุน คงต้องคำนวณต้นทุนต่อกิจกรรม ซึ่งต้นทุนต่อกิจกรรมจะขึ้นอยู่กับปริมาณของนิสิต ถ้าเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพัฒนานิสิตโดยตรง อาจคิดเป็นต้นทุนต่อการพัฒนานิสิต และข้อมูลเหล่านี้ควรเป็นเป็นรายปี เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ

      การทบทวนภารกิจพื้นฐาน มีหลายหน่วยงานที่ปริมาณไม่มากเพียงพอในการจ้างบุคลากรหนึ่งคนเพื่อมาทำหน้าที่บางอย่าง กลยุทธ์ในการรวมบริหารประสานภารกิจจะนำมาใช้ได้หรือไม่

      กลยุทธ์ดังกล่าวจะมีข้อจำกัดในเรื่องที่อยู่ขององค์กรหรือไม่ เพราะถ้าสถานที่ขององค์กรกระจาย การประสานภารกิจจะมีปัญหาหรือไม่ หน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอนดูเหมือนจะมีปัญหาใหญ่เช่นกัน แต่ก็เป็นวิธีหนึ่งในการลดต้นทุน

     สำหรับคณะวิชา การรวมภาคบางภาค จะเป็นการลดบุคลากรสายสนับสนุน หรือ ใช้เป็นการใช้บุคลากรร่วมกันในการจัดการภารกิจใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้หรือไม่

(เขียนขึ้นระหว่างฟัง KM และ Lotus Note Demo)

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15019เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2006 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท