จะรู้ได้อย่างไรว่าใครทำได้ดีกว่ากัน


Knowledge sharing ของจริง ต้องเกิดจากการที่ผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติฝนเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าที่อื่น เป็นที่ยอมรับแล้วจึงนำเอามาเล่าให้ที่อื่นๆฟังเพื่อถ่ายทอดวิธีการปฏิบัติที่ดีนั้น

              จากการดูงานของนักศึกษาปริญญาโท บริหารการพยาบาลของมหาวิทยาลัยบูรพาเมื่อวานนี้ มีคำถามหนึ่งที่น่าสนใจหลังจากได้ฟังผมเล่าเรื่องการจัดการความรู้จบแล้ว พี่เขาถามว่าถ้าจะทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่หมอบอกว่าใช้ดีแล้วจึงบอกเพื่อน จะรู้ได้อย่างไรว่าของใครดีกว่ากัน เช่นถ้าอยู่ศัลยกรรมหญิง จะแลกเปลี่ยนกับศัลยกรรมชาย เราจะรู้และเชื่อได้อย่างไรว่า การทำงานของแผนกไหนจะดีกว่ากัน ใครจะฟังจากใคร ใครจะเล่าให้ฟัง แล้วจะเชื่อถือได้อย่างไรว่าดีจริง

               ผมเชื่อว่า คำถามนี้ คงเกิดขึ้นในใจของใครๆหลายๆคน เวลาไปทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น เมื่อฟังเสร็จแล้วได้ความรู้ใหม่จากผู้เล่านั้น จะกล้าเอาไปประยุกต์ใช้หรือไม่ จะเชื่อได้แค่ไหน สิ่งเหล่านี้จะเกิดได้มากโดยเฉพาะกลุ่มวิชาชีพต่างๆที่ต้องให้บริการผู้ป่วยเพราะหากเชื่อแล้วปฏิบัติตาม หากเกิดผลเสียขึ้นมาใครจะรับผิดชอบ เมื่อเกิดความไม่เชื่อใจแล้วการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็จะเกิดยากขึ้น ในกลุ่มเหล่านี้ข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจนจะมีประโยชน์มาก นั่นคือต้องทำเป็นEvidence based

                ผมยกตัวอย่างง่ายๆ เมื่อ 4 ปีก่อนตอนที่โรงพยาบาลบ้านตาก ยังไม่ได้รับการรับรองคุณภาพ เวลาผมพูดถึงเรื่อง 10 ขั้นตอนสู่โรงพยาบาลคุณภาพหรือตัวแบบบ้านคุณภาพสร้างสุข การพัฒนาคุณภาพตามแนวทางของเราเอง ก็ไม่มีคนเชื่อถือ แม้แต่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบ้านตากบางส่วนยังไม่เชื่อเลย ยังบอกว่าหมอพิเชฐพาไปผิดทางแล้ว แต่พอ 2 ปีที่ผ่านมา เวลาเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง ส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าบูรณาการได้ดีมาก มีคนเชิญไปบรรยายแล้วก็บอกว่าดูง่ายดีจัง ไม่ยุ่งยาก ที่คนเชื่อถือเพราะว่าได้ใบรับรองมาการันตีให้ คนถึงเชื่อ

               ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็เช่นกัน หากจะให้ได้รับการยอมรับกันจะต้องมีการวัดผลลัพธ์ที่ชัดเจนว่าผลลัพธ์ของหน่วยไหนเป็นอย่างไร หน่วยไหนมีผลลัพธ์ที่ดีกว่า นั่นคือต้องมีการเปรียบเทียบมาตรฐานหรือการทำBenchmarking กันก่อน โดยการตกลงกันระหว่างหน่วยงานที่จะมาแลกเปลี่ยนกันว่าจะเปรียบเทียบกันเรื่องอะไรก็เป็นการกำหนดประเด็น หรือเรียกง่ายๆว่าทำKnowledge vision แล้วมากำหนดว่าในเรื่องหรือประเด็นนั้นๆ อะไรเป็นปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จหรือเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จ ถ้าจะให้ง่ายก็คือการทำเป็นตารางอิสรภาพ เพื่อจะได้ให้แต่ละหน่วยกลับไปประเมินตามความเป็นจริง ตามข้อมุลที่มีอยู่จริง ไม่ใช่นั่งนึกเอาเอง การมีข้อมูลอยู่จริงก็คือการเป็น Evidence-based ผมคิดว่าที่เรียกว่าตารางอิสรภาพ นั้น น่าจะหมายถึงประเมินโดยหลุดพ้นจากพันธนากาลทั้งปวงหรือพ้นไปจากอคติ ไม่ว่าจะอคติจากรัก หลง กลัวต่างๆ คือประเมินตามสภาพความเป็นจริง ไม่เสแสร้ง

                Knowledge sharing ของจริง ต้องเกิดจากการที่ผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติฝนเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าที่อื่น เป็นที่ยอมรับแล้วจึงนำเอามาเล่าให้ที่อื่นๆฟังเพื่อถ่ายทอดวิธีการปฏิบัติที่ดีนั้น ทำนองใช้ดีจึงบอกเพื่อน

                 ยกตัวอย่างถ้าตึกศัลยกรรมชายและหญิงจะทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรุ้กัน ก็ตกลงกันว่าจะแลกเปลี่ยนกันเรื่องอะไร  เมื่อได้เรื่องแล้ว ถ้าเอาเรื่องการทำแผลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ก็มากำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จกันว่า อะไรคือปัจจัยแห่งความสำเร็จของการทำแผลผ่าตัดหรืออะไรคือตัวบ่งชี้ของการทำแผลผ่าตัดที่ดี อาจจะเป็นอัตราการไม่ติดเชื้อ อัตราการหายของแผล อัตราความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับการทำแผล เป็นต้น ถ้าตกลงได้ 3 ปัจจัยข้างต้นแล้ว ก็ให้กำหนดกันว่าถ้าจะประเมินตนเองจากคะแนน 1-5 ในแต่ละระดับจะมีความหมายอย่างไรบ้าง จึงจะได้ 1 ได้ 5 หลังจากนั้นให้ทั้งสองหน่วย ไปประเมินตามเกณฑ์นั้น(และขอให้ซื่อตรงตามจริง) เมื่อได้ผลประเมินแล้วก็เอาผลมาเทียบกัน หากของใครผลลัพธ์ดีกว่าก็จะได้เป็นผู้เล่าก่อนเพราะถือว่าเป็นBest practiceกว่า

                 พอตอนที่จะแลกกันก็ให้จัดเวที มีเวลา แต่อาจไม่เป็นทางการก็ได้ ล้อมวงคุยกัน ให้คนที่มีผลลัพธ์ดีกว่ามาเล่าให้ฟังในลักษณะของเรื่องเล่าเร้าพลังและแผนกที่ผลลัพธ์น้อยกว่าเป็นผู้ฟัง แต่ขณะแลกเปลี่ยนจะต้องมีการพูดคุยซักถามกันจากทั้งสองฝ่ายคือกลุ่มพร้อมให้(ผู้เล่า)และกลุ่มฝ่รู้(ผู้ฟัง) โดยควรมีทั้งผู้ปฏิบัติและหัวหน้า รวมทั้งมีคุณอำนวยหรือคุณลิขิตช่วยจดบันทึกขุมความรู้ไว้ด้วย ก่อนจะจบทั้งสองกลุ่มต้องมาสรุปประเด็นกันว่าสุด้ทายเราจะได้วิธีการทำแผลอย่างไร เขียนเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างไร แล้วต่างฝ่ายก็ตกลงกันว่าจะเอาวิธีที่ตกลงกันนี้ไปปฏิบัติในแผนกของตนเอง แล้วนัดมาเปรียบเทียบแลกเปลี่ยนกันอีก

คำสำคัญ (Tags): #kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 14999เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2006 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท