อยากไปเที่ยว


ไปนครวัด นครธม กันเถอะ
ใครเคยไปเล่าสู่กันฟังบ้างสิ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14997เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2006 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...เรากำลังเดินทางไปพิสูจน์ความยิ่งใหญ่ตระการตาน่าอัศจรรย์ใจของศาสนสถานโบราณอายุนับ พันปีซึ่งอยู่ ณ จังหวัดเสียมเรียบ (Siem Reap) หรือที่คนไทยเรียกว่า "เสียมราฐ" ในประเทศกัมพูชา ที่เสียมเรียบนี้มีปราสาทหินใหญ่น้อยอยู่ประมาณ๒๐๐แห่งสาเหตุที่มีปราสาทหินมากขนาดนั้นก็เพราะ ที่เสียมเรียบนี้เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงเก่าของอาณาจักรขอมโบราณหลายสมัย ได้แก่ เมืองพระนคร (ยโศธรปุระ) และเมืองพระนครหลวง (นครธม) ในบรรดาปราสาทหินน้อยใหญ่เหล่านี้มีปราสาทหิน ที่สำคัญสองแห่งที่มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วโลก แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจากนานาประเทศเดินทางมาเที่ยวชมมากมาย จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดของกัมพูชา นั่นคือ  ปราสาทนครวัด (Angkor Wat) ซึ่งได้รับการจัดอันดับให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งในเจ็ดของโลกยุคปัจจุบัน และปราสาทบายน (Bayon) ขอกล่าวถึงคำสามคำที่คล้ายๆกันและอาจถูกนำไปใช้ปะปนกันได้ครับคือคำว่า "Agkor", "Angkor Thom" และ "Angkor Wat" สามคำนี้หมายถึงสถานที่คนละแห่งกล่าวคือ
 "Angkor" หมายถึงเมืองพระนคร หรือยโศธรปุระสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ (ครองราชย์
ระหว่าง พ.ศ.๑๔๓๒-๑๔๕๓) โดยมีภูเขาพนมบาแค็งจุดศูนย์กลางพระองค์โปรดให้สร้างปราสาทพนมบาแค็งอยู่บนยอดเขา
                "Angkor Thom" หมายถึง เมืองพระนครหลวง หรือ นครธม (ธมแปลว่าใหญ่) สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้า
ชัยวรมันที่ ๗ (ครองราชย ์ระหว่าง พ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๕๘) โดยมีปราสาทบายน (บรรยงค์) เป็นจุดศูนย์กลาง
นครธมเป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีความยาวด้านละ ๓ กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยกำแพงสูง ๗ เมตรตั้งอยู่ภายในเมืองพระนครที่ผมกล่าวถึงข้างบนอีกที ตรงกลางกำแพงแต่ละด้านมีประตูด้านละ ๑ ประตูทั้งสี่ทิศยกเว้นทิศตะวันออกมี ๒ ประตู แต่ละประตูทำเป็นยอดรูปพรหมสี่หน้า ๓ ยอด มีรูปสลักเทวดากับอสูรกำลังฉุดลากพญานาคขนาดใหญ่อยู่สองข้างทางเข้าประตูข้างละ ๕๔ รูป

"Ankor Wat" หมายถึงปราสาทนครวัดเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ตั้งอยู่นอกเมืองนครธมไปทาง
ทิศใต้ แต่อยู่ภายในเมืองพระนคร  เทวสถานแห่งนี้สร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๖๕๖-๑๖๙๓) เพื่ออุทิศถวายพระวิษณุ (พระนารายณ) ์ดังนั้นปราสาทแห่งนี้จึงมีชื่อเดิมว่า "ปราสาทวิษณุโลก" ต่อมาภายหลังมีพระสงฆ์เข้ามาพำนักอยู่ จึงเรียกกันติดปากว่า "นครวัด"
ปราสาทนครวัดเป็นปราสาทที่ใหญ่ที่สุด สง่างามที่สุด มีการวางผังและการจัดลำดับองค์ประกอบได้อย่าง
กลมกลืนลงตัวที่สุด ถือได้ว่าเป็นพัฒนาการขั้นสูงสุดของการสร้างปราสาทหินของชาวขอมโบราณ  ความยิ่งใหญ่ของนครวัดจะเห็นได้จากคำกล่าวของอาร์โนลด์ ทอยน์บี  นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษผู้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาทั่วโลกได้กล่าวไว้เมื่อมาเห็นนครวัด ว่า "See Angkor Wat and Die" หรืออังรี มูโอต์ (Henri Mouhot) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสก็ได้เขียนบรรยายถึงนครวัดที่เขาได้ไปเห็นในปี พ.ศ. ๒๔๐๓ ไว้ในหนังสือเรื่อง "การท่องโลก" ว่า "เป็นนฤมิตกรรมทางสถาปัตย์ซึ่งไม่อาจมีสิ่งก่อสร้างอื่น ใดที่สร้างมาแล้วหรือที่จะสร้างต่อไปในโลกเสมอเหมือนได้อาจถือได้ว่าเป็นคู่แข่งของวิหารที่สร้างโดยกษัตริย์โซโลมอนผู้ยิ่งใหญ่ ..."

นครวัดเป็นปราสาทที่สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันตก (นี่คือเหตุผลที่บรรดาทัวร์นครวัดทั้งหลายมักจะพา
ไปชมนครวัดในเวลาบ่าย เพื่อให้แสงอาทิตย์ซึ่งมาจากทางทิศตะวันตกส่องกระทบตัวปราสาทได้เต็มที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายรูปนั่นเองครับ) มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างราว ๑๓๐๐ เมตร และยาวราว ๑๕๐๐ เมตร มีคูน้ำขนาดกว้าง ๑๙๐ เมตร ยาวด้านละ ๑๙๐๐ เมตร ล้อมรอบทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นด้านหน้าจะมีถนนข้ามคูน้ำกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๐๐ เมตร ทอดตัวตรงเข้าไปสู่ใจกลางปราสาท เมื่อเดินตามถนนข้ามคูน้ำเข้ามาแล้ว ก็จะพบระเบียงหินรูปสี่เหลี่ยมกว้าง ๘๐๐ เมตร ยาว ๑๐๐๐ เมตร ล้อมรอบตัวปราสาทตรงกลางเอาไว้  ที่ระเบียงด้านทิศตะวันตกนี้จะมีประตูใหญ่ ๕ ประตูซุ้มประตูทางด้านขวาประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์แปดกรขนาดใหญ่  เมื่อก้าวผ่านซุ้มประตูตรงกลางเข้ามาแล้วจะมีทางเดินใหญ่ความยาว๓๕๐เมตรตรงไปยังลานรูปกากบาท....


สองข้างทางเดินนี้จะมีสระน้ำขนาดใหญ่ยามเมื่อผิวน้ำนิ่งสนิทคุณจะเห็นเงายอดปรางค์ของปราสาทนครวัดสะท้อนลงบนพื้นน้ำได้อย่างชัดเจนทีเดียว
สุดทางเดินใหญ่นี้จึงถึงตัวปราสาทซึ่งตั้งอยู่บนฐานสูง มีระเบียงล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม ๓ ชั้นระเบียงชั้นนอกสุดกว้าง ๑๘๗ เมตร ยาว ๒๑๕ เมตร ตลอดผนังหินรอบระเบียงจะสลักลวดลายอย่างวิจิตรงดงาม เป็นแผ่นภาพนูนต่ำสูงราว ๒ เมตร มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระนารายณ์และอวตารปางต่างๆ ของพระองค์ รวมทั้งภาพขบวนทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ผู้สร้างปราสาทนครวัด ซึ่งเปรียบพระองค์เองเป็นอวตารของพระนารายณ์ (พระวิษณุ) ด้วยเช่นกัน ระเบียงชั้นที่สองอยู่ถัดเข้ามาด้านในกว้าง ๑๐๐ เมตร ยาว ๑๑๕ เมตร มีปรางค์ ยอดหักอยู่สี่มุม ล้อมรอบระเบียงชั้นในสุด ซึ่งตั้งอยู่บนฐานศิลา มีบันไดสูงชันทอดขึ้นจากพื้นสู่ตัวระเบียงเบื้องบนแต่ละขั้นของบันไดนี้แคบมากจนต้องเดินขึ้นอย่างระมัดระวัง มีปรางค์ขนาดใหญ่อยู่ที่มุมทั้งสี่ของระเบียงล้อมรอบปรางค์ประธานองค์กลางซึ่งสูง ๖๕ เมตร ระเบียงชั้นนี้ถือเป็นที่ประทับของเทพเจ้าผู้ที่จะขึ้นมาบนระเบียงชั้นนี้ได้มีเฉพาะกษัตริย์กับนักบวชสมณศักดิ์ระดับสูงเท่านั้น และเป็นบริเวณที่ทำพิธีสถาปนากษัตริย์ขึ้นเป็นเทพเจ้าด้วย
ลักษณะการก่อสร้างของปราสาทนครวัดเป็นการจำลองโครงสร้างจักรวาลตามคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ยอดปรางค์ ๕ ยอดตรงกลางเปรียบประหนึ่งยอดเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลและเป็นที่สถิตของบรรดาทวยเทพทั้งมวล ฐานปราสาทชั้นล่าง๓ชั้น หมายถึง ดิน น้ำ และ ลม ซึ่งเป็นที่ตั้งเขาพระสุเมรุ ระเบียงล้อมรอบมีหลังคาซ้อนกัน ๗ ชั้นหมายถึง  ภูเขาที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุเป็นรูปวงแหวน ๗ ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นก็ถูกคั่นด้วยมหาสมุทรทั้งเจ็ด คือคูน้ำรอบปราสาทนครวัดนั่นเองคติความเชื่อเรื่องเขาพระสุเมรุนี้ไทยเราก็นำมาสร้างเป็นพระเมรุมาศ และพระเมรุสำหรับถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์และพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ณ ทุ่งพระเมรุ (ท้องสนามหลวง) และต่อมาก็สร้างเป็นเมรุเผาศพขึ้นตามวัดต่างๆ ครับมีหลายคนถามว่าปราสาทนครวัดถูกสร้างขึ้นมาทำไม และทำไมจึงหันหน้าไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นทิศแห่งความตาย นักโบราณคดีสันนิษฐานว่านครวัดอาจเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ก็เป็นได ้จึงหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ส่วนการที่พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ขึ้นมานั้นก็เพื่ออุทิศถวายแด่พระวิษณุ (พระนารายณ์) ซึ่งเป็นเทพเจ้าที่พระองค์ทรงเคารพบูชา  นอกจากนี้พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ยังแสดงพระองค์เองเป็นพระวิษณุ จึงทรงได้รับพระนามหลังสวรรคตแล้วว่า"บรมวิษณุโลก" ซึ่งหมายถึงว่าพระองค์เสด็จไปรวมกับพระวิษณุและประทับอยู่ ณ "วิษณุโลก" หรือทิพยวิมานบนสรวงสวรรค์ของพระวิษณุเทพ แวดล้อมด้วยเหล่าเทพธิดามาร่ายรำขับกล่อมเทพธิดาเหล่านี้ก็คือรูปสลักอัปสรนครวัดจำนวน ๑,๖๓๕ นาง ที่อยู่บนฝาผนังระเบียงและซุ้มประตูทุกชั้นและมีลักษณะหลากหลายไม่ซ้ำแบบกันเลยปราสาทนครวัดที่ยิ่งใหญ่จนได้รับการขนานนาม                ว่าเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งหัศจรรย์ของโลกนี้ประมาณว่าใช้ เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น ๓๗ ปี คือตลอดรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ นั่นเอง มีช่างควบคุมการก่อสร้าง ๕๐๐ คนใช้แรงงานถึง ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน พร้อมทั้งใช้ช้างลากหิน  ๕,๐๐๐ เชือก แพบรรทุกหินจากเขาพนมกุเลน(แปลว่าเขาลิ้นจี่) ที่อยู่ห่างขึ้นไปทางเหนือกว่า ๖๐ กิโลเมตร ล่องมาตามแม่น้ำเสียมเรียบถึง ๗,๐๐๐ แพ ใช้ปริมาณหินหลายแสนลูกบาศก์เมตร คิดเป็นน้ำหนักหลายล้านตัน จากทางเข้าปราสาทนครวัดขึ้นไปทางเหนือ เราจะพบกับแถวรูปสลักเทวดากับอสูรกำลังฉุดลากพญานาคขนาดใหญ่อยู่สองข้างทางข้างละ ๕๔ รูป ทอดยาวประมาณ ๑๐๐ เมตรไปสู่ประตูขนาดใหญ่ที่มียอดรูปพรหมสี่หน้า ๓ ยอด ประตูนี้เป็นประตูทางเข้าด้านทิศใต้ของนครธมหรือเมืองพระนครหลวง ใจกลางนครธมเป็นที่ตั้งของปราสาทหินที่  "แปลกประหลาดน่าพิศวงงงงวยที่สุด" ในบรรดาโบราณสถานขอมทั้ง หมดปราสาทแห่งนี้ คือปราสาทบายน (Bayon) ปิแอร์ โลตี เขียนบรรยายถึงปราสาทบายนเมื่อแรกพบว่า

"ข้าพเจ้าแหงนหน้าขึ้นไปยังปราสาทที่มีต้นไม้ปกคลุมอยู่ซึ่งทำให้ตัวเองรู้สึกเหมือนเป็นคนแคระ และในทันทีทันใดนั้นเลือดในตัวข้าพเจ้าก็เกิดเย็นแข็งขึ้นมาเมื่อมองเห็นรอยยิ้มขนาดมหึมาที่ กำลังมองลงมายังข้าพเจ้าแล้วก็รอยยิ้มอีกด้านหนึ่งเหนือกำแพงอีกด้านหนึ่งแล้วก็รอยยิ้มที่สาม แล้วก็ที่ห้าแล้วก็ที่สิบปรากฏจากทุกสารทิศข้าพเจ้ามีความรู้สึกเหมือนมีตาคอยจ้องมองอยู่ทุกทิศทุกทาง"


ปราสาทบายนสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งครองราชย์ในระหว่าง พ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๕๘ ตัวปราสาท
หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยปรางค์ใหญ่น้อยจำนวน ๕๔ ปรางค์ แต่ละปรางค์สลักเป็นรูปใบ
หน้าขนาดใหญ่อยู่ ๔ ทิศ เฉพาะปรางค์ประธานองค์กลางขนาดใหญ่สูงถึง ๔๒ เมตรนั้นมีรูปใบหน้าอยู่ทั้ง
 ๘ ทิศ รวมใบหน้าในปราสาทบายนทั้งหมดกว่า ๒๐๐ หน้า นักโบราณคดีพยายามสันนิษฐาน ว่าใบหน้าเหล่านี้เป็นหน้าของใคร  ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่า เนื่องจากพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนาและทรงสถาปนาพระองค์เองเป็นพุทธราชาแห่งนิกายมหายานดังนั้นใบหน้าบนยอดปรางค์ ของปราสาทบายน ก็คือพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์โลเกศวรที่มีพระพักตร์อยู่ทั่วทุกทิศทุกทาง อีกนัยหนึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ อันแสดงถึงพระราชอำนาจของพระองค์ที่มีไปทั่วทุกสารทิศด้วยทรงถือว่าพระองค์เป็นอวตารของพระโพธิสัตว์บนโลกมนุษย์ ปราสาทบายนนี้ยังคงสร้างตามคติความเชื่อเรื่องโครงสร้างจักรวาลโดยปรางค์ประธานซึ่งอยู่ตรงกลางนั้นเป็นประดุจเขาพระสุเมรุศูนย์กลางแห่งจักรวาลนั่นเอง

นอกเหนือจากปราสาทบายนแล้ว ภายในเมืองนครธมยังมีปราสาทหินและโบราณสถานอีกหลายแห่ง เช่น ปราสาทตาพรหม และปราสาทบันทายสรี
ปราสาทตาพรหม เป็นปราสาทที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างขึ้นใน พ.ศ. ๑๗๒๙ เพื่ออุทิศ
พระราชกุศลถวายพระราชมารดาของพระองค์ มีจุดเด่นคือปกคลุมไปด้วยต้นไม้และรากไม้ ขนาดใหญ่มหึมาทำให้ยังคงสภาพเป็นธรรมชาติอยู่มาก

ปราสาทบันทายสรี แปลว่า ป้อมแห่งสตรี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง ห่างออกไปประมาณ๓๐กิโลเมตร สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๑๕๑๐ โดยพราหมณ์ยัชญวราหะเพื่ออุทิศถวายพระอิศวร เป็นปราสาทที่สร้างด้วยศิลาทรายสีชมพูแกะสลักเป็นลวดลายที่ละเอียดละออและงดงามที่สุดปราสาทแห่งนี้มีประตูซ้อนกันหลายชั้น ยิ่งก้าวเข้าใกล้ตัวปราสาทเข้าไปเท่าใด ประตูก็ยิ่งมีขนาดเล็กลงเท่านั้น

เราสามารถใช้ข้อสังเกตอย่างไรในการพิจารณาว่า ศาสนสถานนั้นสร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายใครค่ะ ช่วยตอบหนูทีอยากรู้มากค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท