The Toyota Way (5)


The Toyota Way (5)

14 Toyota Way Principles (ต่อ)

Section II : กระบวนการที่ถูกต้อง  จะนำไปสู่ผลที่ถูกต้อง (ต่อ)

หลักการข้อที่ 5   สร้างวัฒนธรรมหยุดสายพานการผลิตเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อให้ได้มาตรฐานคุณภาพ ณ จุดปฎิบัติงาน
         - คุณภาพเพื่อลูกค้าเป็นคุณค่าประจำใจ
         - ใช้เครื่องมือประกันคุณภาพสมัยใหม่   ทุกชนิดที่มีอยู่
         - หาทางทำให้เครื่องจักรที่ใช้มีความสามารถตรวจหาข้อบกพร่องและหยุดผลิตทันทีที่ตรวจพบข้อบกพร่อง   พัฒนาระบบจักษุทัศน์ (visual system) สำหรับช่วยเตือนหัวหน้าทีมงาน   ให้รู้ว่าเครื่องจักรต้องการความช่วยเหลือ   หัวใจของคุณภาพคือ  เครื่องจักรที่มีความฉลาดของมนุษย์
         - สร้างระบบสนับสนุนขึ้นภายในองค์กร   เพื่อช่วยแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วและจัดมาตรการปัองกันไม่ให้ปัญหาเกิดซ้ำ
         - สร้างวัฒนธรรมหยุดหรือชะลอการผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพสูง ณ ทุกจุดของการผลิต   เพื่อผลด้านผลิตภาพ (productivity) ในระยะยาว

หลักการข้อที่ 6   การทำงานอย่างมีมาตรฐาน ณ ทุกจุดเป็นพื้นฐานของ CI และการเอื้ออำนาจ (empowerment) แก่พนักงาน
         - ใช้วิธีการที่ได้ผลแน่นอนและได้ผลอย่างเดิมเมื่อทำซ้ำ ณ ทุกจุดเพื่อดำรงผลลัพธ์ที่ทำนายล่วงหน้าได้   และกำหนดช่วงเวลาได้แม่นยำ   นี่คือพื้นฐานของการเลื่อนไหลของงาน (flow) และการผลิตตามความต้องการสินค้า (pull)
         - ดูดซับและสั่งสมการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง   ให้เกิดการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา   สร้างมาตรฐานใหม่ตาม Best Practice ของวันนี้   เปิดโอกาสให้มีการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อพัฒนามาตรฐานใหม่   จนอยู่ในสภาพที่เมื่อมีคนย้ายงานไป 1 คน  ก็สามารถส่งต่อการเรียนรู้ไปยังคนที่มาทำงานแทนได้ทันที

หลักการข้อที่ 7   ใช้การควบคุมด้วยจักษุสัมผัส   เพื่อไม่ให้มีปัญหาซ่อนอยู่
         - ใช้ตัวชี้วัดที่เห็นได้ด้วยตา   ว่าผลงานเบี่ยงเบนออกไปจากมาตรฐานหรือไม่
         - หลีกเลี่ยงการใช้จอคอมพิวเตอร์   เพราะจะทำให้สมาธิของพนักงานถูกดึงออกไปจากหน้างาน
         - ออกแบบระบบจักษุทัศน์อย่างง่าย ๆ ณ จุดที่งานสำเร็จ   เพื่อช่วยสนับสนุน flow และ pull
         - ลดการรายงานเหลือหน้าเดียว   แม้กระทั่งรายงานการเงินเพื่อการตัดสินใจ

หลักการข้อที่ 8   เลือกใช้เฉพาะเทคโนโลยีที่เชื่อถือได้และผ่านการทดสอบแล้ว   นำมารับใช้คนและกระบวนการ
         - ใช้เทคโนโลยีรับใช้คน  ไม่ใช่ทดแทนคน   บ่อยครั้งที่ต้องพัฒนากระบวนการโดยใช้มือ   แล้วจึงหาเทคโนโลยีมาช่วย
         - ในหลายกรณี   เทคโนโลยีใหม่ยังไม่น่าเชื่อถือ   ทำงานให้เป็นมาตรฐานยากจึงเสี่ยงต่อการไปทำให้ flow ชะงัก   กระบวนการที่พิสูจน์แล้วว่าใช้การได้ดีควรเป็นตัวเลือกมากกว่าเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่ผ่านการพิสูจน์
         - จะทดสอบหรือลองใช้จริง   ก่อนนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในกระบวนการธุรกิจ,  ระบบการผลิต,  หรือในผลิตภัณฑ์
         - จงปฏิเสธหรือปรับแต่งเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม   ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์กร   อันอาจทำลายความมั่นคง   ความน่าเชื่อถือและความแม่นยำในการคาดการณ์ล่วงหน้า
         - แต่  จงส่งเสริมให้พนักงานแสวงหาเทคโนโลยีใหม่   เมื่อต้องการหาวิธีทำงานใหม่ ๆ  จงประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ผ่านการพิสูจน์แล้วอย่างรวดเร็วเพื่อพัฒนา flow

         หมายเหตุ   ผมอ่านหลักการข้อที่ 8 ด้วยความรู้สึกว่าโตโยต้ามีแนวคิดเชิงอนุรักษ์นิยมต่อเทคโนโลยีมาก   แต่พอมาถึงประเด็นที่ 5 ของหลักการนี้ก็ถึงบางอ้อ   ว่าจริง ๆ แล้วโตโยต้าใช้วิธีคิดแบบ "ไม่ใช่และใช่" ต่อเทคโนโลยีใหม่

The Toyota Way (1)

The Toyota Way (2)

The Toyota Way (3)

The Toyota Way (4)

วิจารณ์  พานิช
 7 ก.พ.49

หมายเลขบันทึก: 14991เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2006 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2012 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท