"ภาวะสมองไหล"_การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


"เริ่มโครงการสร้าง “คลังสมอง” ขึ้นมาหลังจากที่ต้องเจอกับวิกฤติด้านบุคคลากร เมื่อภาวะ “สมองไหล” และถึงคราวเกษียณอายุราชการ"

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
แม้การจัดการความรู้ยังไม่ได้เด่นชัดนัก แต่ก็ เริ่มโครงการสร้าง คลังสมองขึ้นมาหลังจากที่ต้องเจอกับวิกฤติด้านบุคคลากร  เมื่อภาวะ สมองไหลและถึงคราวเกษียณอายุราชการของบุคลากรด้านโยธาดูแลรักษาเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ในคราวเดียวกันโดยมิได้นัดหมายมาก่อน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนเก่าซึ่งสะสมความรู้และประสบการณ์เอาไว้อย่างมากมายกับคนรุ่นใหม่ที่ขาดประสบการณ์

วิเคราะห์ประเด็นด้าน KM
กระบวนการ/เทคนิค
ความรู้ในเชิงปฏิบัติและการแก้ไขปัญหา คลังสมองของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต จึงเร่งด้วยการเก็บรวบรวมความรู้ ประสบการณ์จากผู้ที่กำลังจะเกษียณที่ถ่ายทอดออกมาด้วยความเต็มอกเต็มใจผ่านการสัมภาษณ์ เพื่อจะนำความรู้ที่ได้เหล่านี้เอาบรรจุไว้ในฐานข้อมูลและให้คนรุ่นต่อๆมาได้มีโอกาสศึกษา ที่สำคัญทำให้ความรู้ไม่ขาดตอนและได้รับการต่อยอดด้วยความรู้ใหม่ๆเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ


ข้อเสนอแนะ
ในด้านการถ่ายทอดความรู้จากผู้ที่กำลังเกษียณสู่คนทำงานรุ่นใหม่  ควรที่จะให้ผู้ที่รู้ในภาพกว้างทำการวางนโยบายและกำหนดทิศทางอย่างกว้างๆในเบื้องต้นก่อนว่า  อย่างน้อยควรมีการถ่ายทอดความรู้เรื่องใด หมวดใดบ้างจากผู้ที่กำลังจะเกษียณแต่ละบุคคล  ทั้งนี้เพราะผู้ที่กำลังเกษียณแต่ละคนนั้นอาจมีความรู้ ประสบการณ์ที่หลากหลายและแตกต่างกันไปตามงานที่เขารับผิดชอบและประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมา  การที่ List ประเด็นขึ้นมาจะช่วยให้การสัมภาษณ์สัมฤทธิ์ผลมากขึ้น คือ ได้ความรู้ เทคนิค ประสบการณ์ที่เป็น function หลักครบทั้งหมด ส่วนความรู้และประสบการณ์เสริมอื่นๆก็อาจตั้งคำถามเพื่อสัมภาษณ์ตามความเหมาะสม
                ถ้าเราไม่ดำเนินการข้างต้น อาจทำให้การสัมภาษณ์เพื่อดึงความรู้และประสบการณ์จากผู้ที่กำลังจะเกษียณไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร  บางประเด็นอาจจะไม่ได้สัมภาษณ์เพราะหลงลืมไป


ปัญหาและอุปสรรค
เมื่อมองลักษณะการถ่ายทอดความรู้ดังข้างต้น  ปัญหาหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือความไม่เต็มที่ในการถ่ายทอดความรู้ของผู้ที่กำลังจะเกษียณ เนื่องจากบางคนอาจคิดว่า  จะถ่ายทอดมากน้อยก็ไม่น่าจะส่งผลประโยชน์หรือส่งผลกระทบกับตนเองมากนักจึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องเต็มที  อีกทั้งอาจมีปัญหาในส่วนคนทำงานรุ่นใหม่ที่อาจจะรับหรือซึมซับความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมาได้ไม่ดีนักหรือไม่เต็มประสิทธิภาพอันเนื่องจากอ่อนประสบการณ์หรือขาดทักษะ


การแก้ไข
การแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อาจทำได้โดยพยายามมีคนกลางที่มีความรู้ ประสบการณ์และทักษะที่ดีพอสมควรเป็นผู้เชื่อมโยงการถ่ายทอดความรู้  สัมภาษณ์และดึงประเด็นที่เหมาะสมจากผู้ถ่ายทอดที่กำลังจะเกษียณและรู้จักปรับแนวคิด และเพิ่มความเข้าใจให้กับคนรุ่นใหม่ที่รับการถ่ายทอดเพื่อให้การถ่ายทอดความรู้นั้นเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
แหล่งที่มา :  MBA The knowledge Provider Magazine
              No. 69 / Vol.6 / December 2004

หมายเลขบันทึก: 1499เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2005 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท