การจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น


การให้ความรู้ ทำให้เราได้รับเพิ่มขึ้น คือ ยิ่งให้ ยิ่งรู้

  จะเห็นได้ว่า  มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ จึงมีระบบการปฏิบัติงานแบบระบบราชการไทย  ซึ่งมีระเบียบขั้นตอนมาก  และยังมีระเบียบภายในของมหาวิทยาลัยเองที่ถูกสร้างให้ซับซ้อนขึ้นมาอีก  เช่น ระเบียบการเงินสำหรับงบประมาณแผ่นดินและระเบียบการเงินสำหรับงบประมาณเงินรายได้  ระบบการบริหารบุคคลที่เป็นข้าราชการและระบบการบริหารบุคคลที่เป็นพนักงาน  การบริหารหลักสูตรภาคปกติกับภาคพิเศษ  ซึ่งมีกระบวนการมีขั้นตอนมากพอๆ กัน  ซึ่งเป็นปัญหาทำให้บุคลากรในองค์กร  ไม่สามารถตัดสินใจว่าจะแยกแยะออกจากกันได้อย่างไร  ระเบียบภายในที่สร้างมาเพื่อความคล่องตัวซึ่งกลายเป็นไม่คล่องตัวไปโดยปริยาย  อีกทั้งองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยทั้งที่เป็นศาสตร์และการเรียนรู้ภายในยังมีอีกมาก  เช่น  อาจารย์ที่สอนเก่งในภาควิชามีเทคนิคของการสอนและวิธีการถ่ายทอดให้ลูกศิษย์อยากเรียนรู้ได้อย่างไร  นักวิจัยอาวุโสที่มีผลงานวิจัยยอดเยี่ยมและมีชื่อเสียงระดับโลก  มีแนวคิดและวิธีการวิจัยอย่างไร  การบริหารจัดการหลักสูตร และโครงการที่ประสพความสำเร็จ ตลอดจนการแก้ปัญหาต่างๆ  ที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงาน  จึงถือเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าทั้งสิ้น  ดังน้นมหาวิยาลัยขอนแก่นจึงจำเป็นต้องรู้วิธีการที่จะสามารถจัดการองค์ความรู้ต่างๆ เหล่านี้  เพื่อถนอมรักษาไว้ซึ่งความรู้และใช้เป็นฐานในการต่อยอดความรู้ให้องค์กรเก่งขึ้น  จะเห็นได้ว่าคนในองค์กรมีอีกมากที่ยังไม่รู้ว่าจะสามารถหาความรู้ในเรื่องต่างๆ ได้จากที่ใดและจากบุคคลใด  ซึ่งแน่นอนในองค์กรต้องเกิดการผิดพลาด  แล้วความผิดพลาดเหล่านั้นมีประโยชน์กับบุคคลอื่นๆ อย่างไร  มีการเก็บเป็นข้อมูลเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดซ้ำซ้อนหรือไม่  มีการรักษาความรู้จากคณาจารย์ที่เกษียณอายุ  ซึ่งท่านเหล่านี้ต่างก็มีความรู้ที่สั่งสมมานาน เมื่อเกษียณอายุราชการแล้ว  องค์กรทราบหรือไม่ว่าท่านเหล่านี้นำความรู้นั้นกลับไปหรือทิ้งความรู้เหล่านั้นไว้เป็นประโยชน์ให้แก่คนรุ่นหลัง  ทำให้การจัดการความรู้มีความสำคัญและต้องนำมาใช้ในมหาวิทยาลัย  แม้ไม่ใช่เรื่องยากแต่ก็เป็นเรื่องใหม่  ซึ่งทางมหาวิทยาลัยพยายามที่จะทำให้บุคคลากรทุกคนเข้าใจ และให้ความช่วยเหลือและให้ข้อเสนอแนะในเชิงสร้างสรรค์เพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ ผ่านกระบวนการของการเสวนา  การอภิปราย  การสร้างเครือข่ายหรือกลุ่มผู้ปฏิบัติ (Community of Practice)  

  แนวทางหนึ่งในการจัดการองค์ความรู้ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นเลือกใช้ คือการจัดโครงการสัมมนาให้แก่บุคคลากรในมหาวิทยาลัย  ซึ่งจะขอยกตัวอย่างในบางส่วน  ดังนี้

  -  Km  สำหรับหัวหน้าภาควิชา  โดยจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่ดี (Good Practice)  ซึ่งกลุ่มเป้าหมายก็คือ  ข้าราชการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น  จำนวน  120  ท่าน  ประกอบด้วย  หัวหน้าภาควิชาจากทุกภาควิชา และจากทุกคณะ  ซึ่งมีวัตถุประสงค์  คือ

  1. เพื่อให้คนหลายหลายทักษะ  หลากหลายความคิด  ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
  2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาร่วมกันพัฒนาวิธีทำงานในรูปแบบใหม่ๆ  เพื่อบรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้
  3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้ทดลองและเรียนรู้กันระหว่างหน่วยงาน
  4. ผู้เข้าร่วมการสัมมนาสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม

  ซึ่งจะมีตัวชี้วัดผลสำเร็จ  ดังนี้

  1. หัวหน้าภาควิชามีความรู้  ควมเข้าใจมีกิจกรรมร่วมกัน  และสามารถนำแนวทางการจัดการความรู้ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนเองได้
  2. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น  ดดยมีการพัฒนาองค์ความรู้  เพื่อพัฒนาคนและพัฒนางานในทุกๆหน่วยงาน

  วิธีการที่ใช้  ได้แก่  การบรรยาย  การอภิปราย และการแบ่งกลุ่ม 

  ผลสรุปที่ได้จากกิจกรรม  คือ  การนำ KM  มาใช้เป็นการให้มาเรียนรู้ร่วมกัน  และเปลี่ยนข้อคิดเห็นประสบการณ์ร่วมกัน  ระหว่างหัวหน้าภาควิชาต่างๆ  เพื่อหาข้อสรุปที่ดีสำหรับองค์กร

  -KM  หลักสูตรสำหรับศูนย์  สถาบัน สำนัก  โดยจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (I am ready) ในการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น สำหรับตัวแทนสโมสรนักศึกษา ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ตัวแทน คณะ ศูนย์  สถาบัน  สำนัก  ได้แก่  รองคณบดี  หัวหน้างาน  และหัวหน้าส่วน  หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายการจัดกิจกรรมการจัดความรู้มหาวิทยาลัย  หน่วยงานละ 5 -10 คน   และตัวแทนสโมสรนักศึกษาหรือผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการจัดความรู้มหาวิทยาลัย  ระดับสโมสรคณะ หน่วยงานละ 3-5 คน  ซึ่งมีวัตถุประสงค์  คือ

  1. เพื่อให้คนหลายหลายทักษะ  หลากหลายความคิด  ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
  2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาร่วมกันพัฒนาวิธีทำงานในรูปแบบใหม่ๆ  เพื่อบรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้
  3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้ทดลองและเรียนรู้กันระหว่างหน่วยงาน
  4. ผู้เข้าร่วมการสัมมนาสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน พัฒนาหรือจัดตั้งเครือข่ายการจัดการความรู้ และเป็นวิทยากร หรือที่ปรึกษาด้านการจัดการความรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม

  และมีตัวชี้วัดผลสำเร็จ  ดังนี้

  1. ผู้เข้ารับการสัมมนามีความรู้ความเข้าใจกระบวนการจัดการความรู้  และเกิดกระบวนการจัดการความรู้ในหน่วยงาน
  2. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ในคณะ และสามารถแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันได้ภายในหน่วยงาน

  วิธีการที่ใช้  ได้แก่  การบรรยาย  การอภิปราย และการแบ่งกลุ่ม 

  ผลสรุปที่ได้จากกิจกรรม  คือ  การนำ KM  มาใช้เป็นการให้มาเรียนรู้ร่วมกัน  และเปลี่ยนข้อคิดเห็นประสบการณ์ร่วมกัน  เกิดการทำงานเป็นทีม  การมีส่วนร่วมในการทำงาน  ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาการปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน

  ซึ่งจะเห็นได้ว่า  มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีการนำเอาการจัดการองค์ความรู้เข้ามามีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคคลากรในองค์กร  ทำให้ทุกๆคนเห็นถึงความสำคัญของการจัดการความรู้  ซึ่งถ้าแต่ละคนสามารถแบ่งปันความรู้ และรู้ที่จะเก็บรักษาจัดการความรู้  ก็จะสามารถทำให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ทีแท้จริงได้  และหากทุกคนมีการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน  จะทำให้รู้ว่า การให้ที่ทำให้เราได้รับมากขึ้น  ก็คือการให้ความรู้  ยิ่งให้  ยิ่งรู้  ไม่เหมือนกับการให้ทรัพย์สินอื่นๆ ที่ยิ่งให้ก็ยิ่งลดลง 

  ที่มา Web Link : http://home.kku.ac.th/km/km.data1/KM%20I%20am%20ready27-28-3-48.htm

                        

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1495เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2005 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
จากแนวทางการจัดการองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ถือว่าเป็นการดำเนินงานที่ดีและน่าจะใช้เป็นตัวอย่างแก่มหาลัยอื่นๆไปปรับเปลี่ยนใช้ตามความเหมาะสม                                                                               ** แต่อยากจะ share เพิ่มเติมสำหรับการจัดการองค์ความรู้ที่ระบุข้างต้นในเรื่อง "การจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ(Good Practice)  ซึ่งกลุ่มเป้าหมายก็คือ  ข้าราชการของมหาวิทยาลัยขอนแก่นจำนวน  120  ท่าน"  ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าภาคของทุกคณะนั้น โดยมีความคิดเห็นว่าในเบื้องต้นน่าจะมีการจัดสัมมนาแบบนี้ขึ้นก่อนเป็นกลุ่มย่อยก่อนในแต่ละคณะทั้งนี้ทุกคนจะได้มีพืนฐานการจัดการองค์ความรู้ และได้มีการแลกเปลี่ยนแนวคิดเบื้องต้นในคณะของตนเอง มีการขัดเกลาผลลัพธ์ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนระดับหนึ่ง  หลังจากนั้นก็อาจจะร่วมกันสัมมนาเป็นกลุ่มใหญ่ที่ประกอบด้วยคนจำนวนมาก (อาจเป็น 120 คนหรือน้อยกว่านั้นตามความเหมาะสม) ทั้งนี้น่าจะทำให้การสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทั่วทั้งองค์กรของมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น  
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท