ปูเจ้าฟ้า


ความน่ารู้เกี่ยวกับการค้นพบครั้งสำคัญของประเทศ
ปูเจ้าฟ้า ( Phricotelphusa sirindhorn Naiyanetr )

เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กราบบังคมทูลขอ พระราชทานพระราชานุญาตอัญเชิญพระนามาภิไธย เป็นส่วนหนึ่งในชื่อวิทยาศาสตร์ของปูที่พบใหม่ว่า Phricotelphusa sirindhorn โดยมีชื่อไทยว่า “ ปูเจ้าฟ้า “ และมีชื่อสามัญว่า Panda Crab เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงเป็นพระบรมวงศ์ที่สนพระทัยทางธรรมชาติวิทยา และได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ เป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสมอมา และเพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่วงการอนุกรมวิธานทางด้านปูของประเทศไทยและของโลก โดยได้รับพระราชทานพระราชานุญาต เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531

กลุ่มนิสิตปริญญาโท ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบปูเจ้าฟ้าครั้งแรกจำนวน 2 ตัว เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2529 บริเวณลำธารน้ำตกหงาว สูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 300 ฟุต ในเขตวนอุทยานน้ำตกหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง และได้นำมาศึกษาด้านอนุกรมวิธานที่ภาควิชาชีววิทยา พบว่าเป็นปูน้ำตกชนิดใหม่ของโลกที่พบในประเทศไทย อยู่ในสกุล(genus) Phricotelphusa วงศ์ (family) Gecarcinucidae อันดับ (order) Decapoda ชั้น (class) Crustacea ไฟลัม (phylum) Arthropoda และได้นำผลงานนี้ลงพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร CRUSTACEANA ปี 1989 เล่มที่ 56 ตอนที่ 3 หน้า 224 – 229

www.lib.ru.ac.th/journal/panda_crab.html

ปูเจ้าฟ้า ( Phricotelphusa sirindhorn Naiyanetr )

ปูเจ้าฟ้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phricotelphusa sirindhorn Naiyanete ชื่อสามัญว่า Panda crab เป็นปูชนิดใหม่ของโลกพบครั้งแรกที่น้ำตกหงาว มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่โดดเด่นไม่เหมือนปูน้ำจืดทั่วๆ ไป คือ บริเวณส่วนของกระดองและก้ามเป็นสีขาว บริเวณปากและเบ้าตา และขาทั้งสี่คู่ เป็นสีม่วงดำ

ปูเจ้าฟ้า เป็นปูพันธุ์ใหม่และไม่ค่อยคุ้นหูสำหรับคนหลายคน ปูเจ้าฟ้านั้นเป็นเพียงแค่ปูเล็ก ๆ ที่ไม่อาจนำมาปรุงอาหารได้ ความคุ้นเคยจึงมีไม่มากนัก อีกทั้งเป็นปูพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งจะค้นพบ ศ.ไพบูลย์ นัยเนตร อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านได้ค้นพบปูเจ้าฟ้าเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2529 ที่บริเวณลำธารน้ำตกหงาวการค้นพบในครั้งนั้นยังทำความประหลาดใจให้กับ ศ.ไพบูลย์ เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นปูที่ไม่เคยพบเห็นจากที่อื่นมาก่อน อีกทั้งปูพันธุ์นี้ก็มีคุณสมบัติแตกต่างไปจากพันธุ์อื่น ๆ ทั่วไป ทั้งในด้านของรูปร่าง ขนาด และสีสัน ในที่สุดก็ได้นำกลับมาศึกษาวิจัยที่กรุงเทพฯ ได้บทสรุปว่าปูชนิดนี้มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยและมีเพียงที่เดียวคือ ที่จังหวัดระนอง (ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ขอประทานอนุญาตอันเชิญพระนามาภิไธย เป็นส่วนหนึ่งในชื่อวิทยาศาสตร์ของปูที่พบใหม่ว่า (Phricotelphusa Siri ndhorn) มีชื่อไทยว่า ปูเจ้าฟ้า ซึ่งทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โปรดเกล้าฯ ประทานพระนามาภิไธย ตามที่ได้กราบบังคมทูล พร้อมกับได้นำเรื่องราวการค้นพบ ปูพันธุ์ใหม่ เผยแพร่ (ในวารสาร CROSTACEANA ปี 1989 เล่มที่ 56 ออกเผยแพร่ไปตามสถาบัน) ต่าง ๆ ทั่วโลก)

ปูเจ้าฟ้า..ชีวิตที่แตกต่างความงามที่แปลกตา ปูเจ้าฟ้า..ปูน้ำตกชนิดเดียวของโลกที่ค้นพบในเมืองไทย ณ บริเวณน้ำตกหงาว จังหวัดระนอง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นไม่เหมือนกับปูทั่ว ๆ ไป ทั้งในส่วนของกระดอง และก้าม ที่เป็นสีขาว บริเวณริมฝีปาก เบ้าตา ที่เป็นสีม่วงดำ และขาทั้ง 4 คู่ ก็เป็นสีม่วงดำ คล้ายกับหมีแพนด้า ที่มีลำตัวสีขาว หน้าดำ มือดำ ปูเจ้าฟ้าจัดได้ว่าเป็นปูประเภทน้ำจืด ซึ่งอยู่ในกลุ่มของปูน้ำตกตระกูล GECAPCINUCIDAE มีขนาดกว้างของลำตัว วัดได้ประมาณ 1 นิ้วกว่า และเมื่อได้ทำการศึกษาวิเคราะห์แล้วพบว่า ปูเจ้าฟ้าเป็นปูน้ำตกที่แตกต่างไปจากปูน้ำตกชนิดอื่น โดยมีสีที่แตกต่างไปจากปูน้ำจืดด้วยกัน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่แยกออกจากปูสกุล Phricotelphusa ที่พปในประเทศไทย และบริเวณใกล้เคียง คือ นอกจากลักษณะของสีที่โดดเด่นแตกต่างจากปูน้ำจืดทั่วๆไป ปูเจ้าฟ้ายังมีลักษณะเด่นที่ปล้องท้อง หรือจับปิ้ง (ซึ่งตัวผู้จะมีลักษณะแหลม ส่วนจับปลิ้งของตัวเมียนั้นปลายจะมน) และลักษณะของอวัยวะเพศผู้คู่ที่ 1 ก็แตกต่างไปจากสกุล Phricotelphusa ชนิดอื่นๆ "จึงนับได้ว่าเป็นปูน้ำตกชนิดใหม่ของโลก"

อาหาร ชีวิตความเป็นอยู่ของปูเจ้าฟ้าก็เหมือนกับปูชนิดอื่นทั่วไป คือ จะหาอาหารกินตามถิ่นที่อยู่โดยมากจะเป็นพืชหรือสัตว์ที่เน่าเปื่อย หรือไม่ก็เป็นสัตว์ประเภทตัวอ่อน ที่อาศัยอยู่ในน้ำเช่น ลูกกุ้ง ลูกปลาตัวเล็กๆ ที่สามารถใช้ก้ามหนีบได้ โดยส่วนใหญ่มักจะชอบออกหากินเวลากลางคืน ยิ่งในช่วงฤดูฝนบริเวณธารน้ำตกจะชุกชุมไปด้วยสัตว์ตัวเล็กๆ จำพวกแมลงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะแมลงที่เกาะอยู่ตามใต้หิน ในช่วงหน้าฝนปูเจ้าฟ้าจะมีอาหารอุดมสมบูรณ์ สภาพอากาศโดยทั่วไปเย็นสบาย สดชื่น สีสันของปูเจ้าฟ้าช่วงนี้จะดูสดใส สวยงามกว่าช่วงฤดูอื่นๆ

ชีวิตความเป็นอยู่ของปูเจ้าฟ้าก็เหมือนกับปูชนิดอื่นทั่วไป คือ จะหาอาหารกินตามถิ่นที่อยู่โดยมากจะเป็นพืชหรือสัตว์ที่เน่าเปื่อย หรือไม่ก็เป็นสัตว์ประเภทตัวอ่อน ที่อาศัยอยู่ในน้ำเช่น ลูกกุ้ง ลูกปลาตัวเล็กๆ ที่สามารถใช้ก้ามหนีบได้ โดยส่วนใหญ่มักจะชอบออกหากินเวลากลางคืน ยิ่งในช่วงฤดูฝนบริเวณธารน้ำตกจะชุกชุมไปด้วยสัตว์ตัวเล็กๆ จำพวกแมลงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะแมลงที่เกาะอยู่ตามใต้หิน ในช่วงหน้าฝนปูเจ้าฟ้าจะมีอาหารอุดมสมบูรณ์ สภาพอากาศโดยทั่วไปเย็นสบาย สดชื่น สีสันของปูเจ้าฟ้าช่วงนี้จะดูสดใส สวยงามกว่าช่วงฤดูอื่นๆ

ความเป็นอยู่ สภาพชีวิตของปูเจ้าฟ้านั้นจะนิยมอาศัยอยู่ในธารน้ำที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 300 ฟุต ภายใต้สภาวะอากาศที่เย็นฉ่ำ น้ำใสสะอาดตา และที่สำคัญจะต้องมีปริมาณออกซิเจนที่สูงเท่านั้น ปัจจุบันปูเจ้าฟ้าได้ถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนในพื้นที่จังหวัดระนองก็ยังมีปูเจ้าฟ้าอาศัยอยู่จำนวนไม่มากเท่าใดนัก

การเติบโตและผสมพันธุ์ ปูมีกระดองแข็งๆหุ้มอยู่ ทำให้โตขึ้นทันทีไม่ได้ มันจะต้องกินอาหารมากๆจนร่างกายแข็งแรงเต็มที่แล้วจึงลอกคราบถอดกระดองเก่าออก แล้วดูดน้ำไปจนตัวพอง แล้วไปหลบตัวจนกว่ากระดองใหม่จะแข็งเหมือนของเก่า ตัวมันจะโตตามขนาดของน้ำที่ดูดเข้าไป ปูจะลอกคราบทุกปีจนถึงปีที่โตเต็มที่มันจึงจะหยุดลอกคราบ การลอกคราบของปูทำในฤดูฝน เพราะสมบูรณ์ทั้งน้ำและอาหาร ฤดูฝนนอกจากจะเป็นฤดูลอกคราบแล้วยังเป็นฤดูผสมพันธุ์ด้วย เพราะลูกปูที่เกิดใหม่ก็ต้องอาศัยน้ำและอาหารในการเจริญเติบโต การผสมพันธุ์ก็เหมือนกับปูอื่นๆคือ เป็นการผสมพันธุ์ภายใน โดยตุวผู้จะสอดใส่อวัยวะเพศทั้งสองอันเข้าไปในตัวเมียซึ่งอยู่ตรงทรวงอก อวัยวะเพศของตัวผู้นี้เองที่เป็นตัวช่วยบอกสกุล ตระกูลและพันธุ์ ถ้าอวัยวะเพศต่างกันแม้เพียงเล็กน้อย ก็แสดงว่าเป็นปูต่างชนิดกัน หลังการผสมพันธุ์ก็จะวางไข่ ไม่นานปูตัวเล็กๆก็จะออกมาดูโลก ปูน้ำจืดไม่มีระยะฟักตัว เพราะปูน้ำจืดมีช่วงเวลาสำหรับอาหาร และเติบโตแค่ 3 เดือน ในช่วงหน้าฝนเท่านั้น จึงรีบพ้นจากวัยอ่อนให้ทันช่วงนี้ เมื่อหมดฤดูฝนจะกลับเข้ารูอีกครั้ง เพื่อจำศีลและรอเวลาที่จะออกมาพบกับความอุดมสมบูรณ์ในปีต่อไป

www.ranong.go.th/pu.htm

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14935เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2006 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท