บทเรียนจากworkshop KMที่วิทยาลัยพยาบาลชัยนาท


ผู้เข้าร่วมประชุมจะทำการเปรียบเทียบเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการนำขั้นตอนการทำงานหรือวิธีปฏิบัติมาเทียบกันเป็นลักษณะของProcess oriented ไม่ได้นำเอาผลลัพธ์มาเทียบกัน คือไม่ใช่Ouitcome-oriented

               เมื่อวาน 7 กุมภาพันธ์ ได้ไปเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องKMให้กับผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชัยนาท โดยใช้เวลาครึ่งเช้าบรรยาย(เล่า)ให้ที่ประชุมฟังโดยเน้นทั้งแนวคิด(ซึ่งรู้สึกว่าผมจะพูดช้ามากเพื่อเน้นให้ผู้ฟังเข้าใจและจับประเด็นแนวคิดสำคัญๆได้)และต่อด้วยเรื่องกิจกรรมที่ทำในโรงพยาบาลบ้านตากเพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นภาพ

                ในช่วงบ่ายมีการอธิบายเรื่องการใช้เครื่องมือชุดธารปัญญาและโมเดลปลาทู หลังจากนั้นก็แบ่งกลุ่มให้ฝึกปฏิบัติ โดยแยกเป็น 3 กลุ่ม มีวิทยากรผู้ช่วยคือคุณสุภาภรณ์(เอ้)และคุณปิย์วรา(ปิ) คอยเป็นคุณอำนวยของกลุ่ม รวมทั้งตัวผมด้วย ทั้งสามกลุ่มได้มีการกำหนดหัวปลาไว้แล้วได้จัดทำตารางอิสรภาพเพื่อประเมินว่าที่ไหนทำได้เป็นอย่างไร มาทำธารปัญญา แผนภูมิขั้นบันไดและก็แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันพร้อมๆกับสกัดความรู้ออกมา ในแบบรวบรัดแต่ครบกระบวนการเพราะวัตถุประสงค์คือให้เขาได้ใช้เครื่องมือเป็น เมื่อเสร็จแล้วก็ให้กลุ่มมานำเสนอพร้อมทั้งมีการให้ข้อเสนอแนะจากพี่เลี้ยงกลุ่ม

                 สิ่งที่พบก็คือผู้เข้าร่วมประชุมจะทำการเปรียบเทียบเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการนำขั้นตอนการทำงานหรือวิธีปฏิบัติมาเทียบกันเป็นลักษณะของProcess oriented ไม่ได้นำเอาผลลัพธ์มาเทียบกัน คือไม่ใช่Ouitcome-oriented ซึ่งถามว่าผิดไหม ก็ไม่ผิด แต่ผมเสนอว่าหากเราสามารถเปรียบเทียบผลลัพธ์ได้แล้ว ในที่สุดก็จะย้อนไปหาวิธีปฏิบัติในจุดที่ทำได้ผลดี ก็คือได้วิธีปฏิบัติที่เป็นBest practiceได้ง่าย

                   หากเอากระบวนการหรือวิธีปฏิบัติมาเทียบกัน สิ่งที่ได้มักเป็นว่าใครปฏิบัติขั้นตอนมากกว่า ใครทำหลายอย่างกว่า ใครมีคนเยอะกว่า ใครมีเครื่องมือเยอะกว่า ใครมีอะไรๆมากกว่า มักจะกลายเป็นได้คะแนนดีกว่า กลายเป็นBest practice ซึ่งในความคิดเห็นของผม คิดว่าไม่ใช่ ถ้าคนที่ทำเยอะกว่า ขั้นตอนมากกว่า คนเยอะกว่า ของเยอะกว่าแน่ใจหรือว่าทำไปแล้วได้ผลมากกว่าคนที่ทำน้อยกว่า อย่างเช่นถ้าสอ.อยู่ 2 คน จะทำขั้นตอนละเอียดยิบเหมือนโรงพยาบาลใหญ่ไม่ได้ เขาก็ต้องปรับตามสภาพแวดล้อมของเขา แต่พอประเมินผลกลับพบว่าได้ผลดีกว่า อย่างนี้ก็น่าจะเป็นBest practiceกว่า เพราะมีทั้งผลลัพธ์ที่ดี ประหยัด มีประสิทธิภาพกว่า เป็นต้น

                   การเอาผลลัพธ์มาเปรียบเทียบกัน จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้คนอื่นๆได้ว่า วิธีแบบนั้นดีจริงหรือไม่  ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นชัดในองค์กรธุรกิจ เขาไม่เปรียเทียบกันหรอกว่าใครมีรูปแบบการขายที่แปลกกว่าใคร แต่เขาจะดูที่ผลลัพธ์หรือผลกำไรเลยว่าใครทำได้มากน้อยกว่าใคร

หมายเลขบันทึก: 14843เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2006 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท