AIS and Knowledge management


"สิ่งที่ยากที่สุดในการจัดการความรู้ของชุมชนนักปฏิบัติก็คือ การซื้อใจคน เพื่อที่จะกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านทั้งรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

จากที่ได้อ่านการวิเคราะห์ประเด็นด้าน Knowledge Management ที่เพื่อนๆได้เขียนมาซึ่ง link มาจาก  blog ใน website ต่างๆ  เลยอยากเปลี่ยนมุมมามองการจัดการด้านองค์ความรู้ที่มีการเขียนไว้ในวารสารกันบ้าง
                จากที่ได้อ่านวารสาร MBA The knowledge Provider ฉบับหนึ่งมี column เกี่ยวกับการจัดการด้านความรู้ที่น่าสนใจ  ซึ่งพอจะสรุปและวิเคราะห์ได้ดังนี้
 
ปฏิวัติความรู้
ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ  มิใช่สิ่งชี้ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของประเทศ  ความรู้ต่างหากที่เป็นเครื่องมือชี้วัดความยั่งยืนดังกล่าวได้ ดังที่ ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ปรมาจารย์ด้านการจัดการ ได้เคยกล่าวไว้ว่า การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจะต้องใช้พลังความรู้เป็นสำคัญแต่ด้วยสภาพของความรู้ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีอยู่อย่างมากล้น แถมยังกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ทำให้กระบวนการจัดการความรู้ (knowledge management) มีบทบาทและความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศจะมีพลังของความรู้มากน้อยเพียงใด สามารถพิจารณาได้จาก 3 ปัจจัยหลักคือ
-          การลงทุนด้านการศึกษาระดับสูง
-          การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา
-          การลงทุนด้าน software และเทคโนโลยีการสื่อสาร
ในงานประชุมนานาชาติ การจัดการความรู้ในสังคมไทยครั้งที่1   มีหลายบริษัทที่ได้มาบอกเล่าถึงวิธีการที่ใช้ในการจัดการความรู้ในองค์กรของตน   ซึ่งขั้นต้นจะขอสรุปและวิเคราะห์ในส่วนของบริษัท AIS ดังนี้

บริษัท แอดวานซ์  อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
Community of Practice (CoP) หรือชุมชนนักปฏิบัติ เป็นตัวอย่างหนึ่งของการจัดการความรู้ของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ซึ่งบดินทร์ วิจารณ์ Assistant Vice President Technical Competency Development บอกว่า การจัดการความรู้ยุคใหม่จะมุ่งเน้นที่  “คน ด้วยมองว่ากุญแจในการจัดการความรู้อยู่ที่การเชื่อมโยงสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ โดยมีเทคโนโลยีและ IT เป็นเครื่องมือสนับสนุน เพราะแหล่งความรู้นั้นมีอยู่มากมายมหาศาลและถูกจัดเก็บได้หลายรูปแบบ เช่น เอกสาร เทป วีดีโอก็จริง แต่จะว่าไปแล้วคลังความรู้ที่ใหญ่ที่สุดคือ สมองของคน นั่นเอง

วิเคราะห์ประเด็นด้าน KM
กระบวนการ/เทคนิค                                                                                               เน้นการเชื่อมโยงความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ โดยมีเทคโนโลยีและ IT เป็นเครื่องมือสนับสนุน และให้ความสำคัญต่อแหล่งความรู้ที่จัดเก็บอยู่ในสมองของคน

ข้อเสนอแนะ
มีความคิดเห็นว่าการเริ่มต้น อาจมองที่ผู้เชี่ยวชาญได้ แต่ควรมองแผนระยะยาวประกอบไปด้วย เพราะความรู้บางอย่างก็เกิดขึ้นจากคนที่ได้ชื่อว่าเป็นพนักงานทั่วๆไปที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ซึ่งถ้าการบริหารเป็นไปได้ทั้งผู้เชี่ยวชาญและทุกๆคนในองค์กรแล้ว น่าจะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้มีประสิทธิภาพและมีประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร


ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรคที่ AIS มองว่าสำคัญและยากที่สุดในการจัดการความรู้ของชุมชนนักปฏิบัติก็คือ การซื้อใจคน
เพื่อที่จะกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านทั้งรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งผ่านการพบปะกันหรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
แหล่งที่มา :  MBA The knowledge Provider Magazine
              No. 69 / Vol.6 / December 2004

หมายเลขบันทึก: 1484เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2005 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท