น้ำเอย....น้ำร่างกาย


หลายครั้งทีเดียวเมื่อถามเรื่องการดื่มน้ำมักบอกว่า " ดิฉันดื่มน้ำเยอะมากไม่ต้องห่วงเหลือเฟือจนปัสสาวะบ่อย" หลายคนบอกว่ามากกว่า 10แก้วต่อวัน

นอกจากการประเมินแผนการรับประทานอาหารและร่วมจัดตารางอาหารที่ดี  ที่ตรงตามความชอบของผู้ทานจะเป็นกุญแจดอกสำคัญสู่ความสำเร็จแล้ว   การมุ่งเน้นแต่อาหารมากเกินไปอาจก่อความเครียดให้ผู้เรียนรู้    ซึ่งพวกเราอาจจะลืมนึกถึงว่าน้ำก็เป็นส่วนประกอบครึ่งหนึ่งของเลือด  ที่ีมีส่วนทำให้สารอาหารในเลือดเข้มข้นหรือเจือจางได้

หลายครั้งทีเดียวเมื่อถามเรื่องการดื่มน้ำมักบอกว่า " ดิฉันดื่มน้ำเยอะมากไม่ต้องห่วงเหลือเฟือจนปัสสาวะบ่อย" หลายคนบอกว่ามากกว่า 10แก้วต่อวัน ซึ่งการประเมินของเราไม่ได้อยากรู้ว่าดื่มกี่แก้วต่อวัน แต่ต้องการประเมินว่าดื่มน้ำสมดุลกับความต้องการหรือไม่  เหมือนกับการประเมินภาวะโภชนาการที่เราไม่ได้ต้องการรู้ว่ากินข้าวกี่มื้อต่อวัน  แต่อยากรู้ว่ากินอาหารถูกต้อง(ทั้งชนิดและปริมาณ)สัมพันธ์กับภาวะของโรคและการออกฤทธิ์ของยาหรือไม่ ถ้ากินถูกจะได้ผลการดูแลรักษาที่ดี

ปกติอาหารที่เรารับประทานถูกต้อง เราจะได้รับน้ำราว 2 ใน 3 ของปริมาณที่ร่างกายต้องการ แต่ผู้เป็นเบาหวานของเราส่วนใหญ่ทานอาหารไม่ถูกต้อง จึงเป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าแต่ละคนต้องดื่มน้ำเท่าไหร่  แต่ให้ดีควรได้ 6-8 แก้วต่อวัน แต่ปัจจุบันดิฉันจะแนะนำให้เพิ่มเป็น 8-10 แก้วต่อวันเนื๋องจากสภาพอากาศร้อนมากขึ้นและ ให้ถือหลักจำว่า น้ำเข้า=น้ำออก

หลักการนำน้ำเข้าพิจารณาได้จากร่ากายเสียเหงื่อและหิว

- เสียเหงื่อ จากการออกกำลังกาย, พูดหรือสอนจนคอแห้ง, อากาศร้อนมากจนเหงื่อออก โดยเฉพาะผู้สูงอายุจะมีพื้นที่่ผิวมากทำให้เสียเหงื่อเพิ่มขึ้น

-หิว แสดงว่าร่่างกายต้องการทั้งอาหารและน้ำ

หลักการดูน้ำออก สามารถใช้เป็นการวิเคราะห์ว่านำน้ำเข้าได้เพียงพอหรือไม่ โดยดูจาก

-ปัสสาวะสีเหลืองเกือบใส        หมายถึง    ร่างกายทุกส่วนของเรามีน้ำเพียงพอ

-ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม             หมายถึง   ไตต้องทำงานอย่างหนักเพื่อขจัดของเสีย เพราะเลือด                                                        เข้มข้นมากมีน้ำไม่เพียงพอ                   

-ปัสสาวะมีตะกอนหรือแดงขุ่น   หมายถึง   มีปริมาณเกลือแร่เข้มข้นอาจเป็นนิ่วมีเลือดออกได้

ส่วนในระหว่างวันเวลาถ้าคอแห้งไม่มากให้จิบน้ำทีละน้อย      ไม่ควรดื่มครั้งละหลายแก้วในภาวะที่ร่างกายไม่ต้องการจะทำให้ผู้เป็นเบาหวาน โดยเฉพาะในผู้ี่ที่ได้รับยาขับปัสสาวะด้วย จะยิ่งทำให้เป็นภาระที่จะต้องเข้าห้องน้ำบ่อยมากขึ้นจนไม่มีความสุข

ยุวดี มหาชัยราชัย

หมายเลขบันทึก: 14800เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2006 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Water is useful  for  body  ,I think that  Educator  would 

to  introduce  client  and  empower them, too

เมื่อก่อนเข้าใจว่าต้องดื่มน้ำเยอะๆเข้าไว้จะดีกับสุขภาพ แต่ตอนนี้ได้ความรู้ใหม่ที่สามารถอธิบายให้ใครต่อใครเข้าใจได้ ขอบคุณนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท