เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคตับ


เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคตับอักเสบมีหลายชนิด ได้แก่ ชนอด เอ, บี, ซี,และดี โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย อัตราการเป็นพาหะของไวรัสชนิดนี้พบได้ ร้อยละ 6-10 ของประชากร จึงนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอย่างหนึ่ง เชื้อไวรัสตับอักเสบ บี สามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นๆได้ ได้แก่ ผู้ใกล้ชิดในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และบุคคลอื่นๆ ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย สุขภาพทรุดโทรม บางรายไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจและครอบครัวได้

ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโรคอย่างถูกต้องและดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม จะสามารถลดความรุนแรงของโรคและยังป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ด้วย ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเกิดโรคได้

อาการ

ในระยะเฉียบพลัน แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 อาการคล้ายเป็นไข้หวัด ได้แก่ มีไข้สูง เจ็บคอ ไอ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บเสียวบริเวณลิ้นปี่ และใต้ชายโครงขวา ซึ่งระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 5-10 วัน

อาการคล้ายเป็นไข้หวัด ได้แก่ มีไข้สูง เจ็บคอ ไอ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บเสียวบริเวณลิ้นปี่ และใต้ชายโครงขวา ซึ่งระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 5-10 วัน

ระยะที่ 2 อาการไข้ลดลง เริ่มมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ตับโต กดเจ็บบริเวณชายโครงขวา ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม อ่อนเพลียมากขึ้น ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์

อาการไข้ลดลง เริ่มมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ตับโต กดเจ็บบริเวณชายโครงขวา ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม อ่อนเพลียมากขึ้น ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์

ระยะที่ 3 อาการตาและตัวเหลืองหายไป แต่ตับยังโตและกดเจ็บ อ่อนเพลีย ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2-6 สัปดาห์

อาการตาและตัวเหลืองหายไป แต่ตับยังโตและกดเจ็บ อ่อนเพลีย ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2-6 สัปดาห์

โรคนี้ถ้าเป็นนานๆ โดยไม่ได้รับการรักษา หรือปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง อาจเกิดเป็นตับอักเสบเรื้อรังและกลายเป็นโรคตับแข็งได้

การติดต่อ

1. การติดต่อจากมารดาสู่ทารก ปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บีให้กับทารกแรกคลอดทุกคน ซึ่งช่วยลดอัตราการติดเชื้อได้มาก สำหรับการให้นมบุตรของมารดาที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บีจะไม่เพิ่มอัตราการติดเชื้อในทารก

2. ทางเลือด ติดเชื้อได้จากการฉีดยา เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือจากการได้รับเลือดและส่วนประกอบของเลือดที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ปะปนอยู่ รวมทั้งการสัก ฝังเข็ม และเจาะหู

3. ทางเพศสัมพันธ์

4. ทางปาก มีอัตราเสี่ยงการคิดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็น

  • การรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ
  • การรับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วยโรคนี้โดยตรง

การรักษา

โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส บี ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ การรักษามีจุดมุ่งหมายเพื่อประคับประคองให้ตับมีสภาพดีขึ้นและสามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ ดังนั้น การรักษาที่ดี คือ การพักผ่อนให้เพียงพอ และปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เพื่อให้ตับฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

การปฏิบัติตน

  • การพักผ่อน ควรพักผ่อนให้เพียงพอและลดการทำกิจกรรมทุกชนิด รวมทั้งการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงมากๆ จนกว่าความรุนแรงของโรคจะลดลง ซึ่งจะทราบได้จากอาการอ่อนเพลียลดลง อาการตาและตัวเหลืองลดลงหรือหายไป ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน รับประทานอาหารได้มากขึ้น
  • อาหาร ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น อาหารจำพวกแป้ง ผัก และผลไม้
    • ไม่ควรรับประทานอาหารมันจัดหรือไขมันมาก เพราะจะทำให้ตับต้องทำงานมากขึ้น จะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนมากขึ้นได้ ถ้ามีอาการบวม ต้องงดอาหารรสเค็ม
    • การดื่มน้ำหวานจำนวนมากๆ ไม่ได้ช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น แต่กลับมีผลเสีย คือน้ำตาลมากเกินไป จะเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในตับ ทำให้ตับโต มีอาการจุกแน่นนานกว่าปกติ
  • งด ดื่มสุรา เหล้า เบียร์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งอาหารหมักดอง บุหรี่
  • ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โดย
    • แยกของใช้ประจำตัวของผู้ป่วย เช่น จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว และทำความสะอาดทุกครั้งโดยการต้มในน้ำเดือดนาน 10-15 นาที หรือนำไปตากแดด
    • การรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ควรใช้ช้อนกลาง
    • การขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ควรถ่ายในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
    • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ภายหลังออกจากห้องส้วม
    • ภาชนะที่ใส่อุจจาระ ปัสสาวะ ต้องแช่ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ โดยใส่ผงคลอรีน หรือน้ำยาซักผ้าขาว
  • เพศสัมพันธ์ ก่อนแต่งงาน ควรตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เสียก่อน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีการติดเชื้อ อีกฝ่ายหนึ่งควรไปพบแพทย์เพื่อพิจารณาฉีดวัคซีน คู่สมรสในระยะแรกต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ จนกว่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคและเกิดภูมิคุ้มกันโรคได้เพียงพอตามคำแนะนำของแพทย์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น เพราะยาเกือบทุกชนิดจะถูกทำลายที่ตับ ดังนั้น ตับจึงต้องทำงานมาก อาจทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น

การป้องกันการเกิดโรค

  1. รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ สะอาด ดื่มน้ำต้มสุก งดอาหารสุกๆดิบๆ
  2. รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ควรใช้ช้อนกลาง
  3. หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกัน เช่น มีดโกนหนวด กรรไกรตัดเล็บ ไม้แคะหู แปรงสีฟัน
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  5. สังเกตและตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย เช่น ตาและตัวเหลือง ถ้าพบหรือสงสัยควรรีบปรึกษาแพทย์

ปัจจุบันมีวัคซีนชนิดฉีด เพื่อป้องกันการเกิดโรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ซึ่งการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันนั้น พบว่า เมื่อฉีดครบ 3 เข็ม ที่ระยะเวลา 0, 1และ 6 เดือน ในผู้ที่ภูมิคุ้มกันปกติ จะก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ร้อยละ 90-95 ภูมิคุ้มกันนี้จะลดลงช้าๆ ดังนั้น ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นทุก 5-10 ปี

อาการคล้ายเป็นไข้หวัด ได้แก่ มีไข้สูง เจ็บคอ ไอ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บเสียวบริเวณลิ้นปี่ และใต้ชายโครงขวา ซึ่งระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 5-10 วัน อาการไข้ลดลง เริ่มมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ตับโต กดเจ็บบริเวณชายโครงขวา ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม อ่อนเพลียมากขึ้น ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ อาการตาและตัวเหลืองหายไป แต่ตับยังโตและกดเจ็บ อ่อนเพลีย ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2-6 สัปดาห์
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14646เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2006 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Artichokes (ATISO, ACTISO) อาร์ติโช๊ค

อาร์ติโช๊ค (Cynara scolymus) เป็นพืชที่นิยมปลูกในต่างประเทศ เฉพาะภูเขาสูงมากกว่า 1,500 เมตร เท่านั้น ปี 2513 นักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรป ได้ค้นพบสารไซนาริน ” มีคุณค่าทางอาหาร และยา นำมาบริโภคสด หรือปรุงอาหารได้ทุกส่วน หรือนำมาสกัดสารไซนาริน(Synarin) รับประทานเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพได้ดี” ในยุคโบราณอาร์ติโช๊คเป็นอาหาร และยารักษาโรคของชาวอียิปต์ ชาวกรีก และชาวโรมัน และเป็นเมนูอาหารที่สำคัญในทุกงานเลี้ยงของกรุงโรม นอกจากจะเป็นอาหารเสริม แล้วยังมีสรรพคุณทางยา ดังนี้

1. ช่วยบำรุง กระตุ้นการทำงานของตับ ซึ่งตับเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ในการสกัดสารพิษ หรือสิ่งแปลกปลอมออกจากกระแสโลหิต สร้างน้ำดีและน้ำย่อย และเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสารอาหาร ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย

2. กระตุ้น การสร้างน้ำดีของตับ ทำให้มีประสิทธิภาพในการลดไขมัน (Chloresteral) ในเลือด ช่วยให้ระบบหลอดเลือดและหัวใจทำงานดี ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน

3. เสริมสร้างการทำงานของถุงน้ำดี ช่วยสร้างน้ำดีป้องกันถุงน้ำดีอักเสบ ซึ่งมักเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ทำให้ระบบการย่อยอาหารดี ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก

4. ช่วยป้องกันตับอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคดีซ่าน และโรคตับแข็ง (Cirrhosis) ในประเทศบราซิล อาร์ติโช๊ค เป็นยาสมุนไพรพื้นฐาน ที่ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยของตับ และโรคอื่นหลายโรค ได้อย่างกว้างขวาง เช่น โรคโลหิตจาง เบาหวาน ไข้ รักษาบาดแผล และเกาส์

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม

www.artichokeliver.com หรือ

www.smethai.com/shop/gms

Tel: 02 - 888 - 9954, 081 – 627 1521 คุณวัลลภา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท