KM ที่ขาดพลังในการขับเคลื่อน (1)


" 4 ประเด็นคำถามที่อยากให้ช่วยตอบ "

           จากที่ไม่ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับการจัดการความรู้ภาคราชการ  มาประมาณ 3-4 เดือน        หลังจากที่ในแวดวงการพัฒนาระบบราชการในภาพรวมได้มีการชะลอการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุผลบางประการ  ทำให้หลายคนรู้สึกว่าพลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงระบบราชการลดน้อยลงไป    ถึงแม้ว่าจะเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว   แต่ในระดับปฏิบัติการอย่างน้อยก็ได้เห็นความพยายามในการปรับกลยุทธ์และมีนวัตกรรมทางการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นในภาคราชการและเข้าใจว่าหลังจากที่กลไกการเปลี่ยนแปลงในแวดวงการพัฒนาระบบราชการมีความชัดเจนขึ้น น่าจะมีพลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้น 
             ในปีงบประมาณ 2549  ในมิติที่ 4  การพัฒนาองค์กร  การเปลี่ยนแปลงของส่วนราชการต่างๆมีความก้าวหน้าอย่างยิ่ง  ทั้ง 3 ประเด็น คือ   การบริหารการเปลี่ยนแปลง(การจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงและการนำไปสู่การปฏิบัติ)       การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ(ระบบ ICT )          แต่ในประเด็นสุดท้ายการจัดการความรู้(Knowledge Management) ที่เริ่มจากการจัดทำแผนการจัดการความรู้ ฉบับปี 2549 (ซึ่งไม่แน่ใจว่ามีความแตกต่างจากการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการความรู้ในปี2547อย่างไร) ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้  อยากจะขอคิดดังๆในวันนี้  โดยอยากจะขอตั้งข้อสังเกตดังนี้
1.    ระบบการคิดแบบระบบราชการสามารถขับเคลื่อนการจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
2.    วัฒนธรรมองค์กรแบบราชการสอดคล้องกับวัฒนธรรมการจัดการความรู้(การแลกเปลี่ยนเรียนรู้)หรือไม่
3.    การจัดการความรู้ของส่วนราชการต่างๆ (ทั้งกรมและจังหวัดรวมถึงส่วนราชการแบบอื่นๆมากกว่า   200 ส่วนราชการ) ควรจะใช้คู่มือการจัดทำแผนการจัดความรู้แบบ Topdown in one Book หรือควรจะเป็นแบบ  Taylor Made
4.    การเชื่อมโยงเกี่ยวข้องของทั้ง 3 ประเด็นในมิติที่ 4 ( การจัดการความรู้  การบริหารการเปลี่ยนแปลงตามBlueprint for Change     การพัฒนาระบบ ICT) จะดำเนินการอย่างไร
      ที่จำเป็นต้องขอคิดดังๆวันนี้อีกครั้ง เพราะกำลังรู้สึกว่า  การจัดการความรู้ภาคราชการ V.2549 ที่ทุกส่วนราชการกำลังทำนั้น  กำลังจะเป็นKMที่ขาดพลังในการขับเคลื่อน เพราะเหตุผลจาก  4 หัวข้อข้างต้นไม่ว่าจะเป็น  การใช้ระบบการคิดแบบระบบราชการ   การมีวัฒนธรรมองค์กรแบบราชการ   การใช้คู่มือการจัดทำแผนการจัดความรู้แบบ Topdown in one Book  และการขาดความเชื่อมโยงของทั้ง 3 ประเด็นในมิติที่ 4  


                                                
พรสกล  ณ  ศรีโต
                                                       7/2/2549

                                                     
หมายเลขบันทึก: 14605เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2006 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ผมมีความรู้สึกว่าราชการภายใต้รัฐบาลปัจจุบัน   ถูกบีบแบบ top down อย่างแรง    ข้าราชการทำงานแบบลุกลี้ลุกลน งกๆ เงิ่นๆ เพราะ ซีอีโอต้องการผลเร็ว    ข้าราชการจึงทำงานแบบให้ได้รายงานผลเชิงปริมาณเป็นหลัก    เกิดการทำงานและรายงานผลงานแบบฉาบฉวย หรือหลอกๆ รุนแรงขึ้นกว่าเดิม    สภาพเช่นนี้ไม่เอื้อต่อการทำ KM

ไม่ทราบว่าความเข้าใจของผมผิดหรือถูก

วิจารณ์ พานิช

ดีใจจังที่ได้มาอ่านความคิดของอาจารย์อีก  รอตั้งนานอย่าหายไปนานนะคะ   อยากให้คนไทยทุกคนคิดออกมาดังๆ ประเทศจะได้มีการพัฒนาและก้าวต่อไปไม่หยุด
เราจะต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์อีกมากเท่าไหร่    เวลาอีกนานแค่ไหนที่จะเปลี่ยนแปลงระบบราชการที่มีรากแก้วเน่าๆที่ยึดขวานด้ามนี้ไว้อย่างยากที่จะถอนรากถอนโคน  ขอเป็นกำลังใจกับทุกท่านที่พยายามจะแก้ไขปรับปรุงให้รากแก้วนี้เป็นรากที่สมบูรณ์สามารถดูดอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆของขวานให้เจริญเติบโตต่อไปชั่วกาลนาน
ข้าราชการเน่า ๆ เก่า ๆๆ (ติดอ่าง )โง่ๆๆ..

  ความคิดของท่านข้างต้นถูกหมด

ข้าราชการที่มีความตั้งใจจะเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงาน ก็มีมาก แต่ขาดการสนับสนุนอย่างยั่งยืน...จริงจัง  จริงใจ  มีการสั่งให้ทำ ..โดยคิดว่า  ทุกเรื่องที่สั่ง ข้าราชการทุกคนต้องทำได้.. สภาพแบบนี้เป็นมาตลอด   การสั่งให้ทำ ..ควรมีการออกแบบการสนับสนุนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง ยั่งยืน ควบคู่มาด้วย..สั่งมาเป็นร้อย ๆเรื่องในแต่ละเดือน.. เป็นข้าราชการผู้น้อย ความรู้ก็น้อย.. เรื่องใหม่ ๆ  ยาก  ๆ  ทำกันผิดๆ ถูก ๆ   เพราะไม่รู้แก่นที่แท้จริงของงาน เช่น การแก้ปัญหาความยากจน ไปเรียนรู้เองจากผู้ทรงคุณวุฒิชั้นสูง /ผู้เชี่ยวชาญ ค่าวิชาก็แพงมาก ๆ (แต่ก็คุ้มค่าถ้าได้ไปฟัง..)การทำงานของข้าๆๆๆๆๆราชการ  บางที่ก็สนองคุณแผ่นดินเกิดไม่ได้ตามที่เบื้องบน และนักวิชาการ  ต้องการ ..อยากเป็นข้าราชการพันธุ์ใหม่ แต่ ไอคิวน้อย...อายุมาก ใครอยากแนะ(ติเพื่อก่อ) อยากว่าข้าราชการพวกเรา ก็ยอมรับ ลองมายืนจุดที่พวกเราเป็นอยู่บ้าง แล้วจะรู้ว่ามันแย่กว่าที่ท่านคิด ..สามารถแสดงความคิดได้มากกว่านี้

หมายเหตุ..ขอคารวะนอบน้อม .ภูมิปํญญา ปราชญ์ชาวบ้านทุกคน ที่ท่านมีความมานะพยายามสร้างองค์ความรู้จากประสบการณ์ชีวิต..ทำให้ฐานรากหญ้าของสังคมไทยเข้มแข็งพวกเราข้าราชการที่แย่ ๆ..คงต้องไปเรียนรู้จากทุกท่าน  เพราะท่านเก็บค่าลงทะเบียนไม่แพง  บางทีก็ให้ความรู้เปล่า ๆ เป็นวิทยาทาน ..ขอบคุณทุกท่านที่กรุณาให้ข้อเสนอแนะ..เราข้าๆๆๆๆๆๆๆๆราชการจะพยายามตามที่ท่านแนะนำ..ฝากถึงน้อง ๆ ข้าราชการพันธุ์ใหม่ ที่ กพร.กำลัง สร้างด้วย รีบออกมาไวไว จะได้แสดงฝึมือให้คนยอมรับข้าราชการ.กันเสียที่.พี่เอง ถ้าไม่มีภาระหนี้สิน และต้องผ่อนบ้านเลี้ยงดูลูกๆ6 คน แถมญาติ ๆในครอบครัวอีก3.. ก็คงจะลาออก..แต่ไม่แน่นะ ..ที่หน้าบ้านมีตลาดนัด อาจไปเช่าแผงขายโทรศัพท์มือถือ บัตรเติมเงิน เพราะขายดีเหลือเกิน..ข้าราชการพันธ์เก่า ๆอย่างพวกพี่..ออกไปเสียบ้างก็คงทำ ให้แผ่นดินนี้เป็นเมืองน่าอยู่  พี่อยากให้ประชาชนอยู่ดี กินดี มีคุณธรรมเทียบเท่าประเทศที่เจริญ...

การเปลี่ยนแปลงระบบราชการให้ได้นั้น ดิฉันคิดว่าสิ่งแรกที่จะต้องทำคือ หาระบบหรือวิธีการที่จะทำให้ทุกคนมีความเป็นเจ้าขององค์กรของตน มีความรัก ความภาคภูมิใจในองค์กรของตนให้ได้ และที่สำคัญคือต้องทำให้เข้าใจและลึกซึ้งในเป้าหมายว่าทำเพื่อใคร เพื่ออะไร และพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ตนเองรู้แล้วต่อไปยังผู้ที่รู้น้อยกว่าอย่างจริงจังและจริงใจ  และต้องทำให้ในแต่ละหน่วยย่อยๆขององค์กรมีความเป็นครอบครัวมากที่สุด 

ดิฉันคิดถูกหรือผิดวิจารณ์ได้นะคะ ยินดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท