แต่งงานแนวใหม่


"อยากรู้ว่าความสุขมีจริงหรือไม่ ให้ลองแต่งงานดู เมื่อแต่งแล้วจะรู้ว่า ความสุขได้ผ่านพ้นไปแล้ว" เก็บตกจากถ้อยคำของสหาย

ใกล้ถึงวันแห่งความรักเข้าไปทุกขณะ หลายคู่หลายคนกำลังตื่นเต้นกับการที่จะมีชีวิตแบบคู่ ขณะเดียวกันหลายคู่หลายคนกำลังคิดจะแยกคู่ เกี่ยวกับการแต่งงานเป็นการตกลงกันเพื่อจะมีชีวิตคู่รวมกัน สมัยก่อนเป็นความตกลงกันของญาติทั้ง ๒ ฝ่ายคือ ชายและหญิง ขณะที่ญาติฝ่ายหญิงโดยเฉพาะพ่อแม่ได้เลี้ยงดูเธอมาตั้งแต่เด็ก จนกว่าจะถึงเวลาส่งเธอเข้าสู่เรือนแก้ว วิถีชีวิตของหญิงคือการทำงานบ้าน รับใช้ดูแลสามี หากสามีไม่แฟร์ ก็จะถูกกระทำทารุณกรรมจากฝ่ายชายทั้งด้านจิตใจและกาย ชีวิตผู้หญิงต้องอดทน เพราะหากอยู่กันไม่ได้จะถูกตราหน้าว่า ใจเจ้าไม่มั่นคง ขณะที่สามี ยังคงทำตามใจตนทุกอย่าง อย่างไรก็ตาม การสู่ขอเพื่อแต่งงาน ฝ่ายชายจะเป็นผู้กระทำพร้อมด้วยสินสอดทองหมั้นจำนวนหนึ่ง ปัจจุบัน คงไม่ใช่ให้ญาติเป็นผู้เลือกให้แล้ว เนื่องจากสังคมกว้างกลายเป็นสังคมแคบ หญิงชายมีสิทธิ์ในการเลือกคู่ครอง บางครั้งทำตามวัฒนธรรมตะวันตกคืออยู่ก่อนแต่ง อยู่กันได้ค่อยแต่งกัน ปัจจุบัน การแต่งงานควรเป็นการแต่งงานแนวใหม่ คือ ในเมื่อหญิงชายมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ญาติทั้ง ๒ ฝ่ายควรนำสินสอดทองหมั้นตามประเพณี (หากยังยึดประเพณีนี้อยู่) มากองรวมให้ทั้งคู่ไปมีชีวิตใหม่ หรือไม่ก็ทั้งชายและหญิงต้องเก็บเงินมารวมกันเพื่อลงทุนร่วมกันในการสร้างครอบครัว เพื่อเมื่อถึงคราวที่อยู่กันไม่ได้ ก็ต้องมีการแบ่งลูกคนละครึ่ง แบ่งสมบัติคนละส่วน (กรณีที่เห็นว่าสมบัติคือเป้าหมาย) แล้วต่างคนจึงต่างอยู่ สินสอดทองหมั้นคงไม่ใช่ให้แก่ญาติฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแล้วกระมัง เกี่ยวกับการแต่งงาน ทำให้นึกถึงหลักธรรมอันหนึ่งในพุทธศาสนาคือ หลักธรรมของการครองเรือน สัตย์ซื่อจริงใจ ข่มไว้ซึ่งจิต อดทนเป็นนิจ มีจิตแบ่งปัน น่าจะยังคงใช้ได้ดีสำหรับครอบครัวที่ต้องการครอบครัวสันติสุข

คำสำคัญ (Tags): #ศาสนาและปรัชญา
หมายเลขบันทึก: 14584เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2006 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท