คำดีๆจากเมืองเหนือ


ไม่ใช่ติดตามประมินผล แต่เป็น ติดตามให้กำลังใจ

คุณหมอชูชัย ศุภวงศ์ ทำโครงการที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพิทักษ์สิทธิเด็ก สามารถสร้างกลไกดูแลเรื่องนี้ในระดับจัหวัดรวม 10 จว

หนึ่งในนั้นคือ จว น่าน ที่หลายคนได้ยินก็จะบอกว่าไม่น่าแปลกใจ เพราะที่นั่นมีชื่อเสียงเรื่องกลุ่มฮักเมืองน่าน

แต่คุณหมอโกมาตร ท้วงงว่าจริงๆแล้ว กลุ่มฮักเมืองน่านไม่ได้เกิดขึ้นมาโดดหรอก เมืองน่านเองน่าจะมีพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมที่ทำให้การรวมกลุ่มอย่างที่เห็นเกิดขึ้นมาได้

คุณสุทธิพงษ์ จนท สาธารณสุขที่มีบทบาทสูงในการเป็นผู้เชื่อมประสานเล่ากิจกรรม และวิธีคิดในโครงการ ตอนหนึ่งเขาบอกว่าในโครงการมีการทำระบบ่ติดตามที่ไม่ใช่ ติดตามประมินผล แต่เป็น ติดตามให้กำลังใจ

ฟังดูแล้วก็ให้รู้สึกดีใจที่เห็นว่ามีคนให้ความสำคัญกับการทำสิ่งที่ดี ขนาดคิดคำพูดที่เหมาะสมให้ เพราะพวกเราก็พูดกันมานานว่าการติดตามงานนั้นความจริงเราอยากให้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่ใช่จับผิด อยาให้ตามด้วยการเรียนรู ไม่ใช่การตำหนิ

และหลายคนก็รู้เหมือนๆกันว่า้ คนส่วนใหญ่กลัวเรื่องประเมินผล

สมัยนี้เขาพูดถึงสิ่งที่เรียกกันว่า empowerment evaluation ก็แยะ 

แต่เวลาพูดถึงการติดตามงานเพื่อช่วยสร้างการเรียนรู้ เราก็มักจะพูดเหมือนเดิมว่า  ติดตามประเมินผล  แทนที่จะคิดตำเหมาะๆมาใช้แทน

เพิ่งมาได้ยินคำว่า ติดตามให้กำลังใจก็เลยอยากเอามาเผยพร่ให้คนอื่นเอาไปใช้ต่อแทนคำว่า นิเทศติดตาม หรือคำว่าติดตามประเมินผลอย่างที่ว่าไ้ว้

เข้าใจว่าคุณสุทธิพงษ์ คงไม่ว่านะครับ 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14570เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2006 23:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ดีจังค่ะ ขออนุญาติเอาไปใช้ในโครงการสูงอายุด้วยค่ะ

ผมทำ KM กับเครือข่ายประชาคมน่าน ขอยืนยันวัฒนธรรมองค์กร ของน่านที่อิงความสัมพันธ์คน-คน ยาวนานต่อเนื่องตั้งแต่ยุคท่ต้องพึ่งพาแรงงานเพื่อนบ้านในการเกี่ยวข้าว แม้ว่าเมืองน่านมีที่ปลูกข้าวน้อยนิดแต่ตลอดประวัติศาสตร์น่านไม่เคยมีใครอดข้าวตาย ไม่เคยมีขอทาน นี่คือผลจากการจัดระบบความสัมพันธ์คนน่านที่จัดการความสัมพันธ์ให้ชิดแนบเช่นพี่น้อง

องค์กรประชาคมน่านจึงเป็น องค์กรไร้รูป แต่มีปณิธานและมีความผูกพันอาทรกันและกันสูงมาก น่าจะจัดเป็น Chaordic Organization แบบไทยๆ

ระยะ 5 - 10 ปีมานี้ มีบทเรียนใหม่ๆ จากการประยุกต์การบริหารสำนักงานเลขานุการมาใช้กับความเคลื่อนไหวประชาคม อาทิ ศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่าน ซึ่งทำหน้าที่ "กองกลาง" หรือ "ตัววิ่ง" เชื่อมความเคลื่อนไหวที่โน่นที่นี่ให้เกิดพลังร่วม ศุนย์นี้ไม่มีประธานแต่มีหัวหน้าศูนย์หรือหัวหน้าคณะเลขาธิการ พื้นที่งานอยู่ในชุมชนต่างๆ คนที่ทำหน้าที่ตัววิ่งทุกท่านไม่มีค่าตอบแทนจากการทำประชาคม ใครมีเงินเดือนก็ได้รับเงินเดือนเหมือนเก่า ใครเป็นประชาชนก็ยังเป็นประชาชนเช่นเดิม

ด้วยเหตุฉะนี้ การจัดตั้งประชาคม ตามวาทะ "ไปทำประชาคมมาก่อน" หรือ การตั้งประธานประชาคม ตั้งกรรมการ จึงเป็นเพียงเปลือก ส่วนแก่นนั้นได้เล่าแล้วในสองย่อหน้าข้างต้น

ชาตรี เจริญศิริ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท