แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ


ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงและสหกรณ์

ดูแผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้  กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

สาระที่ 1  ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม              หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา              

แผนการจัดการเรียนรู้ ที่  1  เรื่อง  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา                                      เวลา  1  ชั่วโมง

นางภาวนา  ผาติสุนทร  ผู้สอน  โรงเรียนบ้านเลิงเปือย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1

1.  สาระสำคัญ

                   ศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนเรา และศาสนายังประกอบด้วยหลักจริยธรรม และการปฏิบัติที่ถูกหลอม เป็นสถาบันทางสังคม ที่ส่งเสริมให้ผู้นับถือในแต่ละศาสนาอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  ตามหลักคำสอนของแต่ละศาสนา โดยมีศาสนาในแต่ละศาสนาเป็นผู้ก่อตั้งหลักธรรมคัมภีร์ และสาวกสืบทอดซึ่งจัดเป็นองค์ประกอบของศาสนา  พร้อมกันนั้นยังมีประโยชน์เพื่อรักษาจรรโลงให้สังคมได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ภายใต้หลักปฏิบัติของแต่ละศาสนา

2.  จุดประสงค์การเรียนรู้

      2.1  อธิบายถึงความสำคัญ ประโยชน์และความคิดหลักของศาสนาได้

      2.2  มีส่วนร่วมในกิจกรรมของห้องเรียน และได้ฝึกหัดการตัดสินใจ

      2.3  ประพฤติปฏิบัติตามหลักของศาสนาที่ตนนับถือ

3.  สาระการเรียนรู้

      3.1  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

      3.2  ความหมายและความสำคัญของศาสนา

      3.3  สาเหตุของการเกิดศาสนา

      3.4  องค์ประกอบของศาสนา

      3.5  ประโยชน์ของศาสนา

4.  กิจกรรมการเรียนรู้

      4.1  ขั้นทดสอบก่อนเรียน

                   นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน แล้วให้นักเรียนเปลี่ยนกันตรวจ โดยครูเป็นผู้เฉลยคำตอบ แล้วนักเรียนนำคะแนนที่ได้บันทึกลงในแบบบันทึกของตนเอง                           

      4.2  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

             4.2.1  นักเรียนร้องเพลงศาสนาของไทยโดยครูแจกเนื้อเพลงให้นักเรียนอ่านและฝึกร้อง พร้อมกับทำท่าทางประกอบเพลงตามจินตนาการ

             4.2.2  ครูนำภาพที่เกี่ยวข้องกับศาสนาต่าง ๆ มาให้นักเรียนดู ร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับศาสนาที่ตนเองนับถือ และพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ ว่าพิธีดังกล่าวเกี่ยวข้องกับศาสนาใด มีองค์ประกอบของศาสนาใดบ้าง โดยครูตั้งประเด็นคำถามให้นักเรียนตอบ

       4.3  ขั้นสอน

             4.3.1  แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ  5-6  คน ศึกษาใบความรู้ เรื่อง ศาสนาที่มีใน

ประเทศไทย และองค์ประกอบของศาสนาต่าง ๆ  แล้วครูใช้การสอนด้วยวิธีบรรยาย

             4.3.2  แต่ละกลุ่มศึกษาเรียบร้อยแล้วให้แต่ละกลุ่ม  สรุปความรู้ลงในแผนภาพความคิด ในใบงานที่ 1 เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

             4.3.3  หลังจากที่แต่ละกลุ่มทำงานเรียนร้อยแล้วให้นักเรียนทุกคนทำแบบฝึกหัด ตามใบงานที่ 2 เรื่อง ศาสนาที่ตนนับถือ

      4.4  ขั้นสรุป

             4.4.1 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป และสร้างองค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา และนำความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรมที่นักเรียนสนใจ บันทึกลงในแผนภาพความคิด

             4.4.2  นักเรียนทำกิจกรรม แบบบันทึกการพัฒนาการอ่านและการเขียน ซึ่งเป็นการบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

      4.5  ขั้นฝึกทักษะ

             4.5.1  ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน แล้วเปลี่ยนกันตรวจ โดยครูเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง นักเรียนนำคะแนนที่ได้บันทึกลงในแบบบันทึกตนเอง

             4.5.2  นักเรียนทำแบบฝึกหัด เป็นการบ้าน

5.  สื่อ / แหล่งเรียนรู้

      5.1  หนังสือเรียนสังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรมขั้นประถมศึกษาปีที่  4

      5.2  แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

      5.3  ใบความรู้จำนวน 1 เรื่อง คือใบความรู้ที่ 1 เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

      5.4  ใบงานจำนวน  2  ชิ้น คือ ใบงานที่ 1 เรื่องศาสนาที่มีในประเทศไทย ใบงานที่ 2 เรื่องศาสนาที่นักเรียนนับถือ

      5.5  ภาพประกอบพิธีกรรมของศาสนาต่าง ๆ ที่แขวนอยู่ข้างห้องเรียน

      5.6  เนื้อเพลงศาสนาของไทย

      5.7  แบบบันทึกการพัฒนาการอ่านและการเขียน

6.  การวัดและประเมินผล

      6.1  วิธีวัดผลและประเมินผล

             6.1.1  ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน  ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

             6.1.2  สังเกตกระบวนการทำงานกลุ่ม

             6.1.3  ตรวจใบงาน  2  ชิ้น

             6.1.4  ตรวจแบบบันทึก การนับถือศาสนาของนักเรียน

             6.1.5  ตรวจแบบบันทึกการพัฒนาการอ่านและการเขียน

      6.2  เครื่องมือวัดผล

             6.2.1  แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน  ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่  1         

             6.2.2  แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานกลุ่ม

             6.2.3  ใบงานจำนวน  2  ชิ้น

             6.2.4  แบบบันทึกการนับถือศาสนาของนักเรียน

             6.2.5  แบบบันทึกการพัฒนาการอ่านและการเขียน

      6.3  เกณฑ์การประเมิน

             6.3.1  ผ่านการทำแบบทดสอบได้ร้อยละ 70

             6.3.2  ผ่านการประเมินกระบวนการทำงานกลุ่มร้อยละ 70

             6.3.3  ผ่านการประเมินผลงานการทำงานร้อยละ 70

7.  กิจกรรมเสนอแนะ

                   นักเรียนอ่านบทเรียนทบทวนเป็นการบ้าน

8.  การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาต่าง ๆ

             8.1  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน

             8.2  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ การแสดงออกทางอารมณ์

             8.3  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา การทำท่าทางประกอบตามจินตนาการ

             8.4  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การสนทนา การสรุป

9.  ภาคผนวก

             9.1  บันทึกผลหลังการสอน

             9.2  ใบความรู้ที่ 1 เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

             9.3  ใบงานที่ 1 เรื่องศาสนาที่มีในประเทศไทย ใบงานที่ 2 เรื่องศาสนาที่นักเรียนนับถือ

             9.4  แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานของนักเรียน

             9.5  แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

             9.6  เพลงศาสนาของไทย

             9.7  แบบบูรณาการ กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

 

 ใบความรู้ที่ 1

สาระที่ 1  ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม             หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  เรื่อง  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา             

แผนการจัดการเรียนรู้ ที่  1  เรื่อง  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา                                      

 

เรื่อง  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา

             ทุกศาสนาสอนให้ทุกคนทำความดี  ละเว้นความชั่ว  ศาสนาที่สำคัญในประเทศไทย  คือศาสนาพุทธ  ศาสนาอิสลาม  ศาสนาคริสต์  ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู  ศาสนาสิกข์  และศาสนาขงจื้อ  ดังนั้นคนไทยควรศึกษาทุกศาสนา  เพื่อความเข้าใจอันดีต่อกัน  และนำมาซึ่งการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ความหมายของศาสนา

             ศาสนา  คือ  คำสั่งสอน  หรือข้อบังคับ  ที่ปรากฏในแต่ละศาสนา  โดยลักษณะคำสอนที่เป็นศาสนาต้องเป็นคำสอนที่เกี่ยวกับจุดหมายสูงสุดของชีวิต  รวมทั้งมีคำสอนเกี่ยวกับศีลธรรม  และพิธีกรรม

สาเหตุของการเกิดศาสนา

             1.  ความกลัวในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  เช่น  ฟ้าร้อง  ฟ้าฝ่า  ความตาย  จึงอ้อนวอนบูชา  เพื่อป้องกัน  เพื่อความอยู่รอด        

             2.  ความไม่รู้  เช่น  ความมืด  ความสว่าง  เจ็บ  ตาย  คิดว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์บันดาล  จึงเกิดความศรัทธา  เคารพบูชา  จนกลายเป็นศาสนาในที่สุด

             3.  ความเลื่อมใสศรัทธา  คนเราเมื่อเกิดความเชื่อก็จะศรัทธากราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น  เช่น  พระเจ้า  นางไม้  เทวดา  เป็นต้น  จนกลายเป็นศาสนา

องค์ประกอบของศาสนา

             แต่ละศาสนามีองค์ประกอบที่รวมกันเป็นศาสนา  ดังนี้

                   1.  ศาสดา  หมายถึง  ผู้ค้นหลักธรรม  เผยแผ่,  ประกาศศาสนา  หรือก่อตั้งศาสนา

                   2.  คัมภีร์ทางศาสนา  หรือหลักคำสอนที่ศาสดาค้นพบนำมาสอนเป็นหลักปฏิบัติสำหรับผู้นับถือศาสนา  นั้น

                   3.  สาวก  คือ ผู้ปฏิบัติตามหลักคำสอน และสั่งสอน ศาสนิกชนของตน

                  4.  พิธีกรรม  คือ  ระเบียบพิธีสำหรับปฏิบัติในแต่ละศาสนา

                   5.  ศาสนสถาน  คือ  สถานที่ซึ่งมีไว้ประกอบกิจทางศาสนานั้น ๆ

                   6.  สัญลักษณ์  คือ  เครื่องหมาย  หรือสิ่งแทนศาสนานั้น

 

 

องค์ประกอบ

ศาสนา

พระพุทธศาสนา

คริสต์

หมายเลขบันทึก: 145628เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2007 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

แผนการเรียนรู้สังคม ชั้น ป. 4

แผนการเรียนรู้สังคม ป. 5

แผนการสอน สังคม ป. 5

ดีครับดีอยากได้ ครูสังคม นครพนม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท