ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ... การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ


 

จะว่าไปแล้ว ก็เป็นกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องในกรมอนามัย ที่มารวมตัวกันคิด เรื่อง โครงการเพื่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มของนักวิชาการในงานทันตสาธารณสุข และงานส่งเสริมสุขภาพ กว่า 10 ชีวิต ที่มารวมตัวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการหาช่องทาง หรือบุคคล ที่จะนำกิจกรรมหรือความรู้ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากไปให้ถึงผู้สูงอายุ และเพื่ออนาคตที่จะบรรลุถึงสุขภาพ และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

หมออ้อย ... ทพญ.วรางคนา เวชวิธี กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัยหมออ้อย ได้สรุปเรื่องราวจากการประชุมให้ฟังว่า ... กลุ่มของเรามีการคุยกันในเรื่อง

1. การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ควรเป็นไปในลักษณะบูรณาการ

  • การทำงาน จะบูรณาการงานทุกอย่าง เข้ากับงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ใน 10 โครงการหลักของกรมอนามัย
  • ประเด็นทันตสุขภาพ ที่เป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ในเรื่องของการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุ โรคในช่องปาก ระยะ severe ผู้สูงอายุยังมีโรคทางระบบ บางโรคเกี่ยวข้องและมีผลกับสุขภาพช่องปาก ขณะเดียวกัน ก็มีโรคในช่องปากที่มีผลต่อโรคทางระบบด้วย ทั้ง 2 ทาง นอกจากนั้นยังมีเรื่องความพิการ หรือศักยภาพในการดูแลช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เข้ามาเกี่ยวข้อง
  • ระบบการสร้างเสริมสุขภาพ คงต้องมีทุกๆ อย่างรวมกัน ทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู
  • ภาพงานบูรณาการ ไม่ใช่การไปแปะ หรือการไปบวกเพิ่ม

2. การทำงานสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ควรหาช่องทางที่ไปให้ถึงตัวผู้สูงอายุ ถ้ามีการทำงานผ่าน setting หลักอยู่แล้ว ควรมองที่จุดนั้นก่อน

  • setting หลัก มีอยู่แล้วอยู่ในชมรมผู้สูงอายุ การเยี่ยมบ้าน หรือ Home Health Care และ วัด
  • เราทำงานทันตฯ ผ่านไป setting หลักเหล่านี้ก็จะทำได้ง่ายขึ้น
  • การ Implement ผ่านชมรมก็เป็นตัวที่เข้าถึงตัวผู้สูงอายุได้มากที่สุด ถ้าเราทำทุกอาทิตย์ก็จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด มากกว่าการไปเยี่ยม individual และมากกว่าการไปอบรมอาสาสมัคร
    • การทำงานสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ผ่าน setting แต่ละแห่ง อาจมีระยะเวลาการให้บริการ และกิจกรรมที่ต่างกัน
    • ในแต่ละ รพ. จะมีชมรมผู้สูงอายุอยู่แล้ว ซึ่งมีการพบปะกันแล้ว บางแห่งก็เดือนละครั้ง บางแห่งก็สัปดาห์ละครั้ง แล้วแต่แต่ละที่
    • ออกเยี่ยมดูแลสุขภาพตามหมู่บ้าน ซึ่งถ้าเป็นหมู่บ้านนอกเมือง การคมนาคมจะต่างกัน
    • การทำงานสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุผ่าน setting แต่ละแห่ง อาจมีเป้าหมายผู้สูงอายุที่มีลักษณะแตกต่างกัน ซึ่งจะส่งผลต่อกิจกรรมที่ทำต่างกัน
    • ถ้ามีความต่างในเรื่องคุณลักษณะผู้สูงอายุแล้ว มันส่งผลในเรื่องการทำ คงต้องจำแนกกลุ่ม เพราะอาจได้กิจกรรมที่ต่างกัน
    • Home Health Care ส่วนใหญ่เป็นการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ที่ต้องออกไปติดตามเยี่ยมต่อ จะมี case home visit ธรรมดา และ case home visit สำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง ที่มีปัญหาช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และมีปัญหาสุขภาพช่องปาก ส่วนผู้ที่ดูแลตนเองได้ อาจแนะนำการดูแลให้ตั้งแต่อยู่ใน รพ. แล้ว ก่อน discharge ก็ไม่ต้องไป develop ที่บ้าน

3. การทำงานสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ต้องทำงานเป็นทีม และต้องมีเครือข่าย

  • เราทำงานกันเป็นทีม ในแต่ละระดับมีผู้รับผิดชอบ มีบทบาทที่ชัดเจน ทั้งส่วนกลาง ศูนย์อนามัย จังหวัด โรงพยาบาล จนถึงผู้ปฏิบัติงานใน PCU มีบทบาทหน้าที่ทำอะไร
  • การผนวกพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากไปในวิถีชีวิตได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้สูงอายุที่ช่วยตัวเองได้ และโดยใครที่ไม่ใช่ทันตบุคลากร

4. การทำงานสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ควรลงไปดูสิ่งที่มีอยู่แล้วในชุมชนก่อน แล้วต่อยอดขึ้นไป

  • ถ้าเราจะไปเพิ่มอะไรที่ผิดปกติออกไป เช่น ศูนย์ไป create หรือตั้งกลุ่มใหม่จะฝืนธรรมชาติ ควรพัฒนากระบวนการ และรูปแบบการดำเนินงานในหน่วยบริการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ผ่านเครือข่ายผู้สูงอายุในโรงพยาบาล และเครือข่าย
  • สิ่งที่ต้องการให้เกิดคือ การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ โดยใคร หรือช่องทางใด โดยให้เป็นตามธรรมชาติ ในวิถีชีวิตของชุมชน
  • รูปธรรมที่ชมรมทำมาแล้ว อะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เขาอยากทำ และมีความยั่งยืน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้มาจากชมรมที่ทำจริงๆ อาจต้องไปดูสิ่งที่ชมรมทำกันมาแล้ว ว่ามีปัจจัยอะไรที่เข้าไปเกี่ยวข้อง
    • การทำงานสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อาจต้องเลือกดำเนินการในจุดที่มีความเข้มแข็งก่อนซึ่งลักษณะของความเข้มแข็ง มีความหมายหลายมุมมอง
    • ชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นตัวสะท้อนว่า เขามีความต่อเนื่องของกิจกรรม
    • ในชนบทที่เข้มแข็ง บางทีเขาก็ไม่ได้มีความรู้เยอะ แต่เขามีการรวมตัว ร่วมแรงร่วมใจกันดี
    • ชมรมที่เข้มแข็ง เขาก็จะมีการวางแผนทำกิจกรรมกันเอง ถ้าเราต้องการให้เขารู้เรื่องอะไร ก็ต้องไปเสนอให้เขารู้ ส่วนใหญ่เขาจะกำหนดว่าจะมีกิจกรรมอะไร และขอให้เราไปช่วยให้ความรู้
    • การทำงานสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ควรมีการรับฟังสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการ ผู้สูงอายุ ควรเป็น ศูนย์กลาง ซึ่งเป็นการแสดงศักยภาพผู้สูงอายุ
    • ถ้าเราเชื่อว่าแต่ละชมรมเข้มแข็งอยู่แล้ว แทนที่เราจะต้องออกแบบว่า ชมรมจะต้องไปทำอะไร ก็ไปเอาจากเขาเลย และแทนที่เราจะต้องไปดูแลผู้สูงอายุที่อยู่นอกชมรม ตรงนี้ผู้สูงอายุทีอยู่ในชมรมที่เป็นพี่เลี้ยงที่เข้มแข็งอาจแทนเราได้ด้วยซ้ำ เขามี facility เยอะ เขามีการเยี่ยมเพื่อน ช่วยดูแลกันด้วย
    • ทั้งหมดต้องเอาเขาเป็นตัวตั้ง เรามีแค่ข้อที่เป็นความรู้ของเรา ที่เหลือต้องไปหาจากเขา เวลา design ว่าในความเป็นอยู่ กิจกรรมที่เขาเป็นอยู่เป็นอย่างนั้น แล้วเราจะเอาเรื่องของเราลงไปจะต้องคุยกัน แล้วของเขาต้องเป็นหลักเสมอ
    • ผู้สูงอายุต้องการการยอมรับ ควรเสนอให้เขาช่วยพวกเราคิด เพื่อที่จะออกไปทำให้ผู้สูงอายุด้วยกัน จะได้รับการยอมรับมากกว่า

5. กิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับวัย และความสนใจ และ ควรเป็นกิจกรรมที่มีการบูรณาการของทีมสหวิชาชีพ

  • ที่ลำปางทำมาแล้ว เอางานส่งเสริมบูรณาการเข้าไป เข้าไปตรวจเยี่ยม ANC จะเก็บข้อมูล และเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุด้วย มีการตรวจฟัน ให้คำแนะนำ ตรวจเช็คโรคประจำตัว แนะนำ มีแผนให้สุขศึกษาทุกเดือน และไปสอนแปรงฟันที่บ้านประมาณ 10%
  • ที่เชียงใหม่จะเป็นอีกแบบหนึ่ง เขามีชมรมผู้สูงอายุที่ตำบล อำเภอ แล้วเขาก็มีกิจกรรมเวียนกัน เดือนนี้เป็นของอำเภอ ตำบล และเขาก็มี จนท. ห้องฟันเข้าไปให้ความรู้ตลอด มีอะไรก็คุยกัน เรื่องฟัน แต่ตอนหลังมาไม่ได้จัดทุกเดือน เพราะว่าทันตฯ ไม่ได้เข้าทุกเดือน เขาบอกว่าคนแก่บางทีเขาก็ไม่ชอบ เขาบอกว่า ถ้าบางแห่งเขาต้องการ เขาก็จะร้องขอมา เรื่องนี้นะ เช่น เรื่องฟันเทียมเขาอยากรู้ ก็ไปให้ความรู้เขา แต่ถ้าเขาไม่ร้องขอ ขออย่าไปยัดเยียด
  • ผู้สูงอายุที่มาเข้าชมรม ก็จะเป็นคนที่มัก active เขาก็จะไปเผยแพร่ และเราก็ให้ concept ของการเผยแพร่ ว่า ไปบอกกันนะ เขาก็จะช่วยดู เช่น ในเรื่องของการออกกำลังกาย แล้วสุขภาพดีขึ้น เบาหวาน ความดันลดลง เขาก็ไปชวนกันมา ถ้าเขาเอากลับไปทำแล้วได้ผล เขาก็จะเผยแพร่กันเอง อยู่ที่ว่าจะทำหรือไม่ทำ
  • ในชมรมที่เข้มแข็ง บุคลากรเราเข้มแข็ง การทำงานผ่านพื้นที่ ตัวเจ้าของพื้นที่ อาจต้องคุยกับคนที่เขาทำงานตรงกับชมรม เช่น หัวหน้า สอ. หรือใครที่มีสัมพันธภาพที่ดี เขาทำงานร่วมกับชมรมอย่างไร ในลักษณะของคนกลุ่มนี้เขาสามารถนำข้อเสนอเข้าสู่ชมรมผู้สูงอายุได้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่า เขาจะใช้เทคนิคไหนเท่านั้นเอง เราอาจต้องผ่านบุคลากรคนของเราในพื้นที่เอง แต่ไม่ใช่หมายถึงทันตแพทย์ และลักษณะงานสามารถแฝงไป เป็นรูปแบบไหนได้บ้าง เพราะอาจจะไม่ใช่ไปนั่งสอนแปรงฟัน เพราะว่าอย่างนั้นขอแค่ปีละครั้ง เขาคงไม่เอาบ่อย แต่ว่าถ้าแทรกไปในกิจกรรมที่เขามีความต่อเนื่องอะไรก็ได้
  • ผู้สูงอายุคงต้องหนักไปที่กิจกรรม คงใช้สื่อไม่มาก อาจมีประกาศนียบัตร หรือการชมเชย

โครงการของเราเริ่มทำร่วมกัน กับสำนักส่งเสริมสุขภาพ และศูนย์อนามัย 3 แห่ง ข้อตกลงของเราก็คือ ไปลงทำในพื้นที่ โดย ศูนย์อนามัยจะเป็นผู้ประสาน และเราจะลงไปติดตามดูร่วมกันต่อไป

มีใครจะร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิด ก็จะยินดีมากค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 14558เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2006 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
นายรุ่งศักดิ์ ศิรินิยมชัย

อ่านแล้วผมเห็นว่าอนาคตผู้สูงอายุในประเทศไทยจะมีสุขภาพที่ดีและมีอายุเฉลี่ยเกิน 80 ปีแน่นอนครับ

ผมทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับผู้สูงอายุที่เชียงใหม่ก็ประทับใจในชมรมผู้สูงอายุที่นั้นมากครับ คิดถึงอุ๊ยทุกท่านครับ

จะกลับไปเยี่ยมเชียงใหม่อีกครั้งในอนาคตครับ

อ่านแล้ว น่าสนใจดีค่ะ  ชักเริ่มรู้สึกว่า บ้านเรามีคนให้ความสำคัญ  มีคนสนใจ คลุกคลี ทำงานกับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความคิดดีๆ และดูจะเข้าใจ เข้าถึงผู้สูงอายุที่มีความสามารถอยู่ไม่น้อย  

แต่การที่ผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี ถ้าสามารถร่วมมือกันหลายๆสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง สามารถดูแลและจัดการปัญหาทางสุขภาพผู้สูงอายุ ให้การป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพควรจะได้ร่วมมือกันนะค่ะ อยากให้มีการวางแผนร่วมกัน

นักศึกษาผู้สูงอายุปี1

คุณเสาวคนธ์คะ ... ปัจจุบันที่เคยไปพบผู้สูงอายุที่พื้นที่หมู่บ้านจริงๆ ผู้สูงอายุที่มีวิถีชีวิตอย่างเป็นสุข น่าจะเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ที่บ้าน เนื่องจากการมีสภาพแวดล้อมที่ดี ส่งเสริมสุขภาพได้ง่าย

... ผู้สูงอายุในเมืองซะอีกที่จะค่อนข้างมีปัญหา เพราะสภาวะเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ และฐานะ และอื่นๆ

จึงมีความเห็นว่า การส่งเสริมสุขภาพ หรือการให้บริการผู้สูงอายุในเมือง และชนบทอาจจะไม่เหมือนกัน ผู้สูงอายุในชนบท ถ้ามีความรู้จะสามารถดูแลตัวเองได้ดีกว่าผู้สูงอายุในเมืองนะคะ

เราจึงควรส่งเสริมสุขภาพให้เหมาะสมกับชุมชนของเขาน่าจะดีที่สุด วิธีการที่ดีน่าจะศึกษาร่วมกันกับพื้นที่ตั้งที่ผู้สูงอายุนั้นๆ อยู่อาศัย จึงน่าจะตรงเป้าหมายดีกว่านะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท