บทเรียนจากการใช้ Model ปลาทู ในการฝึกอบรม Facilitator และ Notetaker


เป็นตัวอย่างให้ชาวกรมอนามัย และผู้ที่สนใจ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

พี่ติ๊ก ... คุณสร้อยทอง เตชะเสน กองแผนงาน กรมอนามัยพี่ติ๊ก ... หนึ่งในผู้ร่วมทีม KM ได้สรุปประสบการณ์ ที่ได้ไปเป็นวิทยากรร่วมกันมาให้ ซึ่งอาจเป็นตัวอย่างให้ชาวกรมอนามัย และผู้ที่สนใจ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ

... จากการได้มีโอกาสเข้าร่วมคณะวิทยากรฝึกอบรม facilitator and notetaker ของ ... กองอนามัยการเจริญพันธุ์ ... ศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี ... โรงพยาบาลศรีธัญญา และ จังหวัดสมุทรสงคราม ได้ข้อสังเกตที่อยากจะร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. วิทยากรควรนำเข้าสู่การฝึกอบรม ด้วยการบรรยายสรุป เกี่ยวกับการจัดการความรู้  เช่น ความหมายของเค.เอ็ม., ความสำคัญ / ความจำเป็น / และประโยชน์ในการจัดการความรู้, กิจกรรมอะไรบ้างที่เรียกว่าการจัดการความรู้, รูปแบบการจัดการความรู้ที่จะทำในวันนี้ ต่างกับ เค.เอ็ม. ในรูปแบบอื่นๆ อย่างไร, คำศัพท์ที่จะใช้มีอะไรบ้าง นิยาม /คำแปล ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อปูพื้นฐานผู้ฟังและปรับคลื่นความคิดให้ตรงกัน ภายหลังการบรรยาย ควรมีเวลาให้ซักถามเพิ่มเติม
  2. เอกสารแผ่นพับของ สคส. มีเนื้อหาที่กระชับอาจดัดแปลงและนำมาใช้ประกอบการบรรยายได้
  3. ควรแจ้งวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมเป็นการย้ำอีกครั้ง รวมถึงขั้นตอนการฝึกอบรมและผลที่วิทยากรคาดหวัง เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรับทราบชัดเจนทั่วกัน และจะได้ตระหนักในบทบาทของตนว่ามาเพื่อเรียนรู้วิธีการและกลับไปทำได้ด้วยตนเอง ผู้เข้าอบรมจะได้ให้ความสำคัญกับการสังเกตเรียนรู้ขั้นตอน กระบวนการ เทคนิควิธีการการเป็น facilitator and notetaker มากกว่าจะมุ่งไปที่การแก้โจทย์ของ”หัวปลา” แต่ประการเดียว
  4. อธิบายความหมายของเรื่องที่จะคุยในกลุ่มให้เข้าใจตรงกัน พร้อมทั้งบทบาทของ Fa., Notetaker ผู้สังเกตการณ์และสมาชิกกลุ่มให้ทุกคนรับทราบพร้อมกัน คิดว่าไม่ควรแยกกลุ่มอธิบาย เพราะผู้เข้าอบรมควรเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันในทุกเรื่อง ยกเว้นในกรณีที่ไม่ใช่การอบรม Fa. และ Notetaker แต่เป็นการสัมมนาโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้จึงจะแยกชี้แจงผู้ทำหน้าที่เป็น Fa. และ Notetaker
  5. ในการเล่าเรื่อง และสรุปปัจจัยสำคัญ อาจใช้เทคนิคของ ศอ.4 ที่ให้ผู้ฟังทุกคนสรุป “เรื่องเล่านี้สอนให้รู้ว่า” โดยสรุปเป็นรายบุคคลเพื่อให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นของตน ป้องกันการพูดคนเดียวของสมาชิกกลุ่มบางคนที่อาจมีสถานภาพทางสังคมสูงกว่า หรือ มีแนวโน้มชอบพูดไม่ชอบฟัง เป็นต้น
  6. วิทยากรควรอยู่ประจำกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตั้งแต่เริ่มจนจบ และควรแนะนำตนกับกลุ่มว่าจะมาทำหน้าที่อะไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อมิให้สมาชิกกลุ่มเกิดความรู้สึกไม่คุ้นเคยกับวิทยากรและอาจทำให้เข้าใจผิดไปว่า วิทยากรมาขัดจังหวะกิจกรรมกลุ่ม วิทยากรมาทำให้ Fa. รู้สึกอึดอัดหรือคิดว่าตนเองทำไม่ถูก ฯลฯ ซึ่งต้องย้อนกลับไปดูข้อ 3 อีกครั้ง ว่ามีการชี้แจงชัดเจนหรือไม่
  7. ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือ feedback วิทยากรบ้าง ว่าสมควรปฏิบัติตน/ไม่ปฏิบัติตนอย่างไร ข้อนี้จะทำได้อย่างไรคะ?
  8. ได้เทคนิคใหม่ที่เป็นนวตกรรมของคุณหมอนันทา ได้แก่
  • แบ่งกลุ่มผู้เข้าอบรมสรุป สิ่งที่ควรทำ และสิ่งที่ไม่ควรทำ ของ Facilitator, notetaker, group member
  • แบ่งกลุ่มผู้เข้าประชุมระดมความคิดเพื่อสรุป “ค่านิยม“ ของผู้เกี่ยวข้องในงาน เช่น ค่านิยมของ ผู้บริโภค ผู้ผลิต และ เจ้าหน้าที่ ในงานโครงการอาหารปลอดภัย ผลไม้ปลอดพิษ ของจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งสิ่งที่ได้จะเป็นข้อมูลเตือนใจเวลาจัดทำแผนปฏิบัติการที่จะต้องมองทุกมิติของผู้เกี่ยวข้อง ...

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14543เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2006 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ไม่ได้อยู่ในกรมอนามัยครับ แต่มีความสนใจเรื่องการเป็น facilitator จึงอยากทราบว่า ทำอย่างไรจึงจะเข้าร่วมรับการฝึกอบรมเช่นนี้ได้ หรือแนะนำว่าควรติดต่อที่ไหน ขอบคุณมาก ๆ ครับ
เป็นข้อสรุปที่น่าสนใจมากครับ ไม่รู้ว่าเป็นบทเรียนจากการไปมาหลายที่ใช่ไหมครับ  และทุกที่ก็ขอให้บรรยายหมดเลยใช่ไหมครับ หรือว่าใช้วิธีให้ ลปรร เลย (หลังจากแนะนำเบื้องต้นแล้ว) เพราะอ่านข้อ 4 กับข้อ 6 แล้วไม่แน่ใจว่าวิธีอบรมใช้กลุ่มย่อย แล้วให้ลองทำ ลปรร เลยหรือเปล่า

สิ่งที่สรุปมาเป็นประสบการณ์การไปลุยมาหลายที่ค่ะ ในการเริ่มต้นTrain Fa/Note Taker ครั้งแรกๆ เราก็ลุยเลยค่ะ ไม่มีการบรรยาย(เพราะได้ประสานขอให้ทุกคนอ่านเอกสารที่เราจัดส่งต้นฉบับไปให้ เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิดการจัดการความรู้ตามหนังสือมือใหม่หัดขับของอาจารย์ประพนธ์ สคส. แต่พี่ติ๊กได้คัดย่อให้สั้น กระทัดรัด และแนะนำด้วยหากใครอยากอ่านฉบับเต็มก็ศึกษาจากหหนังสือของอาจารย์ประพนธ์ได้)  แล้วก็จัดกลุ่มลปรร เพื่อให้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในการtrain fa กลุ่มผู้เข้าประชุมจะเป็น KM team ที่ต้องกลับไปทำหน้าที่ขับเคลื่อนให้มีการจัดการความรู้ในองค์กรของตนเองทั้งหมด เพราะฉะนั้นบทบาทของผู้เข้าร่วมอบรม/ประชุมครั้งนี้จะได้ทดลองปฏิบัติ(role play) ในบทบาทของการเป็นสมาชิกกลุ่มที่ต้องเป็นผู้เล่าเรื่องเอง บางคนจะถูกคัดเลือกให้ทำหน้าที่Fa ของกลุ่ม และอีก1คนจะเป็น Note taker หลังจากที่เล่าเรื่อง สกัดความรู้และสรุปปัจจัย/องค์ประกอบสู่ความสำเร็จจบ เราจะ AAR เป็นช่วงๆค่ะ เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น หลังจาก success story จบ เราก็จะลปรรกัน ถามถึงความคิดเห็น...ท่านคิดว่าเรื่องเล่า หรือใครที่เล่าเรื่องได้ดี ที่คิดว่าดีเพราะอย่างไร หรือหลังทดลองทำตารางอิสรภาพตามหัวปลาร่วมกัน (การกำหนด 5 level) ก็อาจจะ AAR อีกครั้ง ฯลฯ

และขอตอบคำถามอาจารย์นะค่ะ

ประเด็นข้อ1 ที่เราบอกว่าตอนเริ่มต้นเราบอกว่าวิทยากรควรมีการพูดถึงหรือสรุปเกี่ยวกับการจัดการความรู้ เพราะหลายๆครั้งเราพบว่าการวางแผนหรือประสานงานแล้วบอกให้ผู้เข้าประชุมอ่านเอกสาร/หนังสือมาก่อน ก็พบว่าใน10 คน มีคนอ่านไม่กี่คน การนำเข้าสู่การอบรมวิทยากรก็ควรclear อีกครั้ง อย่างสั้นๆ (ไม่เกิน15-20 นาที) แล้วจึงลปรร ในกลุ่มค่ะ สำหรับข้อ4 การอธิบายความหมายของเรื่องที่จะคุยกัน หมายถึงการทำความเข้าใจกับหังปลาให้ชัดเจน ว่าเรากำลังจะคุยกันในประเด็นความสำเร็จเรื่องอะไร ความสำเร็จในที่นี้ตีความหมายกว้างและลึกแค่ไหน เพราะหากไม่มีการclear ก็จะงงอยู่อย่างนั้น และส่วนใหย๋ก็จะบอกแต่ว่า ไม่สำเร็จ สำหรับข้อ6 วิทยากรในที่นี้คือทีมเรา 3 คน ที่ไปช่วยtrain นี่หล่ะค่ะเราควรบอกกลุ่มลปรร ได้รับรู้และเข้าใจว่า ในเวลาที่เราเข้าไปช่วยซักเรื่องเล่า วิทยากรไม่ได้มาทำให้ Fa. (ผู้เข้าประชุม) รู้สึกอึดอัดหรือคิดว่าตนเองทำไม่ถูก แต่มาสาธิตการซักในเรื่องเล่า ให้รู้ถึงบริบท ตัวละคร วิธีคิด ซึ่งเป็นTacit จากเรื่องเล่า ให้ได้รายละเอียด(How to) ของคำตอบ  สมาชิกของกลุ่ม รวมถึง fa /Note taker ควรจะได้เรียนรู้ร่วมกัน เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลายคนก็ลืมไปว่าตนเองกำลังอยู่ในrole play และจะต้องเรียนบทบาทของผู้ทำหน้าที่ทั้ง 3

แต่สรุปบทเรียนทั้งหมดข้างบนนี้ เราคงมีการพัฒนาไปเรื่อยๆค่ะ เพราะโลกทั้งโลกเป็นห้องทดลองของKM ค่ะ

ขอตอบคุณนเรศ นะค่ะ

ขอบคุณมากค่ะที่ให้ความสนใจ ประมาณเดือนมีนาคม ศูนย์อนามัยที่3 ชลบุรี จะขอให้ KM team กรมอนามัยช่วยพัฒนาศักยภาพFacilitator และ note taker ให้ค่ะ หากให้แนะนำวิทยากรหรือค่ะลองประสานทางสคส. ซิค่ะ เพราะทีมของศ.นพ.วิจารณ์ และอ.ประพนธ์ เป็นวิทยากรมืออาชีพและเป็นอาจารย์/ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของเราค่ะ

ขอบคุณครับที่ช่วยแนะนำมือใหม่หัดขับอย่างผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท