ความซับซ้อนของ "สุขภาวะ"


ความซับซ้อนของ "สุขภาวะ"

         บทความเรื่อง Sick of Poverty โดย Robert Sapolsky ในนิตยสาร Scientific American (www.sciam.com) ฉบับเดือนธันวาคม 2548   ชี้ให้เห็นความเจ็บป่วยอันเกิดจากความยากจน   โดยที่การมองความยากจนลึกซึ้งกว่าการวัดที่รายได้   แต่วัดที่ความรู้สึกเกี่ยวกับฐานะทางสังคมของตนในสังคม   พบว่าอัตราความเจ็บป่วยลดลงตามฐานะทางสังคมที่สูงขึ้น   บางโรคมีอัตราความเจ็บป่วยในกลุ่มฐานะทางสังคมต่ำสุด (10% ล่าง) สูงกว่าในกลุ่มที่ฐานะทางสังคมสูงสุด (10% บน) ถึง 10 เท่า

         ความยากจนนำมาซึ่งความเจ็บป่วย

         ความยากจนเป็นสภาพที่ซับซ้อน   นำไปสู่ความรู้สึกไร้ฐานะในสังคม

         ความรู้สึกยากจนเป็นเรื่องเชิงเปรียบเทียบ   ดังนั้นช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน   ถ้ากว้างมาก  ความรู้สึกยากจนจะเกิดง่ายและรุนแรง

         คนที่รายได้ต่ำ แต่เป็นที่ยอมรับนับถือในสังคมก็มีสุขภาพดีและสุขภาวะดีได้   นั่นคือคนที่มี "ทุนทางสังคม" (Social Capital) จะมีสุขภาวะที่ดี

         ตัวอย่างนักเรียนโรงเรียนชาวนาของมูลนิธิข้าวขวัญ   สุพรรณบุรี   การรวมตัวกันทำกิจกรรม ลปรร. กัน   ทำให้เกิด "ทุนทางสังคม"   เกิดความสุขจากการรวมตัวเป็นกัลยาณมิตรกัน

วิจารณ์  พานิช
 29 ม.ค.49

คำสำคัญ (Tags): #ทุนทางสังคม
หมายเลขบันทึก: 14504เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2006 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท