เรียนอย่างนี้แล้วลูกมีความสุขหรือพ่อแม่มีความสุข


หนูไม่ได้ชอบแต่ถ้าจะให้หนูทำหนูก็ทำได้

            เมื่อวานนี้ 4 กุมภาพันธ์ 2549 ผมได้เป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์การคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาในระดับปริญญาตร ี ประเภทรับตรง ปีการศึกษา 2549 ซึ่งแทบจะเรียกว่าเป็นหน้าที่ประจำของผมเลยก็ว่าได้เพราะผมทำมามากกว่า 4 ปีแล้ว สำหรับปีนี้ก็คล้ายๆกับทุกปีครับ ก็มีเด็กๆมาจาก พิษณุโลกและจังหวัดรอบๆ แต่ที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงก็มีเรื่องของกระบวนการทางความคิด (Systemetic Thiking) ของเด็กเริ่มเป็นระบบมากขึ้นกว่ารุ่นอื่นๆ ทำให้ผมนึกในใจว่ารุ่นนี้น่าจะสอนสนุกเพราะเด็กคิดเป็นคิดได้
            ผมได้สัมภาษณ์เด็กคนหนี่งที่ได้โควต้าของสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เด็กคนนี้เข้ามาสัมภาษณ์ด้วยความมันใจและดูสดใสแตกต่างจากเด็กๆคนอื่นอย่างเ ห็นได้ชัด ในระหว่างที่เด็กคนนี้เริ่มแนะนำตัวเองผมก็เปิดแฟ้มสะสมงานและรายงานผลการเร ียน ผลงานอยู่ในระดับดีมากครับทำกิจกรรมทุกอย่าง เกรด 3 กว่าๆ ดูดีทุกอย่างก็ว่าได้เลยครับ แต่ผมมาเห็นคณะที่เขาเลือกเรียน อันดับหนึ่งคือด้านสายสุขภาพ(ขอไม่บอกก็แล้วกันว่าเป็นสาขาอะไร) อันดับสองคือ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ผมจึงถามเขาว่าทำไมถึงเลือกเรียนเช่นนี้ มันไม่เกี่ยวกันเลยนะ และคุณต้องการที่จะเป็นอะไรในอนาคต เด็กตอบผมว่าอันดับหนึ่งครอบครัวเลือกให้ อันดับที่สองเลือกเรียนเอง ส่วนอนาคตตัวเองอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แล้วเด็กก็เล่าให้ผมต่อไปว่าตั้งแต่เด็กก็จะถูกกำหนดกรอบให้เดิน เด็กก็ยอมทำตามเนื่องจากเขาไม่อยากคุณพ่อคุณแม่เสียใจในตัวของเขา และคำพูดสุดท้ายคือ "หนูไม่ได้ชอบแต่ถ้าจะให้หนูทำหนูก็ทำได้"
            สุดท้ายนี้ผมอยากเห็นความคิดเห็นของผู้อ่านบ้างครับว่าคิดเห็นอย่างไรกับเรื ่องนี้ แบ่งปันให้ผมหน่อยครับ

(http://www.phitsanulok.info/blog/2006/02/blog-post_05.html)

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14449เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2006 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อาจารย์ตี้ค่ะ ด้วยเหตุผลส่วนครอบครัวเค้ามั้งค่ะ ที่ต้องเลือกในสิ่งที่ต้องการ เพราะผู้ใหญ่มักคาดคิดว่าเป็นนั่นเป็นนี่แล้วลูกจะสบาย ก็มีหลายครอบครัวนะคะอาจารย์ซึ่งก็เคยได้ยินหรือพูดคุยกันในครอบครัวที่มีลูกนะคะ จะบอกกันว่าลูกจะเป็นอะไรก็ได้ ไม่ได้คาดหวังว่าจะให้ลูกเป็นในสิ่งที่พ่อแม่ต้องการ เป็นอะไรด็ได้ถ้าลูกชอบ คิดว่าทำได้ คิดว่าเมื่อถึงเวลานั้นๆของลูก พ่อแม่ก็ต้องคอยแนะนำให้ล่ะ

การที่ลูกจะเลือกเรียนอะไรควรที่จะมีความสุขทั้ง2ฝ่าย เพราะลูกเป็นผู้เรียนแต่ผู้ปกครองเป้นผู้ให้

 

อาจารย์สังเกตนักเรียนได้ดีครับ ทำให้ทราบถึงความรู้สึกลึกๆ ของเด็กและความต้องการของผู้ปกครอง ทำให้คณะเลือกอาจารย์เป็นกรรมการสัมภาษณ์มากว่า 4 ปี ส่วนที่ภาควิชาของผมเขาจะมีกรรมการวิชาการเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ทุกปีเหมือนกัน เขาจะไม่ค่อยใช้ปริการผม (4-5 ปีจะใช้บริการสักครั้ง แต่ถ้าเด็กมีปัญหา เขาจะส่งมาให้ผมอบรมครับ)

โดยส่วนตัวนะครับ
ผมคิดว่าเด็กที่จบม หก ส่วนใหญ่ ไม่รู้หรอกว่า จริงๆ แล้ว ตัวเองอยากจะเป็นอะไร รู้รายละเอียด ของคณะ ที่ตนจะเลือก ดีมากน้อยแค่ไหน
อิทธิพลที่จะส่งผลต่อเด็ก ก็คงจะเป็น เพื่อนๆ แล้วก็สื่อรอบๆตัวครับ

ส่วนความคิดของพ่อแม่ ทุกคน ก็ต้องอยากให้ลูก ได้เรียนคณะที่คิดว่าจบออกมาแล้วลูกสบาย เลี้ยงตัวเองได้
แต่จะบังคับ หรือไม่ อันนี้ก็ .... แล้วแต่ครอบครัวอ่ะครับ

ผมเป็นคนนึงครับ
เคยเรียนวิศวะมา (เลือกเพราะตัวเองล้วนๆนะครับ คะแนนตอนนั้นก็สูงพอที่จะเลือกคณะอื่นๆ ได้มากมาย)
ที่เลือกตอนนั้น เพราะคิดว่า ถ้าเลือกทางสายสุขภาพ มันดูหงิมๆ ติ๋มๆ ผู้หญิงๆ แล้ว มันก็จะดูว่า เลือกตามเพื่อน ตามกระแส เลือกตามพ่อแม่สั่ง(ไม่สมเหตุสมผลเลยใช่มั้ยครับ)
กระผม ก็เป็นประเภทชอบสวนกระแส ทำตามใจตัวเอง
ก็เลือกวิดวะครับ(คะแนน เหลือ ซัดทิ้งไปเกือบสองร้อยคะแนน)

แต่

เรียนได้ หนึ่งปี ก็รู้ว่ามันชอบ แต่ เรียนให้มันได้ดีไม่ได้
(เพื่อนดู อัลกอลิทึ่ม หนึ่งนาที เข้าใจ ผม นั่งไล่ สิบนาที)
(ผู้หญิง กลึงลูกดิ่ง ได้สวยกว่า ผม อะไรประมาณเนียะ)
ลาออกมา โดยที่ไม่รู้ว่า อะไรจริงๆ ที่ตัวเองชอบ
(ตอนนั้นสงสารพ่อแม่ มากครับ)

ตอนเลือกใหม่
มีทั้งบัญชี เภสัช ทันตะ แพทย์

แล้วมันก็ติด คณะที่พ่อแม่หวังไว้ว่าอยากให้เรียน
(แต่ไม่เคยมาบังคับ ได้แต่พูดอ้อมๆ)

คณะใหม่ จะบอกว่า ชอบกว่าคณะเดิมมั้ย
ก็ไม่เชิงนะครับ กลับออกไปทางคณะเก่านิดๆด้วยซ้ำ

แต่คณะใหม่ ทำให้ที่บ้านมีความสุข

มันก็ทำให้ เรามีความสุขกับการเรียนไปด้วยครับ

เห็นเด็กสมัยนี้แล้วสงสาร ทั้งต้องแข่งขันกันแล้วยังถูกกดดันจากความคาดหวังของผู้ใหญ่  อยากให้เด็กเรียนอย่างมีความสุขและไม่เครียด  ควรให้เด็กเลือกเรียนตามที่เค้าชอบจะดีกว่านะคะ  แล้วไม่รู้ว่าสมัยนี้ครูแนะแนวได้มีส่วนช่วยแนะนำเด็กในการเลือกเรียนบ้างไหม ... 

เสนอแนะอีกอย่างว่า สถาบันอุดมศึกษาควรมีหน่วยแนะนำหรือแนะแนวเด็กมัธยมปลายก่อนสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็น่าจะดี  เหมือนช่วงจบประถม สมัยก่อนยังมีโรงเรียนมัธยมต่างๆมาแนะแนวให้ที่โรงเรียนเลย   เหมือนตัวเองพอยิ่งโตขึ้นๆ( แก่ลงๆ มากกว่า) ยิ่งพบว่ามีสาขาที่อยากเรียน และน่าเรียนเยอะแยะไปหมด  ประมาณว่าช่วงวัยนั้น อาจยังค้นหาตัวเองไม่เจอก็ได้... 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท