kmครูวิทยาศาสตร์


วิทยาศาสตร์สำคัญอย่างไร
วิชาวิทยาศาสตร์ สอนให้มนุษย์สามารถอยู่กับธรรมชาติ  เข้าใจธรรมชาติและหากมนุษย์มีความสามารถเอาชนะธรรมชาติได้ถือเป็นความคิดริเริ่มที่ยิ่งใหญ่
หมายเลขบันทึก: 144288เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2007 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (104)

สพท.นบ1 โดยกลุ่มนิเทศได้จัดส่งแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้น ป. 6 ให้โรงเรียนทุกโรงแล้วใช้แล้วหากไม่เหมาะสมให้ปรับและเสนอแนะเพิ่มเติมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นได้ในท้ายบัยทึกนี้นะคะ

                               ทีมพี่เลี้ยง

ขอบคุณทีมพี่เลี้ยงที่ส่งเอกสารแผนการจัดการเรียนรู้ให้ค่ะ
แผนการจัดการเรียนรู้ทีมพี่เลี้งจะจัดส่งไปให้หรือมารับเองค่ะ
จัดส่งไปให้และหากไม่สะดวกจะนำไปแจกมนที่ประชุมผู้บริหารโรงเรียนค่ะ

ขอบคุณทีมพี่เลี้ยง

   ที่ช่วยตรวจสอบแผนการสอนและจัดส่งให้นำไปใช้ในการปรับใช้ในการสอน  บางแผนได้ทำใบความรู้เพิ่ม  ทำสื่อ และเพิ่มกิจกรรมการสอนได้ไหมคะ

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ

      ปัจจุบันเราให้คอมฯ มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนวิทย์เพิ่มขึ้นและกิจกรรมหนึ่งที่ครูเราชอบทำคือมอบหมายให้นักเรียนค้นคว้าทางเว็บ ซึ่งเด็ดโตมักจะไปกอ็บปี้มาแล้วส่งครูอันนี้ถือว่าผิดพลาดอย่างแรงเด็กไมได้อ่านได้คิด ขอเสนอแนะแลกเปลี่ยนกันนะคะ

ครูควรออกแบบให้เด็กสรุปประเด็น เนื้อหาท่เด็กค้นคว้ามาด้วย และเพิ่มคำถามฝึกให้เด็กคิดและสังเคราะห์ความรู้และเสนอแนวคิดของตนเองด้วยจะดีมากแล้วเราก็ไม่ต้องกังวลว่ามาตรด้านการคิดเด็กจะไม่เกิด ทาให้สมำเสมอนะคะ

                   เด็กเราเก่งคิดแน่นอน

ใครอยากแลกเปลี่ยนด้วยเชิญค่ะ

 

สั่งงานอะไรก็ได้แต่อย่า สั่งพร้อมกันหลายวิชา เพราะวัน ๆ หนึ่ง กลับจากโรงเรียนเด็กจะอยู่แต่หน้าคอมฯ อยู่แล้ว

เห็นด้วยกับครูพาการมอบให้เด็กsearch  ความรู้จาก

web  ไม่ใช่สั่งให้เด็กค้นคว้าแล้ว coppyมาส่งเด็กจะไม่ได้อะไรแต่ถ้าเราให้เขาสรุปความนำประเด็นที่ศึกษามาพูดและเสนอความคิดเห็นทั้งมุมบวกมุมลบโดยมีครูคอยให้คำแนะนำนักเรียนเราทำได้ครูญายืนยัน

   เด็กทำได้เราจะภูมิใจมากๆๆๆๆๆๆๆ

เพื่อนๆครูวิทย์นนท์

      รู้ไหมจ๊ะองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ร่วมกับสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษาเอกชนนนทบุรี ได้จัดงาน "ลดโลกร้อน ด้วยพรพ่อ ร่วมรักษาน้ำ รักษ์..สิ่งแวดล้อม" ตามโครงการคลองสวยน้ำใสถวายในหลวง โดยจัดงานในวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2550 ณ MCC HALL เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน มีครูและผู้สนใจ ตลอดจน นักเรียน ร่วมกิจกรรมในมากพอควรร่วมกิจกรรมแล้วนำไปทำให้ยั่งยืนทั้งที่บ้านและโรงเรียนนะ    โดยเฉพาะครูวิทย์ควรเป็นแกนนำในเรื่องนี้ด้วย  โดยเริ่มต้นที่ข้าพเจ้าก่อน..........เพื่อนๆทำหรือยัง 

อยากเล่าสู่เพื่อนฟังที่โรงเรียนขาดอุปกรณ์การทดลองเรื่องการหายใจ  ผมได้นำขวดนำที่ใช้แล้วมาประดิษฐ์เป็นระบบหายใจพร้อมลูกโป่ง  2 ใบก็สามารถนำมาใช้ประกอบการทดลองเรื่องการหายใจได้

          อยากแนะนำให้เพื่อนครูลองนำวัสดุที่ใช้แล้ว หรือเหลือใช้ หรือใกล้ตัว มีในท้องถิ่นนำมาลองคิดทำดูแล้วท่านจะภูมิใจว่าเราก็เป็นนักคิดสมภูมิครูสอนวิทยาศาสตร์เผลอๆเราอาจเก็บสะสมเป็นสื่อนวัตกรรมของเราแล้วรายงานการใช้ประกอบการเสนอขอเลื่อนวิทยฐานะได้ด้วยครับผม

ครูวิทยาศาสตร์สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนด้วยการส่งเสริมให้นักเรียนและชุมชนช่วยกันปลูกต้นไม้ เพื่อจัดทำเป็นสวนพฤกษศาสตร์  และยังใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม  ศึกษาความสัมพันธ์ของพืชและสัตว์ และยังทำให้โรงเรียนสวยงามอีกด้วยค่ะ
ครูวิทยาศาสตร์สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนด้วยการส่งเสริมให้นักเรียนและชุมชนช่วยกันปลูกต้นไม้ เพื่อจัดทำเป็นสวนพฤกษศาสตร์  และยังใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม  ศึกษาความสัมพันธ์ของพืชและสัตว์ และยังทำให้โรงเรียนสวยงามอีกด้วยค่ะ

ขอขอบคุณทางกลุ่มนิเทศที่ได้จัดส่งแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้น ป. 6 มาให้นะค่ะ ครูวิทยาศาสตร์โรงเรียนวัดโบสถ์ ได้ทำการศึกษาและจัดการเรียนการสอนรวมทั้งปรับใช้อย่างเหมาะสมค่ะ

ดีใจจังที่ครูวิทย์โรงเรียนวัดโบสถ์ที่ส่งข่าวการนำแผนไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง ซึ่งหากปรับได้ถูกต้องแล้วสามารถพัฒนาเป็นผลงานเพื่อเสนอเลื่อนวิทยฐานะได้ด้วยนะคะ  จากการไปร่วมประชุมที่คุรุสภาล่าสุดทราบว่าแนวโน้มต่อไปจะให้ครูส่งแผนเป็นผลงานทางวิชาการ นะคะ

ขอบคุณครูวิทย์ที่ไม่แสดงตน ที่พูดถึงภาวะโลกร้อนเราทุกคนบนโลกต้องตระหนักและช่วยกันป้องกัน อยากเชิญชวนให้ครูวิทย์เราช่วยรณรงค์ในชั่วโมงสอนวิทย์และกิจกรรมเสริม เช่นการพูดหน้าเสาธง  การจัดป้ายนิเทศและเชิญชวนให้ครูทุกคนสอนสอดแทรกในบทเรียนและจัดกิจกรรมเสริมอย่างสมำเสมอ  และควรขยายผลสู่ชุมชนผู้ปกครองด้วย กิจกรรมที่ทุกคนทำได้เลย คือการประหยัดพลังงานครูก็ควรลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวซึ่งมีเกือบทุกคนหันมาใช้รถยนต์สาธารณ

ใช้รถจักรยาน  หรือเดินในเส้นทางระยะใกล้ถือเป็นการออกกำลังกายด้วย  ลดการใช้ถุงพลาสติกให้น้อยลงหรือถ้าไม่ใช้เลยจะดีมาก  และควรปลูกต้นไม้ให้มากมากหยุดทำลายป่าด้วย

 

ครูหน่อยได้ลองสอนโดยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แล้วนักเรียนสนใจดีเพราะเขามีส่วนร่วมคิดร่วมทำก็อยากให้เพื่อนครูนำไปใช้บ้าง ซึ่งมี  5 ขั้นตอนที่เราเรียกว่า 5E นั่นแหละ  ขั้น 1 สร้างความสนใจ(Engagement)เป็นขั้นที่สำคัญในมุมมองของครูหน่อยคิดว่าถ้าครูทำให้เด็กสนใจอยากเรียนรู้การเรียนรู้นั้นจะได้ผล ขั้น2สำรวจและค้นหา(Exploration)-ขั้นนี้ครูควรเป็นที่ปรึกษาให้นักเรียนรู้จักวางแผนกำหนดแนวทางสำรวจเรื่องที่เขาสนใจอย่างใกล้ชิด  ขั้น3อธิบายลงข้อสรุป(Explanation)  เป็นขั้นนำข้อมูล สารสนเทศที่นักเรียนได้มาจากขั้นที่2 มาวิเคราะห์ แปลผลและสรุป ขั้นนี้ครูอาจหาตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้(Elaboration) เป็นขั้นนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม ขั้นนี้นอกจากครูจะให้คำปรึกษาแล้วอาจต้องใช้คำถามนำเพื่อให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้ ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้นักเรียนว่านักเรียนได้อะไรบ้าง ซึ่งครูควรใช้หลายๆวิธี สว่นรายละเอียดลองศึกษาคู่มือที่เขตส่งให้หรือศึกษาเอกสารอื่นเพิ่มเติมพร้อมกับปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กของเรา สอนแล้วจะสนุกจ้า

ในการจัดการเรียนการสอนของครูวิทยาศาสตร์  ครูได้ส่งเสริมการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนแล้ว  คุณครูยังสามารถบบรจุแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคุณธรรมนำความรู้ ในการจัดกิจกรรมการเรีนการสอนได้อีกด้วย

วันที่ 17-28  ธันวาคม  2550  สพท.นนทบุรี 1  และทีมพี่เลี้ยงจะออกนิเทศติดตามผลการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาการ และติดตามผลการจัดการเรียนการสอนของครู  ครูวิทย์ช่วงชั้นที่2 เตรียมรับการประเมินและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมพี่เลี้ยงด้วยนะคะ  และเตรียมนักเรียนรับการประเมินด้วย

แจ้งข่าวครูวิทย์  กลุ่มนิเทศ สพท.นบ 1  ได้ส่ง CD  แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ไปให้ครูนำไปทดสอบเด็กเพื่อเสริมประสบการณ์ให้กับนักเรียนก่อนการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน(NT, O-NET,A- NET)ในปลายปีการศึกษา   2549  (ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์-ต้นเดือนมีนาคม  2550) ขอให้ครูเลือกใช้ตามความเหมาะสมนะคะ หากสมรรถภาพหรือเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องใดที่เด็กยังต้องปรับปรุงขอให้ครูสอนเสริมด้วย ทีมพี่เลี้ยงขอเป็นกำลังใจช่วยให้นักเรียนท่ท่านสอนมีคุณภาพส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นนะคะ

                อ้อ คุณครูอย่าลืมดูแลสุขภาพการและจิตด้วย

จากการที่เคยแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ท่ผ่านมาผมสนใจชุดฝึกทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของ อ. รัชนีภู่ด้วงผมคิดว่าจะขออนุญาต อ.รัชนี ได้เล่ารายละเอียดในการจัดทำและผลการใช้เพิ่มเติมให้ด้วยผมจะโทรประสานและขอไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่โรงเรียนของท่าน  คงไม่ขัดข้องนะครับ

ขอบคุณ ครูเฟื่องฟ้า  ที่ได้แชร์ความรู้เกี่ยวกับการสอนโครงงานกับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ดิฉันชอบโครงงานเครื่องกรองนำจากวัสดุธรรมชาติของอาจารย์ และโครงงานเรื่องรูปทรงกะลามะพร้าว  จากที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันตอนนี้ดิฉันเริ่มให้เด็กทำโครงงานการแก้ปัญหาและป้องกันภาวะโลกร้อนผลเป็นอย่างไรจะเล่าสู่เพื่อนครูในโอกาสต่อไป
ได้ไปเยี่ยมครูวิทย์ที่โรงเรียนประชาอุปถัมถ์ เห็นครูสุภาว์  กำลังสอนนักเรียนอย่างแข็งขัน ก็รู้สึกชื่นชม  ครูภาบอกว่าตอนนี้กำลังทำหนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดโดยใช้เทคนิค 3 เกลียว ซึ่งทำเป็นหนังสือเล่มเล็กมีประมาณ10 เล่ม สีสรรสวยงามน่าอ่านจริงๆ  ขอชื่นชม เพื่อนหละคะมีอะไรใหม่ๆนำมาแชร์กันได้

เล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับการสอนโครงงานในระดับช่วงชั้นที่  2  ครูวิทย์หลายคนกังวลใจเกี่ยวกับการสอนโครงงานว่าเด็กประถมว่ามันไม่ค่อยประสบผลสำเร็จ ครูวิทย์ได้ลองไปทำดูแล้วโดยลองทำดังนี้ค่ะ

1. ให้เด็กดูตัวอย่างโครงงานของรุ่นพี่และทำแล้วประสบผลสำเร็จ (ถ้าไม่มีอาจขอยืมจากห้องอื่นหรือโรงเรียนอื่นก็ได้)

2. ครูต้องท้าทายให้เด็กอยากทำในเรื่องที่ตนเองอยากรู้หรือสนใจ

3. ให้ทำเป็นกลุ่มก่อน การจัดสมาชิกภายในกลุ่มควรมีเด็กคละความสามารถกัน และเต็มใจทำงานร่วมกัน

4. ให้นักเรียนร่วมกันกำหนดหัวเรื่องเองโดยมีครูคอยชี้แนะให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ท่ต้องการ

5.เปิดโอกาสให้เด็กวางแผนการทำงานร่วมกัน

6. ครูควรติดตามผลและคอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด

7. ก่อนนำเสนอโครงงานครูควรให้เด็กลองวิพากษ์งานตนเองด้วยว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เน้นครูคอยเป็นพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดในโครงงานแรกๆ

8 ให้คำชมเชย และหาเวทีให้นักเรียนแสดงผลงาน เช่นพาเข้าประกวดแข่งขัน  จัดนิทรรศการ

ถึงวันนี้ดิฉันภูมิใจที่เด็กของดิฉันในระดับประถมก็สามารถทำได้

สวัสดีเพื่อนๆ ใกล้สิ้นปีการศึกษาแล้วต่างคนก็ต่างเร่งสอนเพื่อชดเชยวันที่ปิดชดเชยกิจกรรมต่างๆ ปีนี้ผมเอาจริงแบบสุดๆเพราะนโยบายผอ.บอกเราว่าปีนี้เวลาครูสอนเด็กสิ้นปีผลสัมฤทธิ์ต้องดีขึ้น โดยเฉพาะสาระหลักในปลายช่วงชั้น ปีนี้ผมสอนไปสอบไปแล้วนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ว่าเด็กไม่ได้เนื้อหาจปส.ใดก็สอนเสริมและปรับวิธีสอนให้ดีขึ้นพอใจเราฮึกก็สอนอย่างมีความสุข และได้นำแบบทดสอบแปลกๆมาประเมินเด็กเสมอๆเด็กก็ตื่นเต้น ก็นึกภูมิใจตนเองเหมือนกันว่าได้เต็มที่กับเด็กแล้ว คิดว่าปลายปีการศึกษา 2550 เด็กเราต้องมีผลสัมฤทธิ์ดีกว่าปีที่แล้วแน่ๆ(หวังว่าคงเป็นเช่นนั้น)  เพื่อนๆมีวิธีดีๆอะไรช่วยเล่าให้ฟังด้วย

 

สวัสดีปีใหม่  2551  ครูวิทย์ทุกคนคงสบายดี ขอให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรง อายุวรรณะ สุขะ พละ คิดสิ่งใดขอให้สมปรารถนา
ธรรมชาติและลักษณะเฉพาะของวิทยาศาสตร์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้มาด้วยความพยายามของมนุษย์ ที่ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Scientific Inquiry)  การสังเกต  สำรวจตรวจสอบ   ศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ   และการสืบค้นข้อมูล ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่เพิ่มพูนตลอดเวลา  ความรู้และกระบวนการดังกล่าวมีการถ่ายทอดต่อเนื่องกันเป็นเวลายาวนานความรู้วิทยาศาสตร์ต้องสามารถอธิบายและตรวจสอบได้ เพื่อนำมาใช้อ้างอิงทั้งในการสนับสนุน หรือโต้แย้งเมื่อมีการค้นพบข้อมูล  หรือหลักฐานใหม่  หรือแม้แต่ข้อมูลเดิมเดียวกันก็อาจเกิดความขัดแย้งขึ้นได้ถ้านักวิทยาศาสตร์แปลความหมายด้วยวิธีการหรือแนวคิดที่แตกต่างกัน ความรู้วิทยาศาสตร์จึงอาจเปลี่ยนแปลงได้              วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนใดของโลก วิทยาศาสตร์จึงเป็นผลจากการสร้างเสริมความรู้ของบุคคล     การสื่อสารและการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อให้เกิดความคิดในเชิงวิเคราะห์วิจารณ์  มีผลให้ความรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งและส่งผลต่อคนในสังคม     การศึกษาค้นคว้าและการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จึงต้องอยู่ภายในขอบเขต คุณธรรม  จริยธรรม  เป็นที่ยอมรับของสังคม

ความรู้วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยี  เทคโนโลยีเป็นกระบวนการในงานต่างๆ  หรือกระบวนการพัฒนา  ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ โดยอาศัยความรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับศาสตร์อื่นๆ  ทักษะ  ประสบการณ์   จินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการและแก้ปัญหาของมวลมนุษย์   เทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับทรัพยากร  กระบวนการ   และระบบการจัดการ   จึงต้องใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

สิ่งสำคัญครูวิทย์ต้องเป็นผู้ใฝ่รู้และรักธรรมชาติ  
ครูวิทย์ต้องมีวิสัยทัศน์           วิสัยทัศน์เป็นมุมมองภาพในอนาคตที่มุ่งหวังว่าจะมีการพัฒนาอะไร  อย่างไร  ซึ่งจะสอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนของสังคม วิสัยทัศน์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์กำหนดไว้เพื่อให้ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา  นักเรียน  และชุมชนร่วมกันพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์  และปฏิบัติร่วมกันสู่ความสำเร็จวิสัยทัศน์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์กำหนดขึ้นภายใต้กรอบความคิดในเรื่องของการพัฒนาการศึกษาเพื่อเตรียมคนในสังคมแห่งความรู้และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. ๒๕๔๒   กล่าวคือl            หลักสูตรและการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จะเชื่อมโยงเนื้อหา  แนวคิดหลัก และกระบวนการที่เป็นสากล   แต่มีความสอดคล้องกับชีวิตจริงทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ  และมีความยืดหยุ่น  หลากหลายl           หลักสูตรและการเรียนการสอนต้องตอบสนองผู้เรียนที่มีความถนัดและความสนใจแตกต่างกันในการใช้วิทยาศาสตร์สำหรับการศึกษาต่อ     และการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์l       ผู้เรียนคนทุกคนจะได้รับการส่งเสริมให้พัฒนากระบวนการคิด   ความสามารถในการเรียนรู้    กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา และการคิดค้นสร้างสรรค์องค์ความรู้l          ใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น    โดยถือว่ามีความสำคัญควบคู่กับการเรียนในโรงเรียนl     ใช้ยุทธศาสตร์การเรียนการสอนหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการ    ความสนใจและวิธีเรียนที่แตกต่างกันของผู้เรียนl            การเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญที่ทุกคนต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้สามารถเรียนรู้ตลอดชีวิต      จึงจะประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตl            การเรียนการสอนต้องส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีเจตคติ   คุณธรรม  จริยธรรม ค่านิยมที่เหมาะสมต่อวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี   สังคมและสิ่งแวดล้อม 

            วิสัยทัศน์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้ดังนี้

             ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนควรได้รับการพัฒนาและสร้างความเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์เป็นทั้งความรู้และกระบวนการสืบเสาะหาความรู้     ผู้เรียนทุกคนควรได้รับการกระตุ้นส่งเสริมให้สนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีความสงสัย   เกิดคำถามในสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโลกธรรมชาติรอบตัว      มีความมุ่งมั่นและมีความสุขที่จะศึกษาค้นคว้า  สืบเสาะหาความรู้เพื่อรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ผล นำไปสู่คำตอบของคำถาม  สามารถตัดสินใจด้วยการใช้ข้อมูลอย่างมีเหตุผล  สามารถสื่อสารคำถาม   คำตอบ  ข้อมูลและสิ่งที่ค้นพบจากการเรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้                      การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต    เนื่องจากความรู้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโลกธรรมชาติซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา   ทุกคนจึงต้องเรียนรู้เพื่อนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตและการประกอบอาชีพ  เมื่อผู้เรียนได้เรียนวิทยาศาสตร์โดยได้รับการกระตุ้นให้เกิดความตื่นเต้น ท้าทายกับการเผชิญสถานการณ์หรือปัญหา   มีการร่วมกันคิด  ลงมือปฏิบัติจริง   ก็จะเข้าใจและเห็นความเชื่อมโยงของวิทยาศาสตร์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นและชีวิต  ทำให้สามารถอธิบาย  ทำนาย   คาดการณ์สิ่งต่างๆ ได้อย่างมีเหตุผล  การประสบความสำเร็จในการเรียนวิทยาศาสตร์จะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจ  มุ่งมั่นที่จะสังเกต สำรวจตรวจสอบ   สืบค้นความรู้ที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง   การจัดกิจกรรม      การเรียนการสอนจึงต้องสอดคล้องกับสภาพจริงในชีวิต   โดยใช้แหล่งเรียนรู้หลากหลายใน  ท้องถิ่นและคำนึงถึงผู้เรียนที่มีวิธีการเรียนรู้   ความสนใจและความถนัดแตกต่างกัน 

            การจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เป็นการเรียนรู้เพื่อเข้าใจ ซาบซึ้งและเห็นความสำคัญของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของโลก สิ่งแวดล้อม   ตลอดจนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้และสื่อสาร ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ สามารถเชื่อมโยงองค์ประกอบทั้งหมดแบบองค์รวม สร้างความรู้เป็นของตนเอง  เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้วิทยาศาสตร์ จินตนาการและศาสตร์อื่นๆ ร่วมด้วย สามารถตัดสินใจอย่างมีเหตุผล    สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต  และร่วมกันดูแลรักษาโลกธรรมชาติอย่างยั่งยืน

  เมื่อเรารู้วิสัยทัศน์วิทยาศาสตร์แล้ว จะช่วยให้ครูคิดออกแบบการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้  และเขียนแผนการสอนได้ง่ายขึ้นค่ะ

  

คุณภาพนักเรียน

คุณภาพของผู้เรียนวิทยาศาสตร์เมื่อจบช่วงชั้นที่ ๒ 

(ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ -  )          ผู้เรียนที่เรียนจบช่วงชั้นที่ ๒ ควรมีความรู้ ความคิด ทักษะ กระบวนการ และจิตวิทยาศาสตร์ ดังนี้. เข้าใจโครงสร้างและการทำงานของระบบต่าง ๆ  ของสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน. เข้าใจสมบัติของวัสดุ  สถานะของสาร  การแยกสาร  การทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง. เข้าใจผลที่เกิดจากการออกแรงกระทำกับวัตถุ  หลักการเบื้องต้นของแรงลอยตัว  สมบัติและปรากฏการณ์เบื้องต้นของแสง  เสียง  และวงจรไฟฟ้า. เข้าใจลักษณะ องค์ประกอบ สมบัติของผิวโลก และบรรยากาศ  ความสัมพันธ์ของดวงอาทิตย์  โลก  และดวงจันทร์ที่มีผลต่อการเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ   . ตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่จะเรียนรู้ คาดคะเนคำตอบหลายแนวทาง วางแผนและสำรวจตรวจสอบโดยใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ วิเคราะห์ข้อมูล และสื่อสารความรู้จากผลการสำรวจตรวจสอบ. ใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต และการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม  ทำโครงงานหรือชิ้นงานตามที่กำหนดให้หรือตามความสนใจ. แสดงถึงความสนใจ มุ่งมั่น รับผิดชอบ รอบคอบและซื่อสัตย์ในการสืบเสาะหาความรู้. ตระหนักในคุณค่าของความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   แสดงความชื่นชม  ยกย่อง และเคารพสิทธิในผลงานของผู้คิดค้น. แสดงถึงความซาบซึ้ง ห่วงใย  แสดงพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้   การดูแลรักษาทรัพยากร      ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรู้คุณค่า๑๐. ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์    แสดงความคิดเห็นของตนเอง    และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 

 

สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ครูนำไปใช้ในการวางแผนการสอน

 

สาระที่เป็นองค์ความรู้ของกลุ่มวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วย

                สาระที่ ๑ : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

                สาระที่ ๒ : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

                สาระที่ ๓ : สารและสมบัติของสาร

                สาระที่ ๔ : แรงและการเคลื่อนที่

                สาระที่ ๕ : พลังงาน

                สาระที่ ๖ : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก

                สาระที่ ๗ : ดาราศาสตร์และอวกาศ

                สาระที่ ๘ : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน สาระที่ ๑ : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต        มาตรฐาน  ว ๑.   เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต   ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน    มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้   และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแล       สิ่งมีชีวิต         มาตรฐาน  ว ๑.    เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม  วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต  ความหลากหลายทางชีวภาพ    การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยา-ศาสตร์    สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

 

สาระที่ ๒ :  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

        มาตรฐาน  ว ๒.  เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต   ความ  สัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ  ในระบบนิเวศ   มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์   สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์        มาตรฐาน ว ๒.  เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ    การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับ           ท้องถิ่น ประเทศ และโลก   นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ        สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน                                       

สาระที่ ๓ :  สารและสมบัติของสาร

        มาตรฐาน  ว ๓.  เข้าใจสมบัติของสาร  ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและ                                           แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค   มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยา-                                        ศาสตร์    สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์                                      มาตรฐาน ว ๓.   เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร  การเกิดสารละลาย                                        การเกิดปฏิกิริยาเคมี  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์   สื่อสาร                                      สิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์  สาระที่  :  แรงและการเคลื่อนที่

                มาตรฐาน  ว ๔.   เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า     แรงโน้มถ่วง     และแรงนิวเคลียร์ 

                                              มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้     สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้

                                              ประโยชน์ อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม

  มาตรฐาน ว ๔.   เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่าง  ๆ ของวัตถุในธรรมชาติ  มีกระบวนการ

                                สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้

                                ประโยชน์

                                        

สาระที่  :  พลังงาน

                มาตรฐาน  ว ๕.   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต    การเปลี่ยนรูปพลังงาน   

                                             ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน   ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและ         

                                             สิ่งแวดล้อม       มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำ   

                                             ความรู้ไปใช้ประโยชน์

  สาระที่  :  กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก               มาตรฐาน  ว ๖.   เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก     ความสัมพันธ์                                          ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  ภูมิประเทศ  และ                                                   สัณฐานของโลก  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์   สื่อสาร                                               สิ่งที่เรียนรู้  และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ สาระที่  :  ดาราศาสตร์และอวกาศ                มาตรฐาน  ว ๗.   เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแล็กซี  ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ                                             และผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก   มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และ                                             จิตวิทยาศาสตร์   สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์                             มาตรฐาน  ว ๗.   เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและ                                               ทรัพยากรธรรมชาติ   ด้านการเกษตรและการสื่อสาร    สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ                                                 นำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม สาระที่ ๘ :  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี               าตรฐาน   ว ๘.  ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้     

                                              การแก้ปัญหา   รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่

                                  แน่นอน  สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่

                                             ในช่วงเวลานั้น ๆ    เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี  สังคม และสิ่งแวดล้อม

                                              มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

 

สวัสดีปีใหม่ค่ะ

ขอบคุณทีมพี่เลี้ยงที่ให้ข้อมูลด้านเนื้อหาสาระเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เนื่องในวันครูแห่งชาติ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1 จะจัดงานวันครูแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2551 ในวันที่  16  มกราคม  2551  ณ  โรงเรียน  เบญจมราชานุสรณ์  ครูดีเด่น  ครูวิทยาศาสตร์ จะนำผลงานด้านวิชาการ และBest  Practice  จัดนิทรรศการ และเปิดโอกาสให้ครูดีเด่นและครูทุกคนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน คิดว่าครูเราจะได้เห็นวัตกรรมใหม่ๆของครูดีเด่นมากกว่า  ร้อยกว่า นวัตกรรม

งานนี้มีการให้เกียรติบัตรครูทุกคนที่เข้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครบทุกเต้นด้วยนะคะ 

วันนี้ทีมพี่เลี้ยงไปเยี่ยมครูวิทย์ที่โรงเรียนวัดส้มเกลี้ยงได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้พบว่าครูจิรนันท์ ตั้งใจสอนอย่างมาก และเล่าให้ฟังถึงการสอนและการพัฒนานวัตกรรมการสอนวิทย์อาจารย์กำลังพัฒนาในหน่วยการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรายละเอียดของนวัตกรรมเป็นอย่างไรบ้างคิดว่าครูจิจนันท์คงเล่าสู่เราฟังอีกครั้ง ทีมพี่เลี้ยงขอเป็นกำลังใจในการพัฒนาผลงานสู่ครูชำนาญการพิเศษนะคะ ขอให้อาจารย์ประสบผลสำเร็จในเร็ววัน

ได้ไปเยี่ยมครูวิทย์ที่โรงเรียนวัดส้มเกลี้ยง อ.จิระนันท์ ได้แชร์ความรู้และประสบการณ์ให้ฟังว่าอ.จิรันันท์ประสบผลสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนโดยโครงงานและการใช้แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนอาจารย์มีรายละเอียดและชิ้นงานให้ดูเยอะเลยใครอยากทราบลองโทรคุยกับอ.จิระนันท์ดูจะได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น หรือไปที่โรงเรียนเลยนะจ๊ะ

วันครูปีนี้เขตพื้นที่นนทบุรีเขต 1  จัดให้มีการจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมีครูวิทย์ของเราร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดนิทรรศการกันมากทีเดียว  เขตทำเก๋ให้ทุกคนบันทึกสิ่งที่ชมและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ครบทุกจุดแล้วนำไปแลกเกียรติบัตรของเขต  ทราบว่าทุกคนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากจนทำให้เกียรติบัตรเกือบ 1,000   แผ่นแทบไม่พอต้องทำเพิ่ม

           อย่างนี้ซิจึงจะเรียกว่าใฝ่รู้จริง***********

งานวันครูพบอาจารย์สอนวิทย์โรงเรียนวัดบัวขวัญ(อ.ภานิภัคร์) ถามข่าวคราวด้านการจัดการเรียนการสอน ได้บอกเล่าให้เราฟังว่าตอนนี้สอนตามแผนอย่างเคร่งครัดกลัวไม่ครบหลักสูตรและกลัวเด็กทำข้อสอบไม่ได้เรียกว่าทั้งสอนทั้งสอบขอบคุณเขตที่มีข้อสอบให้ไปเสริมประสบการณ์เด็ก และฝากมาว่าโรงเรียนใดอยากได้ข้อสอบวิทย์ช่วงชั้นที่สอนเชิญแชร์กันได้นะคะ
อ.เฟื่องขอบอกตอนนี้กำลังสอนโครงงานเด็ก มันมากๆๆๆๆ  และจะทำชุดบทเรียนสำเร็จรูปถ้าทดลองได้ผลอย่างไรจะเล่าให้ฟัง
ทีมพี่เลี้ยงมาที่โรงเรียน ดีใจมากเลยคุยให้ท่านฟังใหญ่เลยตอนนี้ที่โรงเรียนกลาโหมอุทิศกำลังส่งเสริม ให้ครูวิทย์จัดการเรียนการสอนโดยใช้  ICT  ให้สมกับที่เป็นโรงเรียนแกนนำ ICT   และให้นักเรียนช่วงชั้นที่สองทำโครงการที่ส่งเสริมการรณรงค์ป้องกันภาวะโลกร้อนกันอย่างเต็มที่ใครสนใจเชิญนะคะ

ได้มีโอกาสเข้าประชุมทางวิชาการ ครั้งที่  46  เมื่อวันที่  29  มกราคม  2551  ณ  อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับทีมพี่เลี้ยง และได้เข้าร่วมฟังการบรรยาย/อภิปรายพิเศษ เรื่อง " พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน  " โดยทีมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้แก่ท่านปราโมทย์  ไม้กลัด  นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และท่าน ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว  ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความตระหนัก อยากเป็นคนหนึ่งที่ขับเคลื่อนเรื่องนี้และอยากประชาสัมพันธ์ให้ครูเราช่วยกันสร้างจิตสำนัก และนำเด็กปฏิการร่วมกันป้องกัน แก้ปัญหาโลกร้อนกันทุกคนค่ะ  ขอบคุณทีมพี่เลี้ยงมากค่ะถ้าเป็นไปได้ควรถ่ายเอกสารบทความภาวะโลกร้อน และ แจก CD  ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ ให้ครูไปศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนจะดีมากเลยค่ะ

                            ขอบคุณค่ะ 

อยากให้อาจารย์แววยูงแห่งโรงเรียนอนุราชประสิทธ์      ช่วยเล่าประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ให้ฟังผ่านเว็บนี้ด้วยค่ะ
 จากการนำแผนการสอนที่ร่วมมือกันทำดิฉันนำไปใช้และปรับบ้างเล็กน้อยคิดว่าปีนี้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้นชิ้นงาน ผลงานนักเรียนมีความหลากหลายมากขึ้นไม่รู้นะ ไม่อยากจะชมตัวเอง แต่ก็ดีใจที่เด็กสนใจและตั้งใจเรียนมากขึ้นและรู้สึกว่าเรามีความมุ่งมั่นในการสอนมากขึ้น  น่าจะส่งผลให้นักเรียนทดสอบ NT  หรือ  O- NET   ได้สูงขึ้น

ตอนนี้ทราบว่าอ.นิพาภัทร์  กำลังจัดทำบทเรียนสำเร็จรูปในหน่วยการเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นป. 5 เรื่องการขยายพันธ์พืชและกำลังทดลองใช้  ขอเอาใจช่วยแล้วถ้าเสร็จแล้วอย่าลืมเผยแพร่ผ่าน kmครูวิทย์ด้วยนะ

ขอบคุณ

ทราบว่าขณะนี้สพฐ. กำลังปรับหลักสูตรแกนกลางให้เป็นรายปีเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้และการติดตามประเมินผล อีกทั้งกำหนดตัวชี้วัดแต่ละมาตรฐานการเรียนรู้ให้เอื้อต่อครูนำไปใช้ในการจัดทำแผนจัดการเรียนรู้  อีกไม่นานคงมีการอบรมครูและผู้เกี่ยวข้องขอให้ครูวิทย์เตรียมตัวเข้าอบรมในช่วงปิดภาคเรียนด้วยนะคะ

ทีมพี่เลี้ยงได้เข้าไปที่เว็บสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยีและเข้าในเมนูสาระน่ารู้ ซึ่งมีสาระมากมายที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อครูวิทยาศาสตร์ ในการศึกษา  เนื้อหาสาระเพื่อไม่ให้ miss  concept เวลาจัดการเรียนการสอน  นำรวบรวมเป็นคลังความรู้   หรือนำไปเสนอแนะให้นักเรียนศึกษา หรือจัดทำเป็นคลังความรู้ไว้ในการเช่น  สุริยะวิถีอยู่ที่ไหน         

 ลองไปศึกษาดูนะคะ ตัวอย่างคะ

 

สุริยวิถีอยู่ที่ไหน 

สุจิตรา ศิริสวัสดิ์พิพัฒน์

 


          สุริยวิถี (
Ecliptic) คืออะไร อยู่ที่ไหน มีประโยชน์กับเราหรือไม่ อย่างไร หากเรานึกย้อนไปถึงเรื่อง กลุ่มดาวจักรราศี เราคงจำได้ว่า กลุ่มดาวจักรราศีทั้ง 12 กลุ่มนั้นอยู่บนสุริยวิถี

          สุริยวิถีเป็นเส้นสมมุติบนทรงกลมฟ้าที่แสดงเส้นทางการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ในรอบ 1 ปี เส้นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

          จากที่เราได้ทราบมาแล้วว่า ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่กับที่ แต่โลกที่เราอาศัยอยู่ต่างหากที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เปรียบเหมือนเป็นจุดศูนย์กลางที่มีรัศมีเท่ากับระยะระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์  เมื่อโลกโคจรไปรอบดวงอาทิตย์ โลกจะกวาดพื้นที่ไปเรื่อยๆ เกิดเป็นระนาบ 1 ระนาบ คือ ระนาบ วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ดังภาพ

  

          ขณะที่เราอยู่บนโลกแล้วมองผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ออกไป (ในความเป็นจริงห้ามมองดวงอาทิตย์เด็ดขาด เพราะเป็นอันตรายต่อตา) จะเสมือนว่าดวงอาทิตย์นั้นอยู่บนทรงกลมฟ้า และเมื่อโลกโคจรไปและคนบนโลกยังคงมองผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ทุกๆ วัน จะพบว่าดวงอาทิตย์เปลี่ยนตำแหน่งไปทุกวันบนทรงกลมฟ้า ดังนั้น หากให้โลกเป็นศูนย์กลางโดยมีรัศมีเท่ากับระยะทางจากโลกไปยังตำแหน่งดวงอาทิตย์บนทรงกลมฟ้า และขณะที่โลกโคจรไปก็จะเห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปบนทรงกลมฟ้า ดวงอาทิตย์จะกวาดพื้นที่ไปเรื่อยๆ เกิดเป็นระนาบอีกระนาบหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ โดยมีโลกเป็นจุดศูนย์กลาง ดังภาพ  
 
 
           
          จากภาพจะพบว่า มีระนาบอยู่ 2 ระนาบ แท้จริงแล้ว ทั้ง 2 ระนาบคือระนาบเดียวกัน โดยสามารถพิสูจน์ได้จากการที่เรายืดระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ออกไปถึงทรงกลมฟ้าจะเห็นว่าคือระนาบเดียวกับระนาบการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ในรอบ 1 ปีนั่นเอง ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์คือระนาบเดียวกับระนาบสุริยวิถี
                 
         ท่านทราบหรือไม่ว่า เส้นสุริยวิถีอยู่ที่ใดบนท้องฟ้า เราจะทราบแนวของเส้นสุริยวิถีได้โดยอ้างอิงกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า เพราะระนาบสุริยวิถีทำมุม 23.5
° กับระนาบศูนย์สูตรฟ้า ทั้งนี้เนื่องจากแกนโลกเอียงจากเส้นตั้งกับระนาบวงโคจรของโลกหรือระนาบสุริยวิถีเป็นมุม 23.5°นั่นเอง
 

            ด้วยเหตุผลดังกล่าว เส้นสุริยวิถีจึงมีทั้งส่วนที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรฟ้าและส่วนที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรฟ้า และการที่จะหาเส้นศูนย์สูตรฟ้านั้น ให้สังเกตจากกลุ่มดาวจักรราศี เพราะกลุ่มดาวจักรราศีทั้ง 12 กลุ่มจะอยู่บนเส้นสุริยวิถี ทั้งนี้จะมี 6 กลุ่มที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรฟ้า คือ กลุ่มดาวมีน เมษ พฤษภ มิถุน กรกฎ และสิงห์ และอีก 6 กลุ่มที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรฟ้า คือ กลุ่มดาวกันย์ ตุล พฤศจิก ธนู มกร และกุมภ์ ดังนั้น ถ้าต้องการหาตำแหน่งเส้นสุริยวิถี ก็หาได้จากตำแหน่งของกลุ่มดาวจักรราศีนั่นเอง

 

 

 

ค้นสาระที่น่าสนใจฝากครูวิทย์

หลักการเรื่องแรงดันอากาศ จำนวนผู้เข้าชม 1033 ครั้ง
โดย  Webmaster สสวท. 22 กุมภาพันธ์ 2550
 

หลักการเรื่องแรงดันอากาศ

 

รอบตัวเรามีอากาศ แรงที่โมเลกุลของอากาศกระทำกับพื้นผิวใดๆ จะทำให้เกิดความดันบรรยากาศ เมื่อพิจารณาที่หัวยางของที่ปั้มท่อน้ำ จะได้ว่าความดันของอากาศภายในหัวยางจะเท่ากับความดันของอากาศภายนอก แต่เมื่อนำที่ปั้มท่อน้ำมาประกบกัน แล้วดันไล่อากาศภายในหัวยางออก อากาศภายในหัวยางจะน้อยลง ทำให้ความดันของอากาศภายในหัวยางลดลงด้วย ความดันอากาศภายนอกจึงมีค่ามากกว่า ก็จะดันหัวยางของปั้มท่อน้ำไว้ ทำให้ต้องออกแรงมากขึ้นในการที่จะดึงปั้มท่อน้ำให้แยกออกจากกัน  


แหล่งที่มา/อ้างอิง  :  http://www.ipst.ac.th/physics/pressure.shtml ฟิสิกส์

 

ขอแจ้งข่าวศึกษานิเทศก์ ครูชำนาญการพิเศษ ครูดีเด่น ครูแกนนำ ครูต้นแบบ ด้านการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 สพท.นนทบุรีเขต 1 ทุกท่าน เขต 1 ขอเชิญท่านประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเตรียมการอบรมครูป.4-5 ในวันที่ 26/ 28 มีนาคม2551 และ8 เมษายน 2551 ณ ห้องประชุมศรีนนท์ 1 ขอทุกท่านนำแผนและชิ้นงานท่ประสบผลสำเร็จมาด้วยนะคะ

ส่วนอบรมครูวิทยาศาสตร์ ป.4-5 จะจัดท่โรงแรมโกลเด้นดราก้อน ประมาณ ต้นเดือน พฤษภาคม 2551 ค่ะ

ขอแนะนำแหล่งเรียนรู้สำหรับครูวิทย์นำไปใช้จัดการเรียนการสอน

แหล่งการเรียนรู้

การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ต้องส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย แหล่งเรียนรู้สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน หรือจากหนังสือเรียนเท่านั้น แต่จะรวมถึงแหล่งเรียนรู้หลากหลาย ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ดังนี้

- สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือเรียน หนังสืออ้างอิง หนังสืออ่านประกอบ หนังสือพิมพ์

วารสาร ฯลฯ

- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ มัลติมีเดีย CAI วีดิทัศน์ และรายการวิทยาศาสตร์ที่ผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ CD-ROM อินเทอร์เน็ต

- แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน เช่น ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สวนพฤกษศาสตร์

สวนธรณีในโรงเรียน ห้องสมุด

- แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เช่น อุทยานแห่งชาติ สวนพฤกษศาสตร์ สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานวิจัยในท้องถิ่น ฯลฯ

- แหล่งเรียนรู้ที่เป็นบุคคล เช่น ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ครู อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์

นักวิจัย ฯลฯทั้งนี้ ในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ จะต้องจัดให้นักเรียนจะมีหนังสือเรียนหลักประกอบการเรียนและการทำกิจกรรม และครูผู้สอนควรพิจารณาใช้หนังสืออ้างอิงที่หลากหลาย รวมถึงการใช้แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ และคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนา ทั้งด้านความรู้ ความคิด ทักษะ กระบวนการ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม จากแหล่งเรียนรู้เหล่านั้น อันจะส่งผลให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพหนังสือเรียนหลัก

วิชาวิทยาศาสตร์ที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พัฒนาขึ้นมีดังนี้

หนังสือเรียนและคู่มือครูวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ระดับช่วงชั้นที่ 2

- หนังสือเรียนและคู่มือครูวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ระดับประถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 2

มี 10 ชุด ได้แก่ ชุดเรื่อง พืช สัตว์ การดำรงชีวิตของมนุษย์ ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

ไฟฟ้า เสียง แสง แรงและการเคลื่อนที่ สารและสมบัติของสาร โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ

- หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา รายปีและคู่มือครู

- หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

- หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

- หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

ได้แก่ อุทยานแห่งชาติ สวนพฤกษศาสตร์ สถานีตรวจอากาศ ศูนย์วัฒนธรรมและศิลปกรรม โรงไฟฟ้า เขื่อน โรงงานอุตสาหกรรม เช่น กระดาษ อาหาร พิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ห้องสมุด หน่วยงานในท้องถิ่น และศูนย์วิทยาศาสตร์

แหล่งเรียนรู้ที่เป็นบุคคล

ได้แก่ ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้นำชุมชน นักวิจัยในท้องถิ่น ครูที่ได้รับการยกย่องเป็นครูดีเด่น ครูแห่งชาติ ครูต้นแบบ อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันอุดมศึกษา ฯลฯ

แหล่งเรียนรู้จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ส่วนเว็ปจะแนะนำต่อไป

เว็ปที่น่าสนใจ

แหล่งการเรียนรู้

web site ที่ใช้ประกอบการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในสาระที่ 1-8

สาระที่ 1-2

http://www.move.to/coral/ Biology and Ecology of Coral Reef

http://www.talaythai.com/ ทะเลไทย

http://www.rb.ac.th

http://www.sc.chula.ac.th

: http://www.buu.ac.th พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล

: http://school.biotec.or.th วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

http://www.moste.go.th คณะกรรมมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม:

: http://www.bdmthai.com/ความหลากหลายทางชีวภาพ

http://www.hbe.ipfox.com/ ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม :

http://www.magiceyes.or.th/ ตาวิเศษ :

http://kajib.hypermart.net/ ธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม :

http://www.butterflysite.com/ ผีเสื้อในประเทศไทย :

http://thcity.comirpollution/ มลพิษทางอากาศ :

http://geocities.com/thai_fossil/ ไดโนเสาร์ในประเทศไทย :

http://www.chiangmaizoo.com สวนสัตว์เชียงใหม่ :

สาระที่ 3

http://www.school.net.th

http://www.charpa.co.th

http://www.geocities.com/chemmisroom/ ห้องเรียนเคมี :

http://web.ku.ac.th

http://www.scithai.com/explore/explore2_chem.asp

http://www.ceismc.gatech.edu

Chemistry lesson : http://chemistry.about.com/od/k12gradelessons/

Chemistry for Kids : http://chemistry.about.com/od/chemistryforkids/

Chemistry resources : http://www.eskimo.com

สาระที่ 4-5

ChemKu : http://hello.to/chemku/

ชมรมฟิสิกส์ : http://physicsclub.thethai.net

http://www.school.net.th/education/physic-resources.php3

ฟิสิกส์ราชมงคล : www.rit.ac.th/homepage-sc/physics/

http://www.engineering-2000.com

http://neural.sc.mahidol.ac.th

รวม Link ทางฟิสิกส์: http://www.scithai.com

http://www.ethaithai.com

http://www.physics.rutgers.edu

http://www.physics.org

ศูนย์ข้อมูลการอนุรักษ์พลังงาน : http://www.thaienergy.net

http://www.teenet.chula.ac.th/

http://www.eppo.go.th

สาระที่ 6

กรมอุตุนิยมวิทยา : http://www.tmd.go.th/

การสำรวจทรัพยากรแร่ในทะเลประเทศไทย :

http://www.geocities.com/joofie.geo/index.html

ธรณีวิทยา วิศวกรรมธรณี วิศวกรรมปฐพี น้ำบาดาล ประเทศไทย :

http://fuel.egat.or.th/~prayat

มลพิษทางอากาศ : http://thcity.comirpollution/

กรมทรัพยากรธรณี : www.dmr.go.th

www.clair.ait.ac.th/EReferences.htm

www.psu.ac.th/psuroot2/international/exchange.htm

www.lib.ru.ac.th/service/index2.html

Earth science Lesson plan:

www.kirdkao.org/camp/chan/lesson_plan.html

http://neic.usgs.gov/neis/bulletin/

http://www.disaster.go.th

http://www.dmr.go.th

http://www.gisthai.org

http://www.geophys.washington.edu

http://www.pmel.noaa.gov/tsunami/

http://www1.tpgi.com.au

สาระที่ 7

สมาคมดาราศาสตร์ : http://www.darasart.com/

www.astronomy.com

NASA : www.nasa.gov

http://www.geocities.com/chatree_web/index.htm

http://www.geocities.com/darasard

http://www.doodaw.com/

http://come.to/namtarnsci/

www.ceismc.gatech.edu/busyt/astro.html

http://www.physics.rutgers.edu/hex/visit/lesson/lesson_links1.html

ปทานุกรมดาราศาสตร์ : http://thaiastro.nectec.or.th/ency/

มือใหม่หัดดูดาว : http://skywatcher.hypermart.net/index.htm

ร้อยตะวัน พันดาว : http://www.tawan.cjb.net/

สมาคมดาราศาสตร์ไทยกับกิจกรรมชาวฟ้า :

http://thaiastro.nectec.or.thctivity/index.html

หอดูดาวเกิดแก้ว : http://www.kirdkao.org/

เว็บสอนวิธีการดูดาว : http://www.jobtopgun.com/star-

watching/mainpage.htm

ขอบคุณครูคณะทำงานมากๆค่ะ

ขอเชิญครูวิทย์มาพัฒนาตนเองด้วยการทำผลงานเลื่อนวิทยฐานะกันเถอะสนุกด้วย เหนื่อย มันมากๆ

ดีใจมากค่ะที่ได้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานปฏิบัติการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1 ได้รับความรู้เป็นอย่างมาก และสามารถเป็นแนวทางในการทำแผนการสอนที่ถูกต้องค่ะ

เชิญเพื่อนครูวิทย์เข้ารับการพัฒนาสมรรถภาพการสอนวิทย์ค่ะ ได้ความรู้มากมาย

ได้พัฒนาเทคนิคการสอนมากมาย เช่น การเขียนแผน เทคนิควิธีสอนของเพื่อนๆซึ่งได้เล่าประสบการณ์ประทับใจมากจากประสบการณ์ของอ.เฟื้องฟ้า อ.มณี อ.จิระนันท์

อ.สุภาว์อ.รัชนีอ.บังอรอ.โสภา

รัชนี ร.ร.ทานสัมฤทธิ์

ดีใจมากค่ะที่ได้มีโอกาสร่วมงานกับ ท่านหัวหน้าแสงเดือน,ศน.ดนตรี และเพื่อนครูวิทย์ทุกท่าน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีโอกาสพัฒนางานมากขึ้น ขอบคุณมากค่ะ

ในการมาร่วมกับคณะปฏิบัติการเขียนแผนการจัดการเรียนการสอนครูผู้สอน

วิทยาศาสตร์ ชั้นป.๔-๕ มีความรู้สึกอบอุ่นและดีใจที่ท่านหัวหน้าแสงเดือนและอาจารย์ทุกท่านที่เป็นกันเองดี ขอบคุณ

ได้มาพัฒนาตนเองโดยการวิเคราะห์contentสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2

ได้ความรู้ ได้ประสบการณ์การทำงานร่วมกันกับเพื่อนครูหลายโรงเรียน หัวหน้า

แสงเดือนและศน.ดนตรีเป็นกันเอง ให้ความรู้ที่หลากหลาย เข้าใจง่ายที่จะนำไปปฏิบัติในปีการศึกษาหน้า ขอบคุณมากค่ะ

ขอกราบขอบพระคุณท่านหัวหน้าแสงเดือน คณะศึกษานิเทศ คณะครูวิทยาศาสตร์ทุกท่านที่ให้โอกาสเข้าเป็นสมาชิกครูวิทย์ ได้มีโอกานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่ๆ น้องๆ และจะได้นำความรู้และประสบการณ์นี้ไปพัฒนาผู้เรียนต่อไป ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่านที่ทำงานหนัก สู้ สู้ค่ะ อย่าลืมดูแลสุขภาพด้วยนะคะ

ในการมาพบปะครูวิทย์ในครั้งนี้แม้ว่าจะรู้สึกห่วงภาวะที่หนักหน่วงมากคือต้องเร่งส่งผลงาน แต่พอมาเจอบรรยากาศที่มีแต่ความจริงใจของเพื่อนครู และความเป็นกัลยาณมิตรจากท่านหัวหน้าหน่วยและข้อแนะนำแนวทางที่ดีจากศน.ดนตรีทำให้ตัวข้าพเจ้ามีแรงที่จะสู้และขอสู้ต่อไป

ครูวิทย์ไทรม้า มีข่าวดีมาบอก

ถ้าใครยังไม่ได้ทำผลงาน

จงรีบส่งคำขอซะ

แล้วรีบทำผลงาน

ท่านจะได้รู้ว่าสวรรค์มีจริง

ที่โรงเรียนได้จัดวันวิทยาศาสตร์ขึ้นในสัปดาห์วิทยาศตร์ มีการจัดนิทรรศการผลงานนักเรียน แข่งขันการตอบปัญหาวิทยาศาสตร์ วาดภาพ ทดลองวิทยาศาสตร์ ให้รางวัลแก่ผู้ชนะ เด็กๆชอบมาก และที่เป็นผลงานประทับใจคือโครงงานวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับเรื่องที่นักเรียนสนใจ เช่นสิ่งแวดล้อมศึกษาทำได้ดีมาก แต่ก็อยากจะแชร์กับโรงเรียนชุมชนวัดไทนม้าซึ่งอ.เฟื้องฟ้าบอกว่าทำไว้หลายเรื่องอยากให้นำเสนอให้ครูวิทย์เราทราบด้วยจะขอบคุณมาก

สวัสดีค่ะ ครูวิทย์นนท์ทุกท่านเป็นอย่างไรช่วงนี้เงียบเลยนะหรือว่าเป็นเพราะปิดเทอม

ครูรัชนั่งนึกถึงช่วงที่เราแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสนทนากันเกี่ยวกับเรื่องวิสัยทัศน์และคุณลักษณะครูวิทย์ที่ดี แล้วนำมาทบทวนตนเองและตั้งคำถามถามตนเองว่าเราเป็นครูวิทย์ที่ดีหรือยัง ซึ่งวันนั้นเรามีการนำเสนอว่าครูวิทย์ที่ดีต้อง****

1. ใฝ่รู้ 2. ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ใช้ ICT เป็น 3.มีเหตุผล 4. มีคุณลักษณะนักวิทยาศาสตร์ ช่างสังเกต ช่างคิด ช่างสงสัย ริเริ่ม ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเป็น ฯ 5.มีความอดทน ขยัน 7. มีจริยธรรม 8. ชอบเรียนรู้ธรรมชาติ 9.ชอบค้นหาคำตอบ 10. ช่วยนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา

เมื่อคิดทบทวนแล้วครูรัชก็นึกถึงแผนการสอนที่ตนเองทำเอ....แล้วเด็กจะเกิดพฤติกรรมตามที่เราคาดหวังหรือไม่ระหว่างปิดภาคเรียนนี้ต้องปรับแผนฯสักหน่อยและดีใจมากที่ สพท.นนทบุรี 1 จะจัดให้มีการทบทวนปรับแผนการสอนครูวิทย์ช่วงชั้นที่ 2 ในต้นเดือนพฤษภาคมนี้ คิดว่าเราคงได้ประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับแผนพอสมควร

โรงเรียนวัดปากน้ำ ก็จัดกิจกรรมสัปดาห์วิทย์เหมือนกันค่ะครูรัช แต่ที่โรงเรียนจัดเป็นฐานการเรียนรู้เน้นการทดลองที่หลากหลายและให้นักเรียนสนุกกับการเรียนจากประสบการณ์จริง นอกจากนี้ยังพานักเรียนไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เช่น

ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (ปทุมธานี) ท้องฟ้าจำลอง....แหล่งธรรมชาติอื่นๆ

นอกจากนี้โรงเรียนยังจัดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิทย์ทั้งในและนอกโรงเรียนทำให้นักเรียนได้รับรางวัลด้านวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับเขตพื้นที่ และภูมิภาคหลายรางวัล

ส่วนเรื่องโครงงานโรงเรียนวัดปากน้ำ มีการปูพื้นฐานการทำโครงงานทั้งรายกลุ่มและรายบุคคลตั้งแต่ชั้น ป. 4 เป็นต้นมา

เพื่อนๆคะ ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสอนโครงงานนะคะที่ดิฉันสอนโครงงานนักเรียนประสบผลสำเร็จทำดังนี้ค่ะ

1. นำโครงงานตัวอย่างมาให้นักเรียนดูและบายเพิ่มเติม

2. ให้นักเรียนศึกษาและวิเคราะห์ พร้อมตั้งคำถามเมื่อสงสัย

3. สำหรับช่วงชั้นที่ 2 ครูควรต้องฝึกให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทักษะต้นๆก่อน

4. เริ่มการทำโครงงานเกี่ยวกับการสำรวจก่อนเพราะเป็นโครงงานท่ใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ไม่ซับซ้อน

5.ให้นักเรียนเลือกประเด็น ปัญหา เรื่อง ด้วยตนเอง ถ้าทำเป็นกลุ่มใช้กระบวนการกลุ่มเข้าช่วย

6.ให้นักเรียนดำเนินการตามแผนที่วางไว้โดยมีครูเป็นผู้ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด

7.ให้นักเรียนรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะ อาจด้วยปากเปล่า พร้อมชิ้นงานที่ทำ

8 ฝึกให้นักเรียนเขียนรายงาน

9.นำเสนองานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

10. ปรับปรุงงาน

ใครมีวิธีการสอนโครงงานที่ดีๆ นำมาบอกบ้างนะคะ......

ขอแชร์กับอ.สุภาว์

โครงงานเป็นการสืบเสาะหาคำตอบของผู้เรียนด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ลงมือปฏิบัติ ค้นคว้าทดลองเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง เห็นจริง นำมาสู่การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองไม่ว่าจะเป็นการสำรวจ ทดลอง จำต้องทำซำแล้วซำอีก อาจมีการลองผิดลองถูกภายใต้การตั้งสมมติฐานนั้นๆ ดังน้นครูควรกระตุ้นให้นักเรียนทดลองและค้นหาคำตอบด้วยวิธีการหลากหลาย โดยครูอาจให้นักเรียนทำทีละขั้นแล้วรายงานความก้าวหน้าด้วยวาจาต่อครู เช่น ขั้นกำหนดเรื่องที่สนใจ ขั้นวางแผนหรือกำหนดเค้าโครง ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสรุปและรายงานผล ตลอดจนขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนองาน

กรณีเด็กไม่เคยเรียนรู้โดยโครงงานครูอาจนำตัวอย่างโครงงานมาให้เด็กศึกษาจะทำให้เด็กเข้าใจเร็วขึ้น และการเสริมแรง ตลอดจนส่งเสริมให้เขามีโอกาสเข้าประกวดโครงงานด้วยจะดีมาก

โครงงานเรื่องต้มใบขี้เหล็กให้จืดเร็ว

เด็กนักเรียนชั้นป.6 เขาสนใจทำโครงงานเรื่องต้มใบขี้เหล็กให้จืดเร็ว จากการทดลองหลายครั้งภายใต้ข้อมูลที่ได้รับการบอกเล่าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เด็กๆทราบว่าการนำมะเขือพวงมาใช้ต้มผสมในสัดส่วนที่พอเหมาะใบขี้เหล็กที่ว่าต้องต้มนานๆ ก็จืดเร็วรายละเอียดอยากทราบถามที่โรงเรียนวัดสำโรงจ๊ะ

สอนวิทยาศาสตร์อย่างไรให้สนุก

จากประสบการณ์นะคะ

1. ครูเตรียมพร้อม

2. ครูมีความยุติธรรม และเปิดใจกว้าง

3.ให้เด็กมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน

4. ครูรักเด็ก และยอมรับความสามารถเด็ก

5. ครูเสริมแรงเด็ก

6. ชื่นชมยกย่องให้กำลังใจเด็ก

7. ครูสนุกกับงาน

บอกครูวิทย์ ตอนนี้ครูนันท์ได้จัดทำชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมใช้กับนักเรียนชั้นป.5 เด็กสนใจดีค่ะ ใครสนใจเชิญที่โรงเรียนชุมชนวัดส้มเกลี้ยง

อ.โสภา จากโรงเรียนอนุบาล

อนุบาลนนท์ จัดโครงการพัฒนาศักย์ภาพนักเรียนหลายโครงการ เช่น เพชรดีศรีนนท์ สัปดาห์วิทยาศาสตร์ แข่งขันนักเรียนเป็นเลิศ สอนโครงงานตั้งแต่ชั้นป.1 แข่งขันอัจฉริยะภาพวิทยาศาสตรื ทุกอย่างเราทำต่อเนื่อง จึงประสบผลสำเร้จ

ค้นภาพจากเว็บgloogle สวยๆและน่าสนใจทั้งนั้นเลย คุณครูลองค้นและนำไปจัดการเรียนการสอนนะคะhttp://images.google.co.th/images?hl=th&um=1&q=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C&sa=N&start=36&ndsp=18

ไข้หวัดใหญ่ 2009 น่ากลัวไหม

ผู้ประกาศข่าวทีวีหลายช่องพยายามที่จะเสนอข่าวเพื่อให้คนไทยได้รู้เท่าทันมัน และพยามยามบอกว่าคนไทยควรตระหนักแต่ไม่ควรตระหนก ตื่นกลัว เล่นเอาดิฉันทั้งตระหนักและตระหนก ต้องดูแลเอาใจใส่ต่อตนเอง และครอบครัวมากขึ้น

ทั้งกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงพร้อมที่จะสู้กับไอ้ไวรัสตัวร้าย ดูแลสุขภาพตนเองนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ใส่หน้ากากเมื่อไปในที่สาธาราณะที่มีคนมาก (ป้องกันไว้ก่อน) ดูแลบ้านที่อยู่อาศัยให้สะอาด ที่ทำงาน โอดูเราทั้งตระหนักและตระหนกเมื่อข่าวบอกว่าประเทศไทยมีคนตายเพราะโรคนี้เป็นอันดับ 3 ของโลก(เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 ) เป็นไปได้หรือนี้ จึงอยากให้ครูวิทย์ทุกคนหันมาให้ความสำคัญและเรียนรู้มันพร้อมทั้งสอน บอก ประชาสัมพันธ์ให้ลูกศิษย์เรา และผู้ปกครองนักเรียนทราบเพื่อป้องกัน ดิฉันค้นเว็บได้ความรู้ และนำเสนอให้เพื่อนๆรู้ด้วยดังนี้

ไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่กำลังระบาดตามข่าวอยู่ในขณะนี้คือโรคอะไร ?

โรคที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ เป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในคน แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน ไม่พบว่ามีการติดต่อมาจากสุกร เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (A/H1N1) ซึ่งเป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบทั้งในสุกรและในคน เป็นเชื้อที่เกิดจากการ ผสมข้ามสายพันธุ์ ซึ่งมี สารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่คน ไข้หวัดใหญ่สุกร และไข้หวัดใหญ่ สัตว์ปีกด้วย เริ่มพบการระบาดที่ประเทศเม็กซิโก และแพร่ไปกับผู้เดินทางไปในอีกหลายประเทศ ระยะแรก กระทรวงสาธารณสุขใช้ชื่อโรคนี้ว่า “โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก” และเมื่อองค์ การอนามัยโลกได้ประกาศชื่อเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1” และใช้ชื่อย่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009”

เหตุใดจึงไม่ใช้คำว่าไข้หวัดสุกร (Swine Flu) ?

เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ใหม่ ในการรายงานโรคนี้ช่วงแรกในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Swine Flu” หรือไข้หวัดใหญ่สุกร โดยปกติแล้ว ไข้หวัดใหญ่สุกรเป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นในสุกร มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่หลายชนิด เช่น H1N1, H1N2, H3N1 และH3N2 การติดเชื้อเกิดโดยคนหายใจเอาละอองฝอยเมื่อสุกรไอ หรือจาม เข้าไป หรือการสัมผัสกับสุกร อย่างไรก็ตามเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโกนี้ ผลการตรวจวิเคราะห์ในระดับพันธุกรรมพบว่า เป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่พบในคนทั้งในเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา และผลการสอบสวนโรค ไม่พบผู้ใดติดโรคจากสุกร หากแต่เป็นการแพร่กระจายโรคจากคนสู่คนเท่านั้น

ต่อมาองค์การอนามัยโลก ได้เปลี่ยนการเรียกชื่อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เป็น “ไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1” (Influenza A H1N1) กระทรวงสาธารณสุขไทยจึงเปลี่ยนชื่อย่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” เพื่อสื่อให้ประชาชนไม่สับสนกับไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ที่เกิดตามฤดูกาล ซึ่งเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่คนละตัวกัน

เกิดการระบาดขึ้นที่ประเทศใดบ้าง ?

เดือนมีนาคม 2552 พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และผู้ป่วยปอดบวม ในเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา อินเดียนา นอกจากนั้นยังพบผู้ป่วยติดเชื้อในออสเตรีย แคนาดา เยอรมนี อิสราเอล เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สเปน และสหราชอาณาจักร ในประเทศไทยยังไม่เคยพบเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ดังกล่าวนี้

คนติดโรคนี้ได้อย่างไร ?

คนส่วนใหญ่ติดโรคไข้หวัดใหญ่ จากการถูกละอองฝอยไอจาม น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วยโดยตรง บางรายอาจได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ลูกบิดประตู โทรศัพท์ แก้วน้ำ เป็นต้น ไม่มีรายงานการติดต่อจากการรับประทานเนื้อสุกร

สำหรับการป้องกัน กระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้ประชาชนปฏิบัติตัว ดังนี้

1. หากไม่มีความจำเป็น ควรชะลอการเดินทางไปยังพื้นที่ที่กำลังเกิดการระบาดจนกว่าสถานการณ์จะยุติลง

2. หากจำเป็นต้องเดินทางไปพื้นที่เกิดการระบาด ให้หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไอ และที่แออัด หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ หรือเช็ดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ พร้อมปฎิบัติตามข้อแนะนำของทางการในพื้นที่นั้นๆ อย่างเคร่งครัด

3. ผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เกิดการระบาด ถ้ามีอาการของไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ฯลฯ ภายใน 7 วันหลังเดินทางกลับ ควรสวมหน้ากากอนามัย หรือใช้กระดาษทิชชูปิดปากจมูกทุกครั้งที่ไอจาม และรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาและคำแนะนำในการปฎิบัติตัวอย่างเข็มงวด

4. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดย

4.1 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มสุรา

4.2 หมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการไอ จาม

4.3 หากพบว่ามีผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ภายในบ้าน หรือสถานที่ทำงานเดียวกัน ต้องรีบแจ้งสำนักงานสาธารณสุข หรืออาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน เพื่อเข้าำเนินการป้องกัน การแพร่ระบาดทันที

อ้างอิงจาก http://www.krukesorn.com/about.php และจากข่าวทีวี

ครูผู้สอนวิทย์ ควรรู้นโยบาย/แนวทางของประเทศเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ครูนนท์ขอฝากๆๆๆๆๆๆ

แนวทางพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของประเทศ

รมว.ศธ.กล่าวถึงแนวทางพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของประเทศ

________________________________________

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงแนวทางพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของประเทศ ในพิธีเปิดค่ายวิทยาศาสตร์บูรณาการ "Fun Science Camp" ครั้งที่ 2 โดยโครงการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ IN-STEP ที่ค่ายวิทย์โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา

รมว.ศธ. กล่าวในพิธีเปิดว่า ศธ.กำลังมุ่งเน้นให้ความสำคัญการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะต้องการพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น โดย จ.พังงา ก็เหมือนกับจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศที่ต้องเน้นย้ำการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เพราะผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่า ๕๐% และต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของ O-Net ด้วย

ปัจจุบัน ศธ.ได้มีนโยบายที่จะเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถของครูทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเรื่องหนึ่งที่กำลังดำเนินการคือ การผลิตครูทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยได้แต่งตั้งให้นายวรากรณ์ สามโกเศศ อดีต รมช.ศธ.เป็นประธานดำเนินการไปวางแผนประชุมร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบว่าภายใน ๓-๕ ปีข้างหน้า เราจะผลิตครูเพิ่มเติมเป็นจำนวนเท่าใดบ้าง ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

นอกจากนี้หากพระราชกำหนดและพระราชบัญญัติเงินกู้ฯ ซึ่งรวมกันกว่า ๘ แสนล้านบาทผ่านการพิจารณาด้วยความราบรื่น ศธ.จะได้รับเงินจำนวนดังกล่าวประมาณ ๑.๓ แสนล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งของเงินกู้นี้จะนำไปใช้ใน งบพัฒนาครูผู้สอนทางด้านวิทยาศาสตร์ ในเวลาเดียวกันด้วย อย่างไรก็ตามเพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ดีขึ้น สพฐ.กำลังจัดตั้งศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเร่งรัดการเรียนการสอนทั้งด้านหลักสูตร และการติดตามประเมินผลภายใน ซึ่งที่ผ่านมา สพฐ.ได้ดำเนินการจัดตั้งตั้งศูนย์พัฒนาภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนประสบความสำเร็จมาแล้วที่ช่วยให้ผลการสอบ O-Net สูงกว่าปีที่ผ่านมา ๒ ปีติดต่อกัน

อีกประการหนึ่งคือ เรากำลังจะเพิ่ม ห้องเรียนวิทยาศาสตร์อัจฉริยะทวิภาคีขึ้นมา ซึ่งขณะนี้เรามีโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นตัวหลักในการสอนวิทยาศาสตร์ และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยอีก ๑๒ แห่งทั่วประเทศ ให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ในทุกภูมิภาค แต่การมุ่งเน้นการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เป็นกรณีพิเศษต้องมีมากกว่านี้ ปัจจุบันเราจึงมีห้องเรียนวิทยาศาสตร์กระจายทั่วประเทศอีก ๙๖ ห้องเรียน และจะเพิ่มห้องเรียนวิทยาศาสตร์นี้อีกในทุกจังหวัดๆ ละ ๑ ห้อง หากได้รับงบประมาณเงินกู้ดังกล่าวอีกด้วย โดยจะเป็นความร่วมมือระหว่าง สพฐ.กับ สกอ.ที่จะให้มหาวิทยาลัยต่างๆ มาจับคู่สร้างห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือเป็นการทำงานระดับทวิภาคี

นอกจากนี้ มติ ครม.เมื่อ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ได้เพิ่ม ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เป็นกรณีพิเศษ โดยความร่วมมือของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับ ศธ. อีก โดย วท.ได้จัดงบประมาณ ๑,๐๓๖ ล้านบาท ให้อาจารย์และนักศึกษาไปช่วยสอนในโรงเรียนที่จับคู่ร่วมกัน ๒๐ ห้องเรียน ภายในระยะเวลา ๓ ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๓-๒๕๕๕ ซึ่งแต่เดิมมีมหาวิทยาลัยและโรงเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน ๔ คู่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับโรงเรียนสาธิต มอ.วิทยานุสรณ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีกับโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีกับโรงเรียนดรุณสิกขาลัย

นอกจากการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว ศธ.ยังมีโครงการนำร่อง วิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (Science-Based Technology School) ที่วิทยาลัยการอาชีพพานทอง อ.พานทอง จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นวิทยาลัยสังกัด สอศ.ที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนทางด้านอาชีวศึกษา ซึ่งจะแตกต่างไปจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาทั่วไปที่จะก้าวไกลไปถึงการค้นคว้าวิจัยนวัตกรรมใหม่ๆ คล้ายเป็นมหาวิทยาลัยมหิดลอาชีวศึกษา ซึ่งจะเป็นต้นแบบในการสร้างนักเทคโนโลยีที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นนักเทคโนโลยีในอนาคต เป็นการเตรียมผู้ที่มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ในสายอาชีวศึกษาให้มีศักยภาพศึกษาต่อในระดับสูง ทั้งปริญญาตรี โท และเอก ในสาขาเทคโนโลยี และในปี ๒๕๕๓ จะขยายวิทยาลัยนี้ออกไปจบครบทุกภูมิภาค ๔ แห่งทั่วประเทศ คือ ชลบุรี นครราชสีมา ลำพูน และพังงา

ในส่วนของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยก็เช่นกัน เรายังมีศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ๑๕ แห่งทั่วประเทศ และจะเปิดเป็นแห่งที่ ๑๖ ที่ จ.ร้อยเอ็ดในปีหน้า รวมทั้งกำลังตั้งงบประมาณที่จะก่อสร้างเป็นแห่งต่อไปที่ จ.พังงาด้วย เพื่อให้ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้การศึกษาตามอัธยาศัย มีภารกิจในการให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดาราศาสตร์และอวกาศ เช่น ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต ซึ่ง รมว.ศธ.จะเดินทางไปตรวจเยี่ยมในวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ ด้วย จึงหวังว่าความร่วมมือร่วมใจพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของประเทศจะก้าวหน้าไปไม่แพ้ประเทศใดในโลกนี้อย่างแน่นอน

รมว.ศธ.กล่าวด้วยว่า จังหวัดพังงาถือเป็นจังหวัดแห่งเดียวของไทยที่บริษัท MSD อันเป็นบริษัทวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ วัคซีนยารักษาโรคต่างๆ ที่มีชื่อเสียงมาช่วยสนับสนุนโครงการนี้ ร่วมกับสถาบันคีแนนแห่งเอเชีย (KIASIA), สพฐ. และ สสวท. ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ ๒ ถือเป็นการยืนยันการแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนอื่นๆ ไม่เฉพาะของรัฐเท่านั้น

อนึ่ง ในพิธีเปิดครั้งนี้ มีผู้บริหารระดับสูงจาก ศธ. เข้าร่วมและเยี่ยมชมนิทรรศการวิทยาศาสตร์ เช่น นายสุนิติ์ ทีวะเวช ที่ปรึกษา รมว.ศธ. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ กพฐ. นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิการ กอศ. นางรุ่งเรือง สุขาภิรมย์ หน.ผู้ตรวจราชการ ศธ. นางศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล รองปลัด ศธ. นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ ผู้เชี่ยวชาญ กศน. และนายรังสรรค์ มณีเล็ก ผอ.สำนักนโยบายและแผน สพฐ.

อ้างอิง จาก http://www.moe-news.net/index.php?option=com_content&task=view&id=1280&Itemiบัลลังก์ โรหิตเสถียร

นงศิลินี โมสิกะ

สรุป/รายงาน

สพท.นบ.1 จะจัด KMครูวิทยาศาสตร์ขึ้นในวันที่ 19 กรกฎาคม 2552 เพื่อให้ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ได้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ โรงแรมโกลเดนดรากอน

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพรียงกัน

ขอแจ้งข่าวครูวิทย์

เนื่องจากปีงบประมาณ53-55 จะมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับโครงวิทย์คือ

ครูวิทย์จะได้รับการพัฒนาทุกคน เพื่อให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อยกรับคุณภาพผู้เรียนทั้งในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สมรรถนะ คุณลักษณะท่พึงประสงค์ของหลักสูตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องเรียนคุณภาพ ครูวิทย์ควรเป็น

1. ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในด้านการสอน

2. รู้จักนักเรียนรายบุคคลเพื่อเป็นข้อมูลพัฒนานักเรียนเต็มตามศักยภาพ

3. ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน

4. สร้างวินัยเชิงบวกให้เกิดขึ้นในชั้นเรียน

5. จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

และอย่างลืมเอาสิ่งที่เราทำKm กันนำมาพัฒนาการสอนด้วย

ขอแชร์ความรู้ด้วยนะคะ

การปลูกผักลอยฟ้า ( Hydroponics )

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เป็นการปลุกพืชลงบนสารอาหารพืช (น้ำปุ๋ย) โดยรากพืชสัมผัสกับสารอาหารโดยตรง เพื่อดูดสารอาหารมาใช้ในการเจริญเติบโต

วิธีการปลุกพืชโดยไม่ใช้ดิน สามารถใช้ เทคนิคนี้ในการปลูกพืชได้แทบทุกชนิดตั้งแต่ผัก ผลไม้ ไม้ดอก พืชไม้เลื้อยจนถึงพืชยืนต้น แต่สวนมานิยมปลูกในพืชผักไม้ผลที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าดินนั้นประกอบไปด้วยเชื้อแบคทีเรีย เชื้อจุลินทรีย์ และเชื้อโรคต่าง ๆ ซึ่งมีผลเสียต่อระบบรากพืชและการเจริญเติบโตในส่วนต่าง ๆของพืช ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดโรคพืชไปถึงจำนวนวัชพืชที่แย่งสารอาหารของพืชที่ปลูก รวมทั้งการสิ้นเปลืองปริมาณน้ำปุ๋ยที่ต้องสูญเสียไปในดินโดยพืชได้นำไปใช้ประโยชน์

ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

1. การเตรียมพืชที่และโต๊ะปลูก ประกอบโต๊ะปลูกและติดตั้งตามวิธีการประชุดไฮโดรโปนิกส์ และนำโต๊ะปลูกมาวางในตำแหน่งที่ได้รับแสงแดดอย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน

2. พันธุ์และเมล็ดพันธุ์ผัก เมล็ดพันธุ์ผักมี 2 ชนิด คือ

2.1 เคลือบดินเหนียว เนื่องเมล็ดผักมีขนาดเล็กทำให้เป็นอันตรายและสูญเสียได้ง่าย จึงมีการเคลือบเมล็ดด้วยดินเหนียว เมล็ดที่เคลือบจะมีการเก็บรักษาสั้น เนื่องจากได้มีการกระตุ้นการงอกมาแล้วแต่จะสะดวกสำหรับการใช้งาน

2.2 ไม่เคลือบ คือเมล็ดพันธุ์ปกติ

3. การเพาะต้นกล้า นำวัสดุปลูกเช่น เพอร์ไลท์ เวอร์มิคูไลท์ ใส่ถ้วยเพาะและนำเมล็ดผักใส่ตรงกลางถ้วย กลบเมล็ดรดน้ำให้ปียก และเก็บไว้ในที่ปลอดภัย รดน้ำทุกวันประมาณ 3 – 5 วัน เมล็ดเริ่มงอกและเริ่มให้สารละลายอ่อน ๆ แทนน้ำ

4. การปลูกบนรางขนาด 3 เมตร

4.1 ตัวอย่างเติมน้ำ 10 ลิตร และเติมสารอาหาร A และ B อย่างละ 100 ซีซี หรือ 10 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร นำต้นกล้าที่แข็งแรงอายุประมาณ 2 สัปดาห์ ย้ายมาวางบนโต๊ะปลูกและเดินเครื่องปั๊มน้ำ

5.การดูแลประจำวัน รักษาระดับน้ำให้อยู่ในระดับควบคุมอยู่เสมอ

6. การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 45 วัน

--------------------------------------------------------------------------------

ผู้เขียน : watfang

หน่วยงาน : โรงเรียนวัดฝาง

พฤหัสบดี ที่ 20 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2552

เข้าชม : 56

--------------------------------------------------------------------------------

นวัตกรรมและเทคโนโลยี 5 อันดับล่าสุด

การรับมอบดาวเทียม DTV 31 / ส.ค. / 2552

วิธีทำเจลล้างมือแอลกอฮอล์ 24 / ส.ค. / 2552

การเพาะเห็ดฟาง ในตะกร้า 23 / ส.ค. / 2552

การปลูกผักลอยฟ้า ( Hydroponics ) 20 / ส.ค. / 2552

การเพาะถั่วงอกในไห 20 / ส.ค. / 2552

--------------------------------------------------------------------------------

ขอให้ครูวิทย์นำเอกสารทางไกล(-เทคนิคการจัดการเรียนการสอนวิทย์และแนวทางการสอนโครงงาน)ไปศึกษาและพัฒนาสมรรถภาพการสอนจะเป็นประโยชน์ต่อท่านมาก

จากการนิเทศ ติดตามผลทราบว่าครูวิทย์หลายท่านได้จัดการเรียนการสอนโดยโครงงาน ขอนำโครงงานที่น่าสนใจนำเสนอเพื่อนๆดังนี้

ชื่อโครงงาน การใช้ปุ๋ยชีวภาพกับผักสวนครัว

ชื่อนักเรียน

1. เด็กชายณัฐพล ศรีจันทร์ ชั้น ป.6

2. เด็กชายสมรักษ์ วัชพืช ชั้น ป.6

อาจารย์ที่ปรึกษา คุณครูประภักดิ์ ดรุณวรรณ

บทคัดย่อ

ในการเกษตรได้มีการใช้ปุ๋ยเคมีกันมากขึ้น ซึ่งในระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อ สิ่งมีชีวิตได้ เช่น ถ้าพืชได้รับสารเคมีเป็นเวลานานอาจจะค่อย ๆ เกิดการกลายพันธุ์ หรือ ถ้ามนุษย์ , สัตว์บริโภคเป็นเวลานานอาจเกิดการสะสมและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ จึงมีผู้คิดค้นเริ่มทำการเกษตรด้วยวิธีธรรมชาติขึ้นโดยใช้ปุ๋ยชีวภาพ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาว่าปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยเคมีจะทำให้ผักคะน้าเจริญเติบโตดีที่สุด

การดำเนินการ

1. วิธีการปลูกคะน้า

หว่านเมล็ดคะน้าแบบแถวเดียว เตรียมดินโดยการใช้แรงงานคนและให้น้ำแบบใช้บัวรดน้ำหรือลากสายยางติดฝักบัวพ่นรด

2. การปฏิบัติดูแล

คะน้าเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอเพราะต้นคะน้ามีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการปลูกคะน้าจึงต้องปลูกในแหล่งที่มีนำเพียงพอตลอดฤดูปลูก หากคะน้าขาดน้ำจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและคุณภาพไม่ดี เท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่เมล็ดเริ่มงอกยิ่งขาดน้ำไม่ได้เลย วิธีการให้น้ำคะน้าโดยใช้บัวฝอย หรือใช้เครื่องฉีดฝอยฉีดให้ทั่วและชุ่ม ให้น้ำคะน้าวันละ 2 เวลา คือ เช้าและเย็น และรดด้วยปุ๋ยชีวภาพสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

ผลการดำเนินงาน

เนื่องจากปุ๋ยชีวภาพมีตัวการที่ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืช ซึ่งก็คือจุลินทรีย์ ดังนั้น เมื่อใส่ลงไปในดินและเกิดการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์แล้ว จุลินทรีย์มักจะยังคงอยู่ในดินต่อไปหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว จึงมักจะไม่มีความจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยชีวภาพนั้นอีก จนกว่าจำนวนจุลินทรีย์ที่ใส่จะหมด หรือลดจำนวนลงไปจนเหลือน้อยมาก ข้อดีนี้ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยชีวภาพไปมาก

ชื่อโครงงาน การทำสบู่เหลวผสมจุลินทรีย์

ชื่อนักเรียน

3. เด็กหญิงจิภาวรรณ์ ประทุมมี ชั้น ป.2

4. เด็กหญิงสุนันทรา นาคเสรีวงศ์ ชั้น ป.2

5. เด็กหญิงวรัญญา โสภา ชั้น ป.2

6. เด็กชายธนบูรณ์ อรัญญะนาค ชั้น ป.2

7. เด็กหญิงกนกพร มีแจ้ง ชั้น ป.2

ครูที่ปรึกษา นางสาวยุพา หงษาชุม

บทคัดย่อ

โครงงานเรื่อง การทำสบู่เหลวผสมจุลินทรีย์

วัตถุประสงค์

2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในการทำสบู่เหลว

3. เพื่อให้นักเรียนนำสบู่เหลวเป็นนวัตกรรมประจำโรงเรียน

4. เพื่อให้นักเรียนมีรายได้ในการนำสบู่เหลวไปขาย

การดำเนินการ

คัดเลือกนักเรียนที่มีความสนใจในการทำสบู่เหลว 5 คน ทำใบงานให้นักเรียนได้ค้นคว้าและปฏิบัติจริง ตามขั้นตอนจนได้สบู่ที่มีคุณภาพ โยมีส่วนผสมของจุลินทรีย์ที่จะไปช่วยขจัดพื้นและดับกลิ่นตัวให้ร่างกาย

ผลการดำเนินงาน

1. นักเรียนมีความรู้ความสามารถที่จะผลิตสบู่เหลวไปเผยแพร่ แก่ชุมชนและโรงเรียนต่าง ๆ ได้

2. นักเรียนสามารถนำเอานวัตกรรมที่ผลิตสบู่เหลวไปขายในชุมชน

ชื่อโครงงาน เปรียบเทียบการเพาะเห็ดฟางในผักตบชวา และขี้ฝ้าย

เพื่อให้ได้วัสดุ ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดฝาง

ชื่อนักเรียน

8. เด็กหญิงสุพัฒตรา สายโท

9. เด็กหญิงอารยา บุญโสม

10. เด็กชายจตุรงค์ กัณฑะ

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์สุทธิพร ทองเปลว

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม อาจารย์ยุทธกิจ ประจักษ์เพิ่มศักดิ์ , นางสาวเรวดี ดีสันเทียะ

บทคัดย่อ

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง “เปรียบเทียบการเพาะเห็ดฟางอาหารเสริมในผักตบชวา และขี้ฝ้าย เพื่อให้ได้วัสดุที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดฟาง” เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาตอนปลาย ที่จัดทำขึ้น เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบระหว่างผักตบชวา และขี้ฝ้าย ว่าวัสดุชนิดใดที่เห็ดฟางออกดอก และให้น้ำหนักดีที่สุด เพื่อได้ปริมาณเห็ดฟางมากขึ้น และเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนำผักตบชวาที่เป็นวัชพืช และขี้ฝ้าย ที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ได้อย่างรู้คุณค่า โดยได้ทำการทดลอง 3 ครั้ง จากการทดลองเพาะเห็ดฟางโดยใช้วัสดุเพาะเห็ดฟางต่างกันวางแผนการทดลองโดยการชั่งน้ำหนักของเห็ดฟาง เพื่อทำการเพาะเห็ดฟางทำการเปรียบเทียบกันโดยการใช้วัสดุเพาะเห็ดฟางที่แตกต่างกัน คือ ใช้ผักตบชวา และใช้ขี้ฝ้าย พบว่า การใช้ผลผลิตของเห็ดฟางตลอดอายุการเก็บผลผลิตเป็นเวลา 12 วัน พบว่า Test 1ได้น้ำหนักเห็ดฟาง จากขี้ฝ้าย 305 กรัม และได้น้ำหนัก จากผักตบชวา 415 กรัม Test 2 ได้น้ำหนักเห็ดฟาง จากขี้ฝ้าย 305 กรัม และได้น้ำหนัก จากผักตบชวา 400 กรัม Test 3 ได้น้ำหนักเห็ดฟาง จากขี้ฝ้าย 325 กรัม และได้น้ำหนัก จากผักตบชวา 425 กรัม จะเห็นได้ว่า การใช้ผักตบชวามาทดลอง ใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ดฟาง ทำให้ผลผลิตในด้านจำนวนดอก และน้ำหนักผลผลิตของเห็ดฟางทั้งหมดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผักตบชวามีสานอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเห็ดฟาง

วัตถุประสงค์

5. เพื่อเปรียบเทียบ ผลผลิตของเห็ดฟางจากการเพาะด้วย ผักตบชวา และขี้ฝ้าย

6. เพื่อให้ได้วัสดุที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดฟางเร็วที่สุด

7. เพื่อเป็นแนวทางให้เกษตรกร และผู้ที่สนใจได้ศึกษา และนำไปใช้ในการเพาะเห็ดฟาง

8. เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่ามากที่สุด

การดำเนินการ

1.การเพาะเห็ดฟางด้วยอาหารเสริมจาก (ผักตบชวา)

1.1 นำขี้เลื่อยมาใส่ในตะกร้าพลาสติก สูงประมาณ 2 – 3 นิ้ว ใช้มือหรือไม้กดให้แน่น

1.2 นำเอาอาหารเสริม (ผักตบชวาหั่นเฉียง) โรยชิดด้านในตะกร้าเป็นวงกลม กว้างประมาณ 1 ฝ่ามือ ซึ่งใช้ประมาณ 1 ลิตร ต่อชั้น

1.3 นำเชื้อเห็ดฟางออกจกถุง นำไปคลุกกับแป้งข้าวสาลีพอติดผิวนอก เพื่อเป็นอาหารเสริมในระยะแรกที่ช่วยกระตุ้น ให้เชื้อเห็ดเจริญได้ดี

1.4 แล้วโรยทับอาหารเสริม (ผักตบชวาหั่นเฉียง) อีกชั้นหนึ่ง ทำเป็นชั้น ๆ ลักษณะนี้จนเต็มตะกร้าพลาสติก รดน้ำใช้ชุ่ม (หากก้อนเชื้อเห็ดที่นำมาเพาะยังชุ่มอยู่ก็ไม่ต้องรดน้ำ แต่หากแห้งก็รดน้ำให้ชุ่ม)

1.5 ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม สำหรับการเกิดดอกเห็ด โยการปิดโรงเรือนให้มิดชิด เช่น ด้านล่างควรใช้อิฐทับพลาสติกไว้ เพื่อป้องกันพลาสติกเปิดออก ภายในโรงเรือนควรติดเทอร์โมมิเตอร์ สำหรับวัดอุณหภูมิ ในช่วงวันที่ 1 ถึง 4 วันแรกต้อง ควบคุมอุณหภูมิในกระโจมหรือในโรงเรือนให้อยู่ในระดับ 37 – 40 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงเกินไปให้เปิดช่องระบายอากาศด้านบนของโรงเรือนออก โดยใช้วัสดุพรางแสงคลุม หรือรดน้ำรอบ ๆ โรงเรือน

1.6 เมื่อครบ 4 วันแล้ว ให้เปิดผ้าพลาสติก หรือประตูโรงเรือนอย่างน้อย 2 – 3 ชั่วโมง เพื่อให้การถ่ายเทอากาศ (ออกซิเจน) เพื่อให้เส้นใยเห็ดฟางสร้างจุดกำเนิดออก ถ้าวัสดุแห้งเกินไปให้รดน้ำ

2.การเพาะเห็ดฟางด้วยอาหารเสริมจาก (ขี้ฝ้าย)

2.1 นำขี้เลื่อยมาใส่ในตะกร้าพลาสติก สูงประมาณ 2 – 3 นิ้ว ใช้มือหรือไม้กดให้แน่น

2.2 นำเอาอาหารเสริม (ขี้ฝ้าย) โรยชิดด้านในตะกร้าเป็นวงกลม กว้างประมาณ 1 ฝ่ามือ ซึ่งใช้ประมาณ 1 ลิตร ต่อชั้น

2.3 นำเชื้อเห็ดฟางออกจกถุง นำไปคลุกกับแป้งข้าวสาลีพอติดผิวนอก เพื่อเป็นอาหารเสริมในระยะแรกที่ช่วยกระตุ้น ให้เชื้อเห็ดเจริญได้ดี

2.4 แล้วโรยทับอาหารเสริม (ขี้ฝ้าย) อีกชั้นหนึ่ง ทำเป็นชั้น ๆ ลักษณะนี้จนเต็มตะกร้าพลาสติก รดน้ำใช้ชุ่ม (หากก้อนเชื้อเห็ดที่นำมาเพาะยังชุ่มอยู่ก็ไม่ต้องรดน้ำ แต่หากแห้งก็รดน้ำให้ชุ่ม)

2.5 ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม สำหรับการเกิดดอกเห็ด โยการปิดโรงเรือนให้มิดชิด เช่น ด้านล่างควรใช้อิฐทับพลาสติกไว้ เพื่อป้องกันพลาสติกเปิดออก ภายในโรงเรือนควรติดเทอร์โมมิเตอร์ สำหรับวัดอุณหภูมิ ในช่วงวันที่ 1 ถึง 4 วันแรกต้อง ควบคุมอุณหภูมิในกระโจมหรือในโรงเรือนให้อยู่ในระดับ 37 – 40 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงเกินไปให้เปิดช่องระบายอากาศด้านบนของโรงเรือนออก โดยใช้วัสดุพรางแสงคลุม หรือรดน้ำรอบ ๆ โรงเรือน

2.6 เมื่อครบ 4 วันแล้ว ให้เปิดผ้าพลาสติก หรือประตูโรงเรือนอย่างน้อย 2 – 3 ชั่วโมง เพื่อให้การถ่ายเทอากาศ (ออกซิเจน) เพื่อให้เส้นใยเห็ดฟางสร้างจุดกำเนิดออก ถ้าวัสดุแห้งเกินไปให้รดน้ำ

ผลการดำเนินงาน

จากการทดลองเรื่อง การเปรียบเทียบการเพาะเห็ดฟางอาหารเสริมในผักตบชวา และขี้ฝ้าย เพื่อให้ได้วัสดุที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดฟาง ข้อมูลในการศึกษาแต่ละขั้นตอน 3 ครั้ง มีดังนี้

1. วัสดุที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดฟางมากที่สุด คือ ผักตบชวา โดยในระยะเวลา ช่วง 1 อาทิตย์แรก ลักษณะดอกเห็ดจะออกดอกเล็ก ๆ จากนั้นดอกเห็ดก็ขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งหมวกดอก ก้านดอก และเปลือกหุ้มก้านดอก อวบ และเจริญเติบโตขึ้นมาก แต่ดอกเห็ดที่เพาะในขี้ฝ้ายจะมีลักษณะดอกที่ไม่ใหญ่นัก ดอกเห็ดออกดอกไม่มาก โดยการทดลองซ้ำกัน 3 ครั้ง เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันแล้ว ระหว่างเห็ดที่เพาะด้วย ผักตบชวา และเห็ดที่เพาะด้วย ขี้ฝ้าย พบว่า เห็ดที่เพาะด้วยผักตบชวาเจริญเติบโตได้ดีกว่าเห็ดที่เพาะด้วย ขี้ฝ้าย โดยดูทั้งการออกดอกของเห็ดฟาง และน้ำหนักของเห็ดฟางที่ชั่งได้ในการทดลอง 3 ครั้ง

2. ผักตบชวาให้น้ำหนัก เห็ดฟางมากที่สุด โดยได้น้ำหนัก 425 (กรัม/g) ใน การทดลองครั้งที่ 1 ตะกร้าที่ 4 เห็ดฟางที่เพาะด้วยผักตบชวา ให้น้ำหนัก T1 R4 415 (กรัม/g) การทดลองครั้งที่ 2 ตะกร้าที่ 2 เห็ดฟางที่เพาะด้วยผักตบชวา ให้น้ำหนัก T1 R5 400 (กรัม/g) การทดลองครั้งที่ 3 ตะกร้าที่ 5 เห็ดฟางที่เพาะด้วยผักตบชวา ให้น้ำหนัก T1 R4 425 (กรัม/g)

ชื่อโครงงาน ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์รุ่นจิ๋ว

ชื่อนักเรียน

11. เด็กชายพัสกร อินทรศร

12. เด็กชายชานน ปริญญาธนกุล

13. เด็กชายพัฒน์ศวุฒิ มะลิทอง

อาจารย์ที่ปรึกษา นางโสภา จันทร์โอทาน โรงเรียนอนุบาลนนทบุรี

บทคัดย่อ

ในยุคข้าวยากหมากแพงเช่นนี้ รวมทั้งสภาวะโลกร้อนในปัจจุบันพวกเรามีความคิดว่าน่าจะนำวัสดุเหลือใช้มาทำสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ประโยชน์ได้อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณขยะลงด้วย เนื่องจากที่โรงเรียนของพวกเรามีเศษวัสดุต่าง ๆ ที่เหลือใช้ที่เก็บไว้มากมาย เช่น เศษไม้อัด อลูมิเนียม เศษไม้ยางพารา เป็นต้น จึงได้ไปปรึกษาคุณครูและพี่คนงานว่าอยากจะทำตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก ๆ ที่มีต้นทุนต่ำแต่มีประโยชน์คุ้มค่าช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า จึงไปสืบค้นจากอินเตอร์เน็ต พบว่า แสงอาทิตย์ซึ่งมีรังสีคลื่นสั้น เมื่อแสงทะลุผ่านกระจกใส ไปกระทบพื้นวัสดุสีดำจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน สามารถที่จะอบอาหารให้แห้งได้ปลอดภัยจากแมลงมารบกวน และยังใช้เวลาน้อยกว่าแบบตากแดดธรรมดา พวกเราจึงได้คิดทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุนี้ขึ้นมา

วัตถุประสงค์

9. เพื่อศึกษาและสร้างตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดจิ๋ว

10. เพื่อนำพลังงานที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้เกิดประโยชน์

11. เพื่อให้อาหารที่อบแห้งเร็ว

12. เพื่อทดลองและเปรียบเทียบการตากแห้งตามธรรมชาติกับการอบจากตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์

การดำเนินการ

3. สร้างตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์

3.1 ออกแบบรูปโครงร่าง ขนาดของตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์

3.2 กำหนดวัสดุที่จะประกอบเป็นตู้อบ

3.3 ตัดอุปกรณ์ทั้งหมดตามที่กำหนดไว้

3.4 นำแผ่นไม้วัสดุที่ตัดไว้มาตีประกอบให้เป็นตู้

3.5 ทาสีดำด้านล่างและด้านข้างภายในตู้

3.6 ติดกระจก ทำเป็นฝาที่สามารถเปิด – ปิดได้

4. ทดลองหาระดับความร้อนของตู้อบ

4.1 นำตู้อบไปตั้งกลางแดด

4.2 นำเทอร์โมมิเตอร์ไปวัดระดับความร้อนในตู้อบและนอกตู้อบ

4.3 ทดลองทำ 5 ครั้ง ทุก ๆ 30 นาที เพื่อนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบระดับความร้อนระหว่างในตู้อบและนอกตู้อบเป็นเวลา 3 วัน

5. ทดลองอบกล้วยน้ำว้า พริก และเนื้อหมูในตู้อบและตากแห้งแบบธรรมดา

5.1 คัดเลือกกล้วยน้ำว้าที่สุกพอห่ามขนาดเท่า ๆ กัน จำนวน 10 ผล พริกเม็ดแดง 200 กรัม เนื้อหมูแล่บาง ๆ ขนาดเท่ากัน 500กรัม

5.2 จัดสถานที่เพื่อทดลองตากกล้วยน้ำว้า พริกและเนื้อหมูแบบธรรมดา โดยให้มีขนาดพื้นที่ในการตากเท่ากับพื้นที่ของตู้อบและสถานที่เดียวกัน

5.3 นำกล้วยน้ำว้า พริกและเนื้อหมูใส่ลงในตู้อบ เกลี่ยให้ทั่วโดยมีความหนาบางเท่า ๆ กัน และอีกครึ่งหนึ่งไปตากแบบธรรมดา โดยเกลี่ยให้เหมือน ๆ กันและใช้เวลาในการทดลองเท่ากัน

5.4 นำกล้วยน้ำว้า พริกและเนื้อหมูมาชั่งเพื่อเปรียบเทียบความหนักเบา

ผลการดำเนินงาน

จากการทดลองพบว่าการวัดอุณหภูมิของตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทำขึ้นอุณหภูมิทั้งภายในและภายนอกตู้อบจะมีอุณหภูมิที่แตกต่างกันมาก คือ อุณหภูมิในตู้อบจะสูงกว่าภายนอกตู้อบทั้ง 3 วัน และอุณหภูมิสูงสุดที่ 48 องศาเซลเซียส นอกตู้อบสูงสุดที่ 33 องศาเซลเซียส

ตู้อบที่ทำขึ้นนี้มีระดับอุณหภูมิสูงกว่าภายนอกตู้อบเกือบประมาณเท่าตัวสามารถอบอาหารให้แห้งได้อย่างมีประสิทธิภาพใช้เวลาน้อยกว่าและปลอดภัยจากแมลงมารบกวนจึงทำให้สะอาดกว่ากัน ถึงแม้ว่าวัสดุในการทำจะสิ้นเปลืองกว่าแต่ก็คุ้มค่าในการใช้งาน

ชื่อโครงงาน รุ้งมหัศจรรย์

ชื่อนักเรียน

14. เด็กชายนนทวัฒน์ พรมไธสง ชั้น ป.5

15. เด็กหญิงดลดา ทิมทำมา ชั้น ป.5

16. เด็กหญิงปรียานนท์ ใจรักษ์ ชั้น ป.5

17. เด็กหญิงจิตรานุช กุลเมืองน้อย ชั้น ป.5

อาจารย์ที่ปรึกษา นางสุภาว์ ชัยสุรสีห์ โรงเรียนประชาอุปถัมภ์

บทคัดย่อ

โครงงานรุ้งมหัศจรรย์นี้เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง โดยการนำลวดเป็นรูปร่างต่าง ๆ จุ่มลงไปในน้ำยาสระผมที่ผสมน้ำตาลและไม่ผสมน้ำตาล จากนั้นเป่าฟองสบู่พร้อม ๆ กันทั้ง 2 อัน แล้วบันทึกผล

จากการทดลองพบว่าฟองสบู่ทีเป่าจากน้ำยาสระผมที่ผสมน้ำตาลจะอยู่ได้นานกว่าฟองสบู่ที่เป่าจากน้ำยาสระผมที่ไม่ผสมน้ำตาล เพราะน้ำยาสระผมที่ผสมน้ำตาลจะมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำยาสระผมที่ไม่ผสมน้ำตาล

ประโยชน์ที่ได้รับการจากทดลองนี้ คือ ได้รับความรู้เรื่องความหนาแน่น สามารถนำไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ และเป็นพื้นฐานความรู้ให้เราศึกษาต่อไป

วัตถุประสงค์

13. เพื่อเปรียบเทียบการทดลองระหว่างฟองสบู่ที่เป่าจากน้ำยาสระผมที่ผสมน้ำตาลและไม่ผสมน้ำตาลจะมีผลต่อขนาดและระยะเวลาในการเกิดฟองสบู่หรือไม่

14. ฝึกการทำงานกลุ่ม

15. นำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมต่าง ๆ หรือ นำไปเล่นเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน

การดำเนินการ

1. ดัดลวดให้เป็นรูปต่าง ๆ

2. นำน้ำมาผสมกับน้ำยาสระผมและน้ำตาลในกะละมังที่ 1

3. นำน้ำมาผสมกับน้ำยาสระผมและน้ำตาลในกะละมังที่ 2

4. นำลวดไปจุ่มลงในน้ำทั้ง 2 กะละมัง

5. แล้วเป่าลวดทั้ง 2 อัน พร้อม ๆ กัน

ผลการดำเนินงาน

จากการทดลองฟองสบู่ที่น้ำยาสระผมผสมน้ำตาลจะมีขนาดใหญ่กว่าและอยู่ได้นานกว่าเพราะน้ำยาสระผมที่ผสมน้ำตาลจะมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำยาสระผมธรรมดาจึงทำให้ฟองสบู่ที่เกิดจากน้ำยาสระผมผสมน้ำตาลจะมีขนาดใหญ่กว่าและอยู่ได้นานกว่า

ชื่อโครงงาน จรวดขวดน้ำ

18. เด็กหญิงชนิตา ประจัญพง ชั้น ป.4

19. เด็กหญิงธิดารัตน์ สาลี ชั้น ป.4

20. เด็กชายสุทธิพงศ์ เรืองเทพ ชั้น ป.4

21. เด็กชายหิรัญ รอยประโคน ชั้น ป.4

ครูที่ปรึกษา ครูธนชาติ แก้วดี

บทคัดย่อ

โครงงานเรื่อง จรวดขวดน้ำ

วัตถุประสงค์

16. เพื่อให้นักเรียนรู้จักการทำงานเป็นกลุ่มมีความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ผลงาน

17. เพื่อให้นักเรียนรู้จักหลักการแรงดันท่าวิทยาศาสตร์

18. เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์

การดำเนินการ

1. วางแผนการดำเนินงาน

2. จัดแบ่งกลุ่มนักเรียนภายในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

3. อธิบายหลักการทำงานและวิธีการทำจรวดขวดน้ำให้กับนักเรียน

4. นักเรียนลงมือปฏิบัติผลงานประดิษฐ์จรวดขวดน้ำ

5. สรุปผลการทดลองการประดิษฐ์จรวดขวดน้ำ

6. ประเมินผลการทดลองและผลการทำโครงงาน

ผลการดำเนินงาน

นักเรียนสามารถเรียนรู้เข้าใจหลักการของแรงดันอากาศด้วยการประดิษฐ์จรวดขวดน้ำ และนักเรียนสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ผลงาน และฝึกฝนการวางแผนการกำเนิดเป้าหมาย และการฝึกปฏิบัติการทำงานเป็นทีม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้

สวัสดีค่ะอาจารย์วิทยาศาสตร์ทุกท่าน

หนูกำลังอยู่ชั้น ม.1 กำลังสนใจที่จะประดิษฐ์ว่าวเตตระฮีดรอน ส่งคุณครูวิทยาศาสตร์ ก็พอจะเข้าใจว่ามันเกี่ยวข้องกับเรื่องของแรงดันลมและความกดอากาศแต่ไม่ทราบจริงๆ ค่ะว่า แรงดันตรงด้านไหน แรงต้านตรงด้านไหน กดอากาศอย่างไร ขอความกรุณาอาจารย์กรุณาอธิบายให้เข้าใจด้วยค่ะตอบทางเมล์ก็ได้นะคะ [email protected]

หนูขอขอบคุณมากค่ะ

เจินจู

ขอแจ้งข่าวครูวิทยาศาสตร์ทุกท่าน สพท. นนทบุรี เขต 1 จะมีการจัดนิทรรศการ นำเสนองาน และประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม 2553 ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษานนทบุรี จะมีผลงานจากโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์นำผลงานมาจัดนิทรรศการนำเสนองานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากมาย ขอเชิญครูวิทย์ - คณิตทุกชั้นต้งแต่ ป. 1 - ม. 6

เข้าเติมเต็มความรู้ค่ะ

ขอแจ้งข่าวครูวิทยาศาสตร์ทุกท่าน สพท. นนทบุรี เขต 1 จะมีการจัดนิทรรศการ นำเสนองาน และประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม 2553 ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษานนทบุรี จะมีผลงานจากโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์นำผลงานมาจัดนิทรรศการนำเสนองานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากมาย ขอเชิญครูวิทย์ - คณิตทุกชั้นต้งแต่ ป. 1 - ม. 6

เข้าเติมเต็มความรู้ค่ะ

ครูวิทย์ทั้งหลายคงได้อ่านข่าวเด็กเผาโรงเรียน

หน้าที่เราเป็นครูเราต้องดูแลเด็กให้ดี ต้องปลูกฝังให้เขามีจิตสาธารณไม่เห็นแก่ตัว รักโรงเรียน รักบ้าน รักประเทศสมบัติส่วนรวมเป็นสิ่งท่ต้องรักษาช่วยกัน ไม่ใช่เป็นสิ่งต่อรอง หรือระบายความเคียดแค้น ดูแลเด็กอย่าให้ดูเกมรุนแรง และขอวิงวอนสื่อ ช่วยผลิตรายการปลูกฝังจิตสาธารณให้นักเรียนด้วย

ครูควรเอาใจใส่เด็กอย่าถือว่าพฤติกรรมผิดปกติเล็กน้อยไม่สำคัญ ควรรีบหาทางช่วยเหลือแก้ไขตั้งแต่เนิ่น ๆ

ด้วยความปรารถนาดีต่อทุกคน

ขอบคุณทีมพี่เลี้ยงที่เสนอเว็บไซด์เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ท่ดี ๆ ให้ ทำให้สืบค้นข้อมูลง่ายขึ้น

ขอเชิญชวนครูวิทย์ไปเยี่ยมชมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กำลังใจกับพวกเราครูวิทย์ของโรงเรียนยกระดับผลสัมฤทธิ์ ในการนำเสนอผลงาน วันที่ 1 สิงหาคม พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานของเราออกมาคงเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนครูและผู้สนใจ เพราะพวกเราพึ่งได้รับการถ่ายทอดความรู้ เทคนิคการสอนแบบต่างๆ และการสร้างสื่ออย่างง่าย จาก ดรฺสิรินภา กิจเกื้อกูล ระหว่างวันที่ 12-14ก.ค.

ขอบคุณที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนท์บุรีเขต 1 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิดกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ ในวันท่ 4 สิงหาคม 2553 ที่ผ่านมาขอบคุณท่านหัวหน้าแสงเดือน ที่ให้ความรู้ และข้อมูลด้านการศึกษาเพิ่ม

ขอบคุณที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนท์บุรีเขต 1 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิดกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ ในวันท่ 4 สิงหาคม 2553 ที่ผ่านมาขอบคุณท่านหัวหน้าแสงเดือน ที่ให้ความรู้ และข้อมูลด้านการศึกษาเพิ่ม

ครูวิทย์นนท์ขยายโอกาส

อาจารย์เฟื่องฟ้า พิ้นทอง อาจารย์นำเสนองานน่าสนใจดีค่ะ กรุณาเผยแพร่งานให้เพื่อนๆทราบด้วย จดรายละเอียดไม่ทัน

ขอบคุณ

แจ้งข่าว สพป. นนทบุรี เขต 1 ได้มีการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายMaster Teacher แล้วระหว่างวันที่ 16 23 24 และ26 ธันวาคม

2553 ณ ห้องประชุม สพป นนทบุรี ขอบคุณวิทยากร /Master Teacher ทุกท่าน ตลอดจนครูเครือข่ายท่เข้ารับการพัฒนา

ที่ให้ความร่วมมือด้วยดี อย่าลืมศึกษาเอกสาร และทำกิจกรรมตามใบงานท่มอบหมายนะคะ เสร็จแล้วส่งมา ที่ สพป.นนทบุรี 1 ภายใน 15 มกราคม 2554 แล้วท่านหน. แสงเดือน จะได้รวบรวมงาน และผลการทดสอบ Post Test เสนอผอ.เขตฯ เพื่อมอบวุฒิบัตรในการเข้ารับการพัฒนาเป็นเครือข่าย ของ Master Teacher ต่อไป

ปีใหม่นี้ (2554) ของให้ครูทุกท่านมีความสุขมากๆ คิดเงินให้ได้เงิน คิดทองให้ได้ทอง ทุกๆคนเลยนะเจ้าคะ

ทีมพี่เลี้ยง

ครูวิทย์สพป.นนทบุรี 1

ปีใหม่แล้วเป็นอย่างไร พี่น้องครูวิทย์ชาวนนท์ ปีนี้น่าจะเป็นปีที่สดใส ขอให้คุณพระคุ้มครองพวกเราทุกท่าน

แล้วถ้ามีกิจกรรมดีๆ อย่าลืมนำมาแชร์ กัน ปีนี้อยากให้แชร์การทำกิจกรรมโครงงาน และแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดให้มากๆ และใครมีแบบฝึก นวัตกรรมดีๆ หรือแบบทดสอบนักเรียนอยากให้ส่งมาแชร์กันด้วย ส่วนตัวเองขอเวลาอีกสักระยะจะส่งมาให้เพื่อนๆดู ขอบคุณ

อ้อขอบคุณ ศน. และท่านหัวหน้าแสงเดือน ที่ให้โอกาสเราได้พัฒนาสมรรถภาพการสอนวิทบ์ในหลายปีที่ผ่านมา

ชอเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่ดีของสพป.นนทบุรี 1

การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา

โดยเน้นการมีส่วนร่วมของไตรภาคี

แสงเดือน คงนาวัง สพป.นนทบุรี เขต 1

(1) แนวคิด / ความเป็นมา

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากองค์คณะบุคคลทั้ง 3 คณะของเขตพื้นที่การศึกษา ในการกำหนดทิศทางนโยบายของเขตพื้นที่ การบริหารงานบุคคล การบริหารจัดการทั่วไปของเขต ตลอดจนการนิเทศติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาที่เป็นระบบจากองค์คณะบุคคลทั้ง 3 คณะ ซึ่งได้แก่ คณะกรรมการเขตพื้นที่ คณะอนุกรรมการครูและบุคลากรทางการศึกษาของเขตพื้นที่ และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา อย่างมีส่วนร่วมย่อมทำให้เกิดพลังในการขับเคลื่อน ครู และผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนในสังกัด พัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

(2) วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างพลังในการขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

2. เพื่อส่งเสริมให้ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู และผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด

3. เพื่อติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและการนิเทศ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

(3) กลุ่มเป้าหมาย

1. โรงเรียนในสังกัด (ภาครัฐ) 32 โรงเรียน

2. โรงเรียนในสังกัด (เอกชน) 46 โรงเรียน

(4) ขอบเขตในการดำเนินการ

1. นิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินและนิเทศ ติดตามการศึกษาในโรงเรียนในสังกัด ตามกลยุทธ์ของเขตพื้นที่ 4 กลยุทธ์ 16 จุดเน้นที่สอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. นิเทศ ติดตาม และประเมินผลตามโครงการสำคัญของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3. การกำหนดนโยบาย ทิศทางการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของ 3 องค์คณะบุคคล ระดับเขตพื้นที่

(5) ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. ประสานองค์คณะบุคคล

2. จัดประชุมปฏิบัติการกำหนดนโยบาย ทิศทางและกรอบแนวคิดการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของ 3 องค์คณะฯ

3. ประชุมคณะกรรมการก.ต.ป.น.

เพื่อบูรณาการแนวคิดทั้ง 3 องค์คณะ เพื่อกำหนดทิศทางในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินและนิเทศการศึกษา

4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากองค์คณะบุคคลทั้ง 3 คณะ คณะกรรมการ ก.ต.ป.น. ทุกคน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกคน ศึกษานิเทศก์ทุกคน หัวหน้ากลุ่มทุกกลุ่ม และตัวแทนกลุ่ม ๆละ 1 คน

5. ประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อชี้แจงบทบาทหน้าที่

6. จัดทำเครื่องมือในการติดตามประเมินผลการนิเทศ

7. นำเครื่องมือไป Try out

8. ประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อชี้แจงแนวทางการนิเทศ ติดตาม และใช้เครื่องมือ ตลอดจนประชุมกลุ่มย่อย วางแผนการนิเทศแต่ละสาย

9. คณะอนุกรรมการฯ ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ นิเทศโรงเรียนในสังกัด ตามสายงานการนิเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 สาย โดยมีผู้แทนองค์คณะบุคคลทั้ง 3 คณะ เป็นประธานสาย

10. สรุปและวิเคราะห์ผลการดำเนินการ

11. รายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ให้ผอ.สพป.นนทบุรี เขต 1 และผู้เกี่ยวข้องทราบ 12. เขตพื้นที่ โรงเรียนในสังกัดนำผลจากการรายงานไปใช้วางแผน และปรับปรุง คุณภาพการศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ทำให้องค์คณะบุคคล และบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษา เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมและร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

2. บุคลากรในสถานศึกษา มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน

รติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาโดยเน้นการมีส่วนร่วมของไตรภาคี

การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์

นายดนตรี จิตตะวิกุล

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนทานสัมฤทธิ์วิทยา โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า และโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียนและผู้ปกครอง จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียน 2) แบบสัมภาษณ์ครู 3)แบบสัมภาษณ์นักเรียน 4) แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง 5) แบบสังเกตการสอนของครู

ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการสื่อและแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีแหล่งเรียนรู้ภายใน ได้แก่ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ แหล่งเรียนรู้ภายนอกที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การศึกษาระบบนิเวศต่างๆ ชุมชนและท้องถิ่น โดยส่งเสริมให้ใช้สื่อและพัฒนาสื่ออย่างต่อเนื่อง แต่งตั้งผู้รับผิดชอบการเลือกสื่อ การดูแลรักษาอย่างเป็นระบบ จำนวนสื่อและแหล่งเรียนรู้เพียงพอ มีความสอดคล้องกับวิชาที่สอน สื่อและแหล่งเรียนรู้ช่วยห้นักเรียนเข้าใจบทเรียนมากขึ้น สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและ สสวท. มีการคัดเลือกสื่อและแหล่งเรียนรู้ มีการผลิตเอกสาร บทเรียนสำเร็จรูป สื่อ ICT สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวิชาที่สอน มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และใช้เทคนิคการสอนอย่างหลากหลาย มีการจัดกลุ่มคละกันระหว่างเด็กเก่ง กลาง อ่อน ครูได้รับการสนับสนุนให้มีการพัฒนาตนเองในหลายรูปแบบ ครูจัดกิจกรรมเสริมให้นักเรียนเรียนรู้อย่างหลากหลาย และส่งเสริมให้นักเรียนแสดงความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์ การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเน้นการพัฒนานักเรียนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการคิดเป็นฐาน นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ และจิตวิทยาศาสตร์ มีการจัดครูเข้าสอนตรงตามสาขาวิชาและความสามารถ มีกระบวนการนิเทศภายใน ส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาตนเอง ให้ขวัญกำลังใจกับครูที่มีผลงานดีเด่น สนับสนุนให้นักเรียนแสดงความสามารถทางวิทยาศาสตร์ในระดับโรงเรียน เขตพื้นที่ และภูมิภาค ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้บริหารและครูยังไม่พึงพอใจต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เพราะต่ำกว่าเกณฑ์ มีแนวทางในการพัฒนาโดยจัดหาสื่อ ให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน จัดหาครูและพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนแนวใหม่ ส่งเสริมกิจกรรมและการใช้ ICT ให้มากขึ้น สำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อผลการเรียน เพราะเข้าใจถึงศักยภาพ ความสนใจและความแตกต่างระหว่างบุคคลและโดยพร้อมที่จะให้การสนับสนุนนักเรียน และโรงเรียนต่อไป

บทนำ

ความสำคัญและความเป็นมา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการโครงการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยให้งบประมาณสนับสนุนการพัฒนาห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน การจัดจ้างบุคลากรโดยมุ่งหวังให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ได้กำหนดให้มีการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการดำเนินงานของโรงเรียนแกนนำยกระดับฯ ด้วย และสาเหตุจากปัจจัยที่แตกต่างกันของโรงเรียน ทำให้ผลกระทบจากการลงทุนด้านการศึกษามีรูปแบบที่แตกต่างกันในแต่ละโรงเรียน การวิจัยเชิงคุณภาพจึงเป็นระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมในการนำมาศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้เกิดการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์อันเป็นเป้าหมายหลักของโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จึงได้ดำเนินงานโครงการวิจัยเชิงคุณภาพในโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ในสังกัดขึ้น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์

ขอบเขตการศึกษา

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร ได้แก่ โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำนวน 10 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนที่เปิดสอนในระดับประถมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษา

กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำนวน 3 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนที่เปิดสอนในระดับประถมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง

ขอบเขตด้านตัวแปร

ตัวแปรที่ศึกษา คือ สภาพจัดการเรียนรู้โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ดังนี้

1. สภาพการจัดการสื่อและแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์

2. สภาพจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์

3. การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

4. ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ขอบเขตด้านระยะเวลา

การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์

ในปีการศึกษา 2553

อุปกรณ์และวิธีดำเนินการวิจัย

1. วัตถุประสงค์ของการ

เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์

2. สถานที่วิจัย

โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ภายใต้โครงการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำนวน 3 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษา

3. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

3.1 ประชากร ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครองโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 จำนวน 10 โรงเรียน ดังนี้

3.1.1 ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 10 คน

3.1.2 ครู จำนวน 125 คน

3.1.3 นักเรียน จำนวน 20,318 คน

3.1.4 ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 20,318 คน

3.2 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย

3.2.1 ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 3 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนทานสัมฤทธิ์

วิทยา ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า ผู้อำนวยการโรงเรียนรัตนาธิเบศร์

3.2.2 ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 คน เป็นครูผู้สอนระดับประถมศึกษา จำนวน 1 คน ในโรงเรียนทานสัมฤทธิ์วิทยา ครูผู้สอนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 2 คน (ระดับประถมศึกษา จำนวน 1 คน มัธยมศึกษา จำนวน 1 คน ในโรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า และครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 2 คน (ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1 คน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1 คน) ในโรงเรียนรัตนาธิเบศร์

3.2.3 นักเรียน จำนวน 10 คน โดยเป็นนักเรียนของครูผู้สอนในกลุ่มตัวอย่างและมีผลการเรียนระดับสูง จำนวน 5 คน ระดับต่ำ จำนวน 5 คน

3.2.4 ผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน

4. ขั้นตอนดำเนินการวิจัย

4.1 จัดทำโครงการและคัดเลือกโรงเรียน นำเสนอผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษานนทบุรี เขต 1 ให้ความเห็นชอบโครงการ

4.2 แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการวิจัยตามโครงการ

4.3 ประชุมชี้แจงเตรียมความพร้อมให้กับคณะทำงานทุกระดับ

4.4 กำหนดปฏิทินปฏิบัติงานร่วมกัน

4.5 เก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัยตามปฏิทินที่กำหนด

4.6 วิเคราะห์และเขียนรายงานการวิจัย

5. กรอบแนวคิดในการวิจัย

การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วย สภาพการจัดการสื่อและแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์ การส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

6. เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ ดังนี้

6.1 แบบสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียน

6.2 แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน

6.3 แบบสัมภาษณ์นักเรียน

6.4 แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครองนักเรียน

6.5 แบบสังเกตการสอนของครูวิทยาศาสตร์

6.6 แบบบันทึกการศึกษาสภาพการเรียนการสอนและบริบทของโรงเรียน

7. การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเชิงคุณภาพ

การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การเชื่อมโยง แบบ 3 เส้า คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้องมูลต่างๆ อย่างหลากหลาย เช่น ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง โดยวิธีการสังเกตสภาพการจัดการเรียนการสอนและบริบทของโรงเรียน การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเอกสารหลักฐานร่องรอย

8. การวิเคราะห์ข้อมูล

8.1 การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) เป็นวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์เอกสาร โดยจะวิเคราะห์เฉพาะเนื้อหาที่ปรากฏในเอกสารเท่านั้น (Manitest content) ไม่วิเคราะห์เนื้อหาที่มีความนัยแฝงอยู่ จากนั้นจะสรุปใจความในเอกสารตามประเด็นที่ศึกษา

8.2 วิธีหาแกนข้อมูล (Thematic approach) เป็นวิธีการที่ใช้กับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการสัมภาษณ์ โดยการจำแนกแยกลุ่มแนวคิดออกเป็นประเด็นๆ จากนั้นรวมเป็นประเด็นที่ใหญ่ขึ้น เพื่อกำหนดเป็นหัวเรื่องเพื่อสรุปออกเป็นประเด็นของข้อค้นพบจากการวิจัย

ผลการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ มีผลการวิจัยนำเสนอเป็น 4 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 สภาพการจัดการสื่อและแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ตอนที่ 2 สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์

ตอนที่ 3 การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ตอนที่ 4 ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ตอนที่ 1 สภาพการจัดการสื่อและแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ด้านบริหาร

ปัจจุบันมีแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนจำนวนมากที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนสีเขียว สวนวิทยาศาสตร์ สวนหย่อม สวนปลูกพืชไร้ดิน บ่อบัว บ่อสาหร่าย ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ได้แก่ ศูนย์พัฒนาสัตว์ปีกและพันธุ์พืชทรายขาว ค่ายวิทยาศาสตร์หว้ากอ และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยมีนโยบายให้ครูได้ใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง ทันสมัย ทันเหตุการณ์ สนับสนุนการเข้าค่าย การผลิตแลพัฒนาสื่อแก่ครูทกคน มีแนวคิดและเป้าหมายในการพัฒนาอาคารสถานที่ให้เหมาะสมที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีมีความปลอดภัย สอดคล้องกับวิชาและเนื้อหาสาระ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเรื่องสื่อ คัดเลือกสื่อ รับผิดชอบดูแลและปรับปรุงสื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการจัดอบรมพัฒนาครูให้มีความรู้ในการใช้และผลิตสื่อที่ทันสมัย เช่น ICT, CAI

ด้านครูผู้สอน

การมีส่วนร่วมของครูในการจัดหาสื่อและแหล่งเรียนรู้ในหลายรูปแบบ เช่น เป็นกรรมการคัดเลือกสื่อ จัดหาสื่อ ให้คำปรึกษาในการพานักเรียนเข้าค่ายและศึกษาดูงาน มีการผลิตสื่อขึ้นใช้เองในหลายรูปแบบ เช่น บทเรียนสำเร็จรูป เอกสารประกอบการเรียน สไลด์ สื่อคอมพิวเตอร์ มีการมอบหมายให้นักเรียนช่วยกันจัดเก็บและรักษาสื่ออุปกรณ์เป็นหมวดหมู่และปลอดภัยมีการซ่อมแซมสื่ออุปกรณ์ที่ชำรุด ครูได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานต้นสังกัดในการอบรมปฏิบัติการใช้และผลิตสื่อ-อุปกรณ์พื้นฐาน และสื่อโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สื่อที่มีในปัจจุบันมีความเพียงพอตรงตามวิชาเนื้อหาสาระที่สอน เพราะมีการวิเคราะห์หลักสูตรก่อนการเลือกซื้อสื่อ แต่ยังไม่มากควรมีการอบรมบ่อยๆ ครูบางคนยังไม่ชำนาญในการใช้สื่อ เช่น แผนที่ดูดาว กล้องจุลทรรศน์ ครูมีความต้องการให้โรงเรียนจัดหาสื่อประเภทเคลื่อนไหวและใช้ในเนื้อหาที่ยาก เช่น VCD พร้อมเครื่องเล่น การพัฒนาครูในการใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์

ด้านนักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่นักเรียนต้องการมาก ได้แก่ VCD ที่เกี่ยวกับสารคดีสัตว์ ธรณีวิทยา และอื่นๆ ที่หาดูยาก สื่ออิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์มีเพียงพอกับนักเรียน ในการทดลองปฏิบัติการ โดยนักเรียนควรมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ ดูแล และรักษาสื่ออุปกรณ์และการเลือกแหล่งเรียนรู้ภายในและนอกโรงเรียน การไปทัศนศึกษา การเลือกสถานที่ทำการทดลอง การทำโครงงาน สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่จูงใจให้นักเรียนมาเรียน ได้แก่ ครูผู้สอน การทดลองปฏิบัติจริงที่ทำให้เกิดความสนุกสนาน ค้นพบคำตอบและเข้าใจเนื้อหาชัดเจนยิ่งขึ้น นักเรียนอยากให้ครูใช้สื่อที่แปลกใหม่ สื่อประเภทเคลื่อนไหว และสื่อที่ช่วยให้เข้าใจเนื้อหาที่ยาก เช่น หุ่นจำลองของจริง และให้มีการทดลองปฏิบัติจริงมาก ๆ รวมทั้งการเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ และการเรียนรู้ด้วยโครงงาน

ด้านผู้ปกครอง

สภาพของแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในภายนอกโรงเรียนส่วนใหญ่ เห็นว่าโรงเรียนได้จัดและใช้อย่างหลากหลาย เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง ช่วยพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมการคิดของนักเรียน ในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกัน คุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียน ข้อแนะนำสำหรับครูควรใช้สื่อให้เหมาะสมกับเด็ก และเน้นในเรื่องความปลอดภัยอยากให้ครูใช้สื่อ ICT ให้มากขึ้น และให้โรงเรียนสนับสนุนในเรื่องแหล่งสืบค้นข้อมูล เช่น Internet ห้องสมุดที่ทันสมัยส่งเสริมให้มีการแข่งขันทางวิชาการให้มากขึ้น

ตอนที่ 2 สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์

ด้านบริหาร

การจัดหลักสูตรวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน สอดคล้องกับหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551และหลักสูตรที่ สสวท.กำหนดเหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียน โดยจัดกลุ่มวิชาพื้นฐานและวิชาเพิ่มเติมตามหลักสูตร และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และเน้นให้ครูจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้ปฏิบัติการทดลองจริง การสืบเสาะหาความรู้ ค้นหาคำตอบนำเสนอความรู้ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมสอนแบบโครงงาน จัดครูเข้าสอนตรงตามสาขาวิชาในระดับมัธยม บางโรงเรียนจัดคาบเวลาเรียนในตอนเช้าบางโรงเรียนจัดในตอนบ่าย

ด้านครูผู้สอน

ครูผู้สอนส่วนใหญ่เห็นว่าการจัดคาบเวลาเรียนควรจัดในตอนเช้าต่อเนื่องกันเพื่อสะดวกต่อการกิจกรรมการทดลอง การจัดห้องปฏิบัติการและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์มีความเหมาะสมปลอดภัยและพร้อมใช้ ครูมีการทดลองใช้อุปกรณ์ก่อนที่จะสอนจริง มีการจัดทำแผนการสอนใช้เทคนิคการสอน เช่น เพลง เกม แบบร่วมมือร่วมใจ หมวก 6 ใบ ศูนย์การเรียน กระบวนการสืบค้น แบบทดลอง และโครงงาน ทั้งนี้ครูผู้สอนได้สอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรม และจิตวิทยาศาสตร์ ในขณะที่ปฏิบัติการสอนด้วย มีการออกแบบการเรียนรู้โดยการจัดกลุ่มเก่ง กลาง อ่อน คละกันในการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อเด็กในกลุ่มจะได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ครูมีการวัดผลก่อนเรียน-หลังเรียน และการประเมินผลตามสภาพจริง ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ด้านนักเรียน

นักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่าการเรียนวิทยาศาสตร์ในตอนเช้าจะทำให้มีความเข้าใจดีกว่าการเรียนตอนบ่าย เพราะร้อนและเหนื่อย ทำให้ขาดความสนใจ ขาดความกระตือรือร้น ควรมีการจัดรายวิชาเพิ่มเติม หรือชมรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เช่น จรวดขวดน้ำ การส่งเสริมและอนุรักษ์แม่น้ำลำคอลง สัตว์ในท้องถิ่น สำหรับเอกสารที่ครูจัดหาให้ยังไม่เพียงพอต้องค้นคว้า สืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด Internet เพิ่มเติม วิธีการจัดการเรียนรู้ของครู นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับหนึ่ง ซึ่งยังไม่มากนัก เพราะบางครั้งไม่น่าสนใจ ครูไม่ใช้สื่อประกอบการสอน นักเรียนส่วนใหญ่ ชอบการทดลอง ปฏิบัติจริงและการศึกษาดูงาน

ด้านผู้ปกครอง

ผู้ปกครองส่วนใหญ่ เห็นว่า ช่วงเวลาเรียนที่โรงเรียนจัดให้เหมาะสมแล้วในภาคเช้า ผู้ปกครองบางคนไม่ทราบว่านักเรียนเรียนช่วงไหนส่วนใหญ่เห็นว่าเอกสารเสริมการเรียนรู้มีความเหมาะสมเพียงพอและมีความต้องการให้ครู ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน ให้นักเรียนมีประสบการณ์ตรง คิดเป็น แก้ปัญหาเป็นครูผู้สอนควรมีความใจเย็น เป็นกันเอง เป็นที่ปรึกษาของนักเรียนได้

ตอนที่ 3 การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ด้านบริหาร

ผู้บริหารโรงเรียนมีแนวคิดในการพัฒนาจัดการศึกษาในสถานศึกษาโดยการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการคิดเป็นฐานให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ควบคู่กับการมีคุณธรรมจริยธรรม สร้างสรรค์การมีจิตสาธารณะและจิตวิทยาศาสตร์ มีการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมในการคิดและพัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดครูเข้าสอนตรงตามความสามารถ หรือตรงตามสาขาวิชามีการนิเทศภายใน จัดอบรมครูโดยวิทยากรภายนอก และส่งเข้ารับการอบรมเพิ่มเติมจากหน่วยงานอื่น มีการจัดสรรงบประมาณที่เหมะสมกับงบประมาณที่มีอยู่ ชื่นชมให้กำลังใจให้เกียรติบัตร เผยแพร่ผลงานผ่าน KM การจัดนิทรรศการ

ด้านครูผู้สอน

ครูผู้สอนบางคนเป็นคณะทำงานในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยตรง บางคนมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรเฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และได้รับมอบหมายให้ทำการสอนตามความถนัด ได้รับการสนับสนุนในด้านงบประมาณ การนิเทศการเรียนการสอน ส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองจากเอกสาร สื่อ และการเข้ารับการอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามสมควร ในการจัดกิจกรรมเสริมให้ผู้เรียน ครูผู้สอนได้จัดกิจกรรมชุมนุมวิทยาศาสตร์ กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ กิจกรรมการประกวดแข่งขันความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ด้านนักเรียน

นักเรียนมีความพึงพอใจต่อผลการเรียนของตนเองในระดับหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการพัฒนาตนเองให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น นักเรียนสามารถหาคำตอบในเรื่องที่สงสัยโดยการถามครู สืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ การทดลองและการเรียนรู้ผ่านโครงงาน นักเรียนที่เรียนเก่งมีความสนใจติดตามข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เหตุการณ์ทางธรรมชาติ มากกว่านักเรียนที่เรียนอ่อน และนักเรียนที่มีฐานะยากจนจะขาดความสนใจในเรื่องข่าวสารที่ได้รับรู้จากโทรทัศน์ และ Internet นักเรียนอยากเข้าร่วมแข่งขัน ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ ถ้ามีโอกาส

ด้านผู้ปกครอง

ผู้ปกครองมีความเห็นว่า การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีโอกาสมีเวทีแข่งขันความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ จะช่วยพัฒนาความรู้ ทักษะ และเจตคติของนักเรียน ได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาตามความสามารถ และความสนใจของนักเรียนด้วย

ตอนที่ 4 ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ด้านบริหาร

ผู้บริหารโรงเรียนมีความเห็นว่า โดยภาพรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ยังต้องมีการพัฒนาให้สูงขึ้นอีก เนื่องจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังต่ำกว่าปีการศึกษา 2551 โดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษา จะต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดมาก สำหรับแนวทางในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของโรงเรียน

จะดำเนินการจัดหาสื่อ อุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน จัดหาครูให้เพียงพอใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้และประสบการณ์ในด้านการจัดการเรียนการสอนแนวใหม่ พร้อมใช้สื่อนวัตกรรมทางด้าน ICT ให้มากขึ้น

ด้านครูผู้สอน

ครูส่วนใหญ่ ยังไม่พอใจต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ซึ่งจะต้องมีการยกระดับให้สูงขึ้นอีก โดยมีแนวทางที่เน้นให้ครูผู้สอน สอนให้ตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มีการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง

เน้นให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ฝึกการทำงานกลุ่ม และทักษะกระบวนการให้มากขึ้น

ด้านนักเรียน

นักเรียนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อผลการเรียนของตนเอง มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ มีจิตวิทยาศาสตร์ ชอบ สนใจ ศึกษาค้นคว้า ทดลอง ตามทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สนใจการเรียนรู้แบบโครงงาน ชอบกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ สนใจข่าวสารอ่านหนังสือพิมพ์ ดูรายงานโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ซึ่งแสดงว่านักเรียนเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน โดยสามารถนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน เช่น การประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์ป่าไม้ และแม่น้ำลำคลอง นักเรียนบางคนมีโอกาสเป็นตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันความสามารถทางวิทยาศาสตร์ในระดับโรงเรียน ระดับเขต และระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นความภูมิใจของนักเรียน ผู้ปกครอง เป็นอย่างมาก

ด้านผู้ปกครอง

ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อผลการเรียนของนักเรียน ถึงแม้นักเรียนบางคนจะมีเกรดเฉลี่ยอยู่ในระดับ 2.30-2.50 ก็ตาม โดยมีความเข้าใจในศักยภาพ ความสนใจ ของนักเรียนที่แตกต่างกัน จะไม่บังคับนักเรียน แต่จะให้การสนับสนุนในทุกเรื่องที่สามารถทำได้ตามที่นักเรียนต้องการ และการขอความร่วมมือจากทางโรงเรียน

สรุปและอภิปรายผล

1. สภาพการจัดสื่อและแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์

โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มากมาย แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน คือ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนสีเขียว สวนวิทยาศาสตร์ สื่ออุปกรณ์ สื่อ ICT แหล่งเรียนรู้ภายนอก คือ ศูนย์ศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต การจัดกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศูนย์ศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลย ค่ายวิทยาศาสตร์ และแหล่งชุมชนใกล้โรงเรียน โดยมีนโยบายส่งเสริมการใช้สื่อพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ให้ครูได้รับการพัฒนาการใช้และผลิตสื่อ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกสื่อและรับผิดชอบดูแลรักษาอย่างเป็นระบบ จำนวนสื่อและแหล่งเรียนรู้เพียงพอกับความต้องการและจำนวนนักเรียน โดยมีความสอดคล้องกับวิชาที่สอน ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ในด้านการคิดสร้างสรรค์และทักษะกระบวนการ ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหามากขึ้น

2. สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดำเนินการจัดทำหลักสูตรโดยตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรและคัดเลือกสื่อและแหล่งเรียนรู้ ผลิตเอกสารประกอบการเรียนรู้ บทเรียนสำเร็จรูป และสื่อ ICT สื่อมีสภาพพร้อมใช้สอดคล้องกับวิชาที่สอน มีการจัดทำแผนการสอนใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย มีการจัดกลุ่มนักเรียนคละกันระหว่างเก่ง กลาง อ่อน ครูได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากผู้อำนวยการโรงเรียนให้มีการพัฒนาตนเองด้านการสอน การผลิตและการใช้สื่ออย่างมีคุณภาพ ครูจัดกิจกรรมเสริมให้ผู้เรียนในหลาย ๆ ด้าน เช่น ชุมนุม การแข่งขันความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์

3. การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการคิดเป็นฐาน นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ควบคู่การมีคุณธรรมจริยธรรม จิตสาธารณะและจิตวิทยาศาสตร์ มีการจัดครุเข้าสอนตรงตามสาขาวิชาและความสามารถ มีกระบวนการนิเทศภายใน ส่งเสริมให้ครุมีการพัฒนาตนเองที่ส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น มีการให้ขวัญและกำลังใจกับครูที่มีผลงานดีเด่น และสนับสนุนให้นักเรียนมีเวทีแข่งขันความสามารถทางวิทยาศาสตร์ ระดับโรงเรียน เขตพื้นที่ ภูมิภาค

4. ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้บริหารและครูผู้สอนยังไม่พึงพอใจต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเพราะต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดและมีแนวทางการพัฒนาโดยจัดหาสื่อและแหล่งเรียนรู้ให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน จัดหาครูให้เพียงพอ พัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนแนวใหม่ ส่งเสริมกิจกรรม จัดประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมการใช้ ICT ให้มากขึ้น สำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของตนเองโดยเข้าใจถึงศักยภาพและความสนใจของตนเองและพร้อมที่จะห้ากรสนับสนุนนักเรียนและโรงเรียนตามสภาพความเป็นอยู่ของผู้ปกครอง

เรื่องรูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้ (KM)

Model for Teaching Competency Development Using Knowledge Management for Grade Range II Science Teachers.

ชื่อผู้เขียน แสงเดือน คงนาวัง ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สพป. นนทบุรี เขต 1

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้ 2. เพื่อศึกษาผลการนำความรู้ที่ได้จากการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนฯ

การดำเนินการใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา โดยดำเนินการ 2 รอบ คือ รอบที่ 1 เป็นการศึกษาพัฒนารูปแบบพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 กลุ่มนำร่อง ประกอบด้วยครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 จำนวน 30 คนในปีการศึกษา 2550 รอบที่ 2 เป็นการศึกษาผลการพัฒนารูปแบบฯกับครูกลุ่มขยายผล 60 คน ในปีการศึกษา 2551 และนักเรียนจำนวน 341 คน และ 354 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบและคู่มือรูปแบบการพัฒนาครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้ แบบประเมินครูและนักเรียน 6 ฉบับและ แบบประเมินสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 1 ฉบับ

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 รู้หน้าที่มีวิสัยทัศน์และเป้าหมาย ขั้นที่ 2 รู้หลักและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ขั้นที่ 3 การเข้าถึงคลังความรู้และสร้างสรรค์ชุมชน นักปฏิบัติ และขั้นที่ 4 การกำกับติดตามและประเมินผล และรูปแบบฯมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.84 กลุ่มนำร่องและกลุ่มขยายผลมีคะแนนเฉลี่ยของครูผู้สอนหลังพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญที่ ระดับ .01 และมีความคิดเห็นต่อรูปแบบและคู่มือรูปแบบความพัฒนาสมรรถภาพการสอน ฯ อยู่ในระดับดีมาก และหลังการพัฒนาพบว่า การติดตามผลการพัฒนาสมรรถภาพการสอน ความรู้เข้าใจเกี่ยวกับสาระการจัดการเรียนการสอน และเนื้อหาวิทยาศาสตร์ทั้งสองกลุ่มปฏิบัติได้ในระดับดีมาก นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนหลังการพัฒนามีพฤติกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน และมีพฤติกรรมจิตวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดีมาก

ABSTRACT

The objective of research were; 1) study and develop a model for teaching competency development by using knowledge management (KM) for grade range II science teachers 2) study the application of knowledge and experience enhanced by KM into their teaching practice and 3) studying the opinion of science teachers regarding the model

The research was conducted in two cycles. The first cycle was conducted with a pilot group of 30 science teachers and 341 students. The second cycle were carried out with the expand group that consisted of 60 science teachers and 345 students. Both cycles were done in 2007 and 2008 academic years consecutively. The research tools were the model and manuals for Teaching Competency Development Using Knowledge Management for Grade Range II Science Teachers, teachers’ and students’ evaluating forms; Competency of teachers, knowledge and understanding content science, teachers’ and experts’ opinion on the model and manual and monitoring teachers’ teaching evaluating forms and students’ opinion, scientific habits of mind and behaviors of learning evaluating forms The data were analyzed by mean, standard deviation, and percent. The research findings were as follows: 1) The model for teaching competency development using knowledge management for grade range II science teachers consisted of four steps: (1) Knowledge Vision and Goal; ( 2 ) Knowledge Principle and Sharing; (3 ) Knowledge Assets and Creating a Community of Practices ; ( 4 ) Knowledge Monitor. This model had index of concurrence ( IOC ) at 0.84. 2) Means of post-development of teachers higher than pre-development and have significant level at .01 3) Means of teachers’ opinion on the model and manual implemented in the first and second cycle are 3.90 and 3.95 respectively.

บทนำ/ความสำคัญของปัญหา

วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคตเพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนทุกคน ทั้งในการดำรงชีวิตประจำวันและในงานอาชีพต่างๆตลอดจนเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน วิทยาศาสตร์ทำให้คนพัฒนาวิธีคิด คิดอย่างมีเหตุผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และที่สำคัญวิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้( Knowledge Based Society ) ทุกคนจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy for All) เพื่อที่จะมีความรู้เข้าใจธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นและ นำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ อย่างมีคุณธรรม รู้รักษาและรู้เท่าทันสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสามารถดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมโลกอย่างมีความสุข (กรมวิชาการ, 2546: 1)

จากความสำคัญดังกล่าวและแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545-2549 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545: 9-11) ได้กำหนดวัตถุประสงค์ และแนวนโยบายเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการไว้ในวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ความว่า “ เพื่อพัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุล โดยพัฒนาทุกคนให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ และปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อผู้เรียน พัฒนากำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพึ่งพาตนเองและเพิ่มสมรรถนะในการแข่งขัน …” ทำให้มี การกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนในทุกมิติขึ้น เช่น มาตรฐานการศึกษาของชาติ ( สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2548: 8 - 9 ) ได้กำหนดมาตรฐานการศึกษาชาติในมาตรฐานที่ 3 ด้านแนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และสังคมแห่งความรู้ ใน ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 ความว่า “ การสร้างและการจัดการความรู้ในทุกระดับทุกมิติของสังคมโดยครอบครัว ชุมชน องค์กรทุกระดับและองค์กรที่จัดการศึกษามีการสร้างและใช้ความรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนกลายเป็นวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ ”

นอกจากนี้หลักสูตรการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ( กรมวิชาการ, 2545: 7) ได้กำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ไว้ 9 ข้อ และ 1 ใน 9 ข้อ คือให้ผู้เรียนมีทักษะและกระบวนการโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการคิด การสร้างปัญญาและทักษะในการดำเนินชีวิต

อย่างไรก็ตาม จากการรายงานการประเมินผลของนักเรียนนานาชาติ (Programme for International Student Assessment: PISA, 2006) ซึ่งเป็นโครงการศึกษาสำรวจความรู้และทักษะของนักเรียนกลุ่มอายุ 15 ปีที่เป็นวัยจบการศึกษาภาคบังคับในประเทศสมาชิกองค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD ) จาก 57 ประเทศ พบว่าการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยอยู่ในกลุ่มต่ำโดยมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD โดยมีตำแหน่งคะแนนอยู่ประมาณตำแหน่งช่วงที่ 44 - 47 จาก 57 ประเทศ และพบว่ากลุ่มนักเรียนที่ค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับพื้นฐานมากที่สุดคือนักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนขยายโอกาสเดิม (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ม.ป.ป.: 1–2) และจากผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระดับชาติ (National Test: NT) พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ซึ่งเป็นการประเมินปลายช่วงชั้นที่ 2 ในปีการศึกษา 2549 มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำกว่าเป้าหมายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1 กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการฯ (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1, 2550: 22) และจากการประเมินเพื่อรับรองคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษารอบแรกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ( สมศ.) พบว่ามาตรฐานที่ 22 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย 2.50 ซึ่งอยู่ในจุดเชื่อมต่อกับระดับพอใช้ (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1, 2549ข: 15) นอกจากนี้จากการศึกษาความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 ปีการศึกษา 2549 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1 พบว่าครูมีความต้องการ ด้านความรู้และทักษะในการใช้ ICTเพื่อการจัดการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติวิชาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การวัดประเมินผลตามสภาพจริง และการจัดการเรียนรู้โดยโครงงาน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1, 2549ก: 29) นอกจากนี้ยังพบว่าครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1 ส่วนมากมีอายุมาก ไม่จบสาขาวิทยาศาสตร์ และมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ยังไม่ดีเท่าที่ควร

จากนโยบาย จุดหมายและ ความต้องการดังกล่าว ผู้วิจัยในฐานะผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ด้านการนิเทศในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จึงได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูและพบว่า มีนักการศึกษา นักธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงานได้นำการจัดการความรู้มาใช้พัฒนาบุคลากรในองค์กร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากหลักการและแนวคิดของการจัดการความรู้หลายประการที่ทำให้ผู้วิจัยเชื่อว่าถ้านำมาใช้พัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 น่าจะสามารถพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูวิทยาศาสตร์ได้ตามที่ต้องการดังเช่น ประพนธ์ ผาสุขยืด (2548ข: 2) กล่าวไว้ว่า การจัดการความรู้เป็นแนวคิดสมัยใหม่ที่มองคนในองค์กรเป็นทรัพย์สินอันมีค่า เนื่องจากกระแสโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วองค์กรต่างๆต้องมีการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆและ ทำให้คนในองค์กรเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ที่สามารถทำงานได้อย่างรอบด้าน และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เพราะการจัดการความรู้เน้น การนำความรู้ที่มีอยู่ในตัวคนซึ่งสั่งสมจากการปฏิบัติงานที่ประสบผลสำเร็จนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลอื่นทำให้เกิดวิธีปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น

อนึ่ง รูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูที่ผ่านมายังมุ่งเน้นการถ่ายทอดทฤษฏี หลักการ เนื้อหาสาระจากตำรามากกว่าจากประสบการณ์จริงและมีการนำความรู้หรือวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดที่เกิดจาก การปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำอีกมาใช้ให้เกิดประโยชน์น้อย ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะนำแนวคิดในการจัดการความรู้ มาใช้ในการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้

2. เพื่อศึกษาผลการนำความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2โดยการจัดการความรู้ไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน

3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้

ขอบเขตของการวิจัย

ประชากร และกลุ่มเป้าหมายได้แก่

1. ประชากร ได้แก่ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1 จำนวน 57 คน และนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 จำนวน 6,024 คนใน ปีการศึกษา 2550 และครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1 จำนวนครู 60 คนและนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 จำนวน 7,003 คนในปีการศึกษา 2551

2. กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

2.1 กลุ่มนำร่อง ประกอบด้วยครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 ปีการศึกษา 2550 รวมทั้งสิ้น 30 คนได้มาโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จากโรงเรียนที่มีครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 สมัครเข้าร่วมโครงการและโรงเรียนที่มีครูผู้สอนเป็นกลุ่มผู้ให้โรงเรียนละ 1 คน เหตุผลที่ใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงเพราะต้องการครูที่สามารถเป็นแบบอย่างในการสอน มีผลงานเด่นและเป็นผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการด้วยความเต็มใจ ได้แก่

1) ครูผู้สอน (ทีมผู้ให้) ที่มีผลงานเด่นซึ่งประกอบด้วยครูแกนนำ หรือครูต้นแบบหรือ ครูดีเด่นและหรือ ครูชำนาญการพิเศษ ด้านการสอนวิทยาศาสตร์จำนวน 8 คน

2) ครูผู้สอน (ทีมผู้รับ) เป็นครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 2 4 ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 22 คน

3) นักเรียนที่สอนโดยครูที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 341 คนได้จากการสุ่มแบบเป็นระบบ(Systematic Sampling)

2.2 กลุ่มขยายผล ประกอบด้วยครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 ในปีการศึกษา 2551 มีจำนวนครูรวมทั้งสิ้น 60 คนและนักเรียนที่สอนโดยครูที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 354 คน ได้แก่

1) ครูผู้สอน (ทีมผู้ให้) ที่มีผลงานเด่น ซึ่งประกอบด้วยครูแกนนำ หรือครูต้นแบบหรือ ครูดีเด่น และหรือครูชำนาญการพิเศษ ด้านการสอนวิทยาศาสตร์จำนวน 10 คน

2) ครูผู้สอน(ทีมผู้รับ) เป็นครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 2 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษานนทบุรีเขต 1 ทุกคน จำนวน 50 คน

3) นักเรียนที่สอนโดยครูที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 354 คนได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ อนึ่ง การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างนักเรียนใช้ตารางของ R. V. Krejcie & D. W. Morgan (ประยูร อาษานาม, 2534: 181)

3. ตัวแปรที่ศึกษา

3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ รูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้

3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่

(1) ผลการนำความรู้และประสบการณ์ของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 ที่ได้จากการจัดการความรู้ไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน เช่น พฤติกรรมการสอน และ ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ฯ

(2) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำแนกเครื่องมือตามลักษณะการใช้ดังนี้

1. รูปแบบและคู่มือรูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้

2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยมี 9 ฉบับดังนี้

2.1 แบบประเมินการพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนฯ

2.2 แบบประเมินความรู้เข้าใจในสาระจัดการเรียนการสอนและเนื้อหาวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2

2.3 แบบประเมินรูปแบบและคู่มือรูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนฯ

2.4 แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบและคู่มือรูปแบบฯ (โดยผู้เชี่ยวชาญ )

2.5 แบบนิเทศ ติดตามผลการพัฒนาสมรรถภาพการสอนครูฯ (โดยทีมพี่เลี้ยง)

2.6 แบบประเมินพฤติกรรมจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2

2.7 แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียน

2.8 แบบสอบถาม/สัมภาษณ์ ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการ

เรียนการสอนฯ

2.9 แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตการสอนครู

วิธีการดำเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ผู้วิจัยได้ดำเนินการ

วิจัย 5 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ ตลอดจนสภาพปัญหาความต้องการที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบและคู่มือการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอน

วิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้ โดยสังเคราะห์องค์ความรู้จากขั้นตอนที่ 1

ขั้นตอนที่ 3 นำรูปแบบและคู่มือพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์

ช่วงชั้นที่ 2 ใช้กับกลุ่มนำร่องในปีการศึกษา 2550 ซึ่งมีครู 30 คนและนักเรียน 341 คน

ขั้นตอนที่ 4 การนำรูปแบบและคู่มือการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอน

วิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้ ไปใช้กับกลุ่มขยายผลในปีการศึกษา 2551

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณมีดังนี้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าความถี่และ ค่าที (t-test)

2. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ มีการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งเป็นการอนุมานจากข้อเท็จจริงเพื่อสร้างข้อสรุปและใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) ซึ่งได้แก่การพิจารณาตรวจสอบจากแหล่งข้อมูล จากผู้สังเกตและจากวิธีการรวบรวมข้อมูล

ผลการวิจัย

1. การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้ ได้ผลดังนี้

1.1 ได้กรอบแนวคิดรูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้ จากการสังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย 4 ขั้นคือ ขั้นที่ 1 ตระหนักในหน้าที่ มีวิสัยทัศน์และเป้าหมาย ขั้นที่ 2 รู้หลักและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ขั้นที่ 3 เข้าถึงคลังความรู้และสร้างสรรค์ชุมชนนักปฏิบัติ และขั้นที่ 4 กำกับติดตามและประเมินผล

1.2 รูปแบบและคู่มือของรูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้ ผู้วิจัยดำเนินการหาประสิทธิภาพโดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้ การพัฒนาครู และการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 ท่านประเมินความสอดคล้องได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง( Index of Concurrence: IOC) เท่ากับ .84 ซึ่งถือว่ามีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ ซึ่งรูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้ ประกอบด้วย 4 ขั้น แต่ละขั้นมีหลักการ ทฤษฎี และเหตุผลสนับสนุน โดยมีจุดเน้นในการกำหนดกิจกรรมในแต่ละขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 รู้ตระหนักในหน้าที่มีวิสัยทัศน์และเป้าหมาย( Knowledge Vision and Goal ) เน้นให้ครูผู้สอนที่เข้ารับการพัฒนาได้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักในหน้าที่มีวิสัยทัศน์และเป้าหมายในการปฏิบัติหน้าที่และพัฒนาการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกิจกรรมสำคัญได้แก่การประเมินตนเอง กำหนดเป้าหมายการพัฒนา เล่าประสบการณ์ จัดนิทรรศการ ศึกษาเอกสาร และระดมพลังสมองวิเคราะห์ภารกิจ

ขั้นที่ 2 รู้หลักและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ( Knowledge Principle and Sharing ) เน้นให้ครูรู้หลักการสอน วิธีการสอน การวัดประเมินผล ออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อนำมาปรับปรุงการสอนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งความรู้ดังกล่าวนั้นควรมาจากความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ในตัวคนและความรู้จากแหล่งเรียนรู้ เอกสารต่างๆ วิธีการได้ความรู้มาควรเน้นให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันความรู้ จากประสบการณ์ จะทำให้ได้วิธีปฏิบัติที่ดี กิจกรรมสำคัญได้แก่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานที่เกี่ยวกับ การพัฒนาการสอน เช่น สื่อ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึก เสวนาเกี่ยวกับผลงานเด่น เล่าประสบการณ์จัดการเรียนการสอนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ และจัดนิทรรศการผลงานของครูกลุ่มผู้ให้

ขั้นที่ 3 การเข้าถึงคลังความรู้และสรรค์สร้างชุมชนนักปฏิบัติ (Knowledge Assets and Create Community of Practices ) มุ่งเน้นให้ครูที่เข้ารับการพัฒนาได้เข้าถึงความรู้ในแหล่งเรียนรู้ต่างๆทั้งที่เป็นแหล่งเรียนรู้จริงและที่เป็นเวทีเสมือน เปิดโอกาสให้มี เวทีเสวนา เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทั้งทางตรงโดยจัดประชุมปฏิบัติการและทางอ้อมโดยจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนองานผ่าน เว็บไซด์ในรูปของชุมชนนักปฏิบัติ และปฏิบัติการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตลอดจนนำแผนฯไปใช้ในการพัฒนานักเรียน

ขั้นที่ 4 การกำกับติดตามประเมินผล (Knowledge Monitor ) การพัฒนาครูควรมีการกำกับติดตาม นิเทศและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง จึงจะทำให้การพัฒนาครูเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมสำคัญได้แก่จัดทีมพี่เลี้ยงช่วยเหลือ แนะนำ ติดตาม และประเมินผลการพัฒนางาน ตลอดจนมอบเกียรติบัตรสำหรับผู้ผ่านเกณฑ์และร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

2. ผลการนำรูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้ การจัดการความรู้ ไปใช้พัฒนาสมรรถภาพการสอนกับครูกลุ่มนำร่อง และกลุ่มขยายผล ปรากฏดังนี้

1) ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูที่เป็นกลุ่มนำร่อง และกลุ่มขยายผล พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

2) ผลการประเมินตนเองด้านการพัฒนาสมรรถภาพสอนก่อนการพัฒนากลุ่มนำร่อง และกลุ่มขยายผล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.17 และ 3.20 อยู่ในระดับดี และหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 และ 3.64 อยู่ในระดับดีมาก

3) ผลการแสดงความคิดเห็นของครูที่เป็นกลุ่มนำร่องและขยายผลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 และ3.95 มีความเหมาะสมในระดับดีมาก

4) ผลการติดตามผลประเมินพฤติกรรมการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ฯ กลุ่มนำร่องและกลุ่มขยายผลหลังการพัฒนา พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และ 4.04 ระดับดีมาก

5) ผลการประเมินตนเองด้านความรู้ ความเข้าใจที่เกี่ยวกับสาระการจัดการเรียนการสอน และเนื้อหาวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 ของกลุ่มนำร่องและกลุ่มขยายผลก่อนการพัฒนาพบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.33 และ3.44 อยู่ในระดับดี และหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 และ4.34 อยู่ในระดับดีมาก

6) ผลการประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียน

กลุ่มนำร่องและกลุ่มขยายผลก่อนการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.24 และ 3.29 อยู่ในระดับดีและหลังการพัฒนาภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.46 และ 3.67 อยู่ในระดับดีมาก

7) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 กลุ่มนำร่องและกลุ่มขยายผลมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.44 และ 3.52 อยู่ในระดับดีมาก

8) ผลการประเมินพฤติกรรมจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 2 กลุ่มนำร่องและกลุ่ม

ขยายผลหลังการพัฒนาพบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.64 และ3.70 อยู่ในระดับดีมาก

ข้อวิจารณ์

รูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้ ที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้ผู้วิจัย ใช้กรอบแนวคิดที่สนับสนุนการวิจัยประกอบด้วย 1) หลักการ แนวคิด และการจัดกิจกรรม ตลอดจนเครื่องมือของการจัดการความรู้ 2) หลักการ แนวคิด และการจัดกิจกรรม จากทฤษฎีการเรียนรู้ ของนักการศึกษาต่างๆ มาใช้ในการออกแบบกิจกรรมตามขั้นตอนรูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้ ได้แก่ทฤษฎีการเรียนรู้ สร้างความรู้ด้วยตนเอง (Theory of Constructivism) ทฤษฏีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Theory of Cooperative or Collaborative learning) ทฤษฎีการเรียนรู้แบบพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แลนด์ (Theory of Operant Conditioning) ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์และทฤษฏีการเชื่อมโยง ของธอร์นไดด์ (Thorndike’ s Classical Connectionism) ตลอดถึงแนวคิดการวัดประเมินผลตามสภาพจริงเพื่อนำมาใช้ในการประเมินครูและนักเรียนที่เข้ารับการพัฒนาในแต่ละขั้นส่งผลให้ได้รูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูวิทยาศาสตร์ฯ โดยใช้การจัดการความรู้ ที่มีประสิทธิภาพตามที่กำหนดไว้

ผู้วิจัยมีข้อวิจารณ์เกี่ยวกับมุมมองที่สำคัญ โดยแบ่งหัวข้อวิจารณ์ออกเป็น 2 ประเด็นคือ 1) ปัจจัยที่ทำให้การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ฯ โดยใช้การจัดการความรู้ มีประสิทธิภาพ 2) ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้ ในที่นี้ขอนำเสนอเฉพาะ ปัจจัยที่ทำให้การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้ มีประสิทธิภาพ ดังนี้

ปัจจัยที่ทำให้การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูวิทยาศาสตร์

ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้การจัดการความรู้ มีประสิทธิภาพ

ปัจจัยที่ทำให้การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์

ช่วงชั้นที่ 2โดยใช้การจัดการความรู้ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1 มีประสิทธิภาพ

ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักที่สำคัญ 3 ประการคือ: 1) กิจกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา 2)

การปฏิบัติหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3) การนิเทศติดตามประเมินผลและการเสริมแรง ดังนี้

1. กิจกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในในการพัฒนา

การออกแบบกิจกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาแต่ละขั้นตอนผู้วิจัยได้ออกแบบกิจกรรมขึ้นภายใต้หลักการแนวคิดของการจัดการความรู้และทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งเปลี่ยนไปจากวิธีการพัฒนาครูแบบเดิมๆ ที่เน้นการบรรยาย และการปฏิบัติตามตำรา มาเป็นวิธีการพัฒนาครูที่เน้นการปฏิบัติมากกว่าการบรรยายและองค์ความรู้ที่นำไปปฏิบัติจะเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ที่ปฏิบัติการสอนประสบผลสำเร็จ มีผลงานเด่นที่นำมาให้เห็นเป็นรูปธรรม ภายใต้การออกแบบกิจกรรมให้ผู้เข้ารับการพัฒนามีส่วนร่วมทุกขั้นตอนซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดหลักการของนักการศึกษาหลายท่าน เช่น พระพุทธทาส (2532: 75) วิจารณ์ พานิช (2548: 105) John Dewey (1963: 25-50) ประพนธ์ ผาสุขยืด (2548: 50-51) สมชาย นำประเสริฐชัย (2550: 3) และทฤษฎีการเรียนรู้ที่กล่าวมาในข้างต้น กิจกรรมและเครื่องมือสำคัญที่ผู้วิจัยเชื่อมั่นว่าช่วยให้การพัฒนาครูครั้งนี้มีประสิทธิภาพมี 11 กิจกรรมได้แก่

1.1กิจกรรมสร้างความตระหนัก (Awareness)

กิจกรรมสร้างความตระหนัก เป็นกิจกรรมสำคัญอันดับแรกที่จะกระตุ้นให้ครูผู้เข้ารับการพัฒนารู้หน้าที่ของครูผู้สอนตามมาตรฐานวิชาชีพครู และมุ่งมั่นพัฒนางาน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของพระพุทธทาส (2532: 75) ที่ว่า “ จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ซึ่งหมายถึงว่าการกระทำใดๆ ขึ้นอยู่กับจิตใจ ถ้าใจยอมรับเห็นความสำคัญ ต้องการอยากได้สิ่งนั้น ก็จะสั่งให้ร่างกายกระทำสิ่งนั้น แต่ถ้าไม่สนใจ ไม่อยากได้จิตใจก็จะไม่สั่งให้ร่างกายทำสิ่งนั้น และ ชรินทร์ มั่งคั่ง (2549: 358) ที่กำหนดขั้นสร้างความตระหนักไว้ในขั้นแรกของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างบัณฑิตอุดมคติไทยสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี

อนึ่ง กิจกรรมสร้างความตระหนักที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น มีกิจกรรมย่อยดังนี้ 1) การอภิปราย 2) ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และคุณลักษณะที่ดีของครูวิทยาศาสตร์ 3) การเสวนาสะท้อนให้เห็นถึงการปฏิบัติตนของครูดีเด่น ครูแกนนำ ครูต้นแบบและครูชำนาญการพิเศษ และการศึกษาบัตรสารสนเทศที่เกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครูและความก้าวหน้าในวิชาชีพ ซึ่งผู้วิจัยได้สังเกตขณะดำเนินกิจกรรม ได้เห็นสายตาที่ส่งประกายถึงความสนใจ ตื่นตัว และแสดงถึงพลังที่จะมุ่งมั่นพัฒนาตนเองเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ และได้ฟังแนวคิดที่ตัวแทนกลุ่มแต่ละกลุ่มนำเสนอแนวคิดที่แสดงให้เห็นว่าพวกเขาเกิดความตระหนักและแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาการสอนเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ ดังคำพูดของครูผู้เข้ารับการพัฒนาท่านหนึ่งที่กล่าวว่า “ การพัฒนาสมรรถภาพการสอนหรือการพัฒนานักเรียนเป็นหน้าที่สำคัญที่ครูต้องทำและทำอย่างเป็นกัลยาณมิตร ให้รักลูกศิษย์เหมือนลูกตนเองแล้วจะพัฒนานักเรียนได้อย่างมีความสุข”

1.2 กิจกรรมประเมินตนเองเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมาย

กิจกรรมประเมินตนเองเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมาย ที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นสอดคล้องกับแนวคิดของ วิจารณ์ พานิช (2548: 105) ได้กล่าวไว้ว่า “การสร้างวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความรู้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญเป็นอันดับแรกในการจัดการความรู้” และถ้าหากผู้ปฏิบัติงานมีการกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ อย่างชัดเจนย่อมทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ และพิเชษฐ บัญญัติ (2551: 4) ได้กล่าวถึงกระบวนการจัดการความรู้ ไว้ว่าขั้นแรกควรกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้ เพื่อให้รู้ว่าจะไปทางไหน ทำเพื่ออะไร งานนั้นจึงจะดำเนินไปด้วยดีซึ่ง เครื่องมือที่ใช้ในกิจกรรมนี้มีแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับสภาพการปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพครูและสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์และตารางอิสรภาพ (Self Assessment Table) ใช้สำหรับประเมินตนเองถึงขีดความสามารถบุคคล ให้รู้ว่าปัจจุบันตนเองมีขีดความสามารถแต่ละด้านในระดับใด ผู้เข้ารับการพัฒนาจะรู้ว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจและมีระดับปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 2 ระดับใด และกำหนดเป้าหมายของตนเองจะพัฒนาตนเองไปอยู่ในระดับใดหลังจากนั้นหาจุดต่างของแต่ละรายการระหว่างสภาพปัจจุบันและภายใน 1 ปีการศึกษาตนเองต้องการพัฒนาตนเองไปถึงระดับใด ซึ่งเป็นความอิสระของผู้เข้ารับการพัฒนาจะกำหนดเป้าหมายของตนเองโดยคำนึงถึงศักยภาพและบริบทของตนเอง กิจกรรมนี้ช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการพัฒนามุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองตามปณิธานหรือเป้าหมายที่ตนเองตั้งไว้โดยไม่ไปเปรียบเทียบคนอื่นซึ่งผู้เข้ารับการพัฒนาส่วนมากบอกว่าเป็นกิจกรรมที่แปลกไม่เคยทำ

1.3 ก

ชื่อผลงานวิจัย การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนแบบอย่างการขับเคลื่อนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

ชื่อผู้วิจัย นางสาวมาเรียม ซอหมัด สพป. นนทบุรี 1

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษาครั้งนี้เป็นสถานศึกษาแบบอย่างการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงศึกษาธิการในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำนวน 2 แห่ง ใช้การเลือกพื้นที่ศึกษาแบบเจาะจง โดยการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษา สัมภาษณ์กลุ่มครูผู้สอน สังเกตการณ์พฤติกรรมและกิจกรรมของนักเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู และการตรวจสอบเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ร่วมกับวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ โดยวิเคราะห์ไปพร้อมกับการเก็บข้อมูลและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยล้วนำเสนอข้อมูลแบบบรรยาย

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาต้องมีการส่งเสริม สนับสนุนองค์ประกอบ ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรพัฒนาผู้เรียน และการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยเริ่มจาก 1) การศึกษาบริบทของโรงเรียนปัจจัยในและปัจจัยภายนอก 2) การส่งเสริมองค์ประกอบทั้ง 5 ด้านดังกล่าวในการสนับสนุนให้มีการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนดังนี้ การจัดการเรียนรู้ในสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม การบูรณาการในสาระการเรียนรู้ต่างๆ การทำหน่วยการเรียนรู้ การทำแผนการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายและสอดคล้องกับบริบทของชุมชนท้องถิ่น การวัดและประเมินผลอย่างหลายหลายและเป็นไปตามสภาพจริงของนักเรียน และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนภายในและภายนอกสถานศึกษา ดังนี้ ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด แนะแนว และกิจกรรมจิตอาสา 3) การส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา 4) การสร้างเครือข่ายสถานศึกษาที่จัดการเรียนรู้ให้นักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5)การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานของนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษาที่ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต 6) การขยายผลหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ชุมชนผ่านนักเรียนที่มีหลักคิด และการปฏิบัติตัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

DEVELOPMENT OF MODEL TO PROMOTE THE SUFFICIENCY ECONOMY PHILOSOPHY IN SCHOOL : A CASE STUDY OF THE BEST PRACTICE SCHOOLS UNDER THE OFFICE NONTHABURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

MISS MAREAM SORMAD

EDUCATIONAL SUPERVISOR : THE OFFICE NONTHABURI PRIMARY EDUCATIONAL

SERVICE AREA OFFICE 1

ABSTRACT

The purpose of this research was to study model of the best practice schools that promoted the sufficiency economy philosophy of Ministry of Eduacation and develop the model to promote the sufficiency economy philosophy in school under the office Nonthaburi primary educational service area office 1. The target group of this study were two the best practice schools that promoted the sufficiency economy philosophy of Ministry of Eduacation under the office Nonthaburi primary educational service area office 1 from purposive sampling method, including administrators, teachers and students of two the best practice schools. The research methods for data collection and analysis were in- depth interview, focus group, observation and checklist, and content analysis, respectively.

The findings on the study model of the best practice schools that promoted the sufficiency economy philosophy of Ministry of Eduacation school under the office Nonthaburi primary educational service area office 1. This study showed that schools promoted five factors : development of teachers , administrative school, development of curriculum, developping activities of learners and participation of local people. Started by : 1) study context of school 2) promotion of the five factors 3) promotion of participatory community driven by the sufficiency economy philosophy in school 4) building network of the sufficiency economy school for sharing knowledge. 5) publishing information about outcomes of students and educational person applied to the sufficiency economy philosophy in the way of life and 6) expanding results of the sufficiency economy philosophy from students to community .

Key words: sufficiency economy philosophy, best practice

บทนำ/Introduction

แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2559) ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแนวในการดำรงชีวิต และวิถีปฏิบัติประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และมีเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ความรู้ และมีคุณธรรม ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากสถานการณ์ที่เกิดจากการพัฒนาของประเทศไทยที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนชาวไทยในทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น ส่งผลความวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยอย่างทั่วถึง ดังนั้นในการปรับเปลี่ยนความคิด ทัศนคติและพฤติกรรมของคนไทยให้หันมาพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนโดยการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 83 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และให้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาพื้นฐานเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการด้านต่างๆ ของแผนการศึกษา ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษาของประเทศ จึงมุ่งเน้นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติที่ต้องการพัฒนาประเทศให้เป็นไปในทิศทางของการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีดุลยภาพใน 3 ด้าน คือ เป็น สังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน กระทรวงศึกษาธิการได้เริ่มขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การปลูกฝังให้เด็ก และเยาวชนรู้จักใช้ชีวิตที่พอเพียง เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่าง ๆ ฝึกการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และแบ่งปัน มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรม ค่านิยม และเอกลักษณ์ความเป็นไทย โดยกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เป็นการนำปรัชญาของเเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันทางศาสนาให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ทักษะ และเจตคติ สามารถนำไปประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างสมดุล และยั่งยืน (กระทรวงศึกษาธิการ,2550 : 2 ) การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 (กระทรวงศึกษาธิการ,2550 : 3 – 8) โดยการกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา (2550 -2554) ไว้ดังนี้ (1) เป้าหมาย ระยะที่ 1 ปี 2550 กำหนดให้มีสถานศึกษาที่สามารถเป็นแบบอย่างในการจัดกระบวน การเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ต่ำกว่าจำนวน 80 แห่ง (2) ระยะที่ 2 ปี พ.ศ. 2551- 2552 พัฒนาและขยายเครือข่ายสถานศึกษาที่เป็นแบบอย่างในการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทุกจังหวัด จำนวน 800 แห่ง และ(3) ระยะที่ 3 ปี พ.ศ. 2553 – 2554 พัฒนาให้สถานศึกษาสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละสถานศึกษาได้ครบทุกแห่งทั่วประเทศ

และได้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการขับเคลื่อน 5 ประการ ดังนี้ (1) การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) การพัฒนาบุคลากร (3) การขยายผลและพัฒนาเครือข่าย (4) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และ (5) การพัฒนากระบวนการติดตามและประเมินผล

ดังนั้นการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจึงต้องมีแนวทางที่สอดคล้องกับแผน การศึกษาศึกษาแห่งชาติโดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้เยาวชนสามารถดำเนินชีวิตโดยประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใช้ในชีวิตประจำวันได้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและสมดุล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ได้ดำเนินการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบันมีโรงเรียนที่ได้รับการประเมินเป็นโรงเรียนแบบอย่างการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงศึกษาธิการในปี พ.ศ. 2552 จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวัดฝาง และโรงเรียนท่าทรายประชาอุปถัมภ์ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553 : 92) แต่การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานนทบุรี เขต 1 ยังไม่บรรลุเป้าหมายเรื่องการพัฒนาและขยายเครือข่ายสถานศึกษาที่เป็นแบบอย่างในการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้จากการนิเทศติดตาม และการประเมินการขับเคลื่อนปรัชญาของเศราฐกิจพอเพียงของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นนทบุรี เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จากข้อมูลผลการประเมินการขับเคลื่อนสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงศึกษา -ธิการ พ.ศ. 2552 พบว่า ครูผู้สอนส่วนใหญ่ไม่สามารถจัดทำหน่วยการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ นอกจากนี้ ครูยังขาดความรู้ความข้าใจวิธีการสอดแทรกการจัดการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ และการวิเคราะห์แผนการเรียนรู้โดยใช้หลักคิดตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แต่ครูส่วนใหญ่เลือกทำกิจกรรมตามความรู้ ความเข้าใจในแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และดูแบบอย่างจากสถานศึกษาต้นแบบอื่นๆ โดยขาดการวิเคราะห์บริบทของสถานศึกษา สภาพของชุมชน ทำให้การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคลาดคลาดเคลื่อนจากวัตถุประสงค์และหลักคิดของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

จากเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษารูปแบบการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนแบบอย่างการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำรูปแบบขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จมาเป็นแนวทาง การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อใช้พัฒนาในโรงเรียนที่มีบริบทใกล้เคียงกันต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย /Aims

ในการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้

1. เพื่อศึกษารูปแบบการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ของโรงเรียนแบบอย่างการขับเคลื่อนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

2. เพื่อพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการวิจัย /Materials and Methods

การวิจัยแบบพรรณนา (Descriptive Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative

research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในแหล่งข้อมูลแบบปฐมภูมิ(Primary sources) และแหล่งข้อมูลแบบทุติยภูมิ (Secondary sources) และนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากความเป็นจริงมาวิเคราะห์ เพื่อหาข้อสรุป โดยการดำเนินการศึกษาวิจัยนี้อาศัยวิธีการ ดังนี้

1) การศึกษาจากเอกสาร (Documentary study) เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของโรงเรียนแบบอย่างการขับเคลื่อนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาเอกสารเพื่อเป็นการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและรูปแบบของการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดกรอบ และทิศทางในการดำเนินการวิจัยภาคสนาม อีกทั้งใช้เป็นหลักในการประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยภาคสนาม โดยผู้วิจัยศึกษาจากเอกสารเพื่อให้ได้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) จากหนังสือ วารสาร บทความ ทฤษฎีแนวคิด ผลการวิจัย และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องผลงานวิจัย

2) การศึกษาวิจัยภาคสนาม ( Fieldwork Research )

การสำรวจข้อมูลโดยใช้แบบประเมินสถานศึกษาในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

การสัมภาษณ์เชิงลึก ( In-depht Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) การสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม เป็นการเก็บข้อมูลในเชิงคุณภาพ

ขั้นตอนการวิจัย

เพื่อให้การดำเนินการวิจัยมีความชัดเจนและการทำความเข้าใจง่ายขึ้น จึงแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 การศึกษารูปแบบการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

ขั้นที่ 1 การศึกษาบริบทของสถานศึกษาในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา

ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน

การเลือกกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย

การเลือกพื้นที่ศึกษาและกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง (purposive sampling) โดยมีเกณฑ์การเลือกดังนี้

1. สถานศึกษาที่เป็นตัวอย่างในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงศึกษาธิการ

2. สถานศึกษาที่อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

3. มีผู้บริหารที่เป็นผู้ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในปีที่ได้การยกย่องจากกระทรวงศึกษาธิการ

4. ครูผู้สอน นักวิชาการ / ภูมิปัญญาในพื้นที่ เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

การสำรวจข้อมูลโดยใช้แบบประเมินสถานศึกษาในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการเก็บข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดประเด็นในการศึกษาต่อไป

แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร / และการสนทนากลุ่มครูผู้สอน และภูมิปัญญาท้องถิ่น/ แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน

ขั้นที่ 2 การถอดบทเรียนสถานศึกษาที่เป็น Best practice ในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์/สังเคราะห์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1. ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเหมาะสม

2. การปรับปรุงแก้ไข / ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง

ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา

ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักวิชาการ /ภูมิปัญญาในพื้นที่ จำนวน 6 แห่ง

การเลือกกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย

การเลือกพื้นที่ศึกษาและกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง (purposive sampling) โดยมีเกณฑ์การเลือกดังนี้

1. ผู้บริหารสถานศึกษายินยอมรับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียง

2. มีผู้บริหารสถานศึกษา และมีครูประจำการมากกว่าครูอัตราจ้าง

3. ครูส่วนใหญ่พร้อมกับการพัฒนา

ขั้นที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ

1. การระดมความคิดของสถานศึกษา

2. สร้างความรู้ ความเข้าใจเพื่อให้สถานศึกษาพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการของโรงเรียน

ขั้นที่ 2 การนิเทศโดยใช้การวิจัยอย่างมีส่วนร่วม (Partipatory Action Research)

1. การวางแผนร่วมกัน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน ครูวิชาการ ศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียน และศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบโครงการวิจัย

2. ออกแบบการนิเทศ

3. ทำปฏิทินการนิเทศ

4. นิเทศติดตามผล

5.วิเคราะห์ผลการนิเทศ / การปรับปรุงแก้ไข

ขั้นที่ 3 อภิปราย / รายงานผล

การตรวจสอบข้อมูล

1. การพิจารณาความเที่ยงตรง (Validity) ผู้วิจัยได้เริ่มพัฒนากรอบความคิดการวิจัยในครั้งนี้อย่างเป็นขั้นตอน และกำหนดเกณฑ์การดำเนินงานแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจน จากการเลือกพื้นที่ศึกษา การเลือกผู้เชี่ยวชาญ เป็นการตรวจสอบความตรงไปแล้วขั้นหนึ่ง

1.1 ความเที่ยงตรงของข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้ใช้การตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล (Methodological Triangulation) คือการใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธี ทั้งการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์กลุ่ม การสังเกต และการสนทนากลุ่ม

การตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล (Data Triangulation) ตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเวลา สถานที่ และบุคคล ที่ต่างกันจะต้องได้ข้อมูลตรงกัน

การตรวจสอบสามเส้าด้านผู้วิจัย (Investigator Triangulation) การตรวจสอบข้อมูลจากการเก็บข้อมูลในภาคสนามที่มีผู้วิจัยและผู้ช่วยผู้วิจัย หลังจากเก็บข้อมูลภาคสนามแล้ว นำมาบันทึกข้อมูลด้วยกัน และเห็นตรงกัน

1.2 ความเที่ยงตรงของการสัมภาษณ์ พิจารณาจากการใช้วิธีการที่ถูกต้อง รัดกุมและเชื่อถือได้หรือไม่ ข้อความคำถามสอดคล้อง หรือตรงตามจุดมุ่งหมายของการวิจัยหรือไม่ มีขอบข่ายของคำถามกว้างขวางแค่ไหน ครอบคลุมปัญหาที่จะวิจัยและข้อมูลที่ได้ตลอดจนข้อคำถามในการสัมภาษณ์ใช้ภาษาที่ง่าย ชัดเจน รัดกุม ตรงจุดหรือประเด็นที่ต้องการถาม ซึ่งแนวคำถามทั้งหมดผู้วิจัยได้ให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านร่วมตรวจสอบ และเพิ่มเติมในส่วนที่บกพร่องก่อนนำไปสัมภาษณ์จริงกับกลุ่มตัวอย่าง

2. การหาความเชื่อมั่น (Reliability) การตรวจสอบความเชื่อมั่นผู้วิจัยได้ทดสอบความเชื่อถือได้และความถูกต้องของข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่

2.1 สร้างประเด็นคำถามเพื่อเป็นแนวทางในการสัมภาษณ์ การรวบรวมเอกสาร และสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ

2.2 ทดสอบสัมภาษณ์ตามประเด็นต่างๆ ที่เรียบเรียง เพื่อนำมาปรับปรุงให้มีข้อคำถามครอบคลุมวัตถุประสงค์ และทดสอบความสัมพันธ์เชื่อมโยงของข้อคำถามจากผู้ให้ข้อมูลอื่นที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มไว้แล้ว

2.3 ดำเนินการสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างจริง หลังจากนั้นผู้วิจัยใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ( Triangulation ) เช่นเดียวกับการตรวจสอบความตรงดังที่กล่าวมาแล้ว

การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ร่วมกับวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic analysis) โดยวิเคราะห์ไปพร้อมกับการเก็บข้อมูล และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Analytic induction) โดยเริ่มจากการพิจารณาข้อมูลที่มีอยู่มาแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงความสอดคล้อง เพื่อหาคำอธิบายในปรากฎการณ์

ผลการวิจัย / Results

จากการสังเคราะห์รูปแบบการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

ในบริบทของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต1 พบว่า มีองค์ ประกอบและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ดังนี้

1. องค์ประกอบในการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

1.1 การพัฒนาบุคลากร เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ถูกต้องชัดเจน

1.2 การบริหารจัดการสถานศึกษาต้องส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีแนวปฏิบัติในแต่ละด้านดังนี้

1.2.1 ด้านงบประมาณ

ในการบริหารงานและบริหารงบประมาณต้องใช้หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข มีเหตุมีผล มีความพอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน และมีความรู้คู่คุณธรรม ในการเบิกจ่ายงบประมาณให้เหมาะสม และสมดุลกับงานของโรงเรียน

1.2.2 ด้านบริหารงานทั่วไป

1.2.3 ด้านบุคลากร

สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจนในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นประโยชน์เกิดความตระหนัก และสามารถนำไปจัดการเรียนรู้ให้นักเรียน

1.2.4 ด้านวิชาการ

1) การจัดการเรียนการสอนบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้มีคุณภาพตามมาตรฐานชาติ

2) การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

3) วิเคราะห์แผนการเรียนรู้โดยใช้ทักษะกระบวนการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4) สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย

5) สร้างเงื่อนไขการเรียนรู้ให้ผู้เรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในทุกกิจกรรม เช่น โครงงาน ชมรม ชุมชน ลูกเสือ เป็นต้น

1.3 การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนโดยการมีส่วนร่วมคิดทำกิจกรรมเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียน

1.3.1 การเรียนการสอนตามหลักสูตรสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระให้เริ่มจากสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อให้นักเรียนเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.3.2 ขยายความเข้าใจและกิจกรรมการเรียนรู้ไปยังครูกลุ่มสาระอื่น ๆ เพราะเป้าหมายของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นักเรียนทุกคนต้องมีคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง

1.4 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และฝึกนำหลักคิดไปปฏิบัติ

2 แนวทางในการนำรูปแบบการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในสถานศึกษา

1. การศึกษาบริบทของโรงเรียน และวิเคราะห์ปัจจัยในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรในสถานศึกษา นโยบายของโรงเรียน สื่อการเรียนรู้แหล่งเรียนในโรงเรียน งบประมาณสนับสนุน ความเชื่อในหลักปรัชญาและความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา มีหลักสูตรสถานศึกษาที่มีจุดเน้นในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และปัจจัยภายนอก แหล่งเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของชุมชน และการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก เป็นต้น

2. ส่งเสริม สนับสนุบองค์ประกอบในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ดังนี้

1) ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาบุคลากร โดยการอบรมให้ความรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การถอดบทเรียนการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ KM (knowledge management) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในโรงเรียนและข้ามโรงเรียน การศึกษาดูงาน การทำวิจัยควบคู่ไปกับการทำงาน

2) ส่งเสริม สนับสนุบการบริหารจัดการสถานศึกษา

3) พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน

- การบูรณาการในสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ

- การทำหน่วยการเรียนรู้

- การทำแผนการเรียนรู้

- การจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายและสอดคล้องกับบริบทของชุมชนท้องถิ่น

- การวัดและประเมินผลอย่างหลายหลายและเป็นไปตามสภาพจริงของนักเรียน

4) การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนภายในและภายนอกสถานศึกษา

- ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด

- แนะแนว

- กิจกรรมจิตอาสา

3. การส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากภายในท้องถิ่น และเครือข่ายจากภายนอก

4. การสร้างเครือข่ายสถานศึกษาที่จัดการเรียนรู้ให้นักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

5. การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานของนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษาที่ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) มิติด้านวัตถุ 2) มิติด้านสังคม 3) มิติด้านสิ่งแวดล้อม และ 4) มิติด้านสิ่งแวดล้อม

6. การขยายผลหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ชุมชนผ่านนักเรียนที่มีหลักคิด และการปฏิบัติตัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

สรุปและอภิปรายผล /Conclusions and Discussion

ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสุ่สถานศึกษา ต้องมีการส่งเสริม สนับสนุนองค์ประกอบ ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรพัฒนาผู้เรียน และการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยเริ่มจาก 1) การศึกษาบริบทของโรงเรียนปัจจัยในและปัจจัยภายนอก 2) การส่งเสริมองค์ประกอบทั้ง 5 ด้านดังกล่าวในการสนับสนุนให้มีการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ดังนี้ การจัดการเรียนรู้ในสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม การบูรณาการในสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ การทำหน่วยการเรียนรู้ การทำแผนการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายและสอดคล้องกับบริบทของชุมชนท้องถิ่น การวัดและประเมินผลอย่างหลายหลายและเป็นไปตามสภาพจริงของนักเรียน และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนภายในและภายนอกสถานศึกษา ดังนี้ ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด แนะแนว และกิจกรรมจิตอาสา 3) การส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา 4) การสร้างเครือข่ายสถานศึกษาที่จัดการเรียนรู้ให้นักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานของนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษาที่ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต 6) การขยายผลหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ชุมชนผ่านนักเรียนที่มีหลักคิด และการปฏิบัติตัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

ควรกำหนดนโยบายด้านการส่งเสริมสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาให้สถานศึกษาทุกแห่งอย่างทั่วถึง มิใช่การเลือกเฉพาะโรงเรียนแกนนำ โรงเรียนต้นแบบ เท่านั้น

ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัย

การศึกษาค่านิยมพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนที่เป็นแบบอย่างการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

เอกสารอ้างอิง /References

กระทรวงศึกษาธิการ (2550). ผลการดำเนินงานการขับบเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่

สถานศึกษาปีงบประมาณ2550. ศูนย์ประสานงานกลางดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักกิจการพิเศษ สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

(2553). ผลการดำเนินงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

ปีงบประมาณ2552. พิมพ์ที่ กระทรวงศึกษาธิการ. บริษัท บิสซิเนส เพรส แอนด์

ดีไซน์ จำกัด กรุงเทพมหานคร.

คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา (2552). เอกสารประกอบการ

อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศราฐกิจพอเพียง.

เอกสารลำดับที่ 38/2552. หน้า 1 – 86.

ฉลาด ปาโส. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม โดยอาศัยหลักอรรถาธรรมเพื่อ

การเรียนรู้สู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม จังหวัดร้อยเอ็ด.

มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). พิมพ์ที่ บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

จำกัด. กรุงเทพ.

ชนันศิริ โคตรรุฉินและคณะ. (2553). การประยุกต์ใช้การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรในการ

การพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

แบบมีส่วนร่วม

นางสาวสุปราณี สงวนงาม

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สร้างระบบการวัดและประเมินผล ศึกษาประสิทธิผลในการใช้ระบบการวัดและประเมินผล ประเมินและปรับปรุงระบบการวัดและประเมินผล กลุ่มเป้าหมายเป็นสถานศึกษาที่เป็นกรณีศึกษาในการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ปีการศึกษา 2552 ยังไม่มีระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน คือ โรงเรียนวัดใหม่ผดุงเขต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบสังเกต แบบประเมินเป็นมาตรส่วนประมาณค่า เครื่องบันทึกเสียง และแบบบันทึกภาคสนาม ดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนาโดยประยุกต์ใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการที่โรงเรียนวัดใหม่ผดุงเขต โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน ขั้นที่ 3 การทดลองใช้ระบบ ขั้นที่ 4 การประเมินและปรับปรุงระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน ในการดำเนินงานผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ครูยังขาดความมั่นใจ การวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ขาดการมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล โรงเรียนยังไม่มีระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน วัดและประเมินผลยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด ขาดรูปแบบการประเมินผลสภาพจริง มีความต้องการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน

2. ระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน พบว่า โครงร่างระบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมทุกประเด็น ได้แก่ ระบบการวางแผน ระบบปฏิบัติการ ระบบตรวจสอบ ระบบสะท้อนผล

3. ผลการทดลองใช้ระบบ พบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นมีประโยชน์ มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงานจริง มีความเหมาะสม มีความถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความพึงพอใจ ด้านการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มีบางประเด็นที่ครูต้องพัฒนา คือ ใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย การนำผลการประเมินไปใช้ของผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาผู้เรียนและการเรียนการสอน

4. ผลการประเมินและปรับปรุงระบบ พบว่า ด้านประโยชน์ของระบบ ครูและผู้ปกครองทราบจุดบกพร่องของครูและผู้เรียนทำให้พัฒนาได้ดี ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการประเมินผู้เรียน ชุมชนให้การสนับสนุน มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง มีความสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน มีความชัดเจน ปฏิบัติได้ ทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจบทบาทของตนเองในการร่วมกันพัฒนาผู้เรียน ด้านความเหมาะสม ระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนใช้ได้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน เป็นไปตามหลักสูตร ด้านความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ ทุกฝ่ายเข้าใจและเห็นความสำคัญของระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน

ทำให้ครูทราบปัญหาของนักเรียนและแก้ปัญหาได้ตรงจุด บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ด้านความพึงพอใจ ทุกฝ่ายมีความพึงพอใจมาก นักเรียนมีพฤติกรรมและผลการเรียนดีขึ้น ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันในเรื่องการเรียนการสอนการวัดและประเมินผล ครูผู้สอนพัฒนาตนเอง เข้าใจเรื่องการวัดและประเมินผลมากขึ้น สามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนได้รอบด้าน

บทนำ

การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้จำเป็นต้องมีการวัดและประเมินผล เพื่อให้ทราบผลของการเรียนรู้ ซึ่งไพศาล หวังพานิช (2545) ได้กล่าวถึงบทบาทของการวัดและประเมินผลว่า เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอน เป็นหน้าที่โดยตรงของครูผู้สอนทุกระดับที่ต้องดำเนินการวัดและประเมินผลผู้เรียนทุกคน เพื่อตรวจสอบความสามารถในการเรียนรู้และขณะเดียวกันก็เป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพของผู้สอนด้วย การวัดและประเมินผลสะท้อนถึงคุณภาพการสอนของครูและนักเรียนก็จะได้ทราบว่าผลการเรียนของตนเองและแนวทางการปรับปรุงตนเองเพื่อให้บรรลุตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร การวัดและประเมินผลจึงนับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้การเรียนรู้ของนักเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นเครื่องมือประกันคุณภาพทางชีวิตอีกด้วย

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับชั้นเรียน เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนดำเนินการเป็นปกติและสม่ำเสมอในการจัดการเรียนการสอน ใช้เทคนิคการประเมินอย่างหลากหลาย เช่น การซักถาม การสังเกต การตรวจการบ้าน การประเมินโครงงาน การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน แฟ้มสะสมงาน การใช้แบบทดสอบ ฯลฯ โดยผู้สอนเป็นผู้ประเมินเองหรือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน ผู้ปกครองร่วมประเมิน

การประเมินระดับชั้นเรียนเป็น การตรวจสอบว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการความก้าวหน้าในการเรียนรู้ อันเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด มีสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมในด้านใด นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลให้ผู้สอนใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนของตนด้วย ทั้งนี้โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

สถานศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบจัดการศึกษาจะต้องจัดทำระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษาให้สอดคล้องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติหน้าที่เป็นข้อกำหนดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และแนวปฏิบัติที่สถานศึกษาปฏิบัติเพิ่มเติมเพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายถือปฏิบัติร่วมกันและเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน สถานศึกษาจะต้องมีผลการเรียนรู้ของนักเรียนจากการวัดและประเมินผลทั้งในระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติตลอดจนการประเมินภายนอกจะสะท้อนคุณภาพและมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่จะช่วยสร้างความมั่นใจในกระบวนการดำเนินงานและสร้างความเชื่อมั่นแก่สังคมซึ่งจะส่งผลการพัฒนาให้มีคุณภาพการเป้าหมายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

ปัจจุบันหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นบานพุทธศักราช 2551 ได้กำหนดให้มีการวัดและประเมินผล 4 ระดับ ได้แก่ การวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน การวัดและประเมินผลระดับสถานศึกษา การวัดและประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา การวัดและประเมินผลระดับชาติ แต่การวัดและประเมินผลที่สะท้อนความสามารถของผู้เรียนและเป็นสารสนเทศที่ผู้เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนและการเรียนการสอนได้ตรงตามสภาพคือการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน ซึ่งแต่เดิมใช้วิธีการวัดผลด้วยข้อสอบมาตรฐาน ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ วัดความรู้ของผู้เรียน ซึ่งมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถวัดความก้าวหน้าหรือผลในด้านอื่นๆ ได้

แม้จะมีการดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการวัดและประเมินผลแก่ครู แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะประเด็นปัญหาหลักคือ การวัดและการประเมินผลยังไม่เป็นระบบ ขาดการวางแผนและการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง จากปัญหาที่กล่าวมาผู้วิจัยพบว่า การพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนเป็นแนวทางหนึ่งที่จะให้ครูสามารถพัฒนาการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนได้อย่างเป็นระบบ และมีความเที่ยง จึงได้ดำเนินการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนขึ้น และเพื่อให้ได้ระบบที่สอดคล้องกับความต้องการของครู โดยนำวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เน้นการปฏิบัติงานแบบมีส่วนร่วมโดยร่วมกันคิด ร่วมกันแก้ปัญหา การวัดและประเมินผลที่เกิดขึ้นและใช้ระบบที่พัฒนาขึ้นในสถานการณ์จริงที่สถานศึกษา มีการนิเทศติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กระบวนการประเมินเชิงปฏิบัติการ

มาประยุกต์ใช้

เนื่องจากแนวคิดการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน มีจุดเน้นสำคัญที่การพัฒนาระบบภายใต้บริบทของสถานศึกษานั้นๆ ดังนั้นจึงต้องดำเนินการศึกษาเป็นรายกรณีซึ่งผลการศึกษาจะทำให้ได้ระบบที่สถานศึกษาอื่นๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ผู้วิจัยจึงได้คัดเลือกสถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ปีการศึกษา 2552

มีความสนใจ และยินดีให้การร่วมมือเป็นกรณีศึกษาในครั้งนี้

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

การวิจัยในครั้งนี้ดำเนินการในลักษณะของการวิจัย และพัฒนา โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน เป็น 2 ระยะ ในระยะที่ 1 มี 2 ขั้นตอน โดยมีวัตถุประสงค์ คือ

1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

2. เพื่อพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช 2551

3. เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการใช้ระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนตามหลักสูตร

แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551

4. เพื่อประเมินและปรับปรุงระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนตามหลักสูตรแกนกลาง

การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551

อุปกรณ์และวิธีดำเนินการวิจัย

อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง

2. แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง

3. แบบประเมินเป็นมาตรส่วนประมาณค่า

4. เครื่องบันทึกเสียงและแบบบันทึกภาคสนาม

5. กล้องถ่ายรูป

วิธีดำเนินการวิจัย

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน

เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อจะนำมาสร้างระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน

ให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยโดยศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล วิธีดำเนินการด้านการวัดและประเมินผลระบบและการพัฒนาระบบ การประเมินเชิงปฏิบัติการ ตลอดจนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งข้อมูล 4 แหล่ง คือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การตรวจเยี่ยมเชิงประเมินโดยการสังเกตระบบการวัดและประเมินผลในโรงเรียนวัดใหม่ผดุงเขต การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยแบ่งเป็น 7 ขั้นตอนคือ

1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2. วางแผนเก็บข้อมูลและเตรียมการประสานพื้นที่

3. ศึกษาความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง

4. สังเกตระบบการวัดและประเมินผลที่มีอยู่เดิม

5. สรุปสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ ในการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับ

ชั้นเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

6. ตรวจสอบข้อมูลที่ได้

7. สะท้อนผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

ขั้นที่ 2 การพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน

ขั้นนี้เป็นการสร้างระบบการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 1 โดยนำข้อมูลที่ได้มากำหนดแนวทางการพัฒนาระบบ รวมทั้งแนวทางตรวจสอบประสิทธิผลของระบบโดยยึดหลักการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 คือ ใช้การวัดและประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย ใช้วิธีการวัดและประเมินที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ผู้เรียนตรวจสอบผลการเรียนได้ ตลอดจนนำผลการประเมินไปใช้ของผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาผู้เรียนและการเรียนการสอนและใช้ผลการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 4 ขั้นตอนคือ

1. วางแผนในการร่างระบบ

2. จัดทำร่างระบบและคู่มือการใช้ระบบ รวมทั้งแบบประเมินประสิทธิผลของระบบ

3. การตรวจสอบโครงร่างระบบและคู่มือการใช้ระบบ รวมทั้งแบบประเมินประสิทธิผล

ของระบบ

4. การสะท้อนผลและปรับปรุงโครงร่างระบบ คู่มือการใช้ระบบ และแบบประเมินประสิทธิผล

ของระบบ

ขั้นที่ 3 การทดลองใช้ระบบ

การดำเนินงานในขั้นนี้เป็นการศึกษาประสิทธิผลของระบบด้วยการนำไปปฏิบัติจริง หลังจากที่ได้พิจารณาความสอดคล้องและความเหมาะสมแล้ว ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและการประเมินเชิงปฏิบัติการเป็นกลไกควบคุมในระหว่างการทดลองใช้ระบบ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ผู้วิจัยและผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันวางแผนเตรียมใช้ระบบในขั้นเริ่มต้นโดยเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ให้ข้อมูลป้อนกลับ และเจรจาต่อรองเพื่อหาฉันทามติ

2. ดำเนินการใช้ระบบในขั้นการติดตามความก้าวหน้าโดยเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและให้ข้อมูลป้อนกลับ และร่วมกันสังเกตการณ์ปฏิบัติการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนตลอดจนประเมินประสิทธิผลของระบบ โดยเน้นการบูรณาการการวัดและประเมินผลกับการเรียนการสอน การวัดที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด การใช้วิธีการวัดและประเมินที่หลากหลาย การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน และปรับปรุงการสอนของผู้สอน

3. นำผลที่ได้มาสะท้อนผลการปฏิบัติร่วมกัน ในขั้นสรุปรวม (ใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมร่วมกับการประเมินเชิงปฏิบัติการ)

ขั้นที่ 4 การประเมินและปรับปรุงระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน

การดำเนินการขั้นนี้เป็นการประเมินผลหลังจากนำระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนไปทดลองใช้เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะต่าง ๆ สำหรับนำไปใช้ปรับปรุงองค์ประกอบต่างๆ ของระบบในส่วนที่ยังพบข้อบกพร่อง โดยดำเนินการดังนี้

1. ผู้ที่เกี่ยวข้องวางแผนการดำเนินการและเตรียมเครื่องมือในการประเมิน

2. ดำเนินการประเมินระบบหลังจากทดลองใช้

3. ตรวจสอบแนวทางและการดำเนินการในการประสิทธิผล

4. ดำเนินการปรับปรุงระบบ

ผลการวิจัย

1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ครูยังขาดความมั่นใจ การวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้เรียนและผู้ปกครอง ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ขาดการมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล โรงเรียนยังไม่มีระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน วัดและประเมินผลยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด ขาดรูปแบบการประเมินผลสภาพจริง ยังไม่เข้าใจในการวัดและประเมินผลกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ มีความต้องการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน

2. ผลการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน พบว่า โครงร่างระบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมทุกประเด็น ได้แก่ ระบบการวางแผน ระบบปฏิบัติการ ระบบตรวจสอบ ระบบสะท้อนผล ส่วนการประเมินโครงร่างระบบด้านความสอดคล้อง มีความสอดคล้องในแต่ละองค์ประกอบ คู่มือการใช้ระบบมีความเหมาะสม แบบประเมินประสิทธิผลของระบบมีความเหมาะสมและมีความสอดคล้อง

3. ผลการทดลองใช้ระบบ พบว่า ด้านความเป็นประโยชน์ ระบบที่พัฒนาขึ้นมีประโยชน์ด้านความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงานจริง มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงานจริง ด้านความเหมาะสม มีความเหมาะสม ด้านความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล มีความถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ ด้านที่เกิดขึ้นกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู/ผู้บริหาร นักเรียน ผู้ปกครอง ทุกฝ่ายมีความพึงพอใจ ด้านการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ได้แก่ ใช้การวัดและประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย การนำผลการประเมินไปใช้ของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาผู้เรียน และการเรียนการสอน พบว่า มีบางประเด็นที่ครูต้องพัฒนา คือ ใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย การนำผลการประเมินไปใช้ของผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาผู้เรียนและการเรียน

การสอน

4. ผลการประเมินและปรับปรุงระบบ พบว่า ด้านประโยชน์ของระบบ ครูและผู้ปกครองทราบจุดบกพร่องของครูและผู้เรียนทำให้พัฒนาได้ดี ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการประเมินผู้เรียน ชุมชนให้การสนับสนุน มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง มีความสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน มีความชัดเจน ปฏิบัติได้ ทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจบทบาทของตนเองในการร่วมกันพัฒนาผู้เรียน ด้านความเหมาะสม ระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนใช้ได้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน เป็นไปตามหลักสูตร ด้านความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ ทุกฝ่ายเข้าใจและเห็นความสำคัญของระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน ทำให้ครูทราบปัญหาของนักเรียนและแก้ปัญหาได้ตรงจุด บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ด้านความพึงพอใจ ทุกฝ่ายมีความพึงพอใจมากเพราะทำให้การวัดและประเมินผลตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดของทุกระดับชั้นเรียน นักเรียนมีพฤติกรรมและผลการเรียนดีขึ้น ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันในเรื่องการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผลด้านการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอนพัฒนาตนเอง เข้าใจเรื่องการวัดและประเมินผลมากขึ้น สามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนได้ทุกด้าน

สรุปและอภิปรายผล

สรุปผลการวิจัย

1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ครูยังขาดความมั่นใจ การวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ขาดการมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล โรงเรียนยังไม่มีระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน วัดและประเมินผลยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด ขาดรูปแบบการประเมินผลสภาพจริง มีความต้องการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน โดยให้มีส่วนร่วมจากบุคคลต่าง ๆ คือ ผู้บิหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน

ผู้ปกครองนักเรียน และผู้แทนชุมชน

2. ผลการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน พบว่า โครงร่างระบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมทุกประเด็น ได้แก่ ระบบการวางแผน ระบบปฏิบัติการ ระบบตรวจสอบ ระบบสะท้อนผล ส่วนการประเมินโครงร่างระบบด้านความสอดคล้อง มีความสอดคล้องในแต่ละองค์ประกอบ คู่มือการใช้ระบบมีความเหมาะสม แบบประเมินประสิทธิผลของระบบมีความเหมาะสมและมีความสอดคล้อง

3. ผลการทดลองใช้ระบบ พบว่า ด้านความเป็นประโยชน์ ระบบที่พัฒนาขึ้นมีประโยชน์ มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงานจริง มีความเหมาะสม ถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล มีความถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ ด้านที่เกิดขึ้นกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู/ผู้บริหาร นักเรียน ผู้ปกครอง ทุกฝ่ายมีความพึงพอใจ ด้านการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 พบว่า มีบางประเด็นที่ครูต้องพัฒนา คือ ใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย การนำผลการประเมินไปใช้ของผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาผู้เรียนและการเรียนการสอน

4. ผลการประเมินและปรับปรุงระบบ พบว่า ด้านประโยชน์ของระบบ ครูและผู้ปกครองทราบจุดบกพร่องของครูและผู้เรียนทำให้พัฒนาได้ดี ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการประเมินผู้เรียน ชุมชนให้การสนับสนุน ด้านความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง มีความสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน มีความชัดเจน ปฏิบัติได้ ทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจบทบาทของตนเองในการร่วมกันพัฒนาผู้เรียน ด้านความเหมาะสม ระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนใช้ได้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน เป็นไปตามหลักสูตร ด้านความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ ทุกฝ่ายเข้าใจและเห็นความสำคัญของระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน

อภิปรายผล

ผลการวิจัยครั้งนี้ พบประเด็นที่น่าสนใจในการอภิปรายผลดังนี้

กระบวนการที่จะทำให้การพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประสบความสำเร็จคือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายคือ ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและตัวแทนชุมชน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มในการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นการตอบสนองการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และตอบสนองเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่เน้นการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันสังคม ฯลฯ ในกระบวนการจัดการศึกษา การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเกิดจากกระบวนการวิจัยซึ่งใช้แนวทางความร่วมมือ (Collaborative Approach) ระหว่างนักวิจัยกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) การสะท้อนผลเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และการประยุกต์ใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยก่อให้เกิดผลดี คือ ทำให้วัตถุประสงค์ของการวิจัยและข้อค้นพบมีความตรง (Validity) มากขึ้น เพราะเป็นการสร้างองค์ความรู้เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา โดยอยู่บนฐานของการมีส่วนร่วม ก่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับบริบทต่าง ๆ ทำให้เกิดความร่วมมือเพิ่มมากขึ้นระหว่างนักวิจัยและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย ผู้มีส่วนร่วมหรือกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียจะมีบทบาทเป็นผู้กระทำหรือมีบทบาทในชุมชน สมาชิกร่วมกับนักวิจัยแทนที่จะเป็นสิ่งที่ถูกศึกษา (อ้างอิงจาก นิตยา เงินประเสริฐศรี. 2544 : 61 ; Stringer.1996 : 10 ;Smith.1997 :8) นักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาในการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา

นั้น ๆ ได้ตรงตามสภาพปัญหาและความต้องการของทุกฝ่าย

ปัจจัยที่สนับสนุนในการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลที่พัฒนาขึ้น มีส่วนสำคัญที่ส่งผลให้การพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลประสบผลสำเร็จ คือ ผู้บริหารที่เห็นความสำคัญ ให้การสนับสนุนในทุก ๆ ด้าน ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในสถานศึกษา ในฐานะผู้ให้คำปรึกษาที่เน้นกระบวนการเชิงปฏิบัติ ผู้อำนวยความสะดวกในกระบวนการสนทนา ผู้มีส่วนร่วมในงานประเมินโดยมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ผู้แนะนำแนวทางตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการ กระตุ้นการสะท้อนกลับของตนเองและการคิดเกี่ยวกับบริบท เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง

ผลของระบบการวัดและประเมินผลที่พัฒนาขึ้น ส่งผลให้พัฒนาผู้เรียนได้รอบด้าน สามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานของตน มีความชัดเจนในการวัดและประเมินผลมากขึ้น ส่งผลดีให้เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องเกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินการซึ่งสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนได้อย่างยั่งยืน

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้

1. ผู้บริหารควรเป็นผู้นำในการนำระบบไปใช้เพื่อที่จะขับเคลื่อนให้ระบบการวัดและประเมินผล

ระดับชั้นเรียนดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล

2. ฝ่ายวิชาการควรเป็นบุคคลที่มีความสามารถประสานการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินการพัฒนา

ระบบการวัดและประเมินผลจากผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่าง ๆ

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไป

ระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ควรมีการศึกษา วิจัย กับสถานศึกษาอื่น ๆ ด้วย

กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณผศ.ดร.ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช ประธานสาขางานวิจัยและประเมินผลการศึกษาคณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง ดร.วสุนันท์ ชุ่มเชื้อ อาจารย์สถาบันพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.ปนัดดา ธนเศรฐกร อาจารย์สถาบันพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่กรุณาให้แนวคิด ให้คำปรึกษา ในการศึกษาวิจัย ขอขอบคุณผู้อำนวยการโรงเรียนวัดใหม่ผดุงเขต นางสาวสมศรี ศักดิ์รุ่งพงศากุล คณะครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำชุมชน ที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์และความร่วมมือในการวิจัยเป็นอย่างดี และขอขอบคุณดร.แสงเดือน คงนาวัง หัวหน้ากลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้กำลังใจ

ให้ความร่วมมือในการวิจัยเป็นอย่างดี

เอกสารอ้างอิง

กมล สุดประเสริฐ. (2540). การวิจัยปฏิบัติการแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ :

สำนักงานประสานงานโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ.

กมลวรรณ คารมปราชญ์. (2547). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)

(เอกสารประกอบการสัมมนา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

กรมวิชาการ. (2543). การประเมินผลจากสภาพจริง. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

นิตยา เงินประเสริฐศรี. (2544). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารสังคมศาสตร์และ

มนุษยศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (มปป.). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตาม

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กลุ่มพัฒนาและส่งเสริการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

องอาจ นัยพัฒน์. (2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สามลดา.

อังคณา ตุงคะสมิต. (2550). การพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านนาศรีดงเค็ง จังหวัดขอนแก่น. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรุณ โยธสิงห์. (2546). ความเข้าใจ สภาพการปฏิบัติและปัญหาในการวัดและประเมินผลการเรียน

ตามสภาพจริงของครูผู้สอนในโรงเรียนนำร่องและโรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตร

การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 สังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร.

ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การวิจัยการศึกษา). มหาสารคาม : บัณฑฺตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม. ถ่ายเอกสาร.

4. งานวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่อง การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้และบริบทโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์

นางจริยา สวนคล้าย ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ถนนรัตนาธิเบศร์

อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

..................................................................................................................................................................

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้และบริบทโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัยครั้งนี้คือ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า โรงเรียนอนุบาลนนทบุรี กลุ่มเป้าหมายทีเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน นักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวน 4 ชุดได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบสังเกตการณ์สอนของครู

ผลการวิจัย พบว่า สภาพการจัดการสื่อและแหล่งเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้านแหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ในปัจจุบันมีทั้งแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนและนอกโรงเรียน แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ได้แก่ ห้องคณิตศาสตร์ ห้องสมุด มุมคณิตศาสตร์ในห้องเรียน ป้ายนิเทศหน้าห้องเรียนและในห้องเรียน คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ มีบรรยากาศดี เหมาะแก่การจัดกิจกรรมให้นักเรียน มีสภาพพร้อมใช้ มีความทันสมัยในโรงเรียนประถมศึกษา แต่สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษายังมีอุปกรณ์และอื่นไม่เพียงพอกับนักเรียนโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน นักเรียนมีโอกาสไปแหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียนแต่จะไม่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์โดยตรง สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ จากการสังเกตชั้นเรียนและเอกสารการสอน ได้จัดเวลาเรียนเหมาะสมกับวัย คาบละ 1 ชั่วโมง สภาพทั่วๆไปครูจะอธิบาย ยกตัวอย่างและซักถามนักเรียนบางคนและให้ทำแบบฝึกหัด ครูจะทราบว่านักเรียนคนใดเก่งนักเรียนคนใดอ่อนแต่ไม่ได้แยกสอนเป็นกลุ่ม จะใช้กิจกรรมการสอนเหมือนกันทั้งห้อง เพราะมีข้อจำกัดเรื่องเวลาสอน เพราะครูผู้สอนไม่ได้ประจำชั้น ครูจะอธิบายซ้ำในเรื่องที่นักเรียนไม่เข้าใจ เด็กเก่งจะถามครู เด็กอ่อนจะถามเพื่อนที่สนิท ครูมีเทคนิควิธีการสอนที่พัฒนาทักษะให้กับนักเรียน ได้แก่การตั้งคำถาม กระบวนการกลุ่ม การใช้แบบฝึก สอนจากง่ายไปหายาก จัดแข่งขันคิดเลขเร็ว เกม การวัดประเมินผล ครูให้คะแนนจากแบบทดสอบมากกว่าคะแนนจากการปฏิบัติงาน3. ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนมีนโยบายและโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประชุมครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เน้นให้ครูใช้สื่อ จัดวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ สอนพิเศษนอกเวลาเรียน ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเอง โดยส่งเข้ารับการอบรมโปรแกรม GSP ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดโครงสร้างเวลาเรียน คาบเวลาเรียน จัดทำตารางสอนจัดครูเข้าสอนคณิตศาสตร์ โดยจัดครูที่มีวุฒิจบสาขาคณิตศาสตร์โดยตรง มีประสบการณ์การสอน ถ้าไม่มีประสบการณ์ก็จะส่งเข้ารับการอบรม ถ้าครูขาดก็จะให้ตกลงกันเองว่าใครจะเข้าสอนแทนจัดสรรงบประมาณให้ตามกลุ่มสาระไปดำเนินการ

- 2 -

ตามความต้องการโรงเรียนจัดกิจกรรมเสริมความรู้ให้นักเรียนโดยจัดเป็นชมรมคณิตศาสตร์ การสอนเสริม

ติวเพื่อไปแข่งขัน ติวช่วงสอบ จัดค่ายคณิตศาสตร์ เกม ด้านผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ผู้บริหารในระดับประถมและขยายโอกาสมีความพึงพอใจในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเพราะนักเรียนไม่สามารถเลือกได้ส่วนผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมไม่พอใจกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนเพราะนักเรียนต้องนำคะแนนที่ได้ไปสอบต่อ จึงมีนโยบายในการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้นในแต่ละปี ครูผู้สอนไม่พึงพอใจในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนเพราะยังต่ำกว่าเป้าหมายกำหนดอยู่ จึงพยายามพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น นักเรียนมีความพึงพอใจต่อผลการเรียนของตนเอง นักเรียนที่เก่งจะพอใจกับคะแนนของตนเองแต่นักเรียนที่อ่อนส่วนมากก็จะพอใจในคะแนนที่ได้

............................................................................................................................................................

บทนำความสำคัญและปัญหา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กำหนดทิศทางการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาคนอย่างเต็มศักยภาพซึ่งวิชาคณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นจึงเป็นพื้นฐานการพัฒนาคนในอนาคต เนื่องจากคณิตศาสตร์นั้นฝึกให้คิดอย่างเป็นระบบ และในความเป็นระบบนั้นก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้นักเรียนส่วนหนึ่งเกิดความเบื่อหน่ายไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ดังนั้นในการแก้ปัญหาให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีนั้นต้องแก้ปัญหาจากจุดเล็กๆที่ละเรื่องเพื่อทำให้นักเรียนมีพื้นฐานคณิตศาสตร์ที่ดีสามารถเรียนต่อในระดับสูงต่อไป ดังที่กล่าวมาแล้ว คณิตศาสตร์จึงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพ ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนในระดับโรงเรียนจึงมีความจำเป็นต้องให้ผู้รับผิดชอบและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ดำเนินการวางแผนร่วมกันซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการพัฒนาซึ่งตรงกับแนวทางการจัดการศึกษาของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 6 และมาตรา 22 ว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ซึ่งในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีเป้าหมายที่สำคัญ 6 ประการ คือ (1) การยกระดับแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่สามารถให้บริการความรู้แก่สถานศึกษาใกล้เคียง ซึ่งสามารถจัดอบรมให้แก่ครูและนักเรียนได้ (2)โรงเรียนมีสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น (3) ครูสามารถปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพ มีบุคลากรที่ช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ (4) ครูได้รับการประเมินความรู้เพื่อนำผลที่ได้ไปออกแบบและกำหนดการพัฒนาวิชาชีพครู (5) ครูได้รับการพัฒนาส่งเสริมให้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ(6) นักเรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านคณิตศาสตร์

ดังนั้นในการวิจัยและพัฒนาคุณภาพคณิตศาสตร์เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในครั้งนี้จะเน้นไปที่เป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพคือการนำไปสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงาน อีกทั้งยังเป็นข้อมูลในด้านทักษะทางคณิตศาสตร์

- 3 -

เจตคติทางคณิตศาสตร์ ทัศนคติต่อคณิตศาสตร์ และธรรมชาติของคณิตศาสตร์ ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่ ระดับประเทศและนานาชาติอีกด้วย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้และบริบทโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียนคณิตศาสตร์

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1. ประชากร ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียน โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำนวน 10 โรงเรียน

2. กลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนมัธยม 1 โรง โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 1 โรง โรงเรียนประถมศึกษา 1 โรง

ตัวแปรที่ศึกษา

สภาพการจัดการเรียนรู้และบริบทโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์

นิยามศัพท์เฉพาะ

โรงเรียน หมายถึง โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า โรงเรียนอนุบาลนนทบุรี

สภาพการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แนวทางการปฏิบัติกิจกรรมในการส่งเสริมสนับสนุนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน นักเรียน

บริบทโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หมายถึง สภาพแวดล้อมในปัจจุบันของโรงเรียนที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์

แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูล ข่าวสาร และประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงโดยการทดลอง ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

ประโยชน์ของการวิจัย

1. มีข้อมูลสภาพการจัดการเรียนรู้และบริบทโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียนคณิตศาสตร์ที่

2. สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปวางแผนในการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนอื่นๆให้สูงขึ้น

- 4 -

วิธีดำเนินการวิจัย

1. กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายในการทำวิจัยในครั้งนี้เป็นโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า โรงเรียนอนุบาลนนทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

- แบบสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียน

- แบบสัมภาษณ์ครู

- แบบสัมภาษณ์นักเรียน

- แบบสังเกตการณ์สอนครูคณิตศาสตร์

3.ขั้นตอนการดำเนินการเก็บข้อมูล

3.1 ประชุมชี้แจงและให้ความรู้ในการเก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู

3.2 วางแผนร่วมกันในการเก็บข้อมูลการสังเกตการสอนและสัมภาษณ์

3.3 ทำปฏิทินการนิเทศร่วมกัน

3.4 ปฏิบัติการนิเทศเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียน โดยเก็บข้อมูลจากหลายวิธี ได้แก่ การสังเกตการณ์สอน การสังเกตสภาพการจัดกิจกรรมในโรงเรียน การศึกษาเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ

4. นำข้อมูลที่ได้จากการลงปฏิบัติการนิเทศมาวิเคราะห์ตามประเด็นเครื่องมือของการวิจัย

การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพจะไม่ใช้สถิติช่วยในการวิเคราะห์ จะใช้แนวคิดทฤษฎีเป็นกรอบในการวิเคราะห์ โดยวิธีการหลักที่ใช้มี 2 วิธี คือ

1.เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (inductive) ซึ่งได้จากการสังเกตและการสัมภาษณ์ที่ได้จดบันทึกไว้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือปรากฏการณ์ที่มองเห็น โดยผู้วิจัยได้เห็นหลาย ๆ เหตุการณ์และได้ทำการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าแล้วก็สามารถลงมือเขียนเป็นประโยคหรือข้อความเพื่อสร้างข้อสรุปได้ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีหรือเพื่อตอบปัญหาของการวิจัยข้อมูลที่ไม่ต้องการจะถูกกำจัดออกไปได้

2.เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ซึ่งได้จากการศึกษาเอกสาร (Document Research) ในการวิเคราะห์เอกสารผู้วิจัยต้องคำนึงถึงบริบท (context) หรือสภาพแวดล้อมของข้อมูลเอกสารที่นำมาวิเคราะห์ประกอบด้วยว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งสองวิธีนี้จะเป็นข้อความแบบบรรยาย (descriptive) ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ขึ้นอยู่กับประเด็นหรือปัญหาที่จะวิเคราะห์และการเลือกของผู้วิจัย

- 5 -

สรุปผลการวิจัย

ในการทำวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้และบริบทโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ สรุปผลการวิจัยดังนี้

- ด้านสภาพการจัดการสื่อและแหล่งเรียนรู้คณิตศาสตร์

- ด้านสภาพการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์

- ด้านการส่งเริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

- ด้านผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

1. ด้านสภาพการจัดการสื่อและแหล่งเรียนรู้คณิตศาสตร์

ด้านแหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ในปัจจุบันมีทั้งแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนและนอกโรงเรียน

1.1 แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ได้แก่ ห้องคณิตศาสตร์ ห้องสมุด มุมคณิตศาสตร์ในห้องเรียน ป้ายนิเทศหน้าห้องเรียนและในห้องเรียน คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ มีบรรยากาศดี เหมาะแก่การจัด

กิจกรรมให้นักเรียน มีสภาพพร้อมใช้ มีความทันสมัยในโรงเรียนประถมศึกษา แต่สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษายังมีอุปกรณ์และอื่นไม่เพียงพอกับนักเรียนโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์

1.2 แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน นักเรียนมีโอกาสไปแหล่งเรียนรู้ภายนอกแต่จะไม่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์

1.3 วิธีการจัดหาสื่อและแหล่งเรียนรู้ ด้านคณิตศาสตร์ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจะได้รับงบประมาณในการทำกิจกรรมและสื่อต่าง ๆ มีการพิจารณาคัดเลือกสื่อตามความต้องการ มีส่วนร่วมในการพิจารณาจัดซื้อและจัดหาสื่อ การทำสื่อร่วมกัน จัดทำสาระร่วมกัน ส่งครูเข้าอบรมโปรแกรม GSP ผลิตสื่อเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนจัดหา เช่น เกม บทเรียนสำเร็จรูป แบบฝึกเสริมทักษะคิดเลขเร็ว

1.4 การดูแลรักษาสื่อ มีห้องเก็บสื่อ มีตู้เก็บมีทะเบียนการยืม มีบัญชีคุม ในห้องกลุ่ม

สาระมีระบบการยืม ทะเบียนคุม มีเจ้าหน้าที่ดูแลในการใช้สื่อ

1.5 สื่อและแหล่งเรียนรู้มีเพียงพอสำหรับนักเรียนระดับประถม ส่วนในโรงเรียนขยาย

โอกาสและโรงเรียนมัธยมยังไม่เพียงพอ และยังไม่ทันสมัย

1.6 โรงเรียนมีการส่งเสริมสนับสนุนการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ โดยให้งบประมาณจัดหาสื่อเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่เพียงพอ

2. ด้านสภาพการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์

จากการสังเกตชั้นเรียนและเอกสารการสอน ได้จัดเวลาเรียนเหมาะสมกับวัย คาบละ 1 ชั่วโมง สภาพทั่วๆไปครูจะอธิบาย ยกตัวอย่างและซักถามนักเรียนบางคนและให้ทำแบบฝึกหัด ครูจะทราบว่านักเรียนคนใดเก่งนักเรียนคนใดอ่อนแต่ไม่ได้แยกสอนเป็นกลุ่ม จะใช้กิจกรรมการสอนเหมือนกันทั้งห้อง เพราะมีข้อจำกัดเรื่องเวลาสอน เพราะครูผู้สอนไม่ได้ประจำชั้น ครูจะอธิบายซ้ำในเรื่องที่นักเรียนไม่เข้าใจ เด็กเก่งจะถามครู เด็กอ่อนจะถามเพื่อนที่สนิท ครูมีเทคนิควิธีการสอนที่พัฒนาทักษะให้กับนักเรียน ได้แก่การตั้ง

- 6 -

คำถาม กระบวนการกลุ่ม การใช้แบบฝึก สอนจากง่ายไปหายาก จัดแข่งขันคิดเลขเร็ว เกม การวัดประเมินผล ครูให้คะแนนจากแบบทดสอบมากกว่าคะแนนจากการปฏิบัติงาน

3. ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

- ด้านผู้บริหาร

โรงเรียนมีนโยบายและโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประชุมครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เน้นให้ครูใช้สื่อ จัดวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ สอนพิเศษนอกเวลาเรียน

- ด้านครู

1. ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเอง โดยส่งเข้ารับการอบรมโปรแกรม GSP ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดโครงสร้างเวลาเรียน คาบเวลาเรียน จัดทำตารางสอน

2. จัดครูเข้าสอนคณิตศาสตร์ โดยจัดครูที่มีวุฒิจบสาขาคณิตศาสตร์โดยตรง มีประสบการณ์การสอน ถ้าไม่มีประสบการณ์ก็จะส่งเข้ารับการอบรม ถ้าครูขาดก็จะให้ตกลงกันเองว่าใครจะเข้าสอนแทน

3. จัดสรรงบประมาณให้ตามกลุ่มสาระไปดำเนินการตามความต้องการ

- ด้านผู้เรียน

1.โรงเรียนจัดกิจกรรมเสริมความรู้ให้นักเรียนโดยจัดเป็นชมรมคณิตศาสตร์ การสอนเสริม ติวเพื่อไปแข่งขัน ติวช่วงสอบ จัดค่ายคณิตศาสตร์ เกม

2. ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนได้ไปแข่งขันระดับต่าง ๆมีการประกวดในกิจกรรมต่างๆ

4.ด้านผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

4.1 ผู้อำนวยการโรงเรียน

ผู้บริหารในระดับประถมและขยายโอกาสมีความพึงพอใจในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเพราะนักเรียนไม่สามารถเลือกได้ส่วนผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมไม่พอใจกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนเพราะนักเรียนต้องนำคะแนนที่ได้ไปสอบต่อ จึงมีนโยบายในการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้นในแต่ละปี

4.2 ครู

ครูผู้สอนไม่พึงพอใจในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนเพราะยังต่ำกว่าเป้าหมายกำหนดอยู่ จึงพยายามพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น

4.3 นักเรียน

- นักเรียนมีความพึงพอใจต่อผลการเรียนของตนเอง นักเรียนที่เก่งจะพอใจกับคะแนนของตนเองแต่นักเรียนที่อ่อนส่วนมากก็จะพอใจในคะแนนที่ได้

- นักเรียนมีทักษะกระบวนการคณิตศาสตร์ ด้านการคิด การแก้ปัญหา โดยเฉพาะห้องเก่ง

- นักเรียนมัธยมและขยายโอกาสมีความสนใจในการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ส่วนเด็กระดับประถมมีความสนใจน้อย

- ในการหาคำตอบในเรื่องที่สงสัยนักเรียนที่เรียนเก่งส่วนมากหาคำตอบได้ด้วยตนเอง

ส่วนน้อยจะถามครูแลถามเพื่อนและถามผู้ปกครอง

- นักเรียนที่เรียนเก่งจะชอบเรียนคณิตศาสตร์ เพราะสนุกกับการคิดจะภูมิใจกับการ

หาคำตอบได้ถูกต้อง ส่วนนักเรียนที่เรียนอ่อนจะไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์เพราะยาก คิดไม่เป็น

- นักเรียนส่วนใหญ่สามารถนำคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันในเรื่องของการ

ซื้อ-ขายของ การทำบัญชีรับ-จ่าย ระยะทาง เวลา

- 7 -

- นักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่มีการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ จากวารสาร

รายการโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ รายการที่นักเรียนดูและอ่านส่วนใหญ่จะเป็นรายการบันเทิง

สารคดี กีฬา เกม

อภิปรายผล

1. สภาพการจัดการสื่อและแหล่งเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนระดับประถมศึกษาได้นำแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน มีการสร้างบรรยากาศที่น่าเรียนรู้เหมาะกับกิจกรรม สื่อมีสภาพพร้อมใช้ มีความทันสมัย และเพียงพอ ส่วนโรงเรียนขยายโอกาสและโรงเรียนมัธยมยังมีสื่อไม่เพียงพอกับความต้องการของนักเรียน เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ครูผู้สอนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการพิจารณาคัดเลือกสื่อและจัดซื้อสื่อด้วยงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและได้ผลิตสื่อเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนจัดสื่อ นักเรียนส่วนน้อยมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ

2. สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ ครูไม่มีเครื่องมือในการวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคลแต่สามารถบอกได้ว่านักเรียนคนใดเก่งและนักเรียนคนใดอ่อน ไม่ได้แยกกลุ่มสอน จะใช้กิจกรรมการเรียน

การสอนเหมือนกันหมดทั้งชั้นเรียน ครูจะใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้เหมือนกันทั้งชั้น จะเปิดโอกาสให้นักเรียนที่ไม่เข้าใจได้ซักถาม พบว่าเด็กจะถามครูส่วนเด็กอ่อนจะถามเพื่อน สภาพการจัดกิจกรรมของครูทั่วๆไป ครูใช้วิธีการอภิบาย ยกตัวอย่าง ให้ทำแบบฝึกหัด ใช้เอกสารเสริม

3. สภาพการส่งเริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนกำหนดนโยบาย

ในการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เข้าร่วมในการประกวด แข่งขันผลงานทางวิชาการในระดับโรงเรียน เขตพื้นที่ และระดับชาติ จัดสรรสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ให้กับครูผู้สอน ส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาตนเอง ส่งเข้ารับการอบรม ดูงาน ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดโครงสร้างเวลาเรียน คาบเวลาเรียน จัดทำตารางสอน

4. ด้านผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในภาพรวมโรงเรียนระดับประถมศึกษามี

ความพอใจผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ส่วนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาและระดับมัธยมศึกษาไม่พอใจต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา เพราะผลสัมฤทธิ์ไม่สูงขึ้น ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ส่วนมากไม่พอใจต่อผลสัมฤทธิ์เพราะต้องการให้ผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นกว่าปัจจุบัน นักเรียนพึงพอใจต่อผลการเรียนของตนเอง นักเรียนที่เก่งส่วนมากจะพอใจเพราะคะแนนจะสูงสำหรับเด็กอ่อนก็จะพอใจในคะแนนที่ได้ มีส่วนน้อยที่ไม่พอใจ

ข้อเสนอแนะ

1. สภาพการจัดการเรียนรู้และบริบทโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีความแตกต่างกันในระดับชั้นที่เปิดสอน โรงเรียนที่เปิดสอนในระดับมัธยมจะมีความพร้อมมากกว่า ส่วนโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนขยายโอกาสจะมีความพร้อมน้อยทั้งด้านบุคลากรและสื่อ วัสดุฝึก และคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบควรให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการเพิ่ม

2. ในระดับประถมศึกษายังใช้ ICT ทางด้านคณิตศาสตร์น้อยควรสนับสนุนหรือจัดอบรมในการใช้โปรแกรมด้านคณิตศาสตร์เพิ่ม เช่น โปรแกรม GSP

3. ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนครูผู้สอนยังสอนแบบเดิม คืออธิบาย ทำแบบฝึกไม่มีวิธีสอนที่แปลกใหม่ทำให้บทเรียนไม่น่าเรียน ดังนั้นควรจัดอบรมให้ความรู้เทคนิคการสอนแบบใหม่ ๆ บ้าง

รายงานการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ ในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1โดยใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

นางเบญจา ชวนวัน ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

บทคัดย่อ

การทดลองครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลการทดลองใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดี ศรีเมืองนนท์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดี ศรีเมืองนนท์ ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดี ศรีเมืองนนท์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และศึกษาพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้ คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดี ศรีเมืองนนท์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 22 คน ครูผู้สอน จำนวน 22 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 620 คน รวม 664 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ปีการศึกษา 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดี ศรีเมืองนนท์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 แบบนิเทศติดตามและประเมินผลการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดี ศรีเมืองนนท์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน และแบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนด้านคุณธรรมจริยธรรม วิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน( S.D)และเปรียบเทียบความแตกต่างของการทดลอง โดยใช้ t-test

ผลการศึกษาพบว่า ผลการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดี ศรีเมืองนนท์ ของโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างหลังการนิเทศมีคุณภาพสูงกว่าก่อนการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 ในระดับมาก นักเรียนมีพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมอยู่ในระดับมาก

บทนำ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 6 กำหนดความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษา ให้การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข จากสถานการณ์ปัจจุบัน วิกฤตการณ์ทางสังคม การเมือง ปัญหาเกิดจากการขาดคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม วิถีประชาธิปไตย ความแตกแยก นำไปสู่การขาดความรัก ความสามัคคี ขาดความสมานฉันท์ สันติวิธี การนำมาเพื่อความสันติสุข สงบสุขในสังคม สิ่งสำคัญในสังคมปัจจุบัน คือการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม สร้างความตระหนัก จิตสำนึก ในความเป็นไทย ให้กับเยาวชน เพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 มีความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการที่จะพัฒนาเยาวชน นักเรียนในสังกัด ให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นคนดีศรีเมืองนนท์

ผู้รายงานวิจัยในฐานะศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และรับผิดชอบโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตระหนักในปัญหาและความสำคัญจำเป็นดังกล่าว จึงได้ทำการศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมนักเรียนด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนในสังกัด ในช่วงชั้น ที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6) และนิเทศติดตามผลการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของโรงเรียน ในสังกัดพบว่า นักเรียนร้อยละ 60 ยังมีพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมในภาพรวมไม่น่าพอใจ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จึงได้จัดทำคู่มือการนิเทศ: แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้กับสถานศึกษาและครูผู้สอน นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้าง คุณธรรม จริยธรรม นักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นคนดีศรีเมืองนนท์ เป็นคนดีของสังคมในอนาคตต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาผลการนิเทศโดยใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

หลังการใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

สมมติฐานของการศึกษา

1. ผลการนิเทศโดยใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการนิเทศสูงกว่าก่อนการนิเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อคู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมาก

3. พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อยู่ในระดับมาก

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

การศึกษาผลการนิเทศโดยใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่

1. คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

2. แบบประเมินผลการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

3. แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

4. แบบสังเกตพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

วิธีดำเนินการวิจัย

การศึกษาครั้งนี้ ได้กำหนดขอบเขตของการศึกษา ดังต่อไปนี้

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2550

2. เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา คือ คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ เป็นเอกสารรูปเล่ม มีภาพประกอบสีสันสวยงาม สอดคล้องกับเนื้อหา นำเสนอรูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมการเป็นคนดีมีคุณธรรม โดยใช้กรอบแนวคิดตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 8 เรื่อง ได้แก่

เรื่องที่ 1 ความขยัน

เรื่องที่ 2 การประหยัด

เรื่องที่ 3 ความซื่อสัตย์

เรื่องที่ 4 ความมีวินัย

เรื่องที่ 5 ความสุภาพ

เรื่องที่ 6 ความสะอาด

เรื่องที่ 7 ความสามัคคี

เรื่องที่ 8 ความมีน้ำใจ

ในแต่ละเรื่องมีองค์ประกอบของหัวข้อ ดังนี้ 1. แนวคิด 2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 3. สาระการเรียนรู้

4. ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5.ใบงาน 6. ใบความรู้ 7. สื่อต่าง ๆ 8. การวัดและประเมินผล

ขั้นตอนในการดำเนินการ

1. ศึกษาสภาพและปัญหา การจัดการเรียนการสอนคุณธรรมจริยธรรม ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยการสำรวจ สอบถาม และสังเกตพฤติกรรมนักเรียนพบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับที่พอใจเพียง ร้อยละ 30 เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ สำนักงานนรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สมศ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 และจังหวัดนนทบุรี กำหนด คือ ร้อยละ 90 ขึ้นไป

2. วางแผนการนิเทศโดย จัดทำคู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งกรอบแนวคิดในการวิจัยผู้รายงาน ได้นำแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ มาเป็นแนวทางในการพัฒนาผู้เรียน เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือนิเทศการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยมุ่งหวังให้นักเรียนมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ ของคุณธรรมจริยธรรมใน 8 เรื่อง ได้แก่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัย มีน้ำใจ สุภาพ สะอาด สามัคคี มีคุณธรรมนำความรู้ตามนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงศึกษาธิการ มีการดำเนินการพัฒนาอย่างเป็นระบบตามหลักการสร้างและพัฒนานวัตกรรม ทุกขั้นตอน

3. สร้างเครื่องมือนิเทศที่นำไปใช้เก็บข้อมูลในการทดลองใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1

4. ดำเนินการนิเทศตามขั้นตอนที่กำหนด โดยแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการนิเทศ จัดทำปฏิทินการนิเทศ ดำเนินการนิเทศ ประเมินผลการนิเทศก่อนและหลังการใช้คู่มือการนิเทศ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลรายงาน

5. สุ่มกลุ่มตัวอย่างในการทดลองนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คนดีศรีเมืองนนท์เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน

6. จัดประชุมชี้แจงแนวทางในการดำเนินการทดลองใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ ให้กับผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 22 โรงเรียน เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2551 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะในการดำเนินการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ให้กับนักเรียน และให้ถือเป็นนโยบาย/กลยุทธ์ในการปฏิบัติ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนในกลยุทธ์ที่ 1 ตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1

7. ผู้รายงานและคณะศึกษานิเทศก์ ดำเนินการนิเทศติดตามและ ประเมินผลการดำเนินการก่อนใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง

8. สถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างดำเนินการใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามรูปแบบและขั้นตอนวิธีการที่กำหนดไว้

9. ผู้ดำเนินการวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการดำเนินการนิเทศ ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

ตามขั้นตอนที่กำหนดตามแผนการนิเทศ

10. ผู้วิจัยและคณะกรรมการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการหลังการทดลองใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

10. ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง

12. วิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินก่อนและหลังการทดลองใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

13. สรุปผลการทดลองใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

14. จัดพิมพ์เป็นเอกสารรูปเล่ม เพื่อรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและเผยแพร่

ผลการดำเนินงาน

15. นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา มาใช้วางแผนพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในปีการศึกษาต่อไป

ผลการวิจัย

การศึกษาผลการนิเทศโดยใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สรุปผลดังนี้

1. ผลการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า หลังการนิเทศสถานศึกษามีการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คนดีศรีเมืองนนท์ สูงกว่าก่อนการนิเทศแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป็นไปตามสมติฐานที่กำหนด

2. ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 พบว่าในภาพรวมครูผู้สอนมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.44 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.22 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ คู่มือการนิเทศก่อให้เกิดคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.91 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.29 รองลงมา ได้แก่ คู่มือการนิเทศมีเนื้อหาสาระตรงตามความต้องการ และสนใจในการเรียนรู้ คู่มือการนิเทศช่วยเสริมสร้างทักษะชีวิต นักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมไปในทิศทางที่ดีขึ้น และครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อจัดทำผลงานทางวิชาการตามความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.86 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.35 เท่ากัน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 และเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนด

3. จากการศึกษาพฤติกรรมนักเรียน พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.30 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.24 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นกัน โดยเรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านความสามัคคี มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.36 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.40 ด้านความมีน้ำใจ มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.35 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.32 ด้านความสะอาด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.33 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.42 ด้านความสุภาพ มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.32 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.46 ด้านการประหยัด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.28 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.49 ด้านความซื่อสัตย์ มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.26 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.46 ด้านความมีวินัย มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.26 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.45 และด้านความขยัน มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.24 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.45 ซึ่งทุกรายการในแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก เกือบทุกข้อ ยกเว้นข้อที่ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.54 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.63

สรุปผลการวิจัย

ผลการศึกษาพบว่า ผลการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดี ศรีเมืองนนท์ ของโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างหลังการนิเทศมีคุณภาพสูงกว่าก่อนการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 ในระดับมาก นักเรียนมีพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมอยู่ในระดับมาก

อภิปรายผล

1. จากการศึกษาผลการนิเทศโดยใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าหลังการนิเทศสถานศึกษามีการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ สูงกว่าก่อนการนิเทศ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่า ผู้รายงานได้ดำเนินการนิเทศอย่างเป็นระบบ โดยมีขั้นตอนชัดเจน ใช้เทคนิคและวิธีการนิเทศที่หลากหลาย มีความเป็นกัลยาณมิตร และสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ มีการนิเทศการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีระบบตรวจสอบ ประเมินผล และเปิดโอกาสให้มีการเสนอแนะอย่างเป็นกัลยาณมิตร เพื่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2543 : 21) ได้กำหนดรูปแบบกระบวนการนิเทศไว้ 5 ขั้นตอน คือ 1. การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการของสถานศึกษาและครูผู้สอน 2. มีการวางแผนนิเทศ จัดทำปฏิทินการนิเทศ 3.การสร้างสื่อ และเครื่องมือในการนิเทศ 4. ดำเนินการนิเทศตามปฏิทินกำหนด 5.เผยแพร่ความสำเร็จของคณะครูในโรงเรียน ให้การเสริมแรง ให้การยกย่องเพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน ประกอบกับคู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ ได้กำหนดกิจกรรมที่เสริมสร้างปัญญาตามแนวทางคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดกับนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรม จึงมีผลการนิเทศหลังการใช้คู่มือนิเทศ สูงกว่าก่อนการใช้คู่มือการนิเทศ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ได้กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการคุณธรรมจริยธรรมในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงกับชีวิตจริง มีการส่งเสริมให้นำหลักธรรมมาเป็นฐานในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา ส่งเสริมการใฝ่รู้และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข และนักเรียนสนุกกับการเรียนรู้

2.จากการสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 พบว่าในภาพรวมครูผู้สอนมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า คู่มือนิเทศก่อให้เกิดคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงาม คู่มือการนิเทศ มีเนื้อหาสาระตรงตามความต้องการ และสนใจในการเรียนรู้ มีรูปแบบ ขนาดรูปเล่มเหมาะกับการนำไปใช้ มีกิจกรรมแปลกใหม่ น่าสนใจ สอดคล้องกับชีวิตจริง รูปแบบกิจกรรมมีการฝึกปฏิบัติจริง เน้นกระบวนการคิด สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีภาพประกอบ สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง มีสีสันสวยงาม มีการเสริมแรงสร้างขวัญกำลังใจอย่างเหมาะสม นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมและสามารถประเมินตนเองได้ นอกจากนี้ คู่มือการนิเทศยังช่วยเสริมสร้างทักษะชีวิตให้ นักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมไปในทิศทางที่ดีขึ้น และครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อจัดทำผลงานทางวิชาการตามความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง

3. จากการศึกษาพฤติกรรมนักเรียน พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นกัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า กิจกรรมที่กำหนดไว้ในคู่มือ เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างนักเรียนให้เป็นผู้มีความสามัคคี มีน้ำใจ มีความสะอาด มีความสุภาพ มีการประหยัด มีความซื่อสัตย์ มีวินัย มีความขยัน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อย่างแท้จริง นักเรียนสามารถเรียนรู้และสรุปองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง นักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา และฝึกการเผชิญสถานการณ์จริง เสริมสร้างทักษะชีวิต สะดวกในการนำไปใช้ สามารถใช้ได้ทุกที่ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และนักเรียนสามารถประเมินตนเองได้ ก่อให้เกิดคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่ดีงาม

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1. คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นรูปแบบแนวทางที่สถานศึกษาสามารถนำไปใช้ศึกษา ค้นคว้า อ้างอิง ในโรงเรียนทุกสังกัดได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

2. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคุณธรรมจริยธรรม ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนควรประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีการจัดบรรยากาศปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร อ่อนน้อมถ่อมตน เคารพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยิ้มแย้ม แจ่มใส มีเมตตาต่อกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทั้งครูต่อนักเรียน ครูต่อครู นักเรียนต่อนักเรียน และครูต่อผู้ปกครอง

3. ควรฝึกให้นักเรียนได้มีโอกาสคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และเลือกแนวทางในการแก้ปัญหา ตัดสินใจ ตามหลักพุทธธรรมอย่างเหมาะสมถูกต้อง เพื่อนำไปดำเนินชีวิตตามสภาพแห่งความเป็นจริงที่แตกต่างกัน

3. การประเมินผลการประพฤติปฏิบัติตน ต้องวัดพฤติกรรมตามสภาพที่เป็นจริง ซึ่งผู้บริหารและครูทุกคนควรได้ศึกษากระบวนการ และปฏิบัติตามขั้นตอนการวัดและประเมินพฤติกรรม อย่างเป็นระบบและมีการมอบหมายงานอย่างชัดเจน

4. ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ด้วยวิธีการอย่างหลากหลาย เพื่อให้เกิดความกว้างขวางในวงวิชาการ วิชาชีพ

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ของนักเรียน และครูผู้สอน ในเรื่องอื่น ๆ โดยวิธีการสังเกต การสัมภาษณ์ การบันทึก

การประเมินพฤติกรรม การใช้สังคมมิติ และการศึกษาเป็นรายบุคคล เป็นต้น

2. ควรมีการศึกษาถึงสภาพและปัญหาการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษา อย่างต่อเนื่อง เป็นประจำทุกปีการศึกษา เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน

3. ควรศึกษาวิจัย เกี่ยวกับความร่วมมือของผู้ปกครอง และชุมชนในการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน เมื่ออยู่นอกสถานศึกษา

4. ควรมีการศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนในโรงเรียน และครอบครัว

กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณ นายชูชาติ กาญจนธนชัย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 นางสาวแสงเดือน คงนาวัง หัวหน้ากลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 ที่ให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการศึกษาครั้งนี้ จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี และมีคุณภาพ จึงขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้

เอกสารอ้างอิง

กนกพรรณ บุญธรรม. 2540. พฤติกรรมของครูในการปลูกฝังจริยธรรมให้แก่นักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา

กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประถมศึกษา,

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมวิชาการ. 2541. กรอบความคิดเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่เน้นความมีวินัย

และความเป็นประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. 2542. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร :

โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา. 2549. รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษา

ประจำปีการศึกษา 2549. นนทบุรี : สวัสดีการพิมพ์.

กิติมา ปรีดีดิลก. 2532. การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร :

อักษราพิพัฒน์ จำกัด.

จตุพร ศิลาเดช. 2543. ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนระดับประถมศึกษา.

วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การวัดและประเมินผล), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชอบ เอี่ยมประสงค์. 2544. สภาพและปัญหาการส่งเสริมจริยธรรมของนักเรียนในโรงเรียน

ประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา),

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (ถ่ายเอกสาร)

ชาญชัย อินทรประวัติ. 2535. การศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับการปลูกฝังจริยธรรมของนิสิต

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.

(การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. 2544. ครูกับการปลูกฝังจริยธรรมแก่นักเรียน. กรุงเทพมหานคร :

บริษัท ส่งเสริมการศึกษาและจริยธรรม จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. 2541. การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ.

กรุงเทพมหานคร : สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.

. 2549. การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ.

กรุงเทพมหานคร : บริษัท เมธีทิปส์.

ประสิทธิ์ นวลศรี. 2547. แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึง

ประสงค์ของนักเรียนในโรงเรียนหัวหินวิทยาคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรรตนฤน เพชรวิลาพร. 2545. การศึกษาการปลูกฝังคุณธรรมให้แก่นักเรียนประถมศึกษาใน

กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. 2542. “รวมบทความเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมและการศึกษา”. ใน

ความรู้คู่คุณธรรม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์. 2538. หลักการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชา

บริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเดช ใจหวัง. 2547. การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านไทร.

วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมศักดิ์ ศรีศักดา. 2546. พฤติกรรมทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียน

สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหาร

การศึกษา), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2544. การวัดและประเมินผลผู้เรียนด้านคุณธรรม

จริยธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอนก แท้สูงเนิน. 2547. การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ด้านความมีวินัย ด้านความสะอาด และ

ด้านความประพฤติของนักเรียนโรงเรียนตลาดไทรพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา

วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Bacon, Charies Samuel. 1989. “Teacher Goal Structures and Student Responsibility for

Learning : A Student Perspective”. Dissertation Abstracts International.

ชื่อผลงาน รายงานการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ชื่อผู้รายงาน นางสุวรรณา เบญจวิภาส

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

บทคัดย่อ

การรายงานการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลเอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) เพื่อประเมินพฤติกรรมการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ต่อเอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 4) เพื่อประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 44 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 327 คน ในโรงเรียนภาครัฐสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2550 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) เอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) แบบประเมินพฤติกรรมการวัดและประเมินผลของครูผู้สอน 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อเอกสารการนิเทศ 4) แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล

ผลการศึกษาพบว่า เอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีค่าประสิทธิผล 0.66 และพฤติกรรมการวัดและประเมินผลของครูผู้สอนทุกด้านมีพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก (ด้านพฤติกรรมการวัดและประเมินผล ( = 4.05), ด้านการใช้เครื่องมือวัดและประเมินผล ( = 3.96), ด้านการประเมินนักเรียนรายบุคคล

( = 3.92), ด้านการประเมินระดับชั้นเรียน ( = 4.04), ด้านการประเมินระดับท้องถิ่น ( = 4.02) ความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อเอกสารการนิเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.10) และพฤติกรรม

การเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.11 )

บทนำ

ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งของมนุษย์ เพื่อนำไปสู่การติดต่อสื่อสารให้ เข้าใจกัน เป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ช่วยเพิ่มพูนสติปัญญาและความก้าวหน้าให้แก่บุคคล ทั้งยังเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากชนรุ่นหนึ่งไปยังชนอีกรุ่นหนึ่ง ภาษาของชาติใดย่อมมีความสำคัญต่อชนในชาตินั้น

นอกจากนี้ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเสริมสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุรการงาน และดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุขและเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี ชีวทัศน์ โลกทัศน์และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่าภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ 2544, 1)

ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติไทย เป็นเครื่องแสดงความเป็นชาติเก่าแก่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของคนไทยและเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ดังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงปาฐกถาด้านความสำคัญของภาษาไว้ ดังนี้

“ ....การศึกษาที่จะมีผลต่อการพัฒนาประเทศนั้น คือชั้นประถมศึกษาเรียกว่าเป็นการศึกษาภาคบังคับ การศึกษาระดับภาคบังคับเป็นการศึกษาที่เรามุ่งหวังว่าเมื่อจบแล้ว ผู้เรียนจะมีความรู้ความสามารถที่จะดำรงชีวิตได้หรือว่าเป็นพื้นฐานการศึกษาต่อไป

ฉะนั้น จึงต้องมีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ เข้าใจภาษาเป็นอย่างดี ในที่นี้

หมายถึงภาษาไทยนั้นเอง ได้ยินมาว่าคนเก่งภาษาไม่เก่งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คนเก่งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ไม่เก่งภาษา เท่าที่เห็นมาดูเหมือนจะไม่จริงที่เห็นในโรงเรียนประถมศึกษานั้น ถ้าไม่รู้ภาษาหรือเด็กอ่อนภาษาจะไม่ได้สักวิชา เพราะฟังไม่รู้เรื่อง สอนว่าอย่างไรก็ไม่รู้เรื่อง ....” (รัตนพินิจ นิทิศการศึกษา 2542, 69)

ปาฐกถาด้านการศึกษาในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ที่ได้อัญเชิญมาข้างต้น แสดงให้เห็นถึงพระราชดำริการศึกษาในปัจจุบันที่ทรงเห็นความสำคัญของภาษาว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่การเรียนเรียนรู้

จะเห็นได้ว่า ความสำคัญของภาษาไทยนั้นมีหลายประการที่สำคัญคือเพื่อเป็นเครื่องมือใน

การใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร การเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ การแสวงหาความรู้ ความเพลิดเพลินและการประกอบอาชีพ การเรียนการสอนภาษาไทยจึงมีความสำคัญโดยครูจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนจะต้องเข้าใจวิธีการฝึกทักษะทั้ง 4 คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนให้สัมพันธ์กัน นักเรียนจะสนุกในการเรียน นักเรียนจะสนใจและรักที่จะเรียน มีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาไทย เป็นผลให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนวิชาภาษาไทยดีขึ้น (กรรณิการ์ พวงเกษม 2535, 47)

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ได้กำหนดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรเป็น 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยกำหนดให้ภาษาไทยจัดอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มแรกที่สถานศึกษาต้องใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน เพื่อสร้างพื้นฐานการคิดและเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาและวิกฤตของชาติ เนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ตลอดจนใช้ในการศึกษาความรู้ การสอนภาษาไทยจึงมุ่งให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทั้งในด้านการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนไปพร้อม ๆ กัน จากการศึกษาผลการเรียนการสอนภาษาไทยในชั้นเรียนโดยทั่วไปจะพบว่ามีทั้งเด็กที่ประสบความสำเร็จ คือ เด็กที่สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน และเด็กที่ไม่ประสบความสำเร็จ คือเด็กที่ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้งที่ครูจัดขึ้นได้ นั่นคือ คุณภาพของผู้เรียนยังไม่ได้มาตรฐานหลักสูตร

ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตราที่ 26ได้ระบุถึงวิธีการประเมินผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ไว้ว่าให้สถานศึกษาวัดประเมินผลผู้เรียน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา โดยใช้วิธีการที่หลากหลายในการประเมินผลการเรียน ซึ่งจำเป็นที่ครูผู้สอนต้องมีความรู้ความสามารถใน การวัดประเมินผลควบคู่ไปกับความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอน

การวัดและประเมินผลเป็นกระบวนการในการลงสรุปว่านักเรียนมีความรู้ความสามารถและทักษะในเรื่องต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด น่าพอใจหรือไม่ โดยใช้เรื่องราว เหตุการณ์ สภาพชีวิตจริงที่นักเรียนประสบอยู่ในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่เร้าให้นักเรียนได้ตอบสนองโดยการแสดงออก กระทำปฏิบัติ / หรือผลิต มากกว่าการจำลองสถานการณ์โดยมีความเชื่อว่าหากใช้สภาพเหตุการณ์จริงเป็นสิ่งเร้าให้นักเรียนได้ตอบสนอง นักเรียนจะตอบสนองโดยใช้ความรู้ความสามารถและทักษะที่แท้จริงออกมาให้เห็น โดยการให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงออกปฏิบัติหรือวัดผลงานที่แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความรู้ ความสามารถ ทักษะและเจตคติที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่คาดหวัง ซึ่งจะดีกว่าให้นักเรียนได้เลือกตอบจากแบบทดสอบเพียงอย่างเดียว ซี่งมักเน้นความรู้ความจำและสิ่งเร้าที่นำมาใช้สร้างข้อคำถามก็มักเป็นสถานการณ์จำลองมากกว่าที่จะเป็นเหตุการณ์ในสภาพชีวิตจริง (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 2543, 2)

สภาพปัจจุบัน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 เกี่ยวกับการประเมินผล พบว่า มีครูจำนวนมากที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงวิธีการประเมินผลให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่วนมากครูยังใช้แบบทดสอบแบบเลือกตอบเป็นเครื่องมือประเมินผลเพียงอย่างเดียว พฤติกรรมที่วัดก็เป็นพฤติกรรมในระดับต้น ๆ ในด้านพุทธิพิสัย คือ ความรู้ ความจำ และความเข้าใจ ส่วนความคิดชั้นสูงซับซ้อน กระบวนการ คุณลักษณะและทักษะการปฏิบัติมักถูกละเลยในการวัดและประเมินผล (สำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ 2543, 1) เมื่อการวัดและประเมินผลของครูไม่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน

การสอนและไม่ประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลายทำให้การจัดกิจกรรม การเรียนการสอนไม่บรรลุผลตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่คาดหวังไว้

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาโรงเรียนในอำเภอเมืองนนทบุรี และอำเภอบางกรวย จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องคือครูผู้สอนได้ตระหนักในบทบาทและภารกิจที่รับผิดชอบต่อการพัฒนาการเรียน การสอนให้สามารถจัดกิจกรรมการสอนที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 และจากข้อมูลที่ได้จากการนิเทศติดตามผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู พบว่า มีครูผู้สอนจำนวนมากยังแยกการประเมินผลออกจากการเรียนการสอน ไม่สามารถประเมินผลสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน หรือประเมินผลตามสภาพจริงได้ และยังใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือวัดและประเมินผลเพียงอย่างเดียว ไม่มีการประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งสอดคล้องกับคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ (2543, 4) กล่าวว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา ครูส่วนใหญ่ยังเน้นการท่องจำ โดยละเลยความสำคัญของผู้เรียน วิธีการสอนไม่เน้นกระบวนการให้ผู้เรียนได้พัฒนาความคิดวิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนขาดคุณลักษณะ ความช่างสงสัยและใฝ่หาคำตอบเน้นการสอนหนังสือมากกว่าสอนคน นอกจากนี้ขาดความเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ครูยังเป็นผู้มีอำนาจในชั้นเรียน และยังยึดมั่นว่าตนเองเป็นผู้รู้มากที่สุดนักเรียนมีหน้าที่ปรับตัวให้สอดคล้องกับเนื้อหาความรู้ทันวิธีสอนของครู สถานศึกษาจึงไม่เป็นโรงเรียนเพื่อ การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่เป็น “ โรงสอน ” และจากรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 พบว่า ภาพรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2549 ซึ่งผลยังไม่น่าพอใจ อีกทั้งความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ร้อยละ 55 ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจด้านการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ในระดับน้อย และร้อยละ 60 ของครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความต้องการพัฒนาตนเองด้านการวัดและประเมินผลภาษาไทย

ข้าพเจ้าในฐานะศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและงานการวัดและประเมินผล จึงมีความสนใจและมุ่งมั่นจะพัฒนาครูภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีความรู้ด้านการวัดและประเมินผลภาษาไทย

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลเอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระ

การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

2. เพื่อประเมินพฤติกรรมการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียน

การสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่

2 ต่อเอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

4. เพื่อประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ขอบเขตในการศึกษา

1. เนื้อหาสาระของเอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ

1.1 ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินผล กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทยและการฝึกปฏิบัติการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล

1.2 หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

1.3 แนวทางการวัดและประเมินผลทักษะการฟัง การดู การพูด การอ่าน การเขียน

และตัวอย่างเครื่องมือวัดและประเมินผล

2. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

2.1 ตัวแปรต้น คือ การนิเทศโดยใช้เอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครู

ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

2.2 ตัวแปรตาม คือ

- พฤติกรรมการวัดและประเมินผลของครูผู้สอน

- ความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อเอกสารการนิเทศ

- พฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

3. ระยะเวลาดำเนินการ เดือนเมษายน 2550 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2551

อุปกรณ์และวิธีดำเนินการศึกษา

อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) เอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนา

ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล มี 3 ชนิด ประกอบด้วย แบบประเมินพฤติกรรมการวัดและประเมินผลของครูผู้สอนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 5 ด้าน รวม 30 ข้อ , แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อเอกสารการนิเทศเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 2 ด้าน รวม 12 ข้อ , แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า รวม 10 ข้อ

กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 52 โรงเรียน จำนวน 96 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2,391 คน ในโรงเรียนภาครัฐสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2550 โดยกลุ่มตัวอย่างครูผู้สอนได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับสลาก จำนวน 44 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 327 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Perposive Sampling)

กรอบแนวคิดในการศึกษา

กรอบแนวคิดที่นำมาใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการวัดและประเมินผล ได้แก่ การใช้กระบวนการนิเทศในการแก้ปัญหาและพัฒนา เนื่องจากการนิเทศเป็นกระบวนการช่วยเหลือครูให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลต่อการพัฒนานักเรียน เทคนิคการนิเทศที่นำมาใช้ในครั้งนี้เป็นการนิเทศที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับผู้รับการนิเทศ ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ ไม่ชอบการบังคับ ไม่ชอบการท่องจำ ไม่ชอบการเรียนรู้ที่มากเกินไป แต่เป็นเทคนิคที่ส่งเสริมให้กำลังใจ จึงเลือกการนิเทศโดยใช้เอกสารเสริมความรู้เป็นแนวทางในการพัฒนา

วิธีดำเนินการ

1. การสร้างและหาคุณภาพของเอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระ

การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ดำเนินการดังนี้ 1.1 ศึกษาเอกสาร และบทความเกี่ยวกับนโยบายการศึกษาของชาติ นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนโยบายการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 1.2 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย และรูปแบบการจัดทำเอกสารการนิเทศ 1.3 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2546 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 1.4 ขอคำปรึกษาแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ 1.5 จัดทำโครงร่างต้นฉบับเอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แบ่งเป็น 3 บท บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินผลกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และการฝึกปฏิบัติการสร้างเครื่องมือ บทที่ 2 หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 บทที่ 3 แนวทางการวัดและประเมินผลทักษะ การฟัง การดู การพูด การอ่าน การเขียน และตัวอย่างเครื่องมือวัดและประเมินผล นำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ 1.6 นำต้นฉบับเอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านการวัดประเมินผลการเรียนรู้ รวม 3 บท ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องตามโครงสร้างเนื้อหาและความถูกต้องตามหลักวิชาการ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญให้เป็นเอกสารที่สมบูรณ์ 1.7 นำเอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านการวัดประเมินผลการเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพของเอกสารการนิเทศ โดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC : Index of Item – Objective Congruence) ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องรวมทั้งฉบับ 0.95 1.8 นำเอกสารที่ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญแล้วไปทดลองใช้กับประชากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 8 โรงเรียน แล้วไปหาประสิทธิผลของเอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 1.9 นำเอกสารการนิเทศไปใช้กับโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง โดยประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติในการดำเนินการให้ครูผู้สอนกลุ่มตัวอย่างศึกษาและฝึกปฏิบัติ ดำเนินการปฏิบัติกิจกรรม และทดสอบหลังการศึกษาเอกสาร

2. การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือในการเก็บข้อมูลมีขั้นตอนในการสร้างและหาคุณภาพ ดังนี้ 2.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบประเมินพฤติกรรมการวัดและประเมินผลของครูผู้สอน , แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อเอกสารการนิเทศ , แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2.2 ศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likert five rating Scale) 2.3 ผู้รายงานได้จัดทำเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลออกเป็น 3 ลักษณะคือ 2.3.1 แบบประเมินพฤติกรรมการวัดและประเมินผลของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 5 ด้าน รวม 30 ข้อ 2.3.2 แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อเอกสารการนิเทศเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 2 ด้าน รวม 12 ข้อ 2.3.3 แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า รวม 10 ข้อ 2.3.4นำเครื่องมือไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของข้อคำถามตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC :Index of Item – Objective Congruence) ซึ่งมีค่าดัชนีรวมทั้งฉบับดังนี้ แบบประเมินพฤติกรรมการวัดและประเมินผลของครูผู้สอนมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.96, แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อเอกสารนิเทศมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.95 , แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.92 2.3.5 นำเครื่องมือมาปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญแล้วนำไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการดำเนินการครั้งนี้

การดำเนินการศึกษา

1. ประชุมชี้แจงครูผู้สอนกลุ่มตัวอย่าง ให้มีความรู้ความเข้าใจการจัดกิจกรรมการเรียน

การสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้เอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ให้ศึกษาด้วยตนเอง เป็นเวลา 24 สัปดาห์

2. ให้ครูผู้สอนกลุ่มตัวอย่าง ทดสอบความรู้ก่อนและหลังการศึกษาเอกสารการนิเทศ

และทำกิจกรรมแบบฝึกหัดท้ายบทครบทุกเรื่อง โดยดำเนินการตามขั้นตอนการหาค่าดัชนีประสิทธิผล

3. นิเทศ ติดตาม เก็บข้อมูลผลการใช้เอกสารการนิเทศ

4. ประเมินพฤติกรรมการวัดและประเมินผลของครูผู้สอน

5. ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อเอกสารการนิเทศ

6. ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้รายงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้

1. ทำหนังสือจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 ถึงผู้บริหารสถานศึกษาที่

เป็นกลุ่มตัวอย่างทุกโรงเรียน เพื่อขอความร่วมมือในการนิเทศติดตามการใช้เอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

2. ทดสอบความรู้ก่อนและหลังการศึกษาเอกสารการนิเทศกับครูผู้สอนกลุ่มตัวอย่าง

3. ประเมินพฤติกรรมการวัดและประเมินผลของครูผู้สอน โดยใช้แบบประเมินกับครูผู้สอน

กลุ่มตัวอย่าง

4. ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อเอกสารการนิเทศโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น

กับครูผู้สอนกลุ่มตัวอย่าง

5. ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 2

โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรม ศึกษานิเทศก์เป็นผู้ประเมิน

6. .รวบรวมชิ้นงานที่มอบหมายภารกิจจากการศึกษาเอกสาร สรุปและรายงานผล

การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลในการนิเทศการใช้เอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม และค่าดัชนีประสิทธิผลของเอกสารการนิเทศ

สรุปผลการศึกษา

1. เอกสารการนิเทศติดตามผลของครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

มีประสิทธิผล 0.66 ซึ่งสูงกว่า 0.50 จึงมีประสิทธิผลระหว่างการใช้เอกสารการนิเทศตามเกณฑ์ที่กำหนด

2. พฤติกรรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูผู้สอน โดยการประเมินของ

ศึกษานิเทศก์ มีพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก

3. ความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อเอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระ

การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

4. พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน มีพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก

อภิปรายผล

รายงานการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอนโดยใช้เอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ปรากฏผลที่ควรนำมาอภิปราย ดังนี้

1. เอกสารการนิเทศติดตามผลการพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีประสิทธิผลสูงกว่า0.50 โดยมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.66 แสดงว่า เอกสารการนิเทศเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้พัฒนาการวัดและประเมินผลของครูผู้สอนได้ดี ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้รายงานได้มีการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูผู้สอนโดยใช้เอกสารการนิเทศ และดำเนินการสร้างตามทฤษฎีการสร้างเอกสารการนิเทศของผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน ซึ่งสอดคล้องกับ ถวัลย์ มาศจรัส และเชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์ (2547, 18-19) กล่าวว่า หลักง่าย ๆ ในการจัดทำเอกสารประกอบการนิเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ นั้นมี 5 ขั้นตอน ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน ได้ตรวจสอบและให้ความเห็นว่า เอกสารการนิเทศมีความเหมาะสมในทุกด้าน ทั้งด้านเนื้อหา รูปแบบ และการนำไปใช้ ซึ่งสอดคล้องกับ คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และมาเรียม นิลพันธุ์ (2542, 17-18) ที่กล่าวว่า ลักษณะของคู่มือที่ดีมี 3 ลักษณะ คือ เนื้อหาในคู่มือตรงกับเรื่องที่จะศึกษา มีตัวอย่างประกอบ ด้านรูปแบบควรใช้อักษรตัวโต เพื่อให้อ่านง่าย มีภาพประกอบเหมาะสม จัดรูปเล่มน่าสนใจ ใช้ภาษาเข้าใจง่าย เสนอจากเรื่องง่ายไปหายาก ด้านการนำไปใช้ต้องระบุวิธีการชัดเจน มีแผนภูมิตารางประกอบ เพื่อเข้าใจง่าย นอกจากนี้ เมื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพแล้ว ผู้รายงานได้นำเอกสารการนิเทศไปทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิผลของเอกสารกับครูผู้สอนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างก่อนนำไปใช้จริง ส่งผลให้เอกสารการนิเทศมีความสมบูรณ์ และมีความเหมาะสมในการนำไปทดลองใช้เพื่อการพัฒนาครูผู้สอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2. พฤติกรรมการวัดและประเมินผลของครูผู้สอน พบว่า ในภาพรวมครูผู้สอนมีพฤติกรรมการวัดและประเมินผลอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้เพราะครูที่ได้รับการพัฒนาด้วยการนิเทศโดยใช้เอกสารการนิเทศ ซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะด้านความรู้ความเข้าใจ การประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ และความคิดเห็น การลงมือปฏิบัติ ซึ่งจะช่วยให้ครูผู้สอนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ สอดคล้องกับแนวคิดของ สมคิด อิสระวัฒน์ (2543, 123-129) ที่กล่าวว่า การพัฒนาบุคคลในวัยผู้ใหญ่ควรประกอบด้วยเป้าหมายที่สำคัญ 3 ประการ คือ เป้าหมายด้านความรู้ และความคิด เป้าหมายด้านความรู้สึก และเป้าหมายด้านการปฏิบัติ เนื่องจากผู้ใหญ่จะมีความจำลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ด้วยการให้คิด ลงมือปฏิบัติ นำสิ่งที่เคยเรียนรู้มาเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านการวัดและประเมินผลด้วยการนิเทศโดยใช้เอกสารการนิเทศ ซึ่งครูผู้สอนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและกระบวนการตามความรู้ที่ได้รับไปตามลำดับ ทั้งนี้ อาจเนื่องมากจากครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านการวัดและประเมินผล จึงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการวัดและประเมินผลเป็นไปในทางที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ ชารี มณีศรี (2542, 26) กล่าวว่า ความมุ่งหมายของการนิเทศนั้น เป้าหมายหลักอยู่ที่การพัฒนาครูให้มีประสบการณ์ตรงหรือได้ ลงมือปฏิบัติ และประสบการณ์โดยอ้อมอันจะส่งผลให้เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนยิ่งขึ้น หรือกล่าวได้ว่ามุ่งพัฒนาคนและพัฒนางาน

การนิเทศโดยใช้เอกสารการนิเทศ ได้กำหนดกิจกรรมให้ครูผู้สอนนำความรู้ความเข้าใจที่ได้ศึกษาจากเอกสารการนิเทศ และการปฏิบัติกิจกรรมไปปฏิบัติจริงในชั้นเรียนของตนโดยได้รับความช่วยเหลือ แนะนำ และให้คำปรึกษาจากผู้นิเทศ ทำให้ครูผู้สอนได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องส่งผลให้พฤติกรรมการวัดและประเมินผลผู้เรียนเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นมาก

3. ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อเอกสารการนิเทศอยู่ในร

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนขนาดเล็ก

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

จรินทร์ บุญญานันท์

กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของครูผู้สอนโดยมีโรงเรียนวัดซองพลูเป็นกรณีศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กและมีความสมัครใจในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการจัด

การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญขอครูผู้สอน มีการพัฒนาทั้งในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง ส่วนความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน

เป็นสำคัญ ผู้เรียนมีความคิดเห็นว่า ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการเรียนรู้

โดยจัดการเรียนรู้ตามความถนัด ความสนใจของผู้เรียนครูมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ มีการประเมินผลตามสภาพจริง ผู้เรียนจึงได้เรียนรู้อย่างมีความสุข

บทนำ

ความสำคัญและความเป็นมา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 มีหน้าที่รับผิดชอบโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา(ขยายโอกาส) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 32 โรงเรียน และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จำนวน 42 โรงเรียน ในจำนวนนี้เป็นโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 โรงเรียน ส่วนใหญ่มีปัญหาสำคัญคือ คุณภาพของนักเรียนค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโรงเรียนขาดความพร้อมทางด้านปัจจัย เช่น การจัดการเรียนรู้ของครู ครูส่วนใหญ่ขาดประสบการณ์เพราะเป็นครูอัตราจ้างไม่จบการศึกษาทางวิชาครู

จาการศึกษา วิเคราะห์ ถึงสาเหตุ สภาพความจำเป็นของโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดรวมทั้งนโยบายการสร้างความเข้มแข็งและยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กให้สูงขึ้น ในด้านการจัด

การเรียนรู้และด้านคุณภาพผู้เรียน เพื่อให้การพัฒนาดังกล่าวนำไปสู่ การพัฒนาประสิทธิภาพและรูปแบบการดำเนินงานจะมุ่งไปที่การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

จากแนวทางการพัฒนาคุณภาพดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงดำเนินการนิเทศ ติดตาม พัฒนาการจัด

การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้แนวทางการนิเทศแบบร่วมคิด พาทำ ในโรงเรียนขนาดเล็ก ที่เป็นกรณีศึกษา และมีความสมัครใจ จำนวน 1 โรงเรียน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอน

กลุ่มเป้าหมาย

โรงเรียนขนาดเล็ด 1 โรงเรียน

ครูผู้สอนโรงเรียนขนาดเล็ก คน

นักเรียน จำนวน คน

อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการวิจัย

อุปกรณ์และเครื่องมือ

1. แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง

2. แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง

3. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง

4. เครื่องบันทึกเสียง/กล้องถ่ายรูป

-3-

วิธีการดำเนินการวิจัย

ในการดำเนินการวิจัย ได้ดำเนินการดังนี้

1. ประสานกับสนามวิจัย

2. กำหนดการประชุมปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญร่วมกับ

โรงเรียน

3. ประชุมปฏิบัติการ

4. กำหนดปฏิทินนิเทศ ร่วมกับโรงเรียน

5. เก็บรวบรวมข้อมูล/วิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัย

1. พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอน พบว่า ครูได้ศึกษาและพัฒนาตนเองในเรื่องการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการ และศักยภาพของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างทางเลือกและกำหนดกิจกรรมในการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมวางแผนและลงมือปฏิบัติจริง

สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข พัฒนาเต็มตามศักยภาพมีการประเมินผลตามสภาพจริง ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการประเมิน

2. ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอน

พบว่า ครูได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการปฏิบัติงาน ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม

ได้เรียนตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน มีการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเอง สามารถสรุปองค์ความรู้ได้ ได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการคิด การแก้ปัญหา

และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างหลากหลาย มีการประเมินผลระหว่างการเรียนรู้ เป็นการประเมินตามสภาพจริง ให้ผู้เรียนได้มีโอกาส

และมีส่วนร่วมในการประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

สรุปและอภิปรายผล

สรุปผลการวิจัย

1. พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอน พบว่า ครูได้ศึกษาและพัฒนาตนเองในเรื่องการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการ และศักยภาพของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างทางเลือกและกำหนดกิจกรรมในการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมวางแผนและลงมือปฏิบัติจริง

สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข พัฒนาเต็มตามศักยภาพมีการประเมินผลตามสภาพจริง ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการประเมิน

ความคิดเห็น/...

-4-

2. ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอน

พบว่า ครูได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการปฏิบัติงาน ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม

ได้เรียนตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน มีการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเอง สามารถสรุปองค์ความรู้ได้ ได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการคิด การแก้ปัญหา

และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างหลากหลาย มีการประเมินผลระหว่างการเรียนรู้ เป็นการประเมินตามสภาพจริง ให้ผู้เรียนได้มีโอกาส

และมีส่วนร่วมในการประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

อภิปรายผล

พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น อาจเป็นเพราะ ครูได้รับการพัฒนาจากการนิเทศแบบร่วมคิด พาทำ การศึกษาจากสื่อเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลาหลาย เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน ทั้งด้านการวัดและประเมินผลซึ่งดำเนินการได้ตามแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลแนวใหม่ ที่ต้องวัดและประเมินตามสภาพจริง สอดคล้องกับผู้เรียน จากพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว ส่งผลให้คุณภาพของผู้เรียนสูงขึ้นมีความสุขในการเรียนรู้ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์

กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณ หน.แสงเดือน คงนาวัง ที่ให้คำแนะนำ คำปรึกษา และแนวคิดในการทำวิจัยครั้งนี้ และขอขอบคุณ นางสาวสุทธินี ชูเชิดรัตน์ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดซองพลู คณะครู และนักเรียนที่เป็นกรณีศึกษาในการวิจัย ขอขอบคุณเพื่อนศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ที่ให้ความช่วยเหลือ ให้กำลังใจด้วยดีโดยตลอด

เอกสารอ้างอิง

ชนาธิป พรกุล. (2543). แคทส์รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

ชาลี มณีศรี. (2521). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : รุ่งวัฒนา

นิพนธ์ ไทยพานิช. (2531). การนิเทศแบบคลินิก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2540). การนิเทศการสอน. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์ดี.

สงัด อุทรานันท์. (2530). การนิเทศการศึกษา : หลักการ ทฤษฎี และปฏิบัติ.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มิตรสยาม

Good, Carter V. (1959). Dictionar y of Education. New York : Mc Graw – Hill,

รายงานการประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1

นายสมเพชร เจริญวัย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาย นนทบุรี เขต 1

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง รายงานการประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงาน โครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 ใน 3 ด้าน คือ ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยใช้คู่มือ การดำเนินการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 ดังนี้ ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 3 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 24 คน หัวหน้ากลุ่ม จำนวน 8 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 27 คน และครูโรงเรียนนำร่องโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงฯ จำนวน 108 คน รวมทั้งสิ้น 170 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ปีการศึกษา 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คู่มือ การดำเนินการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 และแบบประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ย

ผลการศึกษาพบว่า ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 มีผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับ มาก โดยด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ กิจกรรมการดำเนินโครงการ มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ช่วงเวลาดำเนินงาน มีความเหมาะสมกับการจัดกิจกรรม ด้านผลผลิตของโครงการ มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้หรือตัดสินใจ ในการแก้ปัญหาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และในโรงเรียนได้ และปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ มีความต้องการจำเป็นในการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนมีความเป็นอิสระ คล่องตัวในการดำเนินงานทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการดำเนินงานอย่างจริงจัง วัตถุประสงค์มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมาย มีความชัดเจนสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง

บทนำ

ในการปฏิรูปการศึกษา ที่มีความมุ่งหมายที่จะเกิดการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความสมดุล ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้ ทักษะ และคุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย และเป็นพลเมืองโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นั้น การดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีการกระจายอำนาจและการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษา โดยมุ่งเน้นให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 หมวด 5 มาตรา 39 ที่กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยตรง นอกจากนี้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มาตรา 44 ก็ได้กำหนดเจตนารมณ์ให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้มีอิสระและความคล่องตัวในการบริหารสถานศึกษาได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยยึดหลักการบริหารที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management : SBM)

นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติ คณะรัฐบาลโดยการนำของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ความว่า “เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้ มุ่งมั่นที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาของประชาชนให้กว้างขวาง และทั่วถึง โดยคำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานทุกระดับ เสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษา การจัดการศึกษาจะเน้นการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชน และเอกชน เพื่อให้การศึกษาสร้างคน และสร้างความรู้สู่สังคมคุณภาพ คุณธรรม สมรรถภาพ และประสิทธิภาพ” ซึ่งนโยบายดังกล่าว เป็นการปฏิบัติตามพระราช

บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546

ผลจากการแถลงนโยบายดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการ โดยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ประกาศนโยบายการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2550 – 2551 กำหนดเป็นนโยบายและเป้าหมายในข้อที่ 4 ระบุให้มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา เพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา มีความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และได้ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550 การประกาศใช้กฎกระทรวงดังกล่าว จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและวิธีการบริหารการจัดการศึกษาอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการเป็นจำนวนมาก ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการ โดยสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ ขึ้น จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ 1) หลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา 2) หลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครู และบุคลากรทางการศึกษา (ศึกษานิเทศก์) โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแบบเข้ม และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยเสนอชื่อโรงเรียน ที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด จำนวน 12 โรงเรียน และได้รับการคัดเลือก จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นโรงเรียน นำร่องโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ฯ จำนวน 12 โรงเรียน จัดอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้นจำนวน 569 คน โดยใช้หลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 พัฒนาขึ้นจากหลักสูตรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 และสถานศึกษานำร่องโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงฯ ทั้ง 12 โรงเรียน เพื่อสร้างเสริมบุคลากรให้มีความตระหนักเห็นความสำคัญ และความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ เป็นแกนนำในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการปฏิบัติงานและสามารถวิเคราะห์คุณภาพงานได้ตรงตามภารกิจที่รับผิดชอบ การประเมินโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงฯ มีเป้าหมายเพื่อติดตาม ผลการดำเนินงาน และการรายงานผลเมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2551 ว่า โครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงฯ ดำเนินงานบรรลุผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ผู้ประเมินในฐานะผู้รับผิดชอบการดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง จึงได้ดำเนินการประเมินโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 การประเมินใน 3 ด้าน ดังนี้

1. ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context)

2. ด้านกระบวนการปฏิบัติงานระหว่างดำเนินโครงการ (Process)

3. ด้านผลผลิตของโครงการ (Outcome)

นวัตกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. คู่มือ ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1

2. แบบประเมินผลการดำเนินงานโครงการฯ เป็นแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นโดยแบ่งเป็น 2 ตอน คือ

ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบ

ตอนที่ 2 สอบถามเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยประเมิน 3 ด้าน คือ ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างการดำเนินโครงการและด้านผลผลิตของโครงการ เป็นแบบสอบถาม จำนวน 45 ข้อ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ดังนี้

5 หมายถึง ระดับมากที่สุด

4 หมายถึง ระดับมาก

3 หมายถึง ระดับปานกลาง

2 หมายถึง ระดับน้อย

1 หมายถึง ระดับน้อยที่สุด

วิธีดำเนินการวิจัย

ใช้รูปแบบการประเมินโครงการของซีโป (CPO’s Evaluation Model) พัฒนาโดย เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี (2546 : 301-319) เป็นแนวทางในการประเมินโครงการ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ

1. ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context) โดยพิจารณาถึง

1.1 ความต้องการจำเป็นของโครงการ (Needs Assessment)

1.2 ความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibilities)

1.3 วัตถุประสงค์ของโครงการ (Objectives)

1.4 ความพร้อมและทรัพยากร (Readiness and Resources)

2. กระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ (Process) โดยพิจารณาถึง

2.1 กิจกรรมการดำเนินโครงการ (Activity) มี 3 กิจกรรมหลัก คือ

2.1.1 กิจกรรมพัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 ให้เข้มแข็ง 2.1.2 กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพสถานศึกษาประเภทที่ 1

2.1.3 กิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตาม ดูแล ตรวจสอบ ประเมินผล

และนิเทศสถานศึกษาประเภทที่ 1

2.2 ช่วงเวลาดำเนินงาน (Timing)

3. ผลผลิตของโครงการ (Outcome) ได้แก่ ผลที่เกิดจากการดำเนินโครงการ มี 3 ด้าน คือ

3.1 ผลผลิตรวม (Overall)

3.2 ผลกระทบ (Impact)

3.3 คุณค่าหรือประโยชน์ที่ได้รับ (Utility)

ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต1 ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจทางการศึกษา ดังนี้

1.1 ตั้งศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาพัฒนาผู้นำเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจาย

อำนาจทางการศึกษาฯ จำนวน 1 ศูนย์เครือข่ายคือ โรงเรียนเบญจมราชา ดูแลสถานศึกษาในเครือข่ายจำนวน 11 โรง

1.2 พัฒนาบุคลากรหลักของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1

1.2.1 จัดทำคู่มือดำเนินการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครู และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 จำนวน 1,000 เล่ม เพื่อใช้ประกอบการอบรม มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมอบให้โรงเรียนในสังกัด

1.2.2 จัดอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา ในวันที่ 13 – 14 มิถุนายน 2551 ณ วิทยาลัยราชพฤกษ์ ถนนนครอินทร์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ใช้เวลา 2 วัน รวม 14 ชั่วโมง โดยใช้ คู่มือ : ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครู และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1

1.2.3 ผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนนำร่องโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงฯ ดำเนินการพัฒนาจัดการศึกษาให้เข้มแข็งเพื่อรองรับการกระจายอำนาจให้เป็นโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง

1.3 นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง

1.3.1 แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน

1.3.2 แต่งตั้งคณะกรรมการ Roving Team เป็นผู้ประสานงานดำเนินงานโครงการกับหน่วยงาน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เช่น ระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่ ระดับจังหวัด และประสานงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กิจกรรมที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพโรงเรียนนำร่องโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงฯ

และดำเนินงานช่วยเหลือดูแลโรงเรียนในศูนย์เครือข่าย

2.1 จัดตั้งกลุ่มเครือข่ายการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนนำร่องโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงฯ โดยมีโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ เป็นศูนย์เครือข่าย

2.2 การขยายผลการพัฒนาสู่บุคลากรทุกคนและให้การช่วยเหลือดูแลโรงเรียนในศูนย์เครือข่าย โรงเรียนในศูนย์เครือข่ายจัดการความรู้ KM ครูทุกคน

2.3 ศึกษาดูงานในโรงเรียนตัวอย่างผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการนำเสนอผลงาน

2.4 การจัดนิทรรศการ และนำเสนอผลงาน Best Practice การพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แยกเป็นระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา เพื่อเข้าคัดเลือกเป็นตัวแทนในระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่ ระดับจังหวัด และระดับกลุ่มจังหวัด

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตาม ดูแล ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศ

โรงเรียนนำร่องโครงการ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ นิเทศแบบ Coaching และแบบกัลยาณมิตร

3.1 ประชุมสัมมนาผู้บริหาร รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการ ครูวิชาการของโรงเรียนนำร่องโครงการ

3.2 จัดทำเกณฑ์การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการดำเนินการของโรงเรียน ผู้บริหาร ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยอิงเกณฑ์การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3.3 ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศโรงเรียน ผู้บริหาร และครูที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับโรงเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าคัดเลือกเป็นตัวแทนระดับเขตพื้นที่ โดยแบ่งคณะกรรมการเป็น 4 สาย ๆ ละ 3 โรงเรียน

3.4 สถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนนำร่องโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงฯ จัดนิทรรศการและ นำเสนอ Best Practice เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนระดับเขตพื้นที่ และส่งต่อเข้าคัดเลือกระดับจังหวัด และกลุ่มจังหวัดต่อไป

ผลการวิจัย

การประเมินโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 มีผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาในแต่ละปัจจัยพื้นฐาน พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 ด้าน โดยด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านผลผลิตของโครงการ และปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด สรุปแต่ละปัจจัยได้ดังนี้

1. การประเมินปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน โดยด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านความเป็นไปได้ของโครงการ ด้านวัตถุประสงค์ของโครงการ และด้านความพร้อมและทรัพยากรของโครงการ ตามลำดับ สรุปในแต่ละด้าน ได้ดังนี้

1.1 ความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า โครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 มีความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความต้องการจำเป็นของโครงการแต่ละรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ข้อที่ 7 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนและท้องถิ่นในการจัดการศึกษา รองลงมาคือ ข้อที่ 6 การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ส่วนข้อที่ 4 การกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ไปสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

1.2 ความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า โครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 มีความเป็นไปได้ของโครงการอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการแต่ละรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่ 1 และ 7 คือ รูปแบบการจัดโครงการนี้เหมาะสมกับสภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/ โรงเรียน และกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดมีขอบเขตของเวลาที่แน่นอน ชัดเจนในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน รองลงมาคือ ข้อที่ 4 มีการกำหนดผู้รับผิดชอบ และปฏิบัติงานโครงการนี้อย่างชัดเจน ส่วนข้อที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา /โรงเรียน มีการติดตามการดำเนินงานโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

1.3 วัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่า โครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในระดับมาก เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของโครงการแต่ละรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ข้อที่ 1 วัตถุประสงค์ของโครงการมีความเหมาะสม รองลงมาเป็น ข้อที่ 2 เป้าหมายของโครงการมีความชัดเจนนำไปสู่ การปฏิบัติได้ ส่วนข้อที่ 3 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการนี้ มีความสอดคล้องกัน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

1.4 ความพร้อม และทรัพยากรของโครงการ พบว่า โครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 มีความพร้อมและทรัพยากรในระดับมาก เมื่อพิจารณาความพร้อมและทรัพยากรของโครงการแต่ละรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน 2 ข้อ ได้แก่ ข้อที่ 1 และข้อที่ 3 บุคลากรที่ร่วมกิจกรรมในการดำเนินงานตามโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ และงบประมาณในด้านดำเนินกิจกรรมตามโครงการเหมาะสมและเพียงพอ ส่วนข้อที่ 2 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการดำเนินโครงการนี้ มีเพียงพอ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

2. การประเมินปัจจัยพื้นฐานด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ มีผลการประเมินด้านกิจกรรม และด้านช่วงเวลา อยู่ในระดับมากทั้ง 2 ด้าน สรุปในแต่ละด้าน ได้ดังนี้

2.1 กิจกรรมการดำเนินของโครงการ พบว่า โครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 มีความเหมาะสมของกิจกรรมดำเนินงานในระดับมาก เมื่อพิจารณากิจกรรมของโครงการแต่ละรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ข้อที่ 6 จัดกิจกรรมที่จัดเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน รองลงมา คือ ข้อที่ 4 กิจกรรมที่จัดเป็นระบบและครบวงจรในระหว่างการดำเนินโครงการ และข้อที่ 7 กิจกรรมของโครงการน่าสนใจ มีสาระ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ส่วนในข้อที่ 3 กิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตาม ดูแล ตรวจสอบประเมินผลและนิเทศสถานศึกษาโรงเรียนนำร่อง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

2.2 ช่วงเวลาดำเนินงานโครงการ พบว่า โครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 มีความเหมาะสมของช่วงเวลาการดำเนินในระดับมาก เมื่อพิจารณาช่วงเวลาของโครงการแต่ละรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ข้อที่ 3 ยืดหยุ่นเวลาได้เหมาะสมกับจัดกิจกรรม รองลงมา คือ ข้อที่ 2 ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินโครงการ มีความเหมาะสม ส่วนในข้อที่ 1 กำหนดช่วงเวลาดำเนินโครงการและกิจกรรมมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

3. การประเมินปัจจัยพื้นฐานด้านผลผลิตของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 ด้าน โดยด้านคุณค่าหรือประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านผลกระทบ และด้านผลผลิตรวม ตามลำดับ สรุปในแต่ละด้าน ได้ดังนี้

3.1 ผลผลิตรวม พบว่า โครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 มีผลผลิตรวมของโครงการในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลผลิตของโครงการแต่ละรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ข้อที่ 2 ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ รองลงมา คือ ข้อที่ 1 ความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับจากโครงการ ส่วนข้อที่ 4 ความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

3.2 ผลกระทบ พบว่า โครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 มีผลกระทบของโครงการในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลกระทบของโครงการแต่ละรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน 2 ข้อ ได้แก่ ข้อที่ 2 และข้อที่ 5 การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ มีผลเชิงประจักษ์เป็นรูปธรรม และหลังจากการดำเนินงานตามโครงการนี้ การบริหารงานวิชาการ มีความเป็นอิสระ คล่องตัว ส่วนข้อที่ 8 หลังจากการดำเนินงานตามโครงการนี้ การบริหารทั่วไป มีความเป็นอิสระ คล่องตัว มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

3.3 คุณค่าหรือประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ พบว่า โครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 มีคุณค่าหรือประโยชน์ที่ได้รับในระดับมาก เมื่อพิจารณาคุณค่าหรือประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการแต่ละรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ข้อที่ 2 โครงการนี้สามารถประยุกต์ไปใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องอื่น ๆ ใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/โรงเรียนได้ รองลงมาเป็นข้อที่ 1 โครงการนี้มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติ ด้านการกระจายอำนาจ ส่วนข้อที่ 3 ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถตัดสินใจได้อย่างมั่นใจในเรื่องที่ตนเองรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

อภิปรายผล

จากผลการประเมินโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยการประเมินองค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context) 2) ด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ (Process ) 3) ด้านผลผลิตของโครงการ (Outcome) มีประเด็นที่ควรนำมาอภิปรายได้ ดังนี้

ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context ) โครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 พบว่า ด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.00 รองลงมาคือ ด้านความเป็นไปได้ของโครงการ และด้านวัตถุประสงค์ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 3.88 สืบเนื่องจากสาเหตุ ดังนี้

1. ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 5 มาตรา 44 กำหนดให้โรงเรียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล และจัดการศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชน และท้องถิ่น เพื่อกำหนดหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนางานวิชาการ และระดมการจัดการทรัพยากร มาพัฒนาการศึกษา โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการวิชาการสถานศึกษา ทำให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความตระหนัก ในบทบาทหน้าที่และเห็นความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจด้านการบริหารงานวิชาการ การพัฒนาบุคลากร การบริหารทั่วไป และการบริหารงบประมาณ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด สอดคล้องกับบันฑิต จิตจำ (2545 : บทคัดย่อ) ที่ประเมินโครงการนำร่องการจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปีของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี

2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 6 กำหนดให้สถานศึกษาดำเนินการประกันคุณภาพภายใน จัดทำรายงานการประเมินตนเองเพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษาให้การรับรองว่าสถานศึกษา จัดการศึกษาได้มาตรฐานคุณภาพหรือไม่ ดังนั้น ผู้เข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน จึงตระหนัก และเห็นความต้องการจำเป็นว่า “การศึกษาเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของบุคลากรทางการศึกษา และประชาชนทุกคนในประเทศ”

3. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่ง วิทยฐานะและการให้ได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่ง เป็นปัจจัยส่งเสริมให้ข้าราชการครูและบุคลากรกระตือรือร้น ตระหนักและเห็นความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเอง เพื่อพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา รวมถึงการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียน ให้เป็นผลงานทางวิชาการ เพื่อความก้าวหน้าและธำรงมาตรฐานวิชาชีพของตน จึงให้ความสำคัญของโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครู และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 ในระดับมาก สอดคล้องกับ วิชัย ธูปทองและคณะ (2546 : บทคัดย่อ) ซึ่งศึกษาเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาครูและผู้บริหารประจำการให้ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษา และประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการบริหารการศึกษา พบว่า ผลการดำเนินงานช่วยให้ครูเข้าใจ และตระหนักถึงความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ปัจจัยพื้นฐานด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ (Process ) โครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 พบว่า ด้านช่วงเวลาดำเนินงานของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.18 รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมของโครงการ มีค่าเฉลี่ย 3.90 สืบเนื่องจากสาเหตุ ดังนี้

1. การจัดการอบรมสัมมนามีการยืดหยุ่นเวลา เนื้อหาสาระเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้ารับการอบรม ใช้เวลาว่างพบกลุ่ม วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ทำให้ไม่เสียเวลาทำงานปกติ สอดคล้องกับวิชัย ธูปทองและคณะ (2546 : บทคัดย่อ) ที่ติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาครูและผู้บริหารประจำการให้ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาของสถาบันราชภัฏอุดรธานี พบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดให้เหมาะสม ที่ใช้เวลาว่าง วันเสาร์ และวันอาทิตย์

2. กระบวนการจัดอบรมจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมวิทยากร และผู้ดำเนินการอบรมมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานด้วยกิจกรรมหลากหลายกระตุ้นให้คิด การอภิปราย การนำเสนอ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิก สร้างปฏิสัมพันธ์อันดี เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทำให้ได้องค์ความรู้หลากหลาย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อไป

3. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาขอ

ชื่อเรื่องที่ศึกษา รายงานการนิเทศผลการใช้คู่มือการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา

โดยการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ

ผู้ศึกษา นายวิมาน กะริอุณะ

หน่วยงานที่ศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1

ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2551

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง การนิเทศการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1

มีวัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ

2. เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจของครูผู้สอนในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน

3. เพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาโดยการวิจัยในชั้นเรียน ของครูผู้สอนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1

4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการใช้คู่มือการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ

กลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2551 ทั้งหมด 43 โรงเรียนๆ ละ 1 คน โรงเรียนที่เป็นต้นแบบจัดการความรู้ (KM) โรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนที่เป็นศูนย์ ICT โรงเรียนละ 2 คน รวม 57 คน นักเรียนจำนวน 1,055 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินระดับความรู้ความเข้าใจการวิจัย ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาก่อนและหลังการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ แบบวัดความรู้ความเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาก่อนและหลังการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ แบบประเมินผลการนิเทศหลังการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ แบบวิเคราะห์รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา และแบบวิเคราะห์บันทึกประสบการณ์การนิเทศของผู้รับการนิเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t – test

ได้สร้างและพัฒนาคู่มือการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วยคู่มือการนิเทศ 7 ขั้นตอน และเอกสารประกอบการปฏิบัติการใช้การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา 10 หน่วย มีประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์เท่ากับ 87.58/91.85 แสดงว่าคู่มือการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์

ผลการใช้คู่มือการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ คะแนนเฉลี่ยการประเมินระดับความรู้ความเข้าใจหลังการนิเทศ ( = 4.52, S.D.= 0.22)สูงกว่าก่อนการนิเทศ ( = 1.74, S.D.= 0.22) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนนเฉลี่ยการวัดความรู้ความเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาหลังการนิเทศ ( = 18.37, S.D.= 0.88) สูงกว่าก่อนการนิเทศ ( = 11.14, S.D.= 1.23) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการประเมินการนิเทศพบว่า ผู้รับการนิเทศมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะกิจกรรมการนิเทศโดยรวมอยู่ในคุณภาพระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D.= 0.13) ด้านบรรยากาศการนิเทศโดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ( = 4.73, S.D.= 0.18) การนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการนิเทศไปใช้พัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ( = 4.52, S.D.=0.16) และด้านประโยชน์ของการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการวิจัยในชั้นเรียนต่อครูผู้สอนและนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ( = 4.63, S.D.= 0.17)

จากการวิเคราะห์รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา ทั้งหมด 57 เรื่อง เป็นการวิจัยในชั้นเรียนระดับอนุบาลมากที่สุด จำนวน 11 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 19.30 รองลงมาคือระดับประถมศึกษาปีที่ 4 และปีที่ 5 ระดับละ 10 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 17.54 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน/กลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมากที่สุด จำนวน 28 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 49.12 รองลงมาคือ การพัฒนาพฤติกรรมและกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน7 เรื่องเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 12.28 การพัฒนาทางกายและกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) จำนวน 4 เรื่องเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 7.02 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 3 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 5.26 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมและกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีมีจำนวนงานวิจัยน้อยที่สุด 2 เรื่องเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 3.51

หลังการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ( = 4.58, S.D.= 0.19) และมีความคิดเห็นควรใช้รูปแบบการนิเทศนี้กับครูทั่วไป เป็นรูปแบบที่ควรให้ครูได้รับการนิเทศทุกคนและเป็นวิธีที่ช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การศึกษาเรื่อง การนิเทศการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยการนิเทศ แบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยการนิเทศ แบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ

2. เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจของครูผู้สอนในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน

3. เพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาโดยการวิจัยในชั้นเรียน ของครูผู้สอนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1

4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการใช้คู่มือการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ

กลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2551 ทั้งหมด 43 โรงเรียนๆ ละ 1 คน โรงเรียนที่เป็นต้นแบบจัดการความรู้ (KM) โรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนที่เป็นศูนย์ ICT โรงเรียนละ 2 คน รวม 57 คน นักเรียนจำนวน 1,055 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินระดับความรู้ความเข้าใจการวิจัย ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาก่อนและหลังการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ แบบวัดความรู้ความเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาก่อนและหลังการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ แบบประเมินผลการนิเทศหลังการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ แบบวิเคราะห์รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา และแบบวิเคราะห์บันทึกประสบการณ์การนิเทศของผู้รับการนิเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t – test

วิธีดำเนินงาน

การนิเทศการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ มีวิธีดำเนินงาน 5 ขั้นตอนได้แก่ การสำรวจข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ การวางแผนพัฒนา การสร้างและหาคุณภาพคู่มือและเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล การปฏิบัติการนิเทศการประเมินและการรายงานผล ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดตามลำดับ ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ

1. วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้รับการนิเทศ ระดับความรู้ความเข้าใจตามความคิดเห็น ความต้องการเรียนรู้การใช้การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา รูปแบบหรือวิธีการนิเทศที่ต้องการและข้อเสนอแนะอื่น ๆ

2. วิธีการ

2.1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้รับการนิเทศ เกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาและเนื้อหาที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยผู้ศึกษาดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ดังนี้

2.1.1 สร้างแบบประเมินความรู้ความเข้าใจก่อนการนิเทศการพัฒนา นวัตกรรมการศึกษาด้วยการวิจัยในชั้นเรียน โดยการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ

ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานผู้รับการนิเทศ เป็นแบบสำรวจจำนวน 5 ข้อ เกี่ยวกับ เพศ อายุ คุณวุฒิทางการศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอน การเข้ารับการอบรมและประสบการณ์การทำวิจัยในชั้นเรียน

ตอนที่ 2 ระดับความรู้ความเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เนื้อหาประกอบด้วย ความหมายและความสำคัญของการวิจัยในชันเรียน การวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย นวัตกรรมการศึกษา การออกแบบการทดลองใช้นวัตกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผนการวิจัยในชั้นเรียน การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน การนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้

ตอนที่ 3 ความต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เป็นการสอบถาม แบบปลายเปิดให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้เขียนตอบสั้น ๆ

ตอนที่ 4 รูปแบบหรือวิธีการนิเทศที่จะช่วยให้ผู้รับการนิเทศ พัฒนานวัตกรรมการศึกษาได้ เป็นการสอบถามแบบปลายเปิด ให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้เขียนตอบสั้น ๆ

ตอนที่ 5 ข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี) เป็นการสอบถามแบบปลายเปิด ให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้เขียนแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ

ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพ ได้แก่ ความเป็นปรนัย เช่น การใช้ภาษาชัดเจนชี้เฉพาะ และเข้าใจง่าย ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) เมื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญแล้วสรุปผล การตรวจสอบด้านความเป็นปรนัย ผู้เชี่ยวชาญให้แก้ไขสำนวนภาษาบางส่วน ทำให้มีการใช้ภาษาได้ชัดเจนชี้เฉพาะและเข้าใจง่าย ด้านความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ในจำนวน 10 รายการสรุปได้ค่าเฉลี่ย ( ) 4.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.34 โดยสรุปมีค่าเฉลี่ย ( ) เห็นด้วยระดับมากที่สุด (4.50 ขึ้นไป) ทุกข้อ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ไม่ถึง 1 ทุกข้อ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2531 : 124) และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 เป็นไปตามค่าความเชื่อมั่นที่ยอมรับได้ที่มีค่าตั้งแต่ 0.75 ขึ้นไป (กรมวิชาการ, 2545 : 69)

2.2 วิเคราะห์สรุปผลการประเมินกลุ่มตัวอย่าง ตอนที่ 3 ตอนที่ 4 และตอนที่ 5 เพื่อเตรียมการดำเนินงานในขั้นตอนต่อไป

3. การวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อนำแบบประเมินที่สร้างไปเก็บข้อมูลแล้ว ได้กำหนดวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

3.1 การหาค่าร้อยละ ใช้สำหรับแบบสอบถามที่เป็นแบบสำรวจรายการ ได้แก่ เพศ อายุ ประสบการณ์ ตำแหน่ง คุณวุฒิการศึกษา กลุ่มสาระที่สอน การอบรม และการทำวิจัยในชั้นเรียน

3.2 การหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สำหรับตอนที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การแปลผลนำไปเทียบกับเกณฑ์ (บุญชม ศรีสะอาด. 2535 : 100)

3.3 ในกรณีที่เป็นการสอบถามปลายเปิดให้เขียนตอบ นำเสนอโดยการพรรณนาความ

ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนพัฒนา

1. วัตถุประสงค์

1.1 เพื่อประมวลข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา การวิจัยในชั้นเรียน

การพัฒนานวัตกรรม และการพัฒนาคู่มือการนิเทศ

1.2 เพื่อกำหนดกระบวนทัศน์ พฤติกรรมที่คาดหวัง แบบการพัฒนา สื่อการนิเทศ และแบบแผนการพัฒนาการนิเทศ

2. วิธีการ

2.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 การนิเทศการศึกษา การปฏิรูปการเรียนรู้ การวิจัยในชั้นเรียน การพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาคู่มือและศึกษารายงานการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 เพื่อกำหนดกรอบความคิด แนวทางการพัฒนางาน การกำหนดกระบวนทัศน์ในการพัฒนา โดยนำข้อมูลพื้นฐานและความต้องการที่ได้การวิเคราะห์จากการสอบถามตามขั้นตอนที่ 1 ตลอดจนการสังเคราะห์ ความรู้จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมากำหนดกระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนา ซึ่งให้ความสำคัญในความสัมพันธ์ 4 ประการ ได้แก่ กระบวนการบริหาร กระบวน การเรียนรู้ กระบวนการนิเทศการศึกษา และความเป็นกลุ่มวิชาชีพ ซึ่งในความเป็นกลุ่มวิชาชีพนั้นครูจะต้องพัฒนาตนเอง ให้มีความรู้ ความสามารถ ในการจัดหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้การวิจัยในชั้นเรียนพัฒนาการเรียนรู้ และพัฒนานวัตกรรมการศึกษา ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในที่สุด

2.2 การกำหนดพฤติกรรมที่คาดหวัง แบบการพัฒนา และสื่อการนิเทศ

ได้กำหนดพฤติกรรมที่คาดหวัง แบบการพัฒนา และสื่อการนิเทศ

2.3 แบบแผนการพัฒนาการนิเทศ เป็นแบบกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนและหลัง การนิเทศ (One Group Pretest-Posttest Design) (บุญชม ศรีสะอาด, 2535 : 128)

ขั้นตอนที่ 3 การสร้างคู่มือและเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล

1. วัตถุประสงค์

1.1 เพื่อดำเนินการสร้างคู่มือการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดย

การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ

1.2 เพื่อดำเนินการสร้างเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรม โดยการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ

2. วิธีการ

2.1 การสร้างคู่มือการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรม โดยการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ ได้นำกระบวนทัศน์ พฤติกรรมที่ คาดหวัง และแบบแผนการพัฒนาการนิเทศ ตามขั้นตอนที่ 2 ตลอดจนผลการวิเคราะห์ ข้อมูลที่จากการสำรวจตามขั้นตอนที่ 1 มาเป็นกรอบการสร้างคู่มือการนิเทศ ตามขั้นตอน ดังนี้

2.1.1 กำหนดโครงสร้างของคู่มือ ซึ่งมีส่วนประกอบและลำดับขั้น ดังนี้

2.1.2 กำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา และกิจกรรม ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วัตถุประสงค์ เนื้อหา และแต่ละกิจกรรมการนิเทศ (จำนวน 10 หน่วย) กำหนดโครงสร้างและสร้างใบความรู้ ใบงานและกิจกรรม ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ซึ่งแต่ละกิจกรรมการนิเทศ (จำนวน 10 หน่วย) เขียนคู่มือการนิเทศ ซึ่งเป็นการอธิบายการดำเนินงานนิเทศ และการจัดแต่ละหน่วยที่สร้างขึ้น ตรวจทานผลการเขียนคู่มือการนิเทศและหน่วยแต่ละหน่วย เพื่อ ตรวจสอบความถูกต้องและปรับปรุงแก้ไข

2.1.3 เที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) พิจารณาว่า คู่มือแต่ละหน่วยการนิเทศมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับใดใน 5 ระดับ เมื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว สรุปผลการตรวจสอบคุณภาพ ด้านความเป็นปรนัย ด้านความเที่ยงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ในจำนวน 7 รายการที่ให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน สรุปได้ค่าเฉลี่ย ( ) 4.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.40 โดยสรุปมี 5 ข้อที่มีค่าเฉลี่ย ( ) เห็นด้วยระดับมากที่สุด (4.50 ขึ้นไป) ที่เหลือ 2 ข้ออยู่ในระดับมาก (4.40) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ไม่ถึง 1 ทุกข้อซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2531 : 124) และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 เป็นไปตามค่าความเชื่อมั่นที่ยอมรับได้ที่มีค่าตั้งแต่ 0.75 ขึ้นไป (กรมวิชาการ. 2545 : 69)

2.2 การสร้างเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล มีลักษณะ โครงสร้าง และวิธีการสร้างเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้

แบบที่ 1 แบบประเมินระดับความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการนิเทศการใช้คู่มือการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ เป็นแบบประเมินระดับความรู้ความเข้าใจของผู้รับการนิเทศก่อนและหลังการนิเทศการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา (สร้างในขั้นตอนที่ 1) มี 2 ตอน ได้แก่ตอนที่ 1 ระดับความรู้ความเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียนเป็นแบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับ และตอนที่ 2 เป็นข้อเสนอแนะแบบปลายเปิด

แบบที่ 2 แบบประเมินผลการนิเทศหลังการนิเทศการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ เป็นแบบประเมินระดับคุณภาพของคู่มือ การนิเทศหลังการนิเทศ ซึ่งได้ปรับปรุงมาจากแบบประเมินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของ กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2545 : 50 - 53) มี 6 ตอน

แบบที่ 3 แบบวัดความรู้ความเข้าใจการใช้การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา ก่อนและหลังการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ ได้สร้างแบบวัดความรู้ความเข้าใจเป็นชนิดเลือกตอบจำนวน 30 ข้อแต่ละข้อมี 4 ตัวเลือก นำไปทดสอบกับครูผู้สอนซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เพื่อหาค่าความยาก (difficulty : P) และอำนาจจำแนก (discrimination : r) แล้วคัดเลือกที่ใช้ได้จำนวน 20 ข้อๆ ละ 1 คะแนน รวม 20 คะแนนโดยมีค่าความยาก (P) อยู่ระหว่าง 0.53 – 0.80 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.27 – 0.47 และแบบวัดความรู้ความเข้าใจการใช้การวิจัยในชั้นเรียนมีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.77 เป็นไปตามค่าความเชื่อมั่นที่ยอมรับได้

แบบที่ 4 แบบวิเคราะห์รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เป็นแบบวิเคราะห์รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาของผู้รับการนิเทศ จากการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ ได้นำมาวิเคราะห์เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ ผลที่นักเรียนได้รับจำแนกรายด้าน/กลุ่มสาระ และประโยชน์ที่เกิดต่อการพัฒนาการเรียนรู้ และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

แบบที่ 5 แบบบันทึกประสบการณ์การได้รับการนิเทศของผู้รับการนิเทศ เป็นแบบบันทึกประสบการณ์การของผู้รับการนิเทศ ให้ผู้รับการนิเทศได้เขียนเล่าประสบการณ์ตลอดการรับการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพโดยอิสระ

ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติการนิเทศ

1. วัตถุประสงค์

เพื่อใช้คู่มือการการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาด้วยกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน

โดยการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ

2. วิธีการ

กำหนดขั้นตอนการนิเทศ ประเมินผู้รับการนิเทศก่อนการนิเทศ โดยใช้แบบสอบถามระดับความรู้ความเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียน จำนวน 10 ข้อ และ แบบวัดความรู้ความเข้าใจการวิจัย ในชั้นเรียน จำนวน 20 ข้อ ในการนิเทศได้กำหนดให้มี 7 ขั้นตอน ซึ่งได้แสดงความสัมพันธ์กับ สื่อนวัตกรรมการนิเทศ กำหนดจำนวนวัน และเวลา การกำหนดให้มีการนิเทศ จำนวน 7 ครั้ง จำนวนวันและเวลาที่ใช้ในการนิเทศแต่ละครั้ง ได้คำนึงถึงเนื้อหาและจุดประสงค์การนิเทศแต่ละขั้นตอน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการนิเทศ แจ้งเวลาและสถานที่ในการนิเทศให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและเตรียมรับการนิเทศดำเนินการนิเทศตามปฏิทิน

3. การวิเคราะห์ข้อมูล

3.1 หาค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ใช้สำหรับแบบสอบถามที่เป็น มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ

3.2 หาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test Dependent Samples ใช้สำหรับแบบวัดความรู้ความเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา

3.3 ในกรณีที่เป็นการสอบถามปลายเปิดให้เขียนตอบ นำเสนอโดยพรรณนาความโดยสรุป

ขั้นตอนที่ 5 การประเมินและรายงานผล

1. วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผลการนิเทศการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ

2. วิธีการ

นำผลการวิเคราะห์จากการใช้แบบประเมินในขั้นตอนที่ 4 มาประเมินและรายงานผลการนิเทศการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษานำรายงานการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา และบันทึกประสบการณ์การได้รับการนิเทศ ของผู้รับการนิเทศมาประเมินตามแบบวิเคราะห์รายงานที่สร้างขึ้น และรายงานผล

3. การวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการ ดังนี้

3.1 การประเมินผลจากผลการวิเคราะห์แบบประเมินในขั้นตอนที่ 4

3.2 การประเมินผลจากรายงานการวิจัยในชั้นเรียนและบันทึกประสบการณ์การได้รับการนิเทศผู้รับการนิเทศ

3.3 การหาประสิทธิภาพคู่มือการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ

การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ, , S.D. ค่าความเชื่อมั่นและพรรณนาความ

สรุปผล

คู่มือการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วยคู่มือการนิเทศ 7 ขั้นตอน และเอกสารประกอบการปฏิบัติการใช้การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา 10 หน่วย มีประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์เท่ากับ 87.58/91.85 แสดงว่าคู่มือการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์

ผลการใช้คู่มือการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยการนิเทศแบบร่วม พัฒนาวิชาชีพ คะแนนเฉลี่ยการประเมินระดับความรู้ความเข้าใจหลังการนิเทศ ( = 4.52, S.D.= 0.22) สูงกว่าก่อนการนิเทศ ( = 1.74, S.D.= 0.22) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนนเฉลี่ยการวัดความรู้ความเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาหลังการนิเทศ ( = 18.37, S.D.= 0.88) สูงกว่าก่อนการนิเทศ ( = 11.14, S.D.= 1.23) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการประเมิน การนิเทศพบว่า ผู้รับการนิเทศมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะกิจกรรมการนิเทศโดยรวมอยู่ในคุณภาพระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D.= 0.13) ด้านบรรยากาศการนิเทศโดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ( = 4.73, S.D.= 0.18) การนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการนิเทศไปใช้พัฒนานวัตกรรมการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ( = 4.52, S.D.=0.16) และด้านประโยชน์ของการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการวิจัยในชั้นเรียนต่อครูผู้สอนและนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ( = 4.63, S.D.= 0.17)

จากการวิเคราะห์รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา ทั้งหมด 57 เรื่อง เป็นการวิจัยในชั้นเรียนระดับอนุบาลมากที่สุด จำนวน 11 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 19.30 รองลงมาคือระดับประถมศึกษาปีที่ 4 และปีที่ 5 ระดับละ 10 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 17.54 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน/กลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมากที่สุด จำนวน 28 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 49.12 รองลงมาคือ การพัฒนาพฤติกรรมและกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน7 เรื่องเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 12.28 การพัฒนาทางกายและกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) จำนวน 4 เรื่องเท่ากันคิดเป็นร้อยละ 7.02 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 3 เรื่องคิดเป็นร้อยละ 5.26 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมและกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีมีจำนวนงานวิจัยน้อยที่สุด 2 เรื่องเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 3.51

หลังการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด ( = 4.58, S.D.= 0.19) และมีความคิดเห็นควรใช้รูปแบบการนิเทศนี้กับครูทั่วไป เป็นรูปแบบที่ควรให้ครูได้รับการนิเทศทุกคนและเป็นวิธีที่ช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

บรรณานุกรม

คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. กระทรวงศึกษาธิการ. การนิเทศทางไกล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2532.

------------. การนิเทศเพื่อส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์การศาสนา, 2543.

------------. การพัฒนาการนิเทศการศึกษา การนิเทศ 100%. กรุงเทพ ฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2541.

------------. คู่มือดำเนินการนิเทศ. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการ

การประถมศึกษาแห่งชาติ, 2540.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.

กรุงเทพฯ : เซเว่นพริ้นติ้ง, 2542.

คมศร วงษ์รักษา. นวัตกรรมทางการศึกษา (Education Innovation). สืบค้นจาก

http://learners.in.th/blog/parichat15/88973 [18 มกราคม 2552]

คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และมาเรียม นิลพันธุ์. การศึกษาและการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. นครปฐม, 2542.

คำรณ ล้อมในเมือง และรุ่งฟ้า ล้อมในเมือง. คู่มือปฏิบัติการสำหรับผู้บริหาร เล่ม 1 ความรู้

ความสามารถทั่วไป. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์. 2547.

จริยา บุญยะโตพันธุ์. การนิเทศเพื่อพัฒนาครูผู้สอนโดยสภาวะการทำงานปกติ. สืบค้นจาก http://www.thaiedresearch.org/result/result.php?id=7142 [12 กุมภาพันธ์ 2552]

ธีรพงศ์ ทวีวรรณ. การใช้ผลงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการนิเทศในโรงเรียน. สำนักงาน

การประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี, 2541.

นฤมล บุลนิม. “การพัฒนาครูในภาวะการทำงานปกติ” วิทยาจารย์. ปีที่ 98 ฉบับที่ 8 เดือน

พฤศจิกายน 2542 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2542.

นุดี รุ่งสว่าง. การพัฒนาคู่มือการสร้างหลักสูตรระดับโรงเรียน สำหรับครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2543.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น, 2535.

พรรณี ดุจดา. การพัฒนาคู่มือการเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาปฐมวัย สำหรับสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ประสานงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2540.

พวงรัตน์ สมวงศ์. ส่วนต่างๆของหนังสือ. สืบค้นจาก http://www.iepchinorot.com/blog /PrintBlog.asp?ArticleID=88765431291 [18 มกราคม 2552]

ยุพเรศ วังยายฉิม. การพัฒนาคู่มือศึกษาธรรมชาติประจำเส้นทางเดินป่าในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, 2540.

วิชาการ, กรม. กระทรวงศึกษาธิการ. การจัดคู่มือเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, 2543.

-------------. การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมการศาสนา, 2542.

วิชัย วงศ์ใหญ่. พลังการเรียนรู้ในกระบวนทัศน์ใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : เอส อาร์พริ้นติ้ง,

2542.

ศึกษานิเทศก์, หน่วย. สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

การนิเทศ 100 %. เอกสาร ศน. ลำดับที่ 42/2542 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2542.

-------------. คู่มือดำเนินการเอกสารชุดพัฒนาระบบการนิเทศการศึกษา โครงการพัฒนาระบบการนิเทศการศึกษา. เอกสาร ศน. ลำดับที่ 77/2539 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, 2539.

สุวิช พึ่งตน. นวัตกรรมการศึกษา. สืบค้นจาก http://www.patiroop.org [18 มกราคม 2552]

สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. เรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:

บริษัทที.พี. พริ้นต์ จำกัด , 2543.

สุวิมล ว่องวาณิช. การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรไทย, 2544.

Tikkatar. นวัตกรรมทางการศึกษา. สืบค้นจาก http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=1

[18 มกราคม 2552]

รายชื่อและผลงานการคัดสรรผลงานวิธีการปฏิบัติที่ดี ระดับกลุ่มจังหวัด (เขตตรวจราชการที่ 1 /นนทบุรี/ปทุมธานี /

พระนครศรีอยุธา/สระบุรี) จำนวน 23 คน ดังนี้

ที่ ชื่อ – สกุล ชื่อผลงานวิธีปฏิบัติที่ดี

1 นางโสพิศ กฤษณะไกรวุฒิ การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโดยใช้ตัวชี้วัดเป็นแรงขับ

2 น.ส.โสภา ชนะภัย การประกันคุณภาพของ สพป.นนทบุรี เขต 1

3 นางเบญจา ชวนวัน การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โดยใช้คู่มือการนิเทศ : แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คนดีศรีเมืองนนท์

4 นายสมเพชร เจริญวัย การนิเทศแบบเน้นความต้องการผ่านเว็บไซด์

5 นางสมชื่อ กอรปคุณูปการ การนิเทศการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

6 นางภัณฑิรา สุปการ การนิเทศแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก

7 นางสมาพร สุทธิพิพัฒน์ การพัฒนาชุดพัฒนาตนเองตามโครงการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลสำหรับใช้ประกอบการนิเทศทางไกล

8 นางเพ็ญจา เสมอเหมือน การพัฒนาสมรรถภาพการสอนซ่อมเสริมฯ ในรูปแบบ “นำพาสู่การแก้ปัญหาการอ่านเขียน”

9 นางวลัยพรรณ บุญมี การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโดยการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้

ที่ ชื่อ – สกุล ชื่อผลงานวิธีปฏิบัติที่ดี ด้าน

10 นางสุภาวดี สุจริต การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2

11 น.ส.กาญจนา วิริยะเจริญธรรม การศึกษาผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาพิเศษ โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการ 3 ประสาน

12 นางเกศรินทร จิตรสิงห์ สื่อนิเทศทางไกลเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 3 เรื่อง

13 นายยืนยง ราชวงษ์ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างครบวงจรตามหลักสูตรแกนกลางฯ ตามรูปแบบการนิเทศการศึกษา 1 โรงเรียน 1 ครู 1 ศน. ของสังกัด สพป.อย.1

14 นายสำเร็จ ศรีอำไพ การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยใช้ ASIA Method สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1

15 นางกัลยา สุวรรณรอด การศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศ Pstres ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดตามมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียนวัดประดู่ทรงธรรม

16 นายประชุม พันธ์เรือง ศึกษาสภาพและบริบทโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์

17 นางสมสมัย เนคมานุรักษ์ นิเทศการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นของเครือข่ายแกนนำโรงเรียนขนาดเล็ก

18 นางสุลีพร บันลือเขตร์ การพัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนส่งเสริมนิสัยรักการอ่านด้วยกระบวนการนิเทศ 5 ขั้น

ที่ ชื่อ – สกุล ชื่อผลงานวิธีปฏิบัติที่ดี ด้าน

19 นางลัดดา อ่อนลมูล การพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยแบบมีส่วนร่วม

20 น.ส.เพ็ญพรรณ กรึงไกร ผลการประเมินค่ายสร้างสรรค์ สติปัญญาเด็กเก่ง (Gifted Camp) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ปีการศึกษา 2552-2553

21 นายกนก คล้ายมุข รูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นไทย “มหกรรมดนตรี นาฎศิลป์ไทยรวมใจ ถวายพ่อหลวง”

22 นายสมบัติ เนตรสว่าง กัลยาณมิตรนิเทศพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเข้มแข็ง

23 น.ส.อำนวยพร คำพันธ์ การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้แบบฝึกสมองประลองปัญญาพัฒนาการคิดสำหรับนักเรียนชั้น ป.6

ผลงานวิธีการปฏิบัติที่ดี ของศน. สพป.นนทบุรี 1

ลำดับที่ ชื่อ – สกุล ชื่อผลงานวิธีปฏิบัติที่ดี ด้าน

1 น.ส.แสงเดือน คงนาวัง การนิเทศติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วมของไตรภาคี การนิเทศ

2 นางโสพิศ กฤษณะไกรวุฒิ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ตัวชี้วัดเป็นแรงขับการพัฒนาหลักสูตร

3 นางสาวนุตอนงค์ ทัดบัวขำ การยกระดับผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาอังกฤษชั้น ม3 โดยใช้เทคนิคช่วยคิดช่วยทำ การจัดการเรียนการสอนภาษาอังอังกฤษ

4 นายดนตรี จิตตะวิกุล การพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยวิธีที่หลากหลาย การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

5 นางจริยา สวนคล้าย การนิเทศแบบ Coaching Planการพัฒนาครู

6

นายสมเพชร เจริญวัย การนิเทศการเรียนรู้ตามความต้องการผ่านเว็บไซต์การพัฒนาครู

7 นางสาวโสภา ชนะภัย การนิเทศโดยเครือข่ายอย่างมีส่วนร่วมสู่การประกันคุณภาพการศึกษาการพัฒนาการบริหารการจัดการศึกษา

8 นางเบญจา ชวนวัน การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โดยใช้คู่มือการนิเทศ: แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คนดีศรีเมืองนนท์ การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน

งานวิจัยและการพัฒนารูปแบบการนิเทศที่เอื้อต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา ของกลุ่มเครือข่ายการนิเทศกลุ่มจังหวัดที่ 1 (นนทบุรี /ปทุมธานี /พระนครศรีอยุธยา/สระบุรี) ปี 2553

1 ชื่อ - สกุล ชื่อผลงานวิจัย

1 น.ส.แสงเดือน คงนาวัง การศึกษาผลการนำรูปแบบการนิเทศ AKACMAE ใช้พัฒนาการสอนที่เน้นการคิดของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ชั้น ป.6

2 นางโสพิศ กฤษณะไกรวุฒิ การพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยของครูชั้น อ.2 ในโรงเรียนสังกัด สพท.นนทบุรี เขต 1 โดยใช้เทคนิคการนิเทศแบบร่วมคิด ร่วมทำ

3 น.ส.จรินทร์ บุญญานันท์ การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบร่วมคิดพาทำเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของครูผู้สอน

4 นายชยยุทธ กฤชฤทธิ์เต็ม การพัฒนายุทธวิธีการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลของครู กรณีศึกษา โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า สพท.นนทบุรี เขต 1

5 น.ส.ประไพพิศ ไพรยวัล การศึกษารูปแบบการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีผลการปฏิบัติที่ดี

6 น.ส.สุปราณี สงวนงาม การพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาโรงเรียนวัดใหม่ผดุงเขต

7 นางจริยา สวนคล้าย การศึกษาการใช้สื่อการสอนของครูที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้น ม.2 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

8 นายสมเพชร เจริญวัย การพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการวัดและประเมินผลระหว่าง สพท.กับโรงเรียน โดยใช้โปรแกรม EPCC และโปรแกรม

NT-LAS-ESAR V.8

9 นางเบญจา ชวนวัน การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูผู้สอนสาระประวัติศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยใช้เทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะพาทำ กรณีศึกษาโรงเรียนวัดตำหนักใต้

10 น.ส.โสภา ชนะภัย การศึกษารูปแบบการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสที่มีผลการปฏิบัติที่ดี

ที่ ชื่อ - สกุล ชื่อผลงานวิจัย

11 นางมุยณา ช่างภิญโญ การรับรู้การนำหลักสูตรสถานศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน สังกัด สพป.นนทบุรี เขต 1

12 น.ส.นุตอนงค์ ทัดบัวขำ การศึกษารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาทักษะการสอนอ่านเพื่อจับใจความของครูภาษาอังกฤษ

13 นางชุมศรี เนียมประดิษฐ์ การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา

ชื่อ - สกุล ชื่อผลงานวิจัย

14 นางฉวีวรรณ สุขสุนัย การสร้างคู่มือนิเทศการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด สพป.ปทุมธานี เขต 2

15 นางเกศรินทร จิตรสิงห์ การพัฒนาความสามารถในการอ่าน ของนักเรียนชั้น ป.3 สังกัด

สพป. ปทุมธานี เขต 2 โดยใช้รูปแบบ 5 ส

16 น.ส.กาญจนา วิริยะเจริญธรรม การศึกษาผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาพิเศษ โรงเรียนแกนนำ

จัดการเรียนร่วม สังกัด สพป.ปทุมธานี เขต 2 โดยใช้กระบวนการ 3 ประสาน

17 นางจารุรัตน์ เข็มลาย การพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษของครูและนักเรียนที่ใช้ชุดสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (Teacher’Kit) สำหรับครูชั้น ป.1,2 3 ในการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนวัดปทุมนายก สพป.ปทุมธานี เขต 2

18 นายพะเยาว์ ศรีสุวรรณ การศึกษาสภาพการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กรณีศึกษา โรงเรียนวัดแสงสรรค์ สังกัด สพป.ปทุมธานี เขต 2

19 นายปรีชา พึ่งจิตต์ตน การศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยการนิเทศแบบชี้แนะในโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สังกัด

สพป.ปทุมธานี เขต 2

ชื่อ - สกุล ชื่อผลงานวิจัย

20 นางลัดดา ศรีทอง การศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบร่วมมือ ในโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สังกัด

สพป.ปทุมธานี เขต 1

21 นายวิเชียร พกผิน การนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กระบวนการวิจัย

22 นายชัชวาล ปลี้มสำราญ การศึกษาผลการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดนตรีเพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่ปฏิบัติเครื่องดนตรี และอ่านโน้ตสากลพื้นฐานไม่ได้ ในระดับชั้น ป.3 – 6 โรงเรียนในเขตอำเภอคลองหลวง สังกัด สพป.ปทุมธานี เขต 1

23 นายอมรเทพ คูหาเรืองรอง การนิเทศแบบร่วมคิดพาทำกำกับเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนในฝัน สังกัด สพป.ปทุมธานี เขต 1

24 นายทรงศักดิ์ เมตตาทั่ว การนิเทศแบบชี้แนะเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการสอนและสอบวิชาพิเศษลูกเสือสำรองของครูผู้สอนลูกเสือสำรอง ชั้น ป.3 ในโรงเรียนอนุบาลปทุมธานี สพป.ปทุมธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2553

25 นางสุวรรณา ละหุ่งเพ็ชร การนิเทศแบบร่วมคิดพาทำ ที่มีต่อความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการของครูชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในโรงเรียนอนุบาลปทุมธานี สังกัด สพป.ปทุมธานี เขต 1

26 นางลำเพย สนธิ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยการนิเทศแบบชี้แนะ

27 นางสมชื่อ กอปรคุณุปการ การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีนาฎศิลป์พื้นบ้านตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ของครูในโรงเรียนที่รับผิดชอบ โดยใช้เทคนิคการ Coaching

28 นายเกษม กลัดแพ

การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเครือข่าย

บริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3

29 นางจารุนาฎ รัตนปรีชาชัย การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนแกนนำ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์

ชื่อ - สกุล ชื่อผลงานวิจัย

30 นายเฉลิมรัฐ พัฒน์พินิจ การพัฒนาการจัดกิจกรรมลูกเสือของครูผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ระดับประถมศึกษาโดยใช้ชุดนิเทศการจัดกิจกรรมลูกเสือ เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

31 นางนาถลดา ทองหยวก การศึกษาการใช้สื่อการสอนของครูที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมในโรงเรียนไมตรีอุทิศ

32 นายผดุงศักดิ์ วิศิษฎ์วุฒิกุล การวิจัยและพัฒนาความสามารถในการนำผลการทดสอบหรือการประเมินระดับชาติ และระดับเขตพื้นที่ไปใช้ยกระดับคุณภาพของโรงเรียนประถมศึกษา

33 นายพิพัฒน์ จันทร์อ่วม การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัด สพป.นนทบุรี เขต 2 โดยใช้เทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ

34 นางเพ็ญจา เสมอเหมือน การศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูที่ประสบความสำเร็จในการสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา

35 นางภัณฑิรา สุปการ ทดลองรูปแบบนิเทศเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา

36 นายภิญโญ สุปการ ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดตำหนักเหนือ

37 นางวลัยพรรณ บุญมี ศึกษาการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนต้นแบบที่ใช้หลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้รูปแบบการสะท้อนคิด

38 นางพวงเพ็ญ เลิศฤทธิ์ภูวดล การศึกษาผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ตามแนวทางที่สอดคล้องกับพัฒนาการของสมองของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนชุมชนไมตรีอุทิศ

39 ว่าที่ ร.ต. วิชัย อิงปัญจลาภ การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กีฬาและกีฬาพื้นบ้านของครูผู้สอนในโรงเรียนโดยใช้เทคนิคการสอนแนะ (Coaching)

40 นางสมาพร สุทธิพิพัฒน์ การเปรียบเทียบพฤติกรรมด้านการวัดและประเมินผลของครูระหว่างครูที่ศึกษาชุดพัฒนาตนเอง ตามโครงการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลกับครูที่ไม่ได้เข้ารับการศึกษา

ที่ ชื่อ - สกุล ชื่อผลงานวิจัย

41 นางสุภาวดี สุจริต การศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูวิทยากรแกนนำภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษา

42 นางสุรัสวดี จันทรกุล การศึกษาการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการ(Process Skills) ของครูปฐมวัย : การศึกษารายกรณี

43 นางอัมพิกา ภูเดช ผลของการวิจัยในชั้นเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนในโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์

44 ดร.สมศักดิ์ ฮดโท การนิเทศการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดด้วยกิจกรรมโครงงานของครู

45 นางอรวรรณ เทียนคำศรี การพัฒนานวัตกรรมการศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2

46 น.ส.เอื้ออารี ท้วมเสม การพัฒนาครูสอนภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมที่เน้นภาระงานเพื่อเสริมทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารโดยการประเมินตามสภาพจริง

47 นายมนูญ ปิยะคิม การพัฒนาการดำเนินงานของโรงเรียนศูนย์ประวัติศาสตร์โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2

48 น.ส.สุมาลี วิณวันก์ การพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้น ป.6 สพป.สระบุรี เขต 2

49 นายไพศาล ม่วงทรัพย์ การประเมินผู้บริหารโรงเรียนจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนวัดท่ามะปราง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

50 นายอภิสรรค์ ภาชนะวรรณ การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของโรงเรียน สังกัด สพป.สระบุรี เขต 2

51 นายถาวร บุบผาวงษ์ การนิเทศแบบมีส่วนร่วมสำหรับครูผู้สอนภาษาไทย ชั้น ป.2 โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะการอ่าน

52 นายสุชิน วรรณฉวี การศึกษาสภาพการบริหารงานแผนงานโรงเรียนในอำเภอวิหารแดง จ.สระบุรี

53 น.ส.ลัดดา แตงหอม ผลการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของครูวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยวิธีการ Coaching ในโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ที่ ชื่อ - สกุล ชื่อผลงานวิจัย

54 นางปฐมาภรณ์ แก้วทอน ศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมของโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดท่ามะปราง สังกัด สพป.สระบุรี เขต 2

55 น.ส.จุฑาภรณ์ บุญสุข การศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนในสหวิทยศึกษาวังทีทา สังกัด สพป.สระบุรี เขต 2

56 นายแสน สมนึก การพัฒนาแนวทางในการพัฒนาสมรรถภาพการสอนของครูพระสอนศีลธรรมโรงเรียน สังกัด สพป.สระบุรี เขต 2

57 นายนรินทร์ เที่ยงเจริญ การศึกษาระบบการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สพป.สระบุรี เขต 2

58 นายสมาน บุตรภักดิ์ การศึกษาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ชั้น ป.3 ของครูสอนภาษาไทย ชั้น ป.3 ด้วยคู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย

59 นายศตวรรษ นิลประพัฒน์ การวิจัยปฏิบัติการพัฒนาการอ่าน เขียน เรียนเลข นักเรียนชั้น

ป. 1 -3

60 นางกมลทิพย์ เจือจันทร์ ผลการนิเทสแบบชี้แนะที่มีต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานของครูวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา สังกัด สพป.สระบุรี เขต 2

61 น.ส.วันเพ็ญ ปุลพัฒน์ ผลการนิเทศแบบคู่สัญญาและการชี้แนะที่มีต่อคุณภาพการจัดกิจกรรมบุรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย

62 นายทวี นวพลวตานนท์ การพัฒนารูปแบบการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา สังกัด สพป.สระบุรี เขต 1

63 นายจำลอง รัชวัตร์ การศึกษารูปแบบส่งเสริมและพัมนาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน ชั้น ป.3 โรงเรียนวัดบ้านใหม่ สพป.สระบุรี เขต 1

64 นายเรวัฒน์ แจ่มจบ การจัดการเรียนรู้ทักษะกระบวนการคิดโดยใช้เทคนิคแผนที่ความคิด (Mind Mapping Technique) ในโรงเรียนบ้านเขาดินใต้

65 นางทัตยา ยาชมภู 1. การพัฒนาการสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษา

2. การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตร ปีการศึกษา 2553

ที่ ชื่อ - สกุล ชื่อผลงานวิจัย

66 นางปราณี คำแท้ การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้เทคนิคการโค้ช : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดโคกใหญ่

67 นางศิริลักษณ์ โพธิ์ภิรมย์ การพัฒนานิสัยรักการอ่านโดยใช้คู่มือการนิเทศสำหรับครู และผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้น ป.3 โรงเรียนอนุบาลดอนพุดฯ

68 นางสุวารี สอนจรูญ การนิเทศการเรียนรู้ด้วยโครงงารคุณธรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณ ของครูผู้สอนโรงเรียนนิคมฯ

(พิบูลย์2)

69 นายไสว เปรมปรี การพัฒนากิจกรรมละครประวัติศาสตร์ กรณีศึกษา : โรงเรียนวัดไก่เส่า (พันธุ์วิทยาคาร)

70 นายเจริญ จำลองพิมพ์ การศึกษาพฤติกรรมจิตอาสาของกลุ่มนักเรียนจิตอาสาในโรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค

71 นายสัมฤทธิ์ โมทิวงศ์ การพัฒนาความสามารถทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชั้น ป.6 โดยใช้การนิเทศแบบคลินิก กรณีศึกษา : ร.ร.ท้ายพิกุลฯ

72 น.ส.จารึก ใจผ่อง การศึกษารูปแบบการพัฒนาโรงเรียนเพื่อรับการประเมินรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ระดับก่อนประถมศึกษาขนาดเล็ก

73 นางฉวีวรรณ รื่นเริง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา “แบบมีส่วนร่วม”

กรณีศึกษาโรงเรียนชุมชนวัดหนองโนใต้

74 น.ส.สุพัตรา เมืองบุญชู สภาพการบริหารจัดการ การเรียนการสอนดนตรีพื้นเมืองวงสะล้อ ซอซึง ของโรงเรียนระดับประถมศึกษาในอำเภอเมือง จ.สระบุรี

75 น.ส.อำนวยพร คำพันธ์ ผลการนิเทศแบบ “นำพา” ที่มีต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระหลัก ของนักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับ ปีการศึกษา 2553 สพป.สระบุรี เขต 1

76 น.ส.แหวนไพลิน เย็นสุข รูปแบบส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555

77 นายพิศิษฐ์ พันธุ์ดี การพัฒนาการจัดกิจกรรมสร้างเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับครูผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา

78 นายสมบัติ เนตรสว่าง การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนประชาสงเคราะห์รังสรรค์

ที่ ชื่อ - สกุล ชื่อผลงานวิจัย

79 นายสมนึก พรเจริญ การศึกษารูปแบบการสอนภาษาไทยของครูผู้สอนชั้น ป.1 โรงเรียนที่ปลอดนักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ สพป.สระบุรี เขต 1

80 นายไพโรจน์ วังบรรณ์ ผลการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ในอำเภอหนองโดน จ.สระบุรี สพป.สระบุรี เขต 1

81 นายธัญพิสิษฐ์ หอมหวล การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบรวมชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก

สพป.สระบุรี เขต 1

82 นายดุสิต จันทร์ศรี การสอนศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ระดับประถมศึกษาในโรงเรียน สังกัด สพป.สระบุรี เขต 1

83 นายยืนยง ราชวงษ์ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างครบวงจร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามรูปแบบการนิเทศ 1 โรงเรียน 1 ครู 1 ศึกษานิเทศก์

84 นายกระจาย คงสง การศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศ PSTRES ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านการพัฒนาการคิดที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้

85 นางกัลยา สุวรรณรอด การพัฒนาการคิดโดยใช้การนิเทศแบบ PSTRES

86 นายบุญเลิศ เพชรมณี การสร้างเครือข่ายโครงการเด็กหญิงบุญสร้าง เด็กชายยั้งคิด

ก้าวสู่สังคม บ่มเพาะต้นกล้า มนุษย์นิยมพันธุ์ใหม่

87 นางญาณิน แสงเสวตร สร้างนักวิจัยฝึกหัด ด้วยการนิเทศแบบพาทำ

88 นางลัดดา อ่อนลมูล

นางนฤมล อธิพงษ์อาภรณ์ ผลการนิเทศแบบชี้แนะ (COACHING) ที่มีต่อการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์รูปแบบโครงการสำหรับครูปฐมวัยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

89 นางสมสมัย เนคมานุรักษ์ การนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพการอ่านออกเขียนได้ในโรงเรียนขนาดเล็ก ของ สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1

90 นางกำไล คล้ายวงศ์ การขับเคลื่อนหลักสูตรสู่ห้องเรียนที่เป็นจริง ด้วยพลังของ

1 ศึกษานิเทศก์ 1 ครู 1 โรงเรียน

91 นายทศพล วงษ์เนตร

นายศักดิ์ดา แม้นเหมือน การพัฒนากิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารี ด้วยการนิเทศแบบโคชชิ่ง

92 นายสำเร็จ ศรีอำไพ ชุดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโครงงานสุขศึกษาและพลศึกษา

ที่ ชื่อ - สกุล ชื่อผลงานวิจัย

93 นายยงยุทธ เกิดทรัพย์ การพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่สากุล สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1

94 นายประชุม พันธ์เรือง การพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่สากล กิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1

95 นายสำเร็จ ศรีอำไพ

นายยงยุทธ เกิดทรัพย์

นายประชุม พันธ์เรือง

นางเบญจพร ชูมิตร

นางสุปาณี บุญเพ็ชร์

ดร. กฤษณา คิดดี การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยใช้

ASIA Method

96 ดร.กฤษณา คิดดี

นายจำนอง พยัคฆ์สิงห์ การนิเทศเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกสำหรับโรงเรียนในอำเภอบางปะหัน สังกัด สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการนิเทศแบบร่วมมือ (Collaborative) และการเสริมพลังอำนาจ (Empowerment)

97 น.ส.เมทิกา ทวีกุล

นางนิตยา ทัศนะ การศึกษาผลการนิเทศการจัดทำและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายนเรศวร ด้วยการนิเทศแบบ 7C’s

98 นางสุลีพร บรรลือเขตร์ การพัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนส่งเสริมนิสัยรักการอ่านด้วยกระบวนการนิเทศ 5 ขั้น

99 น.ส.ยุพา ชุ่มสนิท การพัฒนาหลักสูตรสู่ห้องเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค CIR

ของ สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1

100 นางนฤมล จันทเอ การนิเทศโครงงานคุณธรรมจิตอาสา แบบกัลยาณมิตร

101 นางกาญจนา พุตฉาย การใช้แบบฝึกเพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนชั้น ป.3 โรงเรียนในอำเภอนครหลวง

102 นายสาโรช มงคลเนตร์

นายฉลอง ชาตรูปะชีวิน

นายวิชิต เรือนจำรูณ

นางสมควร สุดสาระ

นางสุมาลี มีวุฒิสม

การพัฒนาครูและบุคลากรให้สอนออนไลน์

ที่ ชื่อ - สกุล ชื่อผลงานวิจัย

103 นายสาโรช มงคลเนตร์ การพัฒนาครูใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1

104 นางสาวมาเรียม ซอหมัด การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา โรงเรียนแบบอย่างการขับเคลื่อนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสังกัด สพป.นนทบุรี เขต 1

105 นางสายชล คงสีดี การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้านด้วยการ

บูรณาการกับประสบการณ์ชีวิต นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแกนนำการสอนเพศศึกษารอบด้าน สังกัด สปอ. ปทุมธานี เขต 2

106 นางนฤมล โล่ทองคำ การพัฒนารูปแบบการประเมินสภาพจริง การใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้ของครู ด้านคุณธรรม 8 ประการ โรงเรียนแกนนำประชาธิปไตย สพป.ปทุมธานี เขต 2

107 นายสุชาติ บูรณะธัญญ์ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในของสถานศึกษาในสังกัด สพป.ปทุมธานี เขต 2

ชื่อ - สกุล ชื่อผลงานวิจัย

108 นายเคลื่อน วิมุตตา การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในของสถานศึกษาในสังกัด สพป.ปทุมธานี เขต 2

109 ว่าที่ร้อยตรี นันทเดช โชคถาวร การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในของสถานศึกษาในสังกัด สพป.ปทุมธานี เขต 2

110 นายวิจารณ์ ดานุวงศ์ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในของสถานศึกษาในสังกัด สพป.ปทุมธานี เขต 2

111 กำไล คล้ายวงศ์ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างครบวงจรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ด้วยรูปแบบการนิเทศการศึกษา 1 โรงเรียน 1 ครู 1 ศน. ของโรงเรียนชุมชนวัดสำพะเนียง อ.บ้านแพรก สังกัด สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1

112 นายบุญเลิศ ยิ้มแย้ม การนิเทศเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กระบวนการวิจัย

113 นายสุวิทย์ พันธุ์ผัก การศึกษารูปแบบการนำคุณธรรมและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอนในโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ

114 นายทรงเดช ขุนแท้ การพัฒนาความสามารถของครูในการใช้โปรแกรม Desk Top Author 6.0 เพื่อสร้างสื่อการสอนประเภท E-book รูปแบบ Multimedia โดยใช้การนิเทศแบบระบบพี่เลี้ยง อำเภอลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี สำหรับผู้ผ่านการอบรมโครงการบูรณาการใช้เทคโนโลยีสานสนเทศเพื่อยกระดับการเรียนการสอน ปีงบประมาณ 2553

115 นางวราพร ขุนแท้ การนิเทศและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการฟัง –พูด

ภาษา นักเรียนชั้น ป.2 ของครูผู้สอนอังกฤษ โดยใช้สื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์

116 นางสิรี พึ่งจิตต์ตน การศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยโดยการนิเทศแบบชี้แนะ ในโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สังกัด

สพป.ปทุมธานี เขต 1

117 นายช่วง ขำมาก การศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยการนิเทศแบบชี้แนะ ในโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สังกัด

สพป.ปทุมธานี เขต 1

ครูวิทย์สพป.นนทบุรี 1

ใกล้จะมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในปีการศึกษา 2553 แล้ว ทั่ง O-NET/ NT/LAS

ก็อยากจะแชร์ประสบการณ์ที่ตนเองได้เตรียมการและทำแล้วค่อนข้างได้ผลฝากเพื่อนครูคะ

ในแต่ละปี ตัวเองจะ

1. นำผลการประเมิน O-NET ในปีที่ผ่านมาวิเคราะห์ดูว่าสาระการเรียนรู้ใดที่ตำสุด สูงสุด และผลโดยรวมเป็นอย่างไร

2. นำผลจากข้อ 1 มาเป็นข้อมูลในการปรับแผนการสอน/สื่อ/การวัดประเมินผล/การจัดการเรียนการสอน

ทั้งภาพรวม รายกลุ่ม รายบุคคลกับนักเรียน

3. รวบรวมข้อสอบ และนำมาใช้เสริมประสบการณ์ให้เด็กได้ทำและฝึกหัดอย่างเข้าใจ

4. สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ให้กับนักเรียนผ่านกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน/พี่ช่วยน้อง/พ่อแม่ช่วยเหลือดูแลลูก/แนะนำเว็บและแหล่งเรียนรู้ที่ดีให้กับนักเรียน

5. แข่งนันระดับชั้นเรียน และส่งเสริมให้นักเรียนแข่งขันระดับโรงเรียน/เขต/ภูมิภาค/ประเทศตามโอกาส

6. ทำต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี

ท่านอื่นทำอย่างไรบ้างบอกด้วยจะขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง

ขอเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่ดีในการนิเทศ ติดตามผลด้านวิชาการของสถานศึกษา

ของ สพป. นนทบุรี 1 ค่ะ

รูปแบบการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลงานวิชาการของสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการบันไดพัฒนา 5 ขั้น (AKACMEA)

*****************************

1.ความเป็นมา

ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาความว่า “ ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย นิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารและการดำเนินการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเตรียมรับการประเมินคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงาน

จากบทบาทหน้าที่ดังกล่าว กอร์ปกับสภาพการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 มีผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนระดับประเทศ กรม และเขตพื้นที่การศึกษา ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ตลอดจนการติดตามประเมินผล ในนโยบาย กิจกรรมสำคัญ ในปีการศึกษา 2552 และ ปีงบประมาณ 2553 โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มีผลยังไม่น่าพอใจ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 จึงได้จัดทำโครงการการพัฒนารูปแบบการนิเทศติดตามและประเมินผลด้านวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยใช้บันไดพัฒนา 5 ขั้น (AKACMEA) เพื่อพัฒนาผู้บริหาร/ รองผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่รับผิดชอบด้านวิชาการในโรงเรียน ให้มีความรู้ ความสามารถในการนิเทศ งานวิชาการในโรงเรียนสู่คุณภาพการเรียนการสอน

2.วัตถุประสงค์

1.เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศติดตามและประเมินผลด้านวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยใช้กระบวนการบันไดพัฒนา 5 ขั้น (AKACMEA)

2.เพื่อศึกษาผลการนำรูปแบบการนิเทศติดตามและประเมินผลด้านวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยใช้กระบวนการบันไดพัฒนา 5 ขั้น (AKACMEA) ไปใช้ในการพัฒนาครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น

3.กลุ่มเป้าหมาย

ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน รองฝ่ายวิชาการ และผู้รับผิดชอบงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 1 ทุกโรง จำนวน 57 คน ใน ปีการศึกษา 2551 และ จำนวน 39 คน ปีการศึกษา 2552

4 การดำเนินการ

4.1 การสร้างรูปแบบการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลด้านวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบกระบวนการโดยใช้กระบวนการบันไดพัฒนา 6 ขั้น ( AKACMEA) ได้ดำเนินการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษารูปแบบการนิเทศติดตามและประเมินผลด้านวิชาการในสถานศึกษา /ปัญหา ความต้องการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกำหนดเป็น รูปแบบการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลด้านวิชาการของสถานศึกษา โดยใช้กระบวนการรูปแบบบันไดพัฒนา 5 ขั้น ( AKACMEA) ดังนี้

ขั้นที่ 1 A: Awareness ขั้นสร้างความตระหนักในหน้าที่

ขั้นที่ 2 K/A: Knowledge And Action ขั้นรู้หลัก และลองทำดู

ขั้นที่ 3 C: Create Innovation ขั้นมุ่งสู่นวัตกรรมสร้างสรรค์

ขั้นที่ 4 M/E: Monitoring And Evaluation ขั้นหมั่นกำกับติดตามและประเมินผล

ขั้นที่ 5 A: A wardขั้นชื่นชมผลงาน/ประกาศเกียรติคุณผล

4.2 จัดทำคู่มือการพัฒนารูปแบบการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลด้านวิชาการของสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบกระบวนการบันไดพัฒนา 5 ขั้น ( AKACMEA) และหาประสิทธิภาพโดยใช้เทคนิค IOC โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องค่าเท่ากับ 0.82

4.3 นำคู่มือการพัฒนารูปแบบการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลด้านวิชาการของสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบกระบวนการบันไดพัฒนา 5 ขั้น ( AKACMEA) ไปใช้ดังนี้

4.3.1 ประชุมปฏิบัติการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา/รองผู้บริหารสถานศึกษา/ผู้รับผิดชอบงานวิชาการในสถานศึกษาตามบันไดพัฒนา 5 ขั้น

4.3.2 แต่งตั้งคณะกรรมการฯ และดำเนินการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย .

4.3.3 รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปผลการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศงานวิชาการของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1

4.3.4 รายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศงานวิชาการของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1

4.3.5 นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ปรับปรุงและบริหารงานการนิเทศ และการวางแผนพัฒนางานวิชาการของสถานศึกษา

5. ผลสำเร็จ

1. โรงเรียนในสังกัดมีการนิเทศงานวิชาการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

2. ครูมีการปรับเปลี่ยน/พัฒนาการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ และมีสมรรถนะ ตลอดจนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรฯกำหนด

4. โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานจากการประเมินภายนอกรอบ 2 จาก ส.ม.ศ. ทุกโรง

5. ผู้เข้ารับการพัฒนาและโรงเรียนที่ผ่านการประเมินได้รับเกียรติบัตร และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ

6.ประสบการณ์ที่เกิดจากการนำไปใช้

6.1 ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริหารสู่การนิเทศงานวิชาการมากขึ้น

6.2 รองผู้อำนวยการโรงเรียน/ผู้รับผิดชอบงานวิชาการมีทิศทางการนิเทศภายในโรงเรียนที่เน้นพฤติกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น

6.3 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการเพิ่มขึ้น

6.4 บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีขวัญ กำลังใจในการปฏิบัติงาน

7.รูปแบบวิธีการเผยแพร่

7.1 จัดนิทรรศการแสดงผลงาน ที่อิมแพค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 22-23 ธันวาคม 2553

7.2 เผยแพร่ผ่านเว็บไซด์

7.3 จัดทำเป็นเอกสาร/แผ่นพับ

7.4 นำเสนองานผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ขอบคุณ ศน. ที่จัดอบรมครูวิทย์ให้อย่างต่อเนื่องทุกปีอยากให้พวกเราแชร์ผลงานท่เราไปพัฒนาการสอนและพัฒนานักเรียนให้มากขึ้น ปีนี้ห้องเรียนดิฉัน ป.6 ผลO-NET ตำกว่าปีที่แล้วเล็กน้อยอยากให้ครูวิทย์ป. 6 ที่ผลสัมฤทธิ์เพิ่ม และเขตได้แชร์ ความรู้ให้ด้วย

ขอบคุณ

แจ้ง โรงเรียนในสังกัดสพป.นบ.1 ทุกโรง(ภาครัฐ)

สพป. นบ.1 จะจัดประชุมปฏิบัติการติดตามผล และนิเทศการเรียนรู้ ในวันที่ 23 มิถุนายน 2554

ผู้ประชุม ได้แก่ ครู ป.6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย/คณิต/วิทย์/ภาษาอังกฤษ/สังคมศึกษาฯ/สุขศึกษา

และวันที่ 30 มิถุนายน 2554 ผู้เข้าอบรมได้แก่ ครูวิชาการโรงเรียน ณ ห้องประชุมชั้น 2 สพป.นบ.1

รายละเอียดอยู่ในข่าวประชาสัมพันธ์บนเว็บเขต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท