ประเมินผลการจับสัตว์น้ำ และสภาวะเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือนประมงพื้นที่ราบน้ำท่วม จังหวัดสงขลา


การประเมินผลการจับสัตว์น้ำและสภาวะเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือนประมงพื้นที่ราบน้ำท่วมจังหวัดสงขลา ได้ดำเนินการสำรวจและรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ชาวประมง เกษตรกรและผู้ค้าสัตว์น้ำพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 320 ราย ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2544 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545
     การประเมินผลการจับสัตว์น้ำและสภาวะเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือนประมงพื้นที่ราบน้ำท่วมจังหวัดสงขลา ได้ดำเนินการสำรวจและรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ชาวประมง เกษตรกรและผู้ค้าสัตว์น้ำพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 320 ราย ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2544 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ราบน้ำท่วมที่มีศักยภาพทางการประมง ร้อยละ 20.00 ของพื้นที่ทั้งหมด หรือประมาณ 902,500 ไร่มีประชากรที่เกี่ยวข้องกับการประมงในพื้นที่ราบน้ำท่วม ร้อยละ 8.00 ของประชากรทั้งจังหวัด หรือประมาณ 108,000 คนแต่ที่ประกอบอาชีพจับสัตว์น้ำประมาณ 27,500 คนจับสัตว์น้ำโดยใช้เครื่องมือประมงพื้นบ้าน พวกข่าย อวนลอบ แห เบ็ด ไซ และการวิดน้ำจับปลาในฤดูแล้งผลผลิตสัตว์น้ำรวม 4,570 เมตริกตันต่อปี หรือคำนวณมูลค่าทั้งหมดประมาณ 250 ล้านบาท ส่วนใหญ่ร้อยละ90.00 เป็นปลาน้ำจืด ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มปลาตะเพียน ร้อยละ 32.00 พวกปลาช่อน ร้อยละ 25.00 กลุ่มปลาดุก/ปลาไม่มีเกล็ด ร้อยละ 18.00 กลุ่มปลาหมอ/ปลากระดี่ร้อยละ 15.00 และอื่น ๆ ร้อยละ 10.00 นอกจากนี้ร้อยละ 10.00 เป็นปลาน้ำกร่อย ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มปลากระบอก ร้อยละ 60.00 กลุ่มปลาแขยง/ปลาดุกทะเลร้อยละ 20.00 กลุ่มปลากะพง ร้อยละ 5.00 และอื่น ๆ ร้อยละ 15.00 ผลผลิตสัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่จำหน่ายในรูปปลาสดในตลาดท้องถิ่น และใช้ประกอบอาหารบริโภคในครัวเรือน สัดส่วนการบริโภคเอง : การจำหน่าย ประมาณ 2.8 : 1 คำนวณเป็นรายได้ประมาณ 9,100 บาทต่อคนต่อปี ส่วนใหญ่เรียกร้องให้ทางราชการบูรณะแหล่งน้ำ และเพิ่มผลผลิตประมงในแหล่งน้ำให้อุดมสมบูรณ์มากขึ้น
ที่มา http://www.nicaonline.com/articles10/site/view_article.asp?idarticle=1427 

25/1/2549 9:53:44, by ศราวุธ เจะโส๊ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14401เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2006 19:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท