กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ และ สิ่ิงแวดล้อม


กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ (Nature Conservation Act) กฎหมายและข้อบังคับประเภทนี้ประกอบด้วย พ.ร.บ. คุ้มครองและรักษาสัตว์ป่า พ.ศ. 2535, พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ
              1. กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ (Nature  Conservation Act)  กฎหมายและข้อบังคับประเภทนี้ประกอบด้วย  พ.ร.บ. คุ้มครองและรักษาสัตว์ป่า พ.ศ. 2535,  พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ  ซึ่งพ.ร.บ.ทั้ง  3  ฉบับนี้  พื้นที่ครอบคลุมทั้งส่วนพื้นดินและพื้นน้ำ โดยเฉพาะพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาตินั้นได้ให้ความหมายว่า ส่วนพื้นที่  ในที่นี้รวมถึงส่วนพื้นน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติด้วยให้กรมป่าไม้เป็นหน่วยงานที่ใช้กฎหมายฉบับนี้
               2. กฎหมายว่าด้วยการสำรวจและใช้ประโยชน์ทรัพยากร (Natural  Resources  Exploitation  Act)  กฎหมายประเภทนี้มีหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.ป่าไม้ ปี 2484  เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ในการคุ้มครองและจัดการป่าไม้ของประเทศไทย  พ.ร.บ.ประมง ปี 2490  เป็นกฎหมายที่ควบคุมและจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมง กรมประมงเป็นผู้ใช้กฎหมายฉบับนี้  พ.ร.บ.แร่ ปี 2510  เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณีอนุญาตการทำเหมืองรวมทั้งควบคุมการผลิตและการจำหน่ายแร่  พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ปี 2511  เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการสำรวจและผลิตน้ำมันและแก๊ส  ซึ่งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ใช้กฎหมายฉบับนี้และ พ.ร.บ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยปี 2522  เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการสำรวจ  วางแผน  และพัฒนาการท่องเที่ยว  
              3. กฎหมายว่าด้วยการป้องกันสิ่งแวดล้อม  (Environmental  Protection  Act)  กฎหมายว่าด้วยการป้องกันสิ่งแวดล้อมได้แก่  พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  ปี  2535  เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศ  รวมทั้งการควบคุมผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากโครงการพัฒนาต่าง ๆ  พ.ร.บ. ดังกล่าวมี  3  หน่วยงาน  คือ  กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ  และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบและดำเนินการตามกฎหมาย
               4.  กฎหมายว่าด้วยการใช้ประโยชน์ดินและน้ำ  กฎหมายที่เกี่ยวกับที่ดินในประเทศไทยนั้นมีความสลัลซับซ้อน แต่เมื่อพิจารณาถึงตัวบทกฎหมายที่อยู่ในกลุ่มนี้แล้ว ประกอบด้วย  2  กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่  กฎหมายการถือครองที่ดิน  และกฎหมายการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน  สำหรับกฎหมายที่ว่าด้วยการถือครองที่ดินประกอบด้วยกฎหมายว่าด้วยกฎหมายที่ดินของประเทศไทย  ปี  2497  และกฎหมายอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิการถือครองที่ดินซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอื่น ๆ ที่าำคัญได้แก่  พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ ปี  2521  และพ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ปี 2518  สำหรับกฎหมายในกลุ่มของการวางแผนการใช้ที่ดินนั้นประกอบด้วย  พ.ร.บ.ผังเมือง ปี 2535  พ.ร.บ.จัดประเภทการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร ปี 2457  พ.ร.บ.พัฒนาที่ดิน ปี  2526  กฎหมายดังกล่าวนี้จะเป็นกรอบในการวางแผนการใช้ที่ดินทั้งในเมืองและชนบท  และผนวกกับกฎหมายการแบ่งเขตที่ดิน ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันทั้งเก่าและใหม่ เช่น พ.ร.บ. ควบคุมการก่อสร้างอาคาร ปี 2522
              ส่วนกฎหมายที่เกี่ยวกับพื้นที่น้ำ  ได้แก่  พ.ร.บ.การเดินเรือในเขตน่านน้ำไทย  ปี 2456  ซึ่งเป็นกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด ครอบคุมทั้งการเดินเรือในทะเลและลำน้ำภายใน โดยในส่วนที่ 7 ของพ.ร.บ. ดังกล่าวได้ให้ความหมายของคำว่า "น่านน้ำไทย" หมายรวมถึง "เขตน่าน้ำไทยทั้งหมด  ท่าเรือ  ที่จอดเรือ  แม่น้ำ  และลำคลองทั้งหมดในราชอาณาจักรไทย"  ส่วนหนึ่งของข้อตกลงเจนีวาปี 2505  ที่เกี่ยวกับกฎหมายทะเล  และตามข้อตกลงของกฎหมายทางทะเลของสหประชาชาติ ปี 2525  ซึ่งประเทศไทยในคู่สัญญาด้วยเขตน่านน้ำไทยครอบคลุมพื้นที่ในระยะ  12  ไมล์ทะเล  และ  24  ไมล์ทะเลสำหรับเขต Contiguous ซึ่งวัดจากเส้นฐานตั้งแต่ปี 2509 เป็นต้นมา และในปี 2512 รัฐบาลไทยได้ประกาศการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติบริเวณไหล่ทวีป ทั้งที่อยู่ในน้ำและที่อยู่ใต้ดิน  ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ขณะเดียวกันในวันที่  23  กุมภาพันธ์  2524  ประเทศไทยก็ได้ประกาศขยายอาฯาเขตเศรษฐกิจจำเพาะออกไปเป็น  200  ไมล์ทะเล อย่างไรก็ดีในความหมายของคำว่า  "ชายฝั่งทะเล" นั้น ยังไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมายและในเอกสารอื่น ๆ 
               นอกจากนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือในเขตน่านน้ำไทยดังกล่าวแล้วยังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์พื้นที่น้ำ เช่น พ.ร.บ. รักษาเส้นทางเดินเรือ ปี 2446 พ.ร.บ.การชลประทาน ปี 2485  พ.ร.บ. คลองส่งน้ำ ปี 2526 เป็นต้น อย่างไรก็ดีกฎหมายดังกล่าวนี้มีความสำคัญน้อยกว่าการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล เพราะความเกี่ยวข้องของกฏหมายเหล่านี้มีเฉพาะส่วนพื้นน้ำภายในมากกว่าพื้นน้ำบริเวณชายฝั่งทะเล
 
 ที่มา  http://www.school.net.th/library/create-web/10000/sociology/10000-11480.html

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14400เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2006 18:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ต้องการวิธีการอนุรักษ์ธรรมชาติและผลจากการอนุรักษ์ธรรมชาติ

ต้องการมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ฟหกด่าสว          ฟหไกดพ       รานสยวบ   

กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท