ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ – ตอนที่ 5


เราไม่เคยตัดสินว่าการลงมติขั้นสุดท้ายให้ใช้วิธีโหวตคณะกรรมการ ให้ใช้วิธีอภิปรายจนได้คำตอบสุดท้าย ซึ่งเรื่องนี้เราถือว่ามีความสำคัญมาก

           บทความก่อนหน้านี้ ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล”  ตอนที่ 1, ตอนที่ 2, ตอนที่ 3, ตอนที่ 4

                                          *******************************************
ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล”  โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ

ตอนที่ 5

                เนื่องจากการประชุมนานาชาตินี้เราก็ต้องให้กรรมการที่มาจากนานาชาติ   มีเสียงใหญ่และเป็นเสียงสุดท้าย   เราไม่เคยตัดสินว่าการลงมติขั้นสุดท้ายให้ใช้วิธีโหวตคณะกรรมการ  ให้ใช้วิธีอภิปรายจนได้คำตอบสุดท้าย ซึ่งเรื่องนี้เราถือว่ามีความสำคัญมาก  เรานึกถึงคนไทยว่าควรจะเรียนรู้จากการตัดสินของผู้ชำนาญต่างประเทศบ้าง  จึงให้มี Advisory Committee ซึ่งสมาชิกเป็นคนไทยทั้งสิ้น    โดยพิจารณาเลือกจากคนไทยที่มีความสนใจในเรื่อง Research และการสาธารสุขประกอบเป็นกรรมการขึ้น  และให้กรรมการชุดนี้ทำการกลั่นกรองหาผู้ที่สมควรได้รับการพิจารณาเป็นผู้ได้รับรางวัลก่อน  และเสนอคณะกรรมการรางวัลนานาชาติก่อนการประชุมคณะกรรมการยังให้ผมเสนอชื่อผู้ที่สมควรจะพิจารณาในความเห็นของผมให้ได้เป็นผู้รับรางวัลไปอีกชุดหนึ่งด้วย

                ในการประชุมครั้งแรกนี้  ที่ประชุมมีมติให้ Sir Richard Doll, ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัย Oxford เป็นผู้ได้รับรางวัลเป็นคนแรก ศาสตราจารย์ เซอร์ริชาร์ดดอล  ผู้นี้เป็นผู้ทำการวิจัยเรื่องของสุขภาพกับยาสูบเป็นคนแรกในโลก  และได้ทำให้วิชาระบาดวิทยามีความก้าวหน้าไปอย่างมากจนได้รับการนับถือว่าเป็น Hard Science ในวิชาการแพทย์อย่างหนึ่ง   คนที่สองคือ  Dr. Chen Min Shang ซึ่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของจีนที่ได้ทำการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ในขณะนั้นต้องเผชิญกับปัญหา         นอกเหนือจากด้านสาธารณสุขแล้ว  ปัญหาการสูบบุหรี่ก็เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย  เพราะบุหรี่เป็นธุรกิจทำรายได้ให้กับรัฐ 3,000 ล้านเหรียญดอลล่าร์ต่อปี  และคนจีนซึ่งสูบบุหรี่อย่างน้อย 300 ล้านคน    ผู้นำของจีนก็สูบบุหรี่ที่ประชุมมีความเป็นห่วงอย่างหนึ่งว่า ดร. เช็น มิน ชาง จะมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับกรณีปราบจลาจลที่จตุรัสเทียนอันหมิน   ดร.เซ็น มิน ชาง เกี่ยวข้องกับการปราบปรามครั้งนี้หรือไม่    ซึ่งกรรมการรางวัลนานาชาติได้ต่อต่อถามไปยังผู้ติดต่อของเขาเพียง 1 วัน  ก็ได้คำตอบว่า ดร. เซ้น มิน ชาง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรณีจลาจล  แต่กลับเป็นผู้จัดให้มีการรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยในครั้งนั้นด้วย    ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความกว้างขวางของกรรมการรางวัลนานาชาติเป็นอย่างดี 

                                                                                                       (โปรดติดตามต่อไป)
                                         *******************************************
ที่มา : บทความพิเศษ  ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล”  โดย ณัฐ ภมรประวัติ พ.บ.
จาก สารศิริราช  ปีที่ 54 ฉบับที่ 9 กันยายน  2545

หมายเลขบันทึก: 14367เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2006 07:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท