ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ – ตอนที่ 4


...แต่อย่างไรก็ตามผมได้กำชับโรงแรมให้จัดโต๊ะกลมไว้ในห้องประชุม เพื่อให้กรรมการทุกคนมีความสำนึกว่าตนมีความทัดเทียมกัน...

                  ต่อจากตอนที่แล้ว........บทความก่อนหน้านี้ ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล”  ตอนที่ 1, ตอนที่ 2, ตอนที่ 3
                                                

                                    ****************************************
ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล”  โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ

ตอนที่ 4

                สำหรับกรรมการนานาชาติที่มาจากต่างประเทศนั้น  มูลนิธิฯ  จะเชิญให้มาประชุมในประเทศไทย ปีละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 อาทิตย์ ในกลางเดือนพฤศจิกายน  มูลนิธิฯ ได้เชิญภรรยามาด้วย    โดยจัดให้เดินทางโดยเครื่องบินชั้นที่ 1 และเมื่อมาถึงเมืองไทยแล้วก็จัดให้พักโรงแรมโอเรียนเต็ล  โดยทางมูลนิธิฯ   ออกค่าใช้จ่ายทุกอย่างให้  แต่คณะกรรมการรางวัลนานาชาติจะไม่ได้เบี้ยประชุมหรือเงินค่าตอบแทนอื่นใด   ซึ่งเขายินดีผสานตามนี้   กรรมการจะอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี และจะเป็นต่อไปอีกก็ได้    และนับตั้งแต่ตั้งคณะกรรมการมามีผู้ลาออกไป 2 ท่าน คือ Dr. Halfdan Mahler และ Dr. John Evams อีกท่านลาออกไปโดยสุขภาพไม่ดีเดินทางไม่ได้ คือ Dr. John Robbins  มีกรรมการสองท่านเสียชีวิต ไปในขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่คือ Dr. Cesar Milstein ซึ่งได้ Nobel Prize และ Dr. V. Ramalingaswami ได้มีการแต่งตั้งกรรมการชาวต่างประเทศเพิ่มอีก  เป็นชาวอาฟริกัน 1 คนคือ Dr. A.O.Lucas เป็น Director ของ TDR และเป็นชาวอเมริกันอีก 2 คน คือ Dr. D.A.Henderson และ Dr. Baruch Blumberg.

                ในการประชุมครั้งแรก ผมรู้สึกอึดอัดใจมากในการที่จะต้องเป็นประธานของคณะกรรมการ   ซึ่งท่านเหล่านั้นเป็นผู้ที่ประสพความสำเร็จทางวิชาชีพทั้งด้านความลึกและความกว้างขวางในแนวราบ    ทั้งไม่ทราบว่ากรรมการแต่ละท่านคิดอย่างไรในเรื่องการประชุมนี้      ผมเชื่ออย่างแน่นอนว่าท่านต้องคิดอย่างปัจเจกบุคคลที่มีความรู้ประสบการณ์และความชำนาญในเรื่องต่างๆ  แต่ความเป็นปัจเจกบุคคลของท่านจะทำให้ท่านคิดร่วมกันและหาตัวผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับรางวัลหรือไม่    แต่อย่างไรก็ตามผมได้กำชับโรงแรมให้จัดโต๊ะกลมไว้ในห้องประชุม  เพื่อให้กรรมการทุกคนมีความสำนึกว่าตนมีความทัดเทียมกัน       ผมเป็นผู้ช่วยให้การประชุมดำเนินไปได้เท่านั้น   ซึ่งการจัดโต๊ะกลมในการประชุมครั้งนี้ก็ดำเนินไปด้วยดีพอสมควร    ในการประชุมครั้งแรกนี้    สมเด็จพระเทพฯ  ได้ทรงมีพระเมตตามาเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการ   และหลังจากนั้นเราก็เข้าประชุมกัน.....

                                                                                                               (โปรดติดตามต่อไป)
                                   ****************************************
ที่มา : บทความพิเศษ  ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล”  โดย ณัฐ ภมรประวัติ พ.บ. 
         จาก สารศิริราช  ปีที่ 54 ฉบับที่ 9 กันยายน  2545
หมายเลขบันทึก: 14366เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2006 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท