KM Team Tour (4) … ทำไงดี เมื่อจะเป็น Note taking และการแปลงสู่รูปเล่ม


อยากรู้เรื่อง Note taking ทำยังไง ก็ ... ลงมือทำ ...

 

ตอนนำเข้าเรื่อง การสกัดความรู้

คุณผกามาศ กมลพรวิจิตร กลุ่มวัยสูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพคุณผกามาศ ได้เล่าในเรื่องการจัดการความรู้ เรื่อง Home Health Care ของผู้สูงอายุ ที่เชิญ รพช. รพศ. รพท. ที่เป็น รพ.ส่งสุขภาพ และ HA แล้ว มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยใช้วิธี KM และ อ.นันทา กับทีมไปช่วยทำกิจกรรมกลุ่ม ก็สรุปบทเรียนออกมาได้ประมาณ 40-50 เรื่องที่น่าสนใจ จึงได้นำมารวบรวม และสรุปทำเป็นระดับการเยี่ยมบ้าน สำหรับกิจกรรม Home Health Care ให้กับโรงพยาบาลในปีที่แล้ว และต่อเนื่องในปีนี้ ก็ได้มีการจัด KM 4 ภาค ก็ได้เอาเรื่องของ KM ไปใช้อยู่

นพ.สมศักดิ์ ... มีคำถาม 2 คำถามที่ผมชอบถาม เวลาที่มีใครจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คำถามที่ 1 คือ ถามว่า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องอะไรนี่ กำหนดยังไง ทำไม HHC ผู้สูงอายุ ทำไมไม่ใช่ผู้สูงอายุ ทำไมไม่ใช่ชมรมผู้สูงอายุ อันนี้สมมตินะ อันที่สอง คือว่า จะเอาเรื่องนั้นแล้ว จะชวนใครมานั้น เลือกยังไง และจะมีคำถามที่ 3 ที่ 4 เอา 2 คำถามแรกก่อน

คุณผกามาศ ... ที่กำหนดเป็น HHC ในด้านส่งเสริมสุขภาพ เพราะเราไม่เคยทำมาก่อน ส่วนใหญ่จะเห็นว่าใน รพ. เขามีอยู่ บวกกับ นโยบายรัฐมนตรี และมอบให้กรมอนามัยช่วยเรื่องนี้ จึงคิดว่า คงต้องทำให้สำเร็จ และคุณหมอนันทาได้แนะนำให้ใช้วิธี KM จึงเลือก รพ. จากคิดว่า เอา รพ. ที่เรามีอยู่แล้ว คือ รพ.ส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งไปแนวเดียวกันอยู่แล้ว และเลือก รพ.ในสังกัด ที่เคยได้รางวัล รพ. HA มาแล้วด้วย

พญ.นันทา ได้กล่าวเสริมว่า ... เดิมตอนเริ่มต้น สำนักส่งเสริมได้รับมอบหมายจาก รมต. ว่า ให้ทำเรื่องส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ และทำคู่มือแนวทางปฏิบัติให้เสร็จในเวลาหนึ่ง คุณหมอมนูได้มาหารือ จึงบอกว่า ถ้าเราเขียน เราก็จะเขียนจากตำรา จากไอ้โน่นทำไอ้นี่ทำ แต่ถ้าคิดว่าทำได้หรือเปล่า ยังไม่แน่ ก็คิดว่า ในชีวิตจริง สถานการณ์จริงในปัจจุบัน มี รพ.เขาได้ทำแล้ว เพราะฉะนั้น เราน่าที่จะเรียนรู้จากสิ่งที่เขาทำดีมาแลกเปลี่ยน เพราะว่ามันได้ทั้ง 2 อย่าง ก็หมายความว่า

  1. เราได้แนวทางปฏิบัติ ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของคนที่ปฏิบัติจริง แทนที่จะเอาเอกสารและมานั่งประชุมโต๊ะกัน และมาเขียนขึ้นกระดานอย่างที่เราเคยทำ ก็เอาประสบการณ์ของเขามาเขียนเป็นอันนี้ และ
  2. ที่เขามา ทุกคนได้ไปเลย ก็คือ ได้มาแลกเปลี่ยน คุยกันไปคุยกันมา แล้วก็ได้เรียนรู้ที่คนอื่นเขาทำหลายเรื่อง เช่น วิธีทำอย่างไรให้คุณหมออาจจะไม่ค่อยให้ความร่วมมือ ทำยังไงให้ความร่วมมือที่จะไปเยี่ยมบ้าน ก็มีสาเหตุต่างๆ เยอะแยะ

พอเราได้คุณกิจที่ทำเรื่องนี้มาจริงๆ ปรากฎว่า เย็นค่ำ เขาก็คุยกันไม่เลิก แถมผู้สูงอายุตัวจริงก็เห็นคุยกันเรื่องผู้สูงอายุ ก็เข้ามาในห้อง คุยด้วย เพราะฉะนั้นตรงนี้เราก็ได้ทั้งแนวทางปฏิบัติ แลกเปลี่ยนของจริงที่เขาใช้ได้เลย และเกิดเครือข่ายขึ้นมาเลย และก็คิดว่า ตอนนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ที่ไปเขียนเป็นแนวทางปฏิบัติ และได้ตารางอิสรภาพด้วย ตามที่ได้ช่วยกันคิด

คุณศศิวิมล ปุจฉาการ สำนักส่งเสริมสุขภาพคุณศศิวิมล เริ่มเรื่องต่อว่า ... ได้สังเกตว่า เรื่องต่างๆ ที่เราทำออกมาเป็นรูปเล่ม จะเป็นเรื่องเรื่องเดียว ในขณะที่เรื่องส่งเสริมสุขภาพ เรื่องเครือข่าย หรืออื่นๆ เวลาที่หลายคนมาเล่า เรื่องก็จะหลากหลาย ... ทำให้ยังมองไม่เห็นว่า มันจะออกมาเป็นรูปเล่มตามความหลากหลายอันนั้น หรือเราจะเลือกแต่เรื่องที่ต้องการ แล้วก็รูปเล่มลักษณะนี้จะมีความหลากหลายไปด้วย และในหลายๆ เรื่องนั้น ... มันเกิดขึ้นแล้วจริงๆ หรือยัง ... มีตัวอย่างที่เราจะไปดู ไปศึกษาได้หรือไม่

อีกเรื่องที่อยากรู้จริงๆ ว่า การเป็น Note taker ที่ดี จะทำให้ได้อย่างที่ตั้งใจได้อย่างไร และการสกัดความรู้ที่เรียกว่า เป็นความรู้ที่สกัดได้แล้วจริงๆ มีให้ดูที่ไหน นอกจากในเครื่องมือ electronic ต่างๆ

พญ.นันทา ได้ให้ประเด็นในเรื่องนี้ว่า ... ด้วยจุดประสงค์ของการจัดการความรู้แท้จริง ก็คือ การพัฒนาองค์กร แต่ความจริงคือ เป็นการผ่านขั้นตอนมาจากการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กรของเราให้เป็นองค์กรที่ฉลาดขึ้น ด้วยคนของเรา ทีนี้ เราก็อาจกลับมาดูว่า ภารกิจของเราคืออะไร แล้วอะไรที่เราคิดว่า มันควรจะต้องทำให้สำเร็จ แต่ยังมีปัญหา ยังไม่สำเร็จ จึงคิดให้เจ้าหน้าที่มาแลกเปลี่ยน

ทีนี้ ถ้ามองตรงนี้แล้ว สำนักส่งเสริมจะต้องทำอะไรบ้าง CoP นั้นมีได้หลายเรื่อง เช่น เรื่องการสร้างเครือข่ายเรื่องหนึ่ง และการบริหารความสัมพันธ์กับเครือข่ายก็เป็นเรื่องหนึ่ง ถ้าตัวเองมอง ก็มองตรงที่ว่า ความจริงในสำนักทำเรื่องในกลุ่มวัยต่างๆ เป็นการทำเรื่องที่เหมือนๆ กัน หลายๆ เรื่อง อย่างเช่น การประเมินและรับรอง การสร้างมาตรฐาน การสร้างมาตรฐานแล้วคนเอาไปใช้ได้ จะเป็นการประเมิน หรือรับรองก็ได้ แล้วแต่จะเรียก หรือการวิจัย เราสามารถมาทำได้ เพราะฉะนั้น ในที่นี้ ไม่จำเป็นต้องมี CoP เดียวหรอก อาจมีหลาย CoP แล้วแต่ใครเกี่ยวข้องกับอะไร และที่มีคำถาม ว่า แล้ววิชาการ กับฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายบริหาร เชื่อมโยงกันยังไง ถ้าเรายกเรื่องหนึ่งขึ้นมาสักเรื่อง มันก็อาจจะมีความสำคัญ เช่น เรื่องการประเมินและรับรอง ก็อาจจะมีทั้งในเรื่องจัดซื้อจัดจ้าง ทำใบรับรองที่เกี่ยวข้องกับเขา หรืออาจคิดถึงเรื่องอื่นที่ยังไงฝ่ายบริหารต้องเกี่ยวข้องกับเราทุกเรื่อง ... เรื่องวิจัยก็เหมือนกัน การจัดสรรเงิน การโอนเงิน การทำใบสำคัญ ก็อาจเป็นเรื่องเดียวกัน ... อันนี้ก็คือ คิดงานตลอดตั้งแต่ต้นจบจบ

กับอีกทางหนึ่ง ในฝ่ายบริหาร อาจมี CoP ของเขาเองก็ได้ ในเรื่อง การสนับสนุนฝ่ายวิชาการที่สำเร็จแล้วให้คุยกัน เขาก็จะเกิดการเรียนรู้ว่า ทำยังไงที่จะทำให้งานขององค์กรสำเร็จได้รวดเร็วขึ้น

เพราะฉะนั้น CoP มีได้เยอะเรื่องมาก เพียงแต่ว่า เราต้องมาคิดว่า อะไรสำคัญ และจำเป็น และมันมีส่วนที่จะไปผลักดันส่วนอื่นๆ ให้สำเร็จ เราก็เลือกอันนั้นมาทำก่อน เพราะเราก็รู้ว่า พวกเราก็มีงานหลายภารกิจ และเป็นธรรมชาติของหลายๆ หน่วยงานในส่วนกลางที่จะมีเวลาว่างตรงกันไม่ค่อยมากนัก เพราะฉะนั้น ก็คงต้องเลือกว่า ทำอะไรก่อน ให้สำเร็จไปทีละเรื่องก็ได้ และอาจจะต้องกำหนดวันให้ชัดเจน อย่างที่กำหนดก็คือ คนอื่นจะได้หลีกเลี่ยงที่จะไม่มีกิจกรรมในวันนั้น

นพ.สมศักดิ์ ให้ความเห็นว่า ... ผมคิดว่า คำถามนี้เป็นคำถามเรื่อง หัวปลา คิดว่าคำถามเรื่องหัวปลาจะใหญ่ จะเล็กขนาดไหน จะทำกี่เรื่อง เรื่องมันใหญ่เล็กยังไง พวกนี้มันเป็นเรื่องที่ไม่มีคำตอบตายตัว ผมพยายามที่จะหาหลัก เพื่อจะตอบคำถามนี้ และผมขอตอบว่า อย่ามีหลักเลย ถ้ามีหลักแล้วมันก็จะปวดหัว ยกตัวอย่างหลักหนึ่งที่เคยพบ คือ ถ้าตั้งหัวปลา แล้วเขียนให้มัน Specific target หรือobjective ไม่ได้ ก็แปลว่า มันกว้างไป เช่น คำว่า การสร้างเครือข่าย มันกว้างมาก ไม่รู้แปลว่าอะไร สมมตินะครับ ถ้าบอกว่า “แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทำให้หน่วยงานดังต่อไปนี้ เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานสนับสนุนงานส่งเสริมสุขภาพ” พอลงท้ายด้วยสนับสนุนงานส่งเสริมสุขภาพปุ๊บ หน่วยงานต่อไปนี้ก็จะชัดว่า ต้องเป็นหน่วยงานสนับสนุน เราก็เขียนไปเลยว่า 4 หน่วยงาน 3 หน่วยงาน หรือ 5 หน่วยงาน มันก็จะกว้าง ชัดกว่าคำว่าเครือข่าย นี่ก็เป็นตัวอย่าง ทีนี้ ถ้าเราจะสรุปบทเรียนเป็นหนังสือ 1 เล่ม ก็คือว่าถึง วิธีการจะชวนพวกนี้เข้ามาทำงาน ทำยังไง ชวนมาทำอะไรบ้าง ชวนยังไง นี่ก็เป็นการยกตัวอย่าง

เรื่อง Note taker … อยากรู้เรื่อง Note taking ทำยังไง ก็ ... ลงมือทำ ... ในเรื่อง Note taker สิ่งสำคัญมากที่ผมพบ ในฐานะที่ผมชอบ Note มาก เวลาที่คนคุยกัน ก็จะมีอยู่ 2 อย่าง

  • อย่างที่ 1 คือ ฟัง คนฟังต้องฟังเป็น คือ สุนทรียสนทนาจริงๆ หลักสำคัญของสุนทรียสนทนา คือ ฟัง ไม่ได้พูด คือ ฝึกฟัง ไม่ได้ฝึกพูด ... ทีนี้ การฟัง ที่ผมพบว่าสำคัญมาก คือ ฟังแบบไม่มี Judgment เช่น พอเขาพูดๆ ปุ๊บ ก็สงสัยว่า ไม่จริงน่ะ ใช่เร้อ พอฟังปุ๊บแล้วมี reaction อย่างนี้ นี่ก็คือ เราจะ capture ไม่ได้ละ ... เพราะฉะนั้น เวลาฟัง ต้องพยายามหยุด ตั้งสติ หยุดตัวเอง อย่าเอาความคิดปรุงแต่งมากเกิน อย่าเอาประสบการณ์เข้าไปด้วย วิธีหนึ่งก็คือ ต้องมีความศรัทธาในคนพูดก่อน ฟังด้วยความศรัทธา เชื่อว่าเขามีความรู้จริง อย่าเพิ่งไปบอกว่า ไม่จริง ตำราไม่ใช่อย่างนั้นสักหน่อย นี่เขาพูดเรื่องอะไร
  • หลักที่สองที่คิดว่าไม่แพ้กัน คือ มีกรอบอะไรบางอย่าง กรอบอะไรบางอย่างที่ว่านี้ก็ต้องระวัง ผมคิดว่าเป็นเรื่อง หัวข้อ ยกตัวอย่างเช่น ผมเองก็พยายามแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องงาน ก็จะถามว่า เขากำลังพูดเนื้องาน หรือวิธีทำงาน และผมก็จะแบ่งเป็น 2 อันเสมอเลย ว่า อันนี้เขาพูดเรื่องเนื้องานนะ อันนี้พูดเรื่องวิธีทำงาน ผมจะพยายาม ในบริบทของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก็จะถามว่า ที่เขาพูดเป็นความเห็น หรือเป็นประสบการณ์จริง ซึ่งผมก็พยายามแยกแยะพอสมควร

เรื่อง Note taking ประเด็นก็คือว่า เป้าหมายของการทำ Note taking เวลาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้ มันก็ไม่แน่ว่าจะเอาเป้าหมายอะไร ผมยกตัวอย่างที่ว่าด้วยเรื่องของ Home Health Care ผมเข้าใจว่า ตอนแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง Home Health Care เป้าหมายคือ อยากจะรู้ว่า อะไรคือ สิ่งที่เรียกว่า บริการ Home Health Care ที่ให้ๆ กันอยู่ ก็ชวนมาเล่าให้ฟังว่า Home Health Care ของคุณมาทำอะไรบ้างล่ะ ผมไม่แน่ใจนะ ว่า 50 รายการที่ว่า ก็คือเป็นสิ่งที่ผมเรียกว่า Service package หรือ Service Item ของ Home Health Care แต่ว่า เวลาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มันมีอีก level คือ วิธีทำงาน วิธีทำงานคือ How to deliver those items เป็นตัวอย่าง เพราะฉะนั้น เวลาฟังผมก็จะพยายามแยกแยะ คือ ไม่ปนกัน ทีนี้ การมีโครงบางอย่าง เพื่อใช้ในการ take note ก็จะช่วยทำให้เรา take note ได้ดีขึ้น ว่า อ้อ เวลาเราอยากฟังก็ นี่คือสิ่งที่เราอยากฟัง ก็บันทึก นี่เราไม่อยากฟัง ก็ไม่ต้องจดมาก ไม่งั้นเราก็ต้องจดทุกคำพูดที่เขาพูด และอ่านอีกที อันนี้ก็คงเป็นตัวอย่าง และแน่นอน ของอย่างนี้ก็คงต้องฝึกนะ ฝึกไปเรื่อยๆ คอมพิวเตอร์นี่ก็ช่วยได้มาก ผมก็ยังแย่ เพราะถ้าผมพิมพ์เร็วๆ เหมือนเขียน ก็คงช่วยได้เยอะ ถ้าพวกเรา take note เวลาคนนี้พูด ไปๆ เดี๋ยวก็มีพูดเรื่องใกล้กันเลย เราอยากจดไว้ใกล้กัน ถ้าอาศัยขีดๆ เขียนๆ โยงไปโยงมาเยอะมาก จนคนเห็นใจก็เอากระดาษมาให้ แต่ก็ต่อกันไม่ได้ คอมพิวเตอร์นี่ก็จะดีตรงที่ ถ้าเหมือนกันปุ๊บ ก็เลื่อนไปตรงนั้น ก็พิมพ์ต่อกันได้เลย มันก็อยู่ใกล้กัน ทำให้การจัดการความรู้ง่ายขึ้นเยอะ เพราะว่าถ้ามาเขียน note ด้วยกระดาษ ก็ต้องอ่าน แล้วก็ต้องมา number แล้วก็มา 1 2 3 4 แล้วก็ให้คนเขาไปพิมพ์ต่อ นี่ก็เป็นเทคนิควิธี take note เล็กๆ น้อยๆ ก็มาแลกเปลี่ยนกันได้เหมือนกัน

คุณศศิวิมลถามต่อว่า ... แล้วสิ่งที่เราเอามาสกัด เป็นความเรียง เป็นคำพูดที่เราจดมาได้ หรือต้องมาเรียงเป็นภาษาเขียนล่ะ ... ที่ถามก็เพราะว่า หนึ่งในกิจกรรมในแผน KM ก็คือ สรุปรวบรวมองค์ความรู้ และทำเป็นรูปเล่ม และเผยแพร่ ซึ่งอาจต้องถูกประเมินกิจกรรมนี้ด้วยหรือเปล่า

นพ.สมศักดิ์ ได้คุยต่อว่า … ก็คงถูกประเมิน ครับ แต่ไม่เป็นไร ก็ให้ทำมาก่อน
เรื่องนี้ ผมคิดว่ามัน Mix กันนะ บางคนก็บอกว่า จดคำพูดก็ดีนะ เขียนแบบเหมือนอ่านเล่น อ่านเล่นก็ได้ความรู้ดีนะ ผมก็ลองดู ผมก็ไม่ได้ว่าเป็นวิธีที่ดี แต่มันก็เหมือนกับวิธีที่ อ.วิจารณ์ เขียนหนังสือ เรื่องจัดการความรู้ จัดการงานวิจัย เหมือนเวลาเขียน blog ก็คือว่า เราก็เล่าไปเรื่อยๆ ว่า เราทำอะไร เราคิดยังไง และผมพบว่าการบันทึกประเภทนี้ ถ้าเราบันทึกเอง ก็จะมีประโยชน์มาก เพราะคนอื่นก็จะมาอ่านวิธีคิดของเรา ทีนี้ถามว่า เวลาเขาเล่า เขาเล่าวิธีทำงาน ควรจะไปพยายามแปลงของเขาไหม ผมก็ไม่กล้าพูดเท่าไร คนบางคนที่จดเรื่องที่เขาเล่าแบบ Verbatim บางทีคนที่เล่าเก่งๆ มาอ่านทั้งเรื่องก็ดีกว่าจด เพราะว่าคนจด อาจจดมาเหลือสัก 10 ประโยค อันนี้ ผมก็ยังไม่คำตอบสำเร็จรูปนะครับ

คุณศศิวิมล ตั้งข้อคำถามต่อว่า ... เวลาเราถอดความ ทำ In-depth interview หรืออะไรที่ต้อง coding คำพูด เราก็เอาคำพูดเขามาใส่ในเครื่องหมายคำพูด ก็ไม่แน่ใจว่า เวลาทำ CoP นั้น เราต้องทำอย่างนั้นหรือเปล่า

ทพญ.นนทลี ขอเสริมประสบการณ์การบันทึกว่า ... จากการได้มาทำ KM ก็มีความต้องการที่จะเรียนรู้ไปด้วย เพราะฉะนั้น ในการตามบันทึกการบรรยายของทีม จะใช้วิธีการ record เรื่องราวที่ในวงคุยกัน เช่น จากประสบการณ์ของศูนย์ 1 ที่ได้บันทึกเทป และถอดเทป พิมพ์เรื่องราวออกมา เท่ากับเป็นการฟังอีกหนหนึ่ง ก็จะทำให้มีความเข้าใจได้ดีขึ้นด้วย ... ผลการถอดบทความตรงนั้น ก็จะใช้วิธีการปรับข้อความให้มีความต่อเนื่องกันแปลเป็นการถอนดเรื่องราว มาเล่าต่อ ซึ่งการฟัง + การถอดเรื่องราวด้วยการถอดเทป ทำให้สามารถประมวลได้ว่า คนพูดเขาสื่อความหมายอะไร ... มีตัวอย่างให้อ่าน ใน GotoKnow ในเรื่องของการจัดการความรู้ของศูนย์อนามัยที่ 1 นะคะ ว่าจะเห็นเป็นการต่อเนื่องหรือไม่

ตรงนั้นได้มาจากการฟัง การถอดเทป และการมาเรียบเรียงเป็นเรื่องราวต่อเนื่อง เพราะว่าบางครั้งจะพบว่า คนพูดไม่ได้พูดต่อเนื่องกัน และในคนที่คุยเก่ง การถอดเรื่องราว ก็จะได้อารมณ์สนุกสนานตรงนั้นด้วย และคิดว่า มันเป็นผลให้ได้รับรู้ถึงความคิดของเขาในขณะนั้นด้วย เพราะว่า สิ่งที่เขาพูดก็เป็นความคิดของเขาเองล้วนๆ ประกอบกับส่วนตัวไม่ชอบสรุป หรือการตัดทอนคำพูด แต่จะชอบการนำมาร้อยเรียงเป็นความ เพราะต้องการที่จะถ่ายทอดเรื่องเล่า เพื่อที่จะให้คนอื่นมาคุยด้วยต่อ

คุณปรานอม ภูวนัตตรัย สำนักที่ปรึกษาคุณปรานอม ให้ความเห็นว่า ... ในเรื่องการทำรูปเล่ม ตัวเองเข้าใจถึงความพยายามที่จะทำอะไรออกมาเป็นรูปเล่ม จากประสบการณ์ที่ได้ทำวิทยานิพนธ์ต่างๆ เขาก็จะบอกว่า ถ้าเราจะทำเรื่องอะไร ถ้าบางครั้งเหมือนกับว่า มีข้อมูลเยอะ แต่เราไม่อยากทิ้ง หรือจะเข้าเรื่องโดยตรงก็ไม่ได้ เวลาทำเล่มก็อาจจะมาอยู่ภาคผนวกก็ได้ แต่ว่า Topic ที่เราจะมี ก็ควรอ่านแล้วให้จบข้างหน้าเลย เป็นเรื่องของเราที่จะสามารถใส่ไว้ด้านหน้า ทำให้อ่านเรื่องแล้วก็ให้รู้ว่า เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ก็มีประเด็นเรื่องที่สอดแทรกเข้าไปในภาคผนวก

ส่วนการอ่าน ที่จะสรุปดีหรือไม่ ก็อาจจะเป็นแค่ความเห็น เพราะว่าคนเรามีการเล่าหรืออะไรที่เหมือนกับเราฟังแล้วเพลิน มันเหมือนกับความเรียง ที่เราอ่านแล้วเหมือนอ่านนิยาย มันจะลื่นไหล แต่บางครั้งความคิดของคนเราอาจไม่ต่อเนื่อง พอไม่ต่อเนื่อง ถ้าเราสามารถที่จะจับมาร้อยเรียง ซึ่งเราอาจจะแทรกในส่วนของตัวเชื่อม ที่ไม่ทำให้เนื้อความเปลี่ยน ซึ่งก็สามารถได้มาเป็นข้อสรุป ตรงนี้จึงเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ถ้ามันไม่ตายตัวว่า ไม่เป็นแบบไหน มันก็จะขึ้นกับเนื้อหา หรือสิ่งที่มีอยู่แล้ว

คุณศรีวิภาได้เสนอประสบการณ์ในเรื่องนี้ว่า ... ในฐานะที่ตัวเองได้ลองทำทั้ง 2 version คงจะเป็นความรู้สึกส่วนตัว ก็คือ ในส่วนหนึ่งคือ การพยายาม capture ออกมาเป็น knowledge asset โดยเป็นลักษณะของวิชาการจริงๆ โดยบอกประเด็นว่า ที่ประชุมเมื่อคราวที่แล้วที่คุยกันมานั้น มีประเด็นสาระสำคัญอะไรบ้าง ก็ออกมาเป็นลักษณะเป็น bullets กับอีกอันที่พยายามทำอยู่ก็คือ การเขียน เขียนแบบเรื่องเล่า หรือว่าเก็บมาตัดต่อ ตอนนี้กำลังเขียนเรื่องที่พี่แจ๋ทำอยู่ในเรื่อง การตรวจเต้านมด้วยตนเอง

คุณศรีวิภา เลี้ยงพันธุ์สกุล สำนักที่ปรึกษาและสิ่งที่รู้สึก ก็คือ เวลาที่เราฟังมา แล้วเรามาเขียนทีละ shot แบบ bullet ในเชิงวิชาการ มันให้ความรู้สึกที่แข็ง และอึดอัดพอสมควร มันเหมือนกับเราต้องมาสังเคราะห์ วิเคราะห์เป็น step ในสไตล์ของนักวิชาการ มันรู้สึกว่ามันใช้เวลาค่อนข้างเยอะ กับในเวลาที่เรามาเขียนแบบที่ย้อนกลับไปอ่านของคุณหมอนน ที่ได้ถอดคำพูดมา มันกลับให้ความรู้สึกที่ดี และสบายใจ ที่จะได้บอกกับใครสักคนว่า เราคิดยังไง อะไรยังไง เหมือนกับเมื่อเช้าที่เราได้ไปเยี่ยมหน่วยงานกองคลัง คุณหมอนันทาได้พูดเรื่องของแดจังกึม มันคล้ายๆ อย่างนั้น ว่า การได้ไปฟังมา เหมือนกับเรื่องของหมอซินปีในแดจังกึม ซึ่งเป็นหมอหลวงคนหนึ่ง ที่เขาจดรายละเอียดทุกอย่าง เพื่อให้รู้บริบทว่า เกิดอะไรกับคนๆ นั้น ซึ่งเวลาที่เราเขียนเป็น bullet นั้น ไม่สะท้อนอย่างนั้น มันบอกแต่ว่า คุณหมอสมศักดิ์สรุปในที่ประชุมว่า แผนปี 49 ต้องเป็นอย่างนี้ 50 อย่างนี้ 51 อย่างนี้ แต่วิธีคิดของท่านเราไม่ได้ code ออกมา และถามว่า ประโยชน์กับคนที่ได้ ประโยชน์ถ้าจะได้เยอะที่สุด ก็ควรจะรู้ว่า การที่เป้าหมายของปี 49 มันมายังไง ต้องสืบกลับไปดูว่า และคุณหมอคิดยังไง และที่ประชุมเขาว่าอย่างไร

เพราะฉะนั้น ถามว่า Note taker อย่างไหนดี ก็คงอยู่ที่ใครชอบ แต่ถ้าถามว่าประโยชน์ที่ได้ ก็บอกว่า ถ้าคุณต้องการรู้ขั้นตอน อะไรสั้น ก็คงเป็นการสกัดออกมาเป็น shot แต่ถ้าอยากรู้วิธีคิด ที่มาที่ไป การเขียนอย่าง success story และเขียน detail ทุกอย่าง จะทำให้เรารับรู้บริบทถึงวิธีคิด ที่มาที่ไป

แต่ถ้าถามตัวเอง เมื่อมาถึงเวลานี้ มีความรู้สึกว่าถ้าได้เขียนบันทึกละเอียด บอกว่าใครคิดยังไง พูดยังไง มันทำให้เราสบาย และรู้สึกว่าไม่เป็นภาระที่ต้องมานั่งสรุป การสรุปนั้นมันใช่หรือเปล่า คงต้องย้อนถาม มันเผลอเอาความรู้สึกของเราใส่เข้าไปด้วยหรือเปล่า มันตรงกับคุณหมอสมศักดิ์ไหม บางทีเราต้องคิดในจุดนี้ด้วย เพราะว่านักวิชาการมักจะเผลอที่จะใส่ความรู้สึกของตัวเอง อาจบวกเอาทฤษฎีบางอย่างใส่เข้าไปด้วย ถึงแม้ว่าจะพยายามรักษาคำพูดของต้นฉบับไว้ก็จริง เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดของ KM ตอนนี้เราพยายามที่จะเรียนรู้ และพัฒนาคน พัฒนาวิธีคิด ก็คงเป็นตัวอย่างเล็กๆ ที่ให้ตัดสินใจเองจะดีกว่า และเดี๋ยวลองทำกันเยอะๆ สักพักหนึ่ง แล้วลองเอามาคุยกัน ว่า ชอบแบบไหน ชอบเหมือนกันไม๊ และถ้าไม่ชอบ อย่างไหนที่คุณคิดว่า มันเหมาะกับวิธีเขียนของคุณ และคนที่ไปใช้ ชอบแบบไหน

คุณศศิวิมล เล่าประสบการณ์ว่า ... ตัวเองก็เคยเป็น note taker พอไปเขียน พอสรุปก็รู้สึกว่าตัวเองใช้ประสบการณ์ไปด้วย ก็เลยคิดไปว่า มันใช่หรือเปล่านะ และใครล่ะจะเป็นคนตรวจให้เราได้ว่า สิ่งที่เราสรุปจากคำพูดของเขานี้ ใช่แล้ว ถูกต้องแล้ว จะกลับไปให้เขาดูใช่ไม๊ ว่าที่เขาพูดอย่างนี้จริงหรือเปล่า สู้ไม่ทำดีกว่า

นพ.สมศักดิ์ ให้ความรู้สึกว่า ... ก็เป็นความกังวลอย่างหนึ่งนะครับ

จากตรงนี้ ผมว่า น่าจะพอสรุปได้คร่าวๆ ว่า มันคงมีหลาย Form และโดยหลักการ คนก็อยากได้อะไรที่ไม่ใช่ทั้งหมด แต่ว่าบางครั้งเขาก็อยากรู้ว่า original นั้นมันเป็นยังไง ส่วนใหญ่คนก็อยากฟังสรุป แต่ว่า สรุปแค่ไหน สรุปยังไง อันนั้นเป็นตัวสำคัญ และถ้าอ่านแล้วก็คิดว่า ไม่ต้องมาฟังก็สรุปได้แล้วละ สงสัยแย่ละ และที่ว่า ไอ้ที่สรุปมาก็คล้ายๆ กับเราทั้งหมด ก็ไม่ค่อยดีเท่าไรแล้ว

คุณศรีวิภา มี comment น้อยๆ ว่า ... ที่แย่กว่านั้นก็คือ เวลาสรุปไปแล้ว ก็ไม่มีใครมาบอกว่า ใช่ไม๊ เราเก่งหรือ สรุปไม่ผิดเลยหรือ

นพ.สมศักดิ์ เพิ่มเติมให้ว่า ... บางทีต้องยอมรับว่า ของพวกนี้ เวลาอ่านก็จะแล้วแต่คนอ่าน ผมเองโดยส่วนตัวจะชอบมาก เวลาที่ไปฟังอะไรสักอย่างแล้ว สิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน ผมก็จะรีบจดเลย แต่แน่นอนว่า จดปุ๊บก็จะเป็นคำพูดของเราเลย ซึ่งอาจจะไม่กับที่เขาว่าก็ได้นะ และเวลาที่ใครบ้างคนจด Original และก็บอกว่า เขาก็ไม่ได้เหมือนที่เราจดเลย ก็ OK ไม่เห็นเป็นไร

ผมเข้าใจว่า ใน Format ที่ อ.วิจารณ์มาเผยแพร่ไว้ บอกว่า ให้ทำ 2 อย่าง คือ

  • บอกว่า อะไรคือ ขุมความรู้ หรือข้อสรุปสำคัญๆ และ
  • ให้บอกว่า แหล่งคืออะไร แหล่งคือ นพ.พิเชฐ รพ.บ้านตาก พูดเมื่อวันนี้ๆ และมี original ก็คือมีคำพูดที่เขาอัดเทปไว้ หรือไม่ก็มีคำพูดที่เขาถอดเทปไว้ นั่นก็เป็นสิ่งที่เรียกว่า การจัดการความรู้ เพราะนั่นก็คือ สิ่งที่เรียกว่า original

ยังไงก็ตาม เราก็คงต้องคิดกันต่อกันนะคะว่า ช่วงที่เราแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขณะนี้ เรากำลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดการความรู้ ... เพราะฉะนั้น การที่เรา จะทำอย่างไร ทำอะไร สิ่งนั้นก็คงเป็นสิ่งที่เราจะช่วยกันไปสรุปในตอนสุดท้าย ว่า มีวิธีการอย่างใดที่เหมาะสมกับคนกรมอนามัย

หมายเลขบันทึก: 14350เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2006 23:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท