ใช้ Technology Roadmap เสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันขององค์กรได้อย่างไร


หลายองค์กรก็เริ่มนำแนวคิดนี้มาใช้แล้ว
ฟ้าครับ
Roadmap
เมื่อวานนี้มีการจัดอบรมสัมมนาเรื่อง "ใช้ Technology Roadmap เสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันขององค์กรได้อย่างไร" ที่โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ จัดโดยศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค มีผู้สนใจเข้าร่วมประมาณ 100 ท่าน
แผนที่นำทางเทคโนโลยี (Technology Roadmap) เป็นกระบวนการและวิธีคิดในการจัดทำแผนกลยุทธ์สำหรับบริหารจัดการเทคโนโลยีแบบใหม่ โดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ การตลาด ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และทรัพยากรเข้าด้วยกันในช่วงเวลาต่าง ๆ ปัจจุบันเป็นที่นิยมแพร่หลายในบริษัทชั้นนำทั่วโลก ในประเทศไทยหลายองค์กรก็เริ่มนำแนวคิดนี้มาใช้แล้วในการบริหารจัดการเทคโนโลยี ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและในหน่วยงานวิจัยและพัฒนา จนถึงหน่วยงานด้านนโยบาย
การสัมมนาเมื่อวานนี้เป็นภาคแนะนำ (introduction) เพื่อให้รู้จักและสามารถเห็นแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่จะมีการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการสำหรับองค์กรที่สนใจจริง ๆ ในเดือนมีนาคม 2549 ตลอดทั้งเดือน
มีคำถามเชิงข้อคิดเห็นที่น่าสนใจจากท่านผู้เข้าร่วมท่านหนึ่ง ว่าจริง ๆ แล้วการทำ roadmap จะต้องทำตั้งแต่ระดับใหญ่ให้เห็นภาพรวมของประเทศก่อน เปรียบเหมือนสร้างทางหลวงสายหลักก่อน แล้วจึงมาทำถนนสายรองก็คือ roadmap รายส่วน รายอุตสาหกรรม หรือบริษัท ไม่ใช่หรือ?
คำตอบในเรื่องนี้ก็คงแล้วแต่มุมมองของแต่ละคนครับ
แต่จากประสบการณ์ผมคิดว่าการทำภาพรวมเปรียบไปก็คล้ายกับการทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของเราทุก ๆ 5 ปี ถามว่ามันได้ผลหรือไม่ ถ้าไปถาม TDRI ก็คงบอกว่าไม่ได้หรอก คราวนี้ถ้าเราคิดว่า roadmap ระดับชาติมันมีประโยชน์จริง ๆ (ซึ่งเกาหลีทำได้สำเร็จ และดูเหมือนมีประโยชน์มากด้วย) การลงมือทำมันต้องใช้ทรัพยากร ความเชี่ยวชาญของคนที่มาร่วมกระบวนการ ที่สำคัญคือการมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึงของทุกภาคส่วน เราจะรอไหวหรือไม่ และมันจะอุ้ยอ้ายเกินไปที่จะตอบโจทย์ของภาคส่วนเล็ก ๆ หรือไม่ ประเด็นนี้คงต้องเอามาคิดกัน
โดยส่วนตัวผมคิดว่า ระดับไหนพร้อมก็ควรทำไปก่อนเลยครับ เพราะว่า roadmapping เป็นกระบวนการที่ต้องปรับให้ทันสมัยอยู่เรื่อย ๆ อยู่แล้ว ทำจากส่วนเล็กไปหาใหญ่ก็ไม่เสียหาย เหมือนน้ำเซาะทรายไปเรื่อย ๆ จนถึงวันที่ทุกคนเห็นประโยชน์ของมัน ก็สลายหินผาได้
ฟ้าว่าไงครับ?
หมายเลขบันทึก: 14349เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2006 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แนวคิดการทำTechnology Roapmapping ก็มีส่วนคล้ายกับ Foresight Process นะครับ  แต่ประการสำคัญก็คือผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องลงมาผลักดันด้วยและจากบทเรียนที่ผมได้รับและพยายามแก้ปัญหาขณะนี้ก็คือ ทำอย่างไรจะนำผลจากการทำRoadmapไปintegrateกับแผนขนาดใหญ่ขององค์กร เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงตามroadmapได้

ฝากบอกคุณพ่อน้องฟ้าค้วยว่า ทำหน้าที่เป็นผู้แปลการบรรยายของผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นด้านวิทยาศาสตร์ได้สละสวยและรัดกุมมากครับ

ถ้าดูตัวอย่าง technology roadmap ของเกาหลี ที่ทำขึ้นช่วงประมาณปี 2001 - 2002 ผมคิดว่าเขาค่อนข้างประสบความสำเร็จในการนำ roadmap ไปเ็ป็นส่วนประกอบย่อยของแผนแห่งชาตินะครับ รู้สึกว่าเขาจะเริ่มจากการทำวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม 5 ด้าน แล้วแตกแต่ละวิสัยทัศน์ออกมาเป็นหลาย ๆ หัวข้อ แต่ละหัวข้อเป็น "สาขาการประยุกต์ใช้" ของเทคโนโลยี แล้วสุดท้ายจึงทอนแต่ละเทคโนโลยีออกมาเป็น roadmap ได้เกือบร้อย roadmap เห็นแล้วน่าเหนื่อยแทนครับ ได้ยินว่าคนทำแทบไม่ได้หลับไม่ได้นอนเป็นปี

ส่วนการปฏิบัติจริงตาม roadmap เขาทำได้มากน้อยเพียงไร ไม่ค่อยแน่ใจครับ เพราะข้อมูลส่วนใหญ่เป็นภาษาเกาหลี และถึงอ่านออกก็คงเข้าไม่ถึงความจริงอยู่ดี ผมยังไม่มีโอกาสถามผู้เกี่ยวข้องสักที ถ้าทาง most มีโอกาสผมฝากสืบดูด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท