เขียนโครงการอย่างไรให้เข้าท่า


เอกสารโดย นพ.ชาตรี เจริญศิริ รพ.น่าน
หลักการ และ เหตุผล 
ระบุข้อมูลของพื้นที่ หรือของกลุ่มเป้าหมายที่จะทำ 
แสดงความเป็นเหตุ-เป็นผล เชื่อมโยงสมุหทัยซึ่งทำให้เกิดทุกข์  คาดการณ์ถึงทางออก (โดยทบทวนเอกสารหรือโครงการที่เคยมีผู้ทำแล้วได้ผลมาแล้ว) 
บอกให้ชัด จะทำอะไร กับใคร ทำไม และอย่างไร 
ระบุพื้นฐาน ทุนเดิมที่มี แล้วจะต่อยอดอย่างไร 
  
วัตถุประสงค์ ระบุออกมาเป็นข้อ ต้องการ ผล อะไร ที่จะเกิดกับใคร อาจบอกด้วยว่าอย่างไร เช่น ต้องให้ความรู้ที่อยู่ในข้าราชการเกษียณอายุ ถ่ายทอดและสืบค้นได้ (ต่างจาก การจัดสัมมนาข้าราชการเกษียณอายุ    จัดเป็นกิจกรรม มิใช่วัตถุประสงค์อันเป็นที่ยอมรับ) 
วัตถุประสงค์ต้องประเมินหรือวัดผลได้ 
มีความจำเพาะ ไม่เลื่อนลอย หรือครอบจักรวาล เช่น ระบุสั้นๆ ว่าต้องการให้คนมีสุขภาพดี! 
สอดคล้องกับหลักการเหตุผล 
อาจแบ่งเป็นวัตถุประสงค์ทั่วไป และวัตถุประสงค์เฉพาะเป็นข้อย่อย 
  
กลุ่มเป้าหมาย 
§        การเฟ้นหากลุ่มเป้าหมายทำให้พุ่งจุดเน้น กิจกรรม ทรัพยากร ลงตรงเป้า ได้ผลเต็มๆ ไม่เหวี่ยงแห  
§        เหตุผลที่เลือกกลุ่มเป้าหมายนั้น 
§        วิธีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย 
§        อาจระบุทฤษฎีหรือสมมติฐานที่สนับสนุนให้ตัดสินใจเลือกกลุ่มเป้าหมายนั้น 
  
กิจกรรม 
§        ตอบวัตถุประสงค์เป็นรายข้อ วัตถุประสงค์มีสิ่งใด ต้องมีกิจกรรมรองรับ หรือ ทำให้เป็นผลขึ้นมา 
§        ระบุให้ชัดเจนที่สุด จะทำอะไร กับใคร อย่างไร คาดหวังผลใด เน้นการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของโครงการ 
§        กิจกรรมต้องนำสู่ผลที่ต้องการตามที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ ไม่เปะปะ หรือ แค่ได้ทำก็พอใจแล้ว 
การประเมินผล รวมถึง การติดตาม กำกับ 
“We cannot improve what we cannot measure”
Peter Drucker
§     จุดนี้เป็นจุดตาย การประเมินผลจะช่วยคัดท้ายการจัดการ และกิจกรรมให้ตรง และตอบวัตถุประสงค์ได้อย่างมี      ประสิทธิภาพ ไม่หลงทาง ไม่ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ 
§        การประเมินผลที่ดี ต้องเป็นเนื้อเดียวกับกิจกรรม เหมือนส่องกระจกก่อนล้างหน้าแปรงฟัน มิใช่รอเสร็จโครงการก็ประเมินครั้งเดียวจบกันไป  
§        ประเมินก่อนดำเนินการ คือ ต้องมีข้อมูลพื้นฐานในมือ 
§     การประเมินขณะดำเนินการนั้น มีวิธีการหลักๆ ได้แก่ การใช้ เครื่องมือวิธีการซึ่งเป็นที่ยอมรับมาวัด และ การประเมินผลอย่างมีส่วนร่วม คือ ให้ผู้รับผลร่วม ออกแบบ เครื่องมือที่จะนำมาวัด แล้วปรับปรุงจนวัดได้จริง 
§        ต้องระบุให้ชัดว่าจะใช้การประเมินหรือวัดเชิงปริมาณ หรือ คุณภาพ หรือ ใช้ทั้งสองอย่าง ในกิจกรรมใด เพื่อประเมินผลด้านใด 
§     การประเมินหลังดำเนินการ โดยทิ้งช่วงระยะหนึ่งแล้วประเมิน เหมาะกับการประเมินพฤติกรรมอันพึงประสงค์ เช่น การเลิกบุหรี่มีการประเมิน ทุก 3 เดือนเป็นเวลา 1 ปีพบว่า หลายคนเลิกสูบบุหรี่ระยะหนึ่ง แต่กลับมาสูบอีกในเดือนที่ 9 หลังกิจกรรม 
§        การทบทวนวรรณกรรม ทำให้ได้รูปแบบการประเมิน รวมถึงเครื่องมือที่นำมาประยุกต์ใช้ได้ และเพิ่มความน่าเชื่อถือ 
  
งบประมาณ 
§        ไม่มีแหล่งทุนใดเต็มใจให้เงินไปกับความไม่ชัดเจน หรือ    ไม่คุ้มทุน หรือตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ทำซ้ำๆ ตามที่เคยทำ 
§     ต้องเขียนให้เห็นการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เงิน     ลงทุนน้อย ได้ผลจริง ได้ผลมาก  ต่อเนื่องนาน เมื่อเทียบกับโครงการอื่นๆ ที่ขอเงินผ่านแหล่งทุนนั้นๆ 
§        ระบุที่มา ที่ไปของเงิน และกลไกการกำกับความโปร่งใส 
  
การขยายผล 
§     ให้ระบุการขยายผลทางกว้าง(มีเครือข่าย) และความ      ต่อเนื่อง หลังจากเงินที่ได้รับการสนับสนุนหมดลง และโอกาสที่ผู้อื่นจะนำกระบวนการไปประยุกต์ใช้ได้ต่อไป 
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14339เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2006 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ได้ความรู้
  • เกิดความเข้าใจ
  • พร้อมนำไปปฏิบัติ
  • ขอบพระคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท