โทรทัศน์ : สื่ออันตรายที่สร้างความคิด


ยาเสพติดเป็นภัยต่อชีวิตเป็นพิษต่อสังคม สิ่งเสพติดกักขังชีวิต สร้างพิษทางอารมณ์

หลังจากที่ปิดโทรทัศน์มาหลายสัปดาห์ ผมต้องหวนกลับมาเปิดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของสังคม เมื่อเปิดปุ๊ป ช่องที่ผมโปรดปรานคือ ๙ ไม่ใช่ชอบเพราะเป็นเลขที่คนถือว่าเป็นมงคลอะไรหรอก หากแต่ผมพบว่า มีสาระตรงกับจริตผมมากทีเดียว รายการโปรดก็คงจะเป็นบันทึกโลก อะไรประมาณนั้น แต่การเปิดครั้งนี้ผมก็ไม่ลืมช่องอื่นๆ และพบว่า ช่อง ๓ ๕ ๗ จะมีละครให้เราดูแบบผ่อนคลาย ผมไม่มั่นใจว่าผ่อนคลายหรือไม่ หากเราใส่อารมณ์กับเนื้อเรื่อง และผมก็มองอีกว่า การที่เด็กมีความก้าวร้าว แสดงออกทุกๆ อารมณ์ ไม่รู้จักข่มจิตข่มใจตัวเอง ก็น่าจะมาจากเนื้อเรื่องในละครด้วยเหมือนกัน หากเราจะเปรียบเทียบตัวเอกในเรื่องระหว่างอดีตกับปัจจุบันช่างต่างกันนัก เพราะนางเอกปัจจุบันก็คือนางร้ายในอดีตนั่นเอง

สิ่งที่น่าเหนื่อยใจคือ การโฆษณา แต่นั่นแหละ การโฆษณานี่เองที่สร้างความมั่นใจให้กับสินค้า สินค้าหลายตัวได้รับความนิยม ประสบความทางการเงินสูงก็เพราะโฆษณานี่เอง ผู้ดูคือเหยื่อชั้นยอด โดยเฉพาะคนระดับรากหญ้าที่รู้ไม่ทัน แต่ก็ไม่ได้หมายว่า สินค้าบางตัวไม่มีประโยชน์ แต่อีกนั้นแหละ มันไม่ยุติธรรมกับการใส่ค่าโฆษณาลงในราคาสินค้า ทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น อันที่จริง ผมคิดว่า ผู้บริโภคไม่ได้จ้างผู้ประกอบการให้ทำสื่อโฆษณาให้ดูแน่

ทุกวันนี้ เราให้เวลาหน้าจอโทรทัศน์กันมาก เพื่อนที่ดียามว่างก็คงเป็นโท รทัศน์ หากย้อนอดีต เพื่อนที่ดียามว่างก็คือ เล่นเป่ายาง กระโดดยาง ปิดตาซ่อนหา หมากเก็บฯ การละเล่นที่รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

ฉันดูโทรทัศน์ฉันต้องดูตัวเองในกระจก

ฉันอย่าคิดว่าตัวเอกในเรื่องคือตัวฉัน เพราะความจริงไม่ใช่ความจริง

คำสำคัญ (Tags): #ศาสนาและปรัชญา
หมายเลขบันทึก: 14334เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2006 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท