Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๒๓)_๑


Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๒๓)_๑

การจัดการความรู้ที่เนียนอยู่ในเนื้องาน: บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (๑)  
ผู้ดำเนินรายการ            ดร. ปรอง   กองทรัพย์โต
ผู้อภิปราย                    คุณรัตนา กลั่นแก้ว รองผู้จัดการทั่วไปด้านการบริหารงานคุณภาพ 
                                 บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด 
วัน/เวลา   วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม 2548  เวลา 13.00–16.00 น.

ดร.ปรอง   กองทรัพย์โต :
         สวัสดีครับ เปลี่ยนใส่หมวกอีกใบหนึ่งแล้วกันวันนี้ เป็นของแถมให้ สคส. นะครับ ตอนบ่ายเป็นของบริษัท  7 ELEVEN ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นอีกมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นบริษัทที่เรารู้จักกันอยู่แล้ว ขนมจีบ ซาลาเปาเพิ่มไหมครับก็เป็นสิ่งที่เราติดปาก เป็นบริษัทที่มีสาขาเยอะมากจะต่างกับที่ภาคเช้าที่เราเห็น คือภาคเช้าอยู่ในที่เดียวกัน คนจำนวนเยอะ แต่ตอนบ่ายเป็นที่กระจัดกระจาย แต่ละที่คนไม่เยอะ แล้วแต่ละที่เขาจะจัดการความรู้อย่างไรเท่าที่ทราบเขามี 3,000 สาขา 7 ELEVEN ทั่วประเทศ นะครับ วิทยากรในวันนี้ คือคุณรัตนา กลั่นแก้ว ท่านเป็นรองผู้จัดการทั่วไปด้านการบริหารงานคุณภาพ สำนักบริหารธุรกิจ บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด ท่านจบระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ จากคณะพาณิชศาสตร์การบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีประสบการณ์ด้านมากมายในภาคเอกชน และประสบการณ์ที่ผ่านมาทั้งหมดจะเกี่ยวกับการพัฒนาคน ในขณะเดียวกันได้ใช้เวลาช่วยเหลือสังคม เป็นวิทยากรและอาจารย์พิเศษในที่ต่าง ๆ นอกจาก อาจารย์รัตนา กลั่นแก้วแล้วยังมีน้องผู้ช่วย เราคงจะได้ฟังดูว่าทาง 7 ELEVEN  ทำอะไร  ในขณะนี้ขอเสียงปรบมือให้วิทยากรทั้งสองท่าน

คุณรัตนา   กลั่นแก้ว :
นำเสนอตัวอย่างโฆษณา 7 ELEVEN
           (นำเสนอโฆษณา ของบริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น  จำกัด ที่ใช้โฆษณาในโทรทัศน์  เพื่อประชาสัมพันธ์ ร้านค้าเซเว่นอีเลฟเว่น ว่าเป็นร้านค้าสะดวกซื้อ ที่อยู่ใกล้บ้าน,มีการบริการที่หลากหลาย ทั้งการขายปลีกในสินค้าอุปโภค-บริโภค,การชำระค่าบริการ และ เต็มใจบริการตลอด 24 ชั่วโมง)
 ค่ะก็พบกับโฆษณาน่ารัก ๆ  ของ 7 ELEVEN เหมือนเดิมนะคะ  ก่อนอื่นก็ขอสวัสดีกับท่านผู้มีเกียรติทุกท่านนะคะที่ให้ความสนใจกับ 7 ELEVEN ก็ยอมรับนะคะว่าในช่วงบ่าย เป็นการพูดที่ค่อนข้างลำบากนะคะ แต่ว่าวันนี้ก็จะพยายามให้ทุกท่านได้มีส่วนร่วม เมื่อเช้านี้ทุกท่านก็ได้ฟัง ดร. ปรอง  ไปแล้วในแนวคิดของ KM แต่ในภาคบ่ายคงจะเป็นแนวปฏิบัติของ KM จริง ๆ แล้วก็ระหว่างที่พูดไปก็อาจจะมีคำถามที่ถามท่านผู้ฟัง วันนี้ก็คิดว่าเราคงจะมาเล่าสู่กันฟังมากกว่า คำว่า KM เราก็ค่อนข้างสับสนเหมือนกันนะคะว่า KM คืออะไร รู้สึกว่ายากยิ่งกว่าหา MK    หลาย ๆ ปีที่ผ่านมาก็ค่อนข้างสับสน คิดว่าหลาย ๆ ท่านก็คงสับสนเช่นกัน แต่ถ้าหา MK นี่ง่ายกว่านะคะ    
วันนี้คงมาคุยให้ฟังว่า สไตล์ของ 7 ELEVEN เราเริ่มจากอะไร นะคะ ก่อนอื่น ขออนุญาตคุยสักนิดว่าบ่ายนี้เราจะมาคุยอะไรกันบ้าง ก็จะมาเล่าให้ฟังว่า วันนี้ 7 ELEVEN เป็นอย่างไร


          การจัดการความรู้ภายใน 7 ELEVEN เรามีการจัดการอย่างไรบ้าง แล้วก็มีการดำเนินงาน Ant Mission และก็ Baby Ant หลาย ๆ ท่านคงสงสัยว่า Ant Mission และก็ Baby Ant คืออะไร Ant Mission ก็คือ มดงานของเรา    และวันนี้นะคะ เรามีระดับ Gloden Ant มานำเสนอด้วยนะคะ ซึ่งเราเพิ่งกลับมาจากประเทศเกาหลี แล้ววันนี้ จะมีมาโชว์ให้ท่าน ในช่วงท้าย ๆ เป็น version ภาษาอังกฤษ ส่วน Baby Ant  ภายนอกก็จะคุ้นเคยกันดีในเรื่องของ suggestion  เดี๋ยวคงจะมาเล่าสู่กันให้ฟังว่า เราดำเนิน Ant Mission และก็ Baby Ant อย่างไร ให้พนักงานเรามีความสุขด้วย ส่วนหนึ่งก็คือเรื่องของสื่อรณรงค์ ซึ่งส่วนนี้คิดว่า หลาย ๆ องค์กรคงจะขาดการรณรงค์ส่งเสริม ส่วนมากก็จะมุ่งทำกันแต่ว่าการรณรงค์ส่งเสริมหรือจูงใจให้พนักงานมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง อาจจะต้องส่งเสริมในจุดนี้ วันนี้ก็จะมีลักษณะเป็น VCD ให้พวกเราได้ดูกันว่าลักษณะที่เรามีพนักงานมีส่วนร่วมรณรงค์ส่งเสริมอย่างไรบ้าง แล้วก็คงจะมาคุยกันถึงความสำเร็จในงาน Ant Mission วันนี้ ก็จะเป็นหัวข้อคร่าว ๆ ที่เราจะคุยกัน


          เซเว่นวันนี้ของเรา ปัจจุบันนี้เรามีถึง 3,280 สาขา ข้อมูล update สุด วันที่ 28 พ.ย. ที่เป็นร้านของบริษัทมีจำนวน 1,944 สาขา และก็เป็นของร้าน franchise 1,148 สาขา  เป็นของ sub-area 188 สาขา ถ้าดูตามจำนวนเป็นร้านของบริษัทประมาณ 59 % และก็เป็น franchise 35 % เป็นของ sub-area 6 % โดยรวมแล้วเราก็อยากจะให้ร้านบริษัทมีลักษณะเป็น franchise ให้มากขึ้น วันนี้ของเรา 7 ELEVEN  เราอยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศ จำนวนพนักงานของเรามี พนักงานประจำ เรามีถึง 15,508 คน แล้วจำนวนที่เป็น part time อยู่ที่ 6,000 กว่าคน รวมแล้วก็ประมาณกว่า 20,000 คน ซึ่งการสื่อสารกว่า 20,000 คน ยากเย็นทีเดียว แต่เราก็ต้องพยายามทุกวิถีทางที่ให้เรามีช่องทางที่สื่อสารได้อย่างทั่วถึงกัน ปรัชญาองค์กร เราปรารถนารอยยิ้มจากลูกค้า ด้วยทีมงานที่มีความสุข พนักงานต้องมีความสุข ติ๊งต่อง สวัสดี หน้าต้องยิ้ม ตาก็ต้องยิ้มด้วย ถ้าท่านใดเข้าไปพบพนักงานในร้านแล้ว  ติ๊งต่อง แล้วยิ้ม ตาไม่ยิ้ม หรือมีอะไรที่ทำให้ท่านรู้สึกว่า ไม่จริงใจ หรือยิ้มแบบจิงโจ้ หรืออะไรแบบนี้นะคะ ร้องมาได้ที่ Call Service เราก็จะไปให้คำปรึกษาน้อง ๆ ว่า เราต้องบริการลูกค้าด้วยรอยยิ้มจริง ๆ อันนี้ก็ต้องฝากลูกค้า ที่น่ารักของเซเว่นด้วย


         วิสัยทัศน์ของเรา เราคือผู้ให้บริการความสะดวกซื้อกับลูกค้าทุกชุมชน คือ เราต้องเป็นผู้ให้บริการให้ลูกค้าสะดวกที่สุด กับทุก ๆ ชุมชน จากการที่เรามีวิสัยทัศน์ขององค์กร เราก็มีการทำแผนพัฒนาองค์กรขึ้นมา ซึ่งแผนพัฒนาองค์กร มันเกิดขึ้นตั้งแต่เราเกิด crisis ปี 40 หลาย  ๆ ท่านพอทราบอยู่แล้วว่าค่าเงินบาทลอยตัว พอปี 41 เราก็คิดกันเลยว่า เราจะมีการพัฒนาองค์กรอย่างไรเมื่อเกิดวิกฤต เราต้องทำให้เป็นโอกาส   เพราะฉะนั้น ในระยะแรกของเรา       

         ปี 2541-2545 นะคะ เรามีการวางแผนพัฒนาองค์กรฉบับที่ 1 ซึ่งในปี 2545 จะเน้นการทำงานแบบ TQM หรือ Total Quality Management แล้วหลังจากนั้นก็มีแผนพัฒนาองค์กรฉบับที่ 2 เกิดขึ้นมา ตั้งแต่ ปี2546-2550 จะเห็นได้ว่า ปี 2548 นี้ เราวางแผนพัฒนาล่วงหน้ามาก็มาตรงเข้า theme พอดี นั่นคือ KM นั่นเอง แล้วก็ท่าน CEO ของเราประกาศนโยบายทุก ๆ  ปี โดยเฉพาะ ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา เราก็ประกาศนโยบายมุ่งสู่องค์กรคุณภาพ เราเริ่มสมัคร TQA ตั้งแต่ปี 2546 เราพูดอย่างไม่อายเลยนะคะว่าเราสอบไม่ผ่าน เราทำอะไรมาเยอะแยะมากมาย แต่เมื่อเราไปประเมินตนเอง ลองสมัคร TQA เราสอบไม่ผ่าน แต่พอมาปี 2547 เราสอบ TQA อีกครั้งหนึ่ง จะเห็นได้ว่าในแผนพัฒนาองค์กรทั้งสองปี ในปี 47 นี่เอง เราผ่าน TQC แต่ยังไม่ได้ TQA แต่เราก็ยังมุ่งมั่นที่จะพัฒนาองค์กร เพื่อองค์กรที่มีคุณภาพต่อไป แล้วมาปี 48 นี่เองท่านก่อศักดิ์ ชัยรัศมีศักดิ์ท่านก็ได้ให้ความสำคัญกับTQM อย่างมาก โดยเฉพาะท่านพูดอยู่เสมอเลยนะคะว่า TQM เปรียบเสมือนศาสนาทางธุรกิจ มีส่วนสำคัญทำให้องค์กรขับเคลื่อนไปข้างหน้าไปย่างมีประสิทธิภาพ ท่านให้ความสำคัญในการทำงานอย่าง TQM อย่างมาก แล้วก็ในปี 2548 เรามีการประกาศนโยบายในทุก ๆ ปี แล้วแต่ละปีเราจะประกาศตามแนวกรอบแผนพัฒนาองค์กร ทุกๆ ปี        แล้วในปี 2548 เราก็ประกาศว่าเราจะมุ่งการเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร จะเห็นได้ว่าผู้บริหารจะเข้ามาประชุมร่วมกัน เดิมทีเราก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรให้พนักงานทุกคนมี commitment ร่วมกัน ที่มีการเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร


          ช่วงนี้คิดว่า เรามารู้จัก KM ภายใน 7 ELEVEN กัน เนื่องจากว่าโดยส่วนตัวก็จะรับผิดชอบงานทางด้าน productivity ให้กับ 7 ELEVEN ก็คือการพัฒนาองค์กรนั่นเอง เราก็คิดกันเลยว่า KM ขององค์กรนี้อยู่ที่ไหน เราจะเริ่มต้นอย่างไรดี เราต้องไปเก็บข้อมูลหรือเราจะต้องไปขุดค้นหรือเราต้องมีไอทีเข้ามา คิดไปคิดมาแล้วก็มองเห็นว่าเราทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิต เรามองเห็นว่าความรู้อยู่ในองค์กรมากมายแล้วทุกกระบวนการมีองค์ความรู้อยู่ทั่วทั้งองค์กรโดยเฉพาะการทำงานกิจกรรม productivity เราเอากิจกรรมเพิ่มผลผลิตมา drive องค์กรหลายตัวมาก แล้วเราก็พบว่ากิจกรรมเหล่านี้ก่อให้เกิดการเรียนรู้ แล้วเกิดองค์ความรู้มากมาย แล้วเป็น KM ที่อยู่ในองค์กรของเรา เราก็เลยเก็บรวบรวมองค์ความรู้เหล่านี้มา share กันภายใน แล้วก็เอาไปขยายผลทั่วทั้งองค์กร โดยเฉพาะเราเอา 7 ส. เข้ามา ซึ่ง หลาย ๆ ท่านอาจจะคุ้นเคยเรื่องของ 5 ส. ใช่ไหมคะ เซเว่นเราใช้ 7 ส. ค่ะ โดยทั่วไป 5 ส. มีอะไรบ้างคะ สะสาง  สะดวก สุขลักษณะ สะอาด สร้างนิสัย อีก 2 ตัว คือ สวยงาม กับสิ่งแวดล้อม เรามี safety เข้ามาด้วยนะคะ เราเอา safety มาพัฒนาองค์กร เราพบว่าในการทำงาน เราเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ทำงานอย่างไรที่มีความปลอดภัย เรามีการทำสื่อประชาสัมพันธ์ safety คดีเด็ด เราก็มีค่ะ เราเคยดูคดีเด็ดนะคะ แต่ของเราก็มีการเล่าเรื่อง safety คดีเด็ด มากมายนะคะ สื่อนะคะว่าจุดที่จะต้องป้องกันให้มีความปลอดภัยอย่างไร


          วันนี้เราคงจะเจาะลึกใน 2 ส่วน ด้วยกันคือ Ant Mission และก็ Baby Ant ว่าเรามีกิจกรรมในส่วนของการเพิ่มผลผลิตอย่างไรบ้าง มีงาน Bee Mission เรามี Ant Mission ก็คือมดงาน Baby Ant ก็คือลูกมด หมายถึง พนักงานทุกคนช่วยกันคิดค้นปรับปรุงกระบวนการทำงานของตนเองให้มีคุณภาพได้อย่างไร แล้วก็ขยายต่อยอดมาเป็น Ant Mission ก็คือ การรวมกลุ่มการทำงานคุณภาพนั่นเอง ในเมื่อลูกมดคิดนะคะ แม่มดหรือมดงานก็จะมารวมกลุ่มกันทำงานคุณภาพ สำหรับ Bee Mission ที่เซเว่น เรามีหลายๆ ชื่อ หมายถึง Top Management ของเราก็ต้องมาช่วยด้วยเหมือนกัน วันนี้จะให้ท่านมารู้จักอยู่ 2 ตัวคือ Ant Mission และก็ Baby Ant ส่วน PCS ก็จะเป็นเรื่องของการสื่อสารระหว่างหน่วยงาน  เรามีการประเมิน เมื่อเรามาใช้บริการระหว่างหน่วยงานว่าพอใจ หรือไม่พอใจ หน่วยงานที่เรามาใช้บริการ เราก็จะมีการประเมินผลกันใครที่อยู่อันดับบ๊วย ๆ ก็จะมีการไปทานข้าวกับ CEO ของเรา แต่รู้สึกว่าจะไม่ค่อยอร่อยค่ะ อันนี้ก็จะเป็นตัวหนึ่งที่ให้บริการลูกค้าภายในของเรา อีกส่วนหนึ่งก็คือระบบ ISO 9001 version 2000 มาปรับปรุงคุณภาพขององค์กรด้วย
ขอเรียนให้ทราบว่างาน  productivity เซเว่นของเรามีนโยบายที่จะสร้างความมั่นคงด้วยการที่จะให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเป็นระบบ โดยที่ให้พนักงานมีความสุขโดยที่จูงใจให้พนักงานทุกคนคิดค้นปรับปรุงงานหรือคิดนวัตกรรมใหม่ ระยะหลัง ๆ เราก็พบว่าเรามีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นจากพนักงานที่หลากหลาย เดี๋ยวคงจะนำเสนอให้ทราบอีกทีหนึ่งก่อนที่เราจะไปรู้จักว่าเรามีการจัดการความรู้ของเซเว่นอย่างไร

         ขออนุญาตให้ทุกท่านในที่นี้รู้จักคนคุณภาพของเรา เมื่อพนักงานในเซเว่นมีความท้อแท้ในการทำงาน เขาสามารถที่จะปรับปรุงตนเอง   ให้เป็นคนที่มีคุณภาพขององค์กรได้อย่างไร       อันนี้จะเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ ตัววิทยากรเองก็มีส่วนเป็นดาราในนี้ด้วยนะคะ


(นำเสนอตัวอย่างพนักงานคุณภาพ)
         (เรื่องราว สถานการณ์สมมุติของพนักงานภายในบริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น ในฝ่ายตรวจสอบคุณภาพที่ทำงานซ้ำซ้อน ในการตรวจ “ 7 ส.” และ ตรวจ “ Safety” ทำให้เป็นการเสียเวลาในการทำงาน แต่ปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยการ จัดกระบวนการ “Ant mission” ซึ่งเป็นกระบวนการ ระดมสมอง เพื่อหาหนทางในการลดความซ้ำซ้อน และมีเป้าหมายเพื่อลดเวลาในการตรวจ “ 7 ส.” และ ตรวจ “ Safety” ลง 50 %)  อันนี้ก็เป็นสื่อรณรงค์ทุกคนมีส่วนร่วมจริง ๆ ผู้บริหารก็ร่วมแสดงด้วยอันนี้ก็จะทำให้พนักงานรักงาน Ant Mission และก็จะให้พนักงานช่วยกันคิดว่าจะผลิตสื่ออย่างไร นี่เป็นส่วนหนึ่งของความคิดของพนักงานที่คิดขึ้นมาด้วย ก็มาทำความรู้จักกับ Ant Mission สักนิดหนึ่ง ว่าเรามีวิธีการจัดการอย่างไร ทั้งงาน Ant Mission และก็ Baby Ant เรามีการจัดการอยู่ 3 ด้าน คือ ด้านการจัดการ ด้านเทคนิค และด้านรณรงค์ส่งเสริม ลองมาดูกันนะคะว่า ด้านการจัดการเราทำอะไรบ้าง


         ด้านการจัดการ เริ่มต้นเลย เราต้องมีการแต่งตั้งคณะทำงาน เรามีการจัดตั้งคณะทำงานจากตัวแทน ทุกๆสำนัก เข้ามาร่วมประชุมกันทุกๆ ไตรมาส เพราะว่างาน  Ant Mission 2 ไตรมาสเราจะประเมินผลกันครั้งหนึ่ง หมายความว่าใน 1 ปีจะมีเรื่องดีๆ กลุ่มหนึ่งจะทำ 2 เรื่อง เรื่องที่เป็น best practice เราก็จะเอามาขยายผลทั่วทั้งองค์กร นอกจากตั้งคณะทำงานแล้วก็จะมีโครงสร้างของคณะทำงาน ปัจจุบันก็จะมีคุณวิเชียร เป็นประธาน ส่วนตัววิทยากรเอง เป็นเลขานุการ โดยที่มีทุก ๆ สำนักก็จะมาเป็นตัวแทน ส่วนด้านการจัดการข้อที่ 2 เราก็จะมีการจัดตั้งกลุ่ม กลุ่ม  Ant Mission ของเราเซเว่นมีกลุ่มใหญ่ ๆ คือ สายสำนักงาน สายร้าน สายคลังสินค้า กลุ่มเป้าหมายที่จะมาให้ทำ  Ant Mission ก็จะมีตั้งแต่ระดับ หัวหน้าแผนก เจ้าหน้าที่ ผู้จัดการเขต ส่วนพนักงานที่ร้าน จะร่วมทำงาน Baby Ant ซึ่งสามารถทำได้คนเดียวไม่ต้องรวมกลุ่ม เพราะว่าน้องๆ ที่ร้านมารวมกลุ่มกันค่อนข้างยาก ก็ให้เขาทำเป็น individual ปรับปรุงงานได้ด้วยตนเอง เป็นงานเดี่ยวน้อง part time ก็จะจัดการกลุ่ม สำหรับกลุ่มผู้บริหาร เป็นโค้ช ให้การสนับสนุนและจูงใจ เป็นโมเดลง่ายๆ ซึ่งเราไม่อยากใช้โมเดลอะไรมากมายที่สลับซับซ้อนมากแต่เราไม่หนี concept ที่ว่างานเพิ่มผลผลิตต้องมีการจัดการเป็นกระบวนการ


          อันนี้เป็นโมเดลของ Ant Mission โดยที่ต้องมีการจูงใจ motivate จาก leader ที่จะต้องร่วมกันขับเคลื่อน input หมายถึง พนักงานทุกคน ถ้างาน Ant จะต้องรวมกลุ่มกันทุกคนต้องทำงานคุณภาพที่เพิ่มผลผลิตให้กับตัวเขาเองก่อน องค์กรได้รับเป็นผลพลอยได้ บางแห่งบอกว่า ต้องทำงานเพิ่มผลผลิตให้องค์กรได้ก่อน พนักงานก็มองตาแป๋ว ๆว่า ทำแล้วเขาได้อะไร เราต้องเริ่มปลูกฝังแนวคิดให้เห็นว่า การทำงาน  Ant Mission  ปรับปรุงงานโดยกลุ่มเขาเพื่อให้เขาได้เพิ่มผลผลิตของกลุ่ม องค์กรเป็นผลพลอยได้ โดยที่เราเอาในเรื่องของ process ก็คือ เราจับที่  QC story 7 steps ซึ่งกลุ่ม Ant Mission ของเราจะมีความเข้าใจในเรื่อง ของ 7 steps เริ่มต้นจากการค้นหาปัญหา เพราะทุกวันที่เขาทำงานเขาก็จะพบแต่ปัญหามากมาย ถ้าปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขหรือปรับปรุงหรือไม่ได้จัดทำให้เป็นมาตรฐาน มันก็จะเกิดความวุ่นวาย ดังนั้น ก็จะค้นหาปัญหา สำรวจปัญหา มีการวิเคราะห์ปัญหา หาทางแก้ไข ลงมือปฏิบัติ ตรวจสอบผล และก็กำหนดมาตรฐานหรือ PDCA ของเรานั่นเอง และก็ได้ output ออกมาก็คือความคิดที่จะปรับปรุงงานและสามารถที่จะปฏิบัติได้จริงหรือบางส่วนก็จะมีเรื่องของ innovation เราก็พบ innovation จากกลุ่มมากมาย แล้วก็ทำให้เกิดประโยชน์กับงานของแต่ละกลุ่มและองค์กรเป็นผลพลอยได้ ทำให้เราสามารถที่จะทำงานคุณภาพขยายผลได้อย่างรวดเร็ว นอกจากสิ่งที่กลุ่มรวมแล้ว ทำแล้วสามารถที่จะไป improve งานของตนเองหรือเกิด innovation ต่างๆ เราก็มีระบบ reward system ให้ด้วย พนักงานก็จะรู้สึกภาคภูมิใจ รางวัลทำให้เกิดความภาคภูมิใจ รางวัลไม่ได้ให้เป็นเม็ดเงิน เป็น reward ให้เป็นการสะสมแต้ม เราคงคุ้นเคยกับการสะสมแต้ม เหมือน citybank มาแลก มาแลกของรางวัลได้ จะเป็นเครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์ต่างๆ เราจะมีให้เขาไป shop ได้ที่ catalog order บางท่านก็อาจจะรู้จัก catalog order ของเรา
ในเรื่องของ performance มีด้วยเหมือนกัน กลุ่มที่ทำงานคุณภาพออกมาถือว่าเป็น performance ส่วนหนึ่งเชื่อมโยงส่วนของการ promotion ด้วยเหมือนกัน ถ้าใครคิดดี ๆ ก็เกิดประโยชน์ต่อตัวเองขึ้นมา เรามีเรื่องของ  performance และก็ reward ด้วย  หน้าตาของ Baby Ant เหมือนกันนะคะ แต่เป็นเรื่องของรายบุคคล การจัดการหลังจากที่เรามีกระบวนการ พนักงานก็สามารถเปิดเครื่องผ่านออนไลน์ได้ มาที่โปรแกรม Lotus note  ของเราก็สามารถที่จะเปิดเรื่องเข้ามา และสามารถที่จะมาดูคู่มือในการทำ Ant Mission ใน Lotus note ได้เป็นการ share ความรู้ในการทำเครื่องมือที่เป็นระบบในการทำงาน Ant Mission จะเห็นได้ว่าจากการที่เราทำงานคุณภาพมา ตั้งแต่แผนพัฒนาฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 วันนี้ก็เก็บข้อมูลย้อนหลัง 3 ปีมาให้ท่านทราบสักเล็กน้อยนะคะว่าตั้งแต่ปี 46 จะเห็นได้ว่าเรามีพนักงานทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เราให้ทำงาน  Ant Mission สายสำนักงาน เป็นเจ้าหน้าที่ เป็นเป้าหมายของเรา สำหรับน้อง ๆ part time เรายังไม่ให้รวมกลุ่มทำงาน Ant Mission เนื่องจากเรามีการหมุน rotate เร็ว เราก็ยังไม่ให้มีการรวมกลุ่มทำ สำหรับสายร้าน ก็จะให้ผู้จัดการหรือเขตรวมกลุ่มเป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ทำงาน  Ant Mission พนักงาน part time ก็ยังไม่ได้ทำเหมือนกันนะคะ ส่วนคลังเหมือนกัน ก็จะเป็นระดับเจ้าหน้าที่ จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เราให้ทำ Ant Mission จะเห็นได้ว่าในปี 46 ก็จะมีผู้ร่วมกลุ่ม 85 เปอร์เซ็นต์ สำหรับสายร้าน สาย office 94 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสายคลังยังเป็นสัดส่วนที่น้อยอยู่ในปี 46 พอมาปี 47 ก็จะเห็นได้ว่า สัดส่วนที่เพิ่มขึ้น สายคลังก็เพิ่มขึ้น โดยรวมก็ยังเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยที่เราสมัครสอบ TQA เราพบว่าเรามีจุดปรับปรุงอีกมากมาย โดยเฉพาะเราจะสร้างบรรยากาศให้ทุกคนมีส่วนคิดและปรับปรุงองค์กร มีส่วนร่วมสร้างบรรยากาศได้อย่างไร เราก็เลยมีการเปิดโครงการ Baby Ant ในปี 48 นี่เอง ดังนั้น ทุกคนมีส่วนร่วมที่จะปรับปรุงองค์กร กลุ่ม Ant ก็จะมี Ant ที่เพิ่มขึ้น มีงาน Baby Ant ที่เสนอความคิดเข้ามามากมาย โดยเฉพาะปี 48 เราได้รับเรื่องที่ช่วยปรับปรุงองค์กรเข้ามา เป็นหมื่น ๆ เรื่อง 11,600 กว่าเรื่อง เป็นการสื่อให้ทุก ๆ คนเห็นว่า งาน Baby Ant  คิดเพียงคนเดียวก็สามารถที่จะปรับปรุงงานคุณภาพให้กับตนเองได้ และก็กับองค์กรได้ อันนี้ก็เลยนำเอาตัวอย่าง VCD มาอีก เดี๋ยวเรามาชมกันเลยดีไหมคะว่าน้องที่ร้าน คิดปรับปรุงงานที่ร้านอย่างไร พูดอย่างเดียวท่านอาจจะมองไม่เห็นนะคะ เชิญชมเลยค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14306เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2006 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท