การประเมิน ?


ทฤษฎีเอกมิติของคุณค่า
                                                                                         
ความหมายและความเป็นมา
                การประเมิน (evaluation)  มีการพัฒนามาเป็นเวลานาน ในต่างประเทศ ค.ศ.๑๙๗๑ ไทเลอร์ และ สตัฟเฟินบีม เป็นต้นแบบเสนอแนวคิดศาสตร์ด้านนี้  ประเทศไทยมีการประเมินมาแล้วแต่สารสนเทศที่ได้รับยังใช้ไม่แพร่หลายนัก  จนกระทั่งเมื่อประมาณ ๕ ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.๒๕๔๐)  นักวิชาการด้านศึกษาศาสตร์ของไทยได้กระตุ้นศาสตร์นี้ตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก  การออกพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒  เพื่อให้สถานศึกษาทั้งหมดได้การยอมรับและเป็นมาตรฐาน
                การประเมิน  มีกำหนดความหมายไว้จากผู้ทรงคุณหลายกลุ่ม  จนสุดท้ายได้สรุปการประเมินเป็น
                evaluation = measurement + judgment  หรือนิยามว่า  การประเมินเป็นกระบวนการที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูล  และตัดสินคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ โดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด  หากการประเมินใดมีความครบถ้วนสมบูรณ์ในการวัด  (measurement)  และด้านการตัดสินคุณค่า (criteria for judgment)  จะส่งผลให้การประเมินมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือมากขึ้น  และตัดสินคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ โดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด  มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเช่น
ทฤษฎีกำหนดคุณค่า
                คุณค่า  (value)  เป็นมโนทัศน์ที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรงกันประกอด้วยคุณค่าภายใน  (merit)  และคุณค่าภายนอก  (value  of  worth)  คุณค่าภายในเป็นสิ่งที่แฝงเร้นอยู่ในสิ่งนั้นตลอดเวลาและมีลักษณะของความเป็นสากล  แต่คุณค่าภายนอกมีลักษณะสัมพันธ์  (relative)  ที่ขึ้นอยู่กับบริบท (context)
                นักประเมินต้องสรุปอ้างอิง (reference)  จากสิ่งที่สังเกตโดยตรงที่เป็นคุณค่าของตัวแทนของคุณค่านั้นเพื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน  โดยใช้วิธีการเชิงธรรมชาติซึ่งอาศัยหลักการตัดสินคุณค่าด้วยเหตุผลและประสบการณ์ส่วนตัว  ส่วนวิธีการเชิงระบบอาศัยหลักการมาตรฐานด้วยการตีความจากการ
ทดสอบสมมติฐานบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่ปรากฏ (empirial data) เกี่ยวกับตัวบ่งชี้คุณค่า (indicators)  ของสิ่งนั้น ๆ โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์  (criteria)  หรือมาตรฐาน  (standards) 
                คุณค่า  (value)  เป็นคุณลักษณะที่ขึ้นอยู่กับบริษัท  คุณค่าแปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์  จึงยากที่จะกำหนดคุณค่าให้มีความแน่นอนได้บูรณ์  (absolute)
                Scriven (๑๙๗๗) Guba Lincoin (๑๙๘๑)  ต่างก็จำแนกคุณค่าออกเป็นคุณค่าภายในและคุณค่าภายนอก  ดังนี้
                คุณค่าภายใน  (intrinsic  value)  หรือตรงกับภาษาอังกฤษว่า “merit”  เป็นคุณค่าภายในของตัวมันเองเป็นคุณค่าที่แฝงเร้นอยู่ในสิ่งนั้นตลอดเวลาไม่ขึ้นกับบริษัท  จึงประมาณค่าภายในสิ่งนั้นได้ยาก  เช่น  ทองคำ  (คุณค่าของความเป็นโลหะชนิดหนึ่ง)
                คุณค่าภายนอก  (extrinsic  value)  หรือตรงกับภาษาอังกฤษว่า  “worth”  (Scriven  และ  Guba  Lincoin)  หรือ  “value” (Scriven)  เป็นคุณค่าภายนอกของสิ่งนั้น  ซึ่งขึ้นกับสถานการณ์แวดล้อม  สามารถตีความเป็นปรนัยได้  เช่น  ทองคำ  (คุณค่าตามที่ซื้อขายกันตามท้องตลาด)
            ตัวบ่งชี้  (indicators)  หมายถึงตัวประกอบ  ตัวแปร  หรือค่าที่สังเกตได้  ซึ่งบ่งบอกสถานภาพหรือ  สะท้อนลักษณะการดำเนินงานหรือผลการทำงาน  เช่น  ตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจ  อาจเป็นดรรชนีราคาสินค้า  อัตราดอกเบี้ย  เป็นต้น  ตัวบ่งชี้เป็นสิ่งที่มีความผูกพันธ์กับเกณฑ์และมาตรฐานซึ่งเป็นตัวตัดสินความสำเร็จ  หรือ คุณค่าของการทำงาน  หรือผลการดำเนินงานที่ได้รับ
          เกณฑ์  (criteria)  หมายถึงระดับที่ถือว่าเป็นความสำเร็จของการดำเนินงานหรือผลที่ได้รับมาตรฐาน (standards)  หมายถึงระดับการปฏิบัติที่แสดงถึงความสำเร็จอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
ทฤษฎีเอกมิติของคุณค่า
               
                   INTRISIC                  EXTRISEC       CRITERIA     INDICATORS    EMPIRICA
                (ABSOLUTE)      (RELATIVE = เกณฑ์)           (ตัวบ่งชี้)      (ข้อเท็จ)
จากภาพ  สมมติคุณค่าของคนหนึ่งคนเกิดมาซึ่งมีทั้งคุณค่าภายในตนเอง (merit)  และคุณค่าภายนอก (valueor  worth)  ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบท  (context)  ที่แปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ เช่น  นาย ก  เกิดมา ร่ำรวยเป็นคนดี  =  merit    มีบริบท  เกณฑ์  (criteria)  ตัวบ่งชี้ (indicators)
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ  (EMPIRICAL)
C1  =  จบปริญญาตรี           I1  =  มีงานทำ                                      D1  =  มีงานทำ
C2  =  มีคุณธรรม จริยธรรมI2  =  เป็นที่ยอมรับในสังคม            D2  =  เป็นที่ยอมรับของเพื่อนในชุมชน              
C3  =  มีความก้าวหน้าทางการงานI3  =  เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นD3  =  เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น
C4  =  มีความสุข  I4  =  มีความมั่นคงทางการเงิน         D4  =  มีความมั่นคงทางการเงิน                                                                                                                                 
นาย ก  น่าจะมีคุณค่าในสังคมที่เป็นอยู่อย่างมีความสุข
 ประเภทและจุดเน้นของงานในการประเมินขบวนการเชิงระบบ
                1.  การประเมินสภาพปัจจุบัน  ปัญหาหรือความต้องการจำเป็นแยกได้เป็น  2  ระดับ               
                      1.1  ความต้องการจำเป็นระดับผู้บริหาร
                     1.2  ความต้องการจำเป็นระดับองค์การผู้ให้บริการมีจุดเน้นคือ  ความจำเป็นเร่งด่วนที่ควรได้รับการพัฒนาให้บริการ
                2.  การประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมต่าง ๆ มีจุดเน้นคือการตรวจสอบยืนยังประสิทธิภาพ  ของนวัตกรรมเพื่อหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าจะคงใช้ต่อไปหรือล้มเลิก
                3.  การประเมินความเป็นไปได้ของนโยบาย แผนงาน โครงการ มีจุดเน้นคือการตัดสินความเหมาะสม  ความเป็นไปได้ของ  นโยบาย  แผนงาน  โครงการ  ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นของนโยบาย  แผนงาน  โครงการ                          
                4.  การประเมินความก้าวหน้าของนโยบาย  แผนงาน  โครงการ  มีจุดเน้นคือการนำข้อมูลไปสู่การปรับปรุงกิจกรรมหรือแนวทางปฏิบัติในช่วงที่เหลือของนโยบาย  แผนงาน  โครงงาน
                5.  การประเมินผลการดำเนินงาน  การติดตามผล  และประเมินผลกระทบต่าง ๆ มีจุดเน้นคืออำนวยความสะดวกต่อการตรวจสอบการประเมิน  การมีอยู่หรือการเกิดขึ้นของผลลัพธ์อย่างชัดเจน
 
การประเมินทางการศึกษา
                การประเมินทางการศึกษา  การศึกษาของเด็กไทยเป็นเชิงระบบ  การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๒  จึงควรมีการประเมินเพื่อให้ได้การยอมรับและเป็นมาตรฐาน  การประเมินทางการศึกษาเป็นการตัดสินคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ตามระเบียบวิธีการที่ถูกต้อง  และการประเมินทางการศึกษาเป็นกระบวนการเก็บข้อมูลแล้วตัดสินคุณค่าของสื่อ  วิธีการ  หรือการปฏิบัติการทางการศึกษา  เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจทางการศึกษาด้านใดด้านหนึ่ง  ทั้งก่อนดำเนินการ  ในระหว่างดำเนินการและดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
 
ความสำคัญและประโยชน์ของการประเมินทางการศึกษา
                เป็นกิจกรรมที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  และเกิดประโยชน์ที่สำคัญหลาย ๆ ลักษณะเช่น
                1.  ข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบาย  ทิศทางด้านการศึกษา
                2.  สารสนเทศต่อการปรับปรุงสื่อ  อุปกรณ์  ชิ้นงาน  โครงการทางด้านการศึกษาที่เหมาะสม
                3.  การประเมินความก้าวหน้า  ทำให้ทราบจุดแข็ง  จุดอ่อนของระบบ
                4.  การประเมินความสำเร็จทำให้ทราบผลสำเร็จ  ความคุ้มค่าที่ลงทุนผลิต
 
การประเมินทางการศึกษาในสถาบันทหาร
                วิชาชีพการทหารได้รับการประเมินจากประชาชนด้วยวิธีการธรรมชาติความภารกิจที่ระบุในกฎหมายว่ามีวีรชนผู้เสียสละปกป้องสถาบันชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  และประชาชน  ที่เข้มแข็งอยู่เสมอ  การประเมินมีการเรียนการสอนในสถาบันทหารมานานแล้วเช่น  ในวิชาการข่าวกรอง  การประเมินสถานการณ์ ด้านการข่าย  ส่วนการดำเนินการในการประเมินตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ผู้ที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการอย่างเร่งด่วน  เพื่อเป็นที่ยอมรับและเป็นมาตรฐาน  และทันตามกำหนด  ข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่าศาสตร์การประเมินนี้จะมีความจำเป็นคงอยู่กับการศึกษาในสถาบันการศึกษาและพัฒนาตัวมันเองรวดเร็วระดับเดียวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เพียงใด  น่าเตรียมการรับมือความเปลี่ยนแปลงในอนาคตนี้
 
                                                                บรรณานุกรม
 
สมคิด พรมจุ้ย, การประเมินและการจัดการโครงการประเมิน ,มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  หน่วยที่ ๑, ๒๕๔๔
สุพักตร์  พิบูลย์    การวิจัยในชั้นเรียน ๒๕๔๕
อำรุง  จันทวานิช  การพัฒนาคุณภาพการศึกษา  แนวทางสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาประเทศ  
        วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ๒๕๔๒
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14240เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2006 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท