ต้องทั้งดี และเป็นธรรม


เชื่อลึก ๆ ว่าบริการที่ทั้งดี (Goodness) และเป็นธรรม (Fairness) จะเป็นบริการที่พึงประสงค์ (Diserable) ของประชาชนมากกว่าเพียงอย่างใด อย่างหนึ่งเท่านั้น

     ต้องทั้งดี (Goodness) และเป็นธรรม (Fairness) เป็นการพูดถึงความสมดุล ของการพัฒนาโดยเฉพาะที่จะนำไปในบันทึกนี้คงหนีไม่พ้นเกี่ยวกับเรื่องบริการสาธารณสุข อย่างไรที่เรียกว่าดี และอย่างไรที่เรียกว่าเป็นธรรม ซึ่งแท้ที่จริงย่อมมีนิยามความหมายที่แตกต่าง ผมคงไม่กล่าวถึงไปทั้งหมด แต่จะกล่าวในประเด็นที่เป็น “ดี” และ “เป็นธรรม” ในสายตาชาวบ้านมากกว่า เอาง่าย ๆ อย่างที่พยายามพัฒนาคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐาน จนเป็นที่พึงพอใจของชาวบ้าน น่าจะเรียกว่า “ดี” ส่วน “เป็นธรรม” คือพอหยวน ๆ(ถัว)กันได้ อะไรที่ควรจะต้องได้ก็ต้องได้ตามความจำเป็นที่เกิดขึ้นจริง ๆ

     ที่อยากนำเสนอเพราะจะเห็นว่าทั้ง 2 ส่วนที่กล่าวข้างต้น ภาพความจริงในปัจจุบันของระบบบริการสาธารณสุขในประเทศของเรา ยังขึ้นอยู่กับตัวผู้จัดบริการเองเสียเป็นส่วนใหญ่ คนกลางยังทำหน้าที่ได้ไม่ชัดเจนนัก ไม่ว่าจะเป็น สปสช. ประกันสังคม หรือกรมบัญญชีกลาง หรือหากได้ดำเนินการอยู่แล้วก็ยังพบเห็นความบิดเบี้ยว ไม่มีสมดุลของบริการที่ดี (Goodness) และเป็นธรรม (Fairness) ชัดเจนนัก ทั้งนี้เพราะมีความเกี่ยวข้องกับทรัพยากรสาธารณสุขอันมีอย่างขาดแคลน (Scarcity) อย่างชัดเจน ทีนี้เมื่อได้ทุ่มเททรัพยากรลงไปข้างใด ข้างหนึ่งแล้วก็จะเสียสมดุลทันที กล่าวคืออีกด้านหนึ่งก็จะถูกลดความสำคัญลง ดังนั้นการทุ่มเททรัพยากรเพื่อพัฒนาจึงต้องพิจารณาในส่วนนี้ด้วย

     ลองมาดูตัวอย่างที่พอจะทำให้เห็นภาพชัด ๆ ครับ เช่น โรงพยาบาลแห่งหนึ่งได้รับจัดสรรงบประมาณทั้งหมดต่อปี 20 ล้านบาท หากนำงบประมาณนั้นมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการโดยเร่งดำเนินการให้ผ่านตามมาตรฐานภายในปีเดียว งบประมาณทั้งหมดถูกเจียดเพื่อการนี้ในสัดส่วนที่มากพอสมควรเพื่อให้ทันกับเงื่อนเวลาที่กำหนดขึ้นมาผูกมัดตัวเองเกินไป ก็ต้องไปบดบังเอาจากสิทธิประโยชน์อันพึงได้ของชาวบ้าน เป็นผลให้ไม่ได้รับตามที่ต้องได้ ก็จะทำให้สูญเสียคามเป็นธรรมไป หรือกลับกันหากคำนึงถึงความเป็นธรรมที่ชาวบ้านต้องได้รับแล้วเลยเถิดไปถึงที่ “ควรได้รับ” ก็เป็น”ต้องได้รับ” ซึ่งข้ามพ้นความเป็นธรรมไปอีก งบประมาณก็เหลือไม่เพียงพอในการใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการ ก็เสียสมดุลอีก

     ที่นำเสนอมาก็เพียงจะชี้ว่าการพัฒนาคุณภาพเพื่อให้เกิดบริการที่ดีและบริการที่เป็นธรรมก็ต้องอาศัยเงื่อนเวลาที่เหมาะสมสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ด้วย โดยเฉพาะประเด็นงบประมาณที่ได้มาเพราะจะพูดกันไปแล้วส่วนใหญ่ไม่สามารถกำหนดวงเงินนั้นได้เอง สิ่งที่กำหนดได้จึงเป็นเงื่อนเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ก็เพื่อความสมดุลของบริการทั้งดี (Goodness) และเป็นธรรม (Fairness) โดยไม่มีใครเดือดร้อน และขอยืนยันว่าไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาคุณภาพบริการ โดยส่วนตัวเห็นด้วยมาก แต่ไม่อยากเห็นภาพของการละเลยความเป็นธรรม เพียงเพื่อที่จะทำทุกอย่างให้ผ่านการรับรองโดยเร็วเท่านั้น เชื่อลึก ๆ ว่าบริการที่ทั้งดี (Goodness) และเป็นธรรม (Fairness) จะเป็นบริการที่พึงประสงค์ (Diserable) ของประชาชนมากกว่าเพียงอย่างใด อย่างหนึ่งเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 14232เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2006 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
วัฒนธรรมองค์กรที่พยายามนำตนเองไปสู่การรับรองคุณภาพ..ให้ได้ตามมาตรฐาน โดยทั่วไปนั้นไม่ได้มุ่งไปที่ว่ามาตรฐานนี้..สอดคล้องตามความต้องของผู้รับบริการหรือไม่ หากเป็นมาตรฐานที่ทำไปเพื่อที่ว่าจะสนองตอบต่อคณะกรรมการที่มาประเมินได้อย่างไร ดังนั้นจะเห็นได้ว่าองค์กรหลายแห่งถึงหากแม้จะพยายามผลักดันตนให้มุ่งการได้รับการรับรองคุณภาพ..
หากแต่ขาดการหันกลับมามองตน..ว่าอยู่ ณ ตรงไหนของคุณภาพที่ควรจะเป็นอยู่ ก็ยากแท้ที่จะผ่านการยืนยันได้ว่า..องค์กรนั้นมีคุณภาพอย่างแท้จริง..และนี่คำถามที่ว่า เราหลงทางกันหรือไม่ กับการพยายามผลักดันองค์กร ของเราให้ได้รับการผ่านการประเมิน..เพราะหากเราลืมที่จะยึดสภาพแห่งความเป็นจริงแท้ แต่กลับไปตกแต่งตามที่เห็นว่าจะสวยงาม..นั่นก็ไม่สามารถเรียกได้อย่างเต็มภาคภูมิใจได้ว่าเรามี "คุณภาพที่แท้จริงภายใต้จิตวิญญาณแห่งความเป็นองค์กร"

     การมุ่งไปที่ว่ามาตรฐานนี้..สอดคล้องตามความต้องของผู้รับบริการหรือไม่ ภายใต้ความจำเป็นของสุขภาพที่เกิดขึ้น และจริยธรรมของผู้ให้บริการ โดยคำนึงถึงความสามารถที่แท้จริงว่าจะจัดบริการได้ไหมในขณะที่ทรัพยากรสุขภาพมีความขาดแคลน ทั้งนี้ไม่สูญเสียความเป็นธรรม เป็นบริการที่พึงประสงค์ (Diserable) ครับตามทัศนะของผม

     ขอบคุณ คุณ Dr.Ka-poom ที่ติดตามและได้ร่วม ลปรร.อย่างสม่ำเสมอ ให้กำลังใจและแรงใจผมได้ดีจริง ๆ ครับ

การรับรองมาตรฐานขององค์กร  เป็นสิ่งที่ดีและสมควรที่ทำให้ทุกๆ องค์กรผ่านครับ  เพราะอย่างน้อยที่สุด  ประชาชนที่ไปรับบริการควรจะได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน  เหมือนกัน  เท่าเทียบกัน  การทำให้ได้ตามมาตรฐานเป็นการรับรองว่า  "เรา" ได้ให้บริการ"คุณ" ได้อย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว  ไม่สามารถจะทำให้ดีกว่านี้ได้อีก 

ปัญหาของการรับรองมาตรฐานองค์กร  คือ  การมุ่งที่จะให้มี  คำประกาศว่า  "ผ่านมาตรฐาน....."  เพียงอย่างเดียว  โดยไม่ได้สนใจตัวมาตรฐานอย่างแท้จริง  ไม่ได้ผ่านมาตรฐานอย่างแท้จริง  เป็นเพียงการทำข้อสอบผ่านเท่านั้น 

หากระบบสาธารณสุขจะมองมาตรฐานให้เห็นคุณค่าของมาตรฐานจริงๆ แล้ว  ประชาชนจะอุ่นใจ  และการฟ้องร้องก็จะน้อยลง  เพราะเราทำดีที่สุดแล้วตามมาตรฐานที่มี...

   

     การมุ่งพัฒนาคุณภาพนั้นเห็นด้วยเป็นอย่างมากครับ แต่ที่รู้สึกขัด ๆ ก็คือการพยายามทำโดยไม่สนใจสภาพความเป็นจริง แข่งกับเวลาที่ถูกกำหนดโดยเงื่อนไขภายนอกเกินไป (ตึง) ทำให้ทรัพยากรเกือบทั้งหมดถูกทุ่มเทลงไปอย่างหลับหูหลับตา สุดท้ายก็จะทำให้สูญเสียสมดุลระหว่างบริการที่ดีและบริการที่เป็นธรรมไปนะครับ

     สนับสนุนที่คุณศิลา วรบรรพต กล่าวไว้ด้วยครับ

      คำว่าคุณภาพ  กินความหมายที่กว้างมาก บ้างก็ว่าคือการตอบสนองความต้องการหรือความคาดหวังของผู้ป่วยและผู้รับผลงาน...บ้างก็แย้งว่าแล้วจะตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยซึ่งดูเหมือนจะไม่มีที่สิ้นสุดได้อย่างไร...ไม่ว่าใครจะให้ความหมายว่าอย่างไร  แต่จะต้องอยู่ภายใต้บริบท(Context)ของรพ.นั้น  ซึ่งบริบทของแต่ละ ร.พ.ย่อมมีความแตกต่างกัน  นอกจากนี้แล้วอาจารย์อนุวัฒน์  ศุภชุติกุลท่านได้กล่าวไว้ว่า "คุณภาพที่ยั่งยืนคือการทำจนเป็นวัฒนธรรม  ทำเป็นเรื่องปกติประจำ  จนวัฒนธรรมนั้นกลับมาหล่อหลอมทุกคนในองค์กร" ...แต่บางครั้งผู้ปฏิบัติไม่เข้าใจแนวคิดของการพัฒนาคุณภาพที่แท้จริง  ทำให้มีการตีความหมายผิดเพี้ยนไป  เมื่อมีการเยี่ยมสำรวจเพื่อมองหาหลักฐาน  ร่องรอยของความตั้งใจในการพัฒนาจากผู้เยี่ยมสำรวจ...ทีมงานโรงพยาบาลนั้นๆมักพยายามสร้างหลักฐานที่มักคาดเดาเอาเองว่า...จะต้องมีอย่างนั้นอย่างนี้  เพื่อตอบโจทย์ที่ไม่ถูกต้องว่าผู้เยี่ยมสำรวจต้องการเห็นอะไร  หรือจะทำอย่างไรให้มีหลักฐานการพัฒนาคุณภาพที่ชัดเจน  สุดท้ายเป็นภาระงานที่ไม่คุ้มค่า  เพราะไม่สามารถนำไปสู่ผลงานที่มีคุณภาพ  แต่กลับกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย  เป็นเรื่องขัดแย้ง  และบ่อยครั้งที่เป็นเรื่องตลก

       คุณภาพมีด้วยกันหลายมิติเช่น ประสิทธิภาพ(Efficiency) ประสิทธิผล(Effectiveness) การเข้าถึง(Accessibility) ความปลอดภัย(Safety) ศักยภาพ(Competency) ฯลฯ ซึ่งถ้าจัดให้เป็นหมวดหมู่ดูง่ายก็อาจจะจัดได้เป็น...คุณภาพด้านคลินิก  คุณภาพด้านการจัดการ  และคุณภาพด้านบริการ...

       โดยส่วนใหญ่พอพูดถึงการพัฒนาคุณภาพเรามักจะใช้ความพึงพอใจของผู้รับบริการมาเป็นตัวชี้วัด  จึงมักจะไปลงทุนในเรื่องของอาคารสถานที่และเทคนิคการให้บริการเพื่อให้เกิดความประทับใจและได้รับความพึงพอใจสูงขึ้นซึ่งความเป็นจริงแล้วความพึงพอใจก็เป็นส่วนหนึ่งที่ไม่ใช่ส่วนใหญ่...ผู้เยี่ยมสำรวจท่านหนึ่งเคยแนะนำว่าโรงพยาบาลเป็นองค์กรที่ดูแลรักษาผู้ป่วยซึ่งจะแตกต่างกับองค์กรอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิต(พูดให้เข้าใจง่ายก็คือความเป็น  ความตายนั่นเอง)  ดังนั้นความปลอดภัยจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ...จึงควรเน้นให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดทางด้านคลินิกมากว่าทางด้านบริการ...สำหรับความเห็นส่วนตัวแล้วยังคิดว่าการพัฒนาคุณภาพยังเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง  เพียงแต่อาจจะต้องทบทวนทำความเข้าใจหลักการและแนวคิดเพื่อปรับค่านิยมในองค์กรนิดหน่อยก็น่าจะไปได้...มาตรฐานต่างๆไม่ว่าจะเป็น HA  HA&HPH  TQA หรืออะไรต่างๆเป็นเพียงกระบวนการในการประเมินเท่านั้น " ถ้าหน่วยงานของเรามีคุณภาพจริงไม่ว่าจะใช้ข้อสอบไหนมาวัด  ก็ต้องผ่านอยู่แล้ว"...เหมือนที่น.พ.เฉิดพันธุ์ ผอ.รพ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิได้กล่าวไว้อย่างภาคภูมิใจ

  

     ต่ออีกนิดในสิ่งที่อยากพูดเรื่องของบ้านเรา "การพัฒนาคุณภาพ" ในบริบทของพัทลุง ในฐานะผู้สังเกต และร่วมรับรู้ แต่ตะหงิด ๆ ว่าเป็นเรื่องของใคร "ของทุกคน" หรือ "ของ QRT จังหวัด" หรือ "ของผู้รับผิดชอบงานที่ สสจ.คนใด คนหนึ่ง" เท่านั้น อยากจะบอกว่า "การมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของคนในองค์กร" น่าจะมีความสำคัญต่อ "การพัฒนาคุณภาพทั่วทั้งองค์กร" ไม่ใช่เหรอ แล้ว "คุณภาพที่ยั่งยืนคือการทำจนเป็นวัฒนธรรม  ทำเป็นเรื่องปกติประจำ  จนวัฒนธรรมนั้นกลับมาหล่อหลอมทุกคนในองค์กร" ที่เพื่อน (ปอม) อ้างถึง จะเป็นจริงได้เมื่อไหร่ หรือเพียง "พอใจ" ที่ผ่านการประเมินทางคณิตศาสตร์ โดยไม่สนใจกระบวนการอันสำคัญเลย เพื่อนมีส่วนรับผิดชอบส่วนนี้แม้จะเฉพาะใน รพช. พอจะตอบข้อคิดเห็นนี้ต่อได้ไหม เพื่อนคนนี้สงสัยจริง ๆ

       ขอบคุณมากสำหรับคำถามของคุณชายขอบ...นับเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้...ให้ผู้แสดงความคิดเห็นได้มีโอกาสขบคิด  นำประสบการณ์ของตนเองเข้ามาเชื่อมโยงกับแนวคิดทำให้เกิดการแยกแยะ  มองหาจุดร่วม  ทำความเข้าใจกับจุดต่าง  ก่อให้เกิดความเข้าใจลึกซึ้งขึ้นเป็นลำดับ(แต่ยังไม่ถึงกับเกิดผลึกแนวคิดที่เป็นแก่นกลาง)..จึงขออธิบายในฐานะผู้ปฏิบัติ(อาจไม่ใช่นักปฏิบัติ)

       หัวใจสำคัญของการพัฒนาคุณภาพฯคือผู้ป่วย/ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง(Client  center)  การทำงานเป็นทีม(Team) และการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง(Continuous  Quality  Improvement)จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการพัฒนาคุณภาพจึงไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง(ตรงกับที่คุณชายขอบเข้าใจ)และต้องทำอย่างต่อเนื่องจนเป็นวัฒนธรรม...QRTจังหวัดก็เป็นเพียงกลุ่มพี่เลี้ยงที่คอยช่วยเป็นที่ปรึกษาในขณะที่เรา(ทั้งรพท.และรพช.)กำลังเรียนรู้และพยายามที่จะเดินไปพร้อมกัน  ซึ่งตรงนี้ก็ขอชมเชยทีมQRTที่สามารถแสดงบทบาทได้เด่นชัดขึ้น...แต่ด้วยเหตุผลของความแตกต่างด้วยแนวคิดหรือสาเหตุอื่นๆ(อาจเป็นเพราะสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมการเรียนรู้ในที่แตกต่างกัน)ที่เรามักเรียกว่าบริบทนั้น..อาจทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำกันบ้าง...แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา...เพราะในความคิดเห็นส่วนตัวแล้วไม่กังวลเลยว่ารพ.ที่ผ่านการประเมินบันไดขั้นที่ 1(รพท.และรพช.ทั้งหมด) และอีก 3 แห่งที่กำลังรอผลการประเมินขั้นที่ 2จะไม่เข้าใจหัวใจของการพัฒนาคุณภาพฯ..แต่ที่ยากที่สุดนั่นก็คือการตอบโจทย์ให้ได้ว่าเราจะทำจนเป็นวัฒนธรรมและวัฒนธรรมนั้นกลับมาหล่อหลอมคนในองค์กรได้อย่างไร...่สำหรับความคิดเห็นส่วนตัวแล้วดิฉันคิดว่า...นั่นคือบทพิสูจน์ที่คนในองค์กรต้องขบคิดและพยายามเสาะหากลยุทธ์มาปรับใช้...ส่วนเมื่อไหร่นั้น(ซึ่งตรงกับคำถามของคุณชายขอบ)คำตอบก็คือ...จนกว่าองค์กรเหล่านั้นสามารถที่จะสะท้อนบทพิสูจน์เหล่านี้ให้เห็นเป็นตัวชี้วัด..ไม่ว่าจะวัดในเชิงกระบวนการ  หรือตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ก็ตาม  เมื่อบรรลุตัวชี้วัดก็จะได้การรับรอง  ...แต่ทั้งนั้นการรับรองก็หาใช่เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาคุณภาพไม่...หากแต่เป้าหมายที่แท้จริงนั่นก็คือ"การเดินบนเส้นทางคุณภาพฯที่ไม่มีจุดสิ้นสุด" นั่นเอง...ไม่ทราบว่าพอจะตอบคำถามได้แล้วหรือยัง?

       ขอบคุณมากสำหรับคำถามของคุณชายขอบ...นับเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้...ให้ผู้แสดงความคิดเห็นได้มีโอกาสขบคิด  นำประสบการณ์ของตนเองเข้ามาเชื่อมโยงกับแนวคิดทำให้เกิดการแยกแยะ  มองหาจุดร่วม  ทำความเข้าใจกับจุดต่าง  ก่อให้เกิดความเข้าใจลึกซึ้งขึ้นเป็นลำดับ(แต่ยังไม่ถึงกับเกิดผลึกแนวคิดที่เป็นแก่นกลาง)..จึงขออธิบายในฐานะผู้ปฏิบัติ(อาจไม่ใช่นักปฏิบัติ)

       หัวใจสำคัญของการพัฒนาคุณภาพฯคือผู้ป่วย/ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง(Client  center)  การทำงานเป็นทีม(Team) และการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง(Continuous  Quality  Improvement)จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการพัฒนาคุณภาพจึงไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง(ตรงกับที่คุณชายขอบเข้าใจ)และต้องทำอย่างต่อเนื่องจนเป็นวัฒนธรรม...QRTจังหวัดก็เป็นเพียงกลุ่มพี่เลี้ยงที่คอยช่วยเป็นที่ปรึกษาในขณะที่เรา(ทั้งรพท.และรพช.)กำลังเรียนรู้และพยายามที่จะเดินไปพร้อมกัน  ซึ่งตรงนี้ก็ขอชมเชยทีมQRTที่สามารถแสดงบทบาทได้เด่นชัดขึ้น...แต่ด้วยเหตุผลของความแตกต่างด้วยแนวคิดหรือสาเหตุอื่นๆ(อาจเป็นเพราะสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมการเรียนรู้ในที่แตกต่างกัน)ที่เรามักเรียกว่าบริบทนั้น..อาจทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำกันบ้าง...แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา...เพราะในความคิดเห็นส่วนตัวแล้วไม่กังวลเลยว่ารพ.ที่ผ่านการประเมินบันไดขั้นที่ 1(รพท.และรพช.ทั้งหมด) และอีก 3 แห่งที่กำลังรอผลการประเมินขั้นที่ 2จะไม่เข้าใจหัวใจของการพัฒนาคุณภาพฯ..แต่ที่ยากที่สุดนั่นก็คือการตอบโจทย์ให้ได้ว่าเราจะทำจนเป็นวัฒนธรรมและวัฒนธรรมนั้นกลับมาหล่อหลอมคนในองค์กรได้อย่างไร...่สำหรับความคิดเห็นส่วนตัวแล้วดิฉันคิดว่า...นั่นคือบทพิสูจน์ที่คนในองค์กรต้องขบคิดและพยายามเสาะหากลยุทธ์มาปรับใช้...ส่วนเมื่อไหร่นั้น(ซึ่งตรงกับคำถามของคุณชายขอบ)คำตอบก็คือ...จนกว่าองค์กรเหล่านั้นสามารถที่จะสะท้อนบทพิสูจน์เหล่านี้ให้เห็นเป็นตัวชี้วัด..ไม่ว่าจะวัดในเชิงกระบวนการ  หรือตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ก็ตาม  เมื่อบรรลุตัวชี้วัดก็จะได้การรับรอง  ...แต่ทั้งนั้นการรับรองก็หาใช่เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาคุณภาพไม่...หากแต่เป้าหมายที่แท้จริงนั่นก็คือ"การเดินบนเส้นทางคุณภาพฯที่ไม่มีจุดสิ้นสุด" นั่นเอง...ไม่ทราบว่าพอจะตอบคำถามได้แล้วหรือยัง?

     ขอบคุณเพื่อนที่มองเห็นว่าเป็นคำถามยั่วยุให้ได้ ลปรร.กัน เจตนาที่แท้หาได้มีอคติใด ๆ ไม่ คำตอบของเพื่อนอธิบายบริบทและกระบวนการ "การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพบริการ" ใน จว.พัทลุง ได้ชัดเจนดีแท้ ขอบคุณครับ ขอบคุณเพื่อนมาก
เริ่มที่ตัวเราเองก่อน สำรวจ ปรับปรุง ตัวเองเสมอๆ แล้วหน่วยงานเราโดยรวมก็จะมีคุณภาพ แน่นอน
เริ่มที่ตัวเราเองก่อน สำรวจ ปรับปรุง ตัวเองเสมอๆ แล้วหน่วยงานเราโดยรวมก็จะมีคุณภาพ แน่นอน
เห็นด้วยที่สุดเลยครับกับหมออูด การเริ่มที่ตัวเรา+ตัวเรา+ตัวเรา+...+ตัวเรา <=>หน่วยงานโดยรวม เป็นพลวัตร (dinamic) ครับ แล้วก็จะ win-win ในที่สุด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท