กระบวนการสร้างฉันทามติ (ความเห็นพ้อง) เกี่ยวกับนโยบายและประเด็นสาธารณะ


            (1 ก.พ. 49) เข้าร่วมการประชุมปฏิบัติการ โครงการ “สันติวิถีของคนไทยที่เราต้องการ : การสานเสวนาประชาคมในการพัฒนาประเทศไทย” ดำเนินการโดย ศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า (นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ)
            โครงการนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Canadian International Development Agency (CIDA) มีจุดมุ่งหมายที่จะทดลองรูปแบบการจัดประชุมที่เรียกว่า “Citizens Dialogue” หรือ “การสานเสวนาประชาคม” ซึ่งใช้กันมากในประเทศคานาดา และได้ผลดีในการสร้างความเห็นพ้องหรือ “ฉันทามติ” เกี่ยวกับนโยบายหรือประเด็นสาธารณะต่างๆ
            ในกระบวนการนี้ จะมีการนำเสนอข้อมูลและบทวิเคราะห์เพื่อประกอบการพิจารณา ก่อนที่จะแยกกลุ่มย่อยไประดมความเห็นในประเด็นย่อยๆตามที่ตกลงกัน ในการประชุมกลุ่มย่อย จะใช้กระบวนการให้ได้มาซึ่งความเห็นพ้อง (ฉันทามติ) แล้วนำข้อสรุปของกลุ่มย่อยมาสังเคราะห์เพื่อให้ได้ความเห็นพ้อง (ฉันทามติ) ในกลุ่มใหญ่อีกต่อหนึ่ง ดำเนินการเช่นนี้เป็นรอบๆ (ตามประเด็นย่อย) จนกระทั่งสามารถสังเคราะห์สาระทั้งหมดให้เป็นความเห็นพ้อง (ฉันทามติ) ในเรื่องทั้งหมดโดยรวม
            ผมมีข้อคิดว่า กระบวนการที่เรียกว่า “Citizens Dialogue” หรือ “การสานเสวนาประชาคม” นี้ สามารถเทียบเคียงได้กับ (หรือประยุกต์ใช้ได้จาก) กระบวนการอื่นๆที่มุ่งสร้างความเห็นพ้อง (ฉันทามติ) อย่างสร้างสรรค์ในลักษณะคล้ายคลึงกัน  กระบวนการเหล่านี้รวมถึง
            · Appreciative Inquiry (AI) (เผยแพร่โดย คุณชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์, คุณชูชัย ฤดีสุขสกุล ฯลฯ)
            · Appreciation, Influence, Control (AIC) (เผยแพร่โดย ดร.อรพินท์ สพโชคชัย, ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ฯลฯ)
            · Knowledge Management (KM) (เผยแพร่โดย นพ.วิจารณ์ พานิช, ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ฯลฯ)
            · Participatory Learning (เผยแพร่โดย นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต์, นพ.ทวีศักดิ์ นพเกษร ฯลฯ)
            · Peace Building หรือ Conflict Management (เผยแพร่โดย นพ.วันชัย วัฒนศัพท์, ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ฯลฯ)

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
1 ก.พ. 49

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14231เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2006 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท