เทคนิควิธีในการประเมินหลักสูตร


ประเมินหลักสูตร
  1.             
  2.             หลังจากที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 แนวโน้มการประเมินหลักสูตรในอนาคตจะต้องสอดคล้องกับ พ...การศึกษา โดยจะต้องมีการประเมินที่หลากหลายและครอบคลุม การประเมินวัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ วิธีการสอน การวัดและประเมินผลผู้เรียนแม้กระแส ที่สวนทางว่าพรบ.นี้จะไม่ได้ผลและเป็นการสร้างเงื่อนไขเพื่อการแข่งขันในธุรกิจการศึกษา ของนักวิชาการ(ค้า)ที่เก็บค่าเรียนแพง ต่อไปคนจนจะไม่มีสิทธิเข้ารับการศึกษาที่ดี ซึ่งถูกจับจองจากคนมีเงินเพื่อชุบตัวเหตการณ์นี้กำลังรุนแรงแม้ในกิจการทหารนเองก็ได้รับผลพลวงอันนี้ ภาพลักษณ์อันสง่างาม สมเกียรติ ของบัณฑิตไทย ทั้งพลเรือนและทหาร จางหายไปที่ละน้อยภายใต้กรอบทฤษฎีของชาวตะวันตก ที่นักวิชาการปลายแถวของไทยรับและส่งเข้ามานำเสนอให้อยู่ในกรอบของต่างชาติทั้ง ๆ ที่ภูมิปัญญาไทย ดีๆ มีมากมาย ที่นำมาประยุกต์ใช้ ในการประเมินได้ ส่วนการประเมินหลักสูตรที่จะกล่าวต่อไปเป็นหนึ่งในการประกันคุณภาพที่สำคัญและต้องประเมิน ดังรายละเอียด
  3.             1.  การประเมินวัตถุประสงค์ ตาม พ..บ การศึกษาแห่งชาติ หมวดที่ 23 กำหนดระบบการจัดการศึกษาไว้ 3 รูปแบบ คือ การศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยการศึกษาในระบบเป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษาหลักสูตร ระยะเวลาการศึกษา การวัดและการประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน การจัดการศึกษาทุกระบบต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับในเรื่อง ดังนี้
  4.                         1.1 ความรู้เกี่ยวกับตนเอง ความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติและสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคม และทางการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  5.                         1.2 ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์เรื่องการจัดการ  การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
  6.                         1.3 ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลป วัฒนธรรม การศึกษาภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
  7.                         1.4 ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษาเน้นการใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง
  8.                         1.5 ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
  9.             2. การประเมินส่วนที่เป็นเนื้อหาวิชา ซึ่งแบ่งเป็นส่วนที่เป็นวิชาการศึกษาทั่วไป วิชาชีพหรือวิชาเฉพาะ และส่วนที่เป็นวิชาการศึกษาตามความสนใจของผู้เรียน ซึ่งเน้นการศึกษา ตามความสนใจและความถนัด เมื่อพิจารณารายละเอียดของ พ...การศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดสาระการเรียนรู้ไว้ 8 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนาคน สุนทรียศิลป์ สังคมศึกษา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การงานและอาชีพ และภาษาต่างประเทศ
  10.             3. การประเมินผลการเรียนรู้ใน 2 ระดับ คือระดับสถานศึกษา และระดับชาติ เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าด้านการเรียนรู้เป็นรายชั้นปีและช่วงชั้น
  11.             4. การประเมินหลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
  12.             5. การประเมินผู้สอน
  13.             สาระสำคัญส่วนนี้ ได้ชี้แนะการปรับเปลี่ยนบทบาทของครูที่จะต้องคิดค้นเทคนิควิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งองค์ความรู้ ความสามารถทักษะการปฏิบัติ ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา การจัดการกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง คุณธรรมจริยธรรมเน้นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความเอาใจใส่ผู้เรียนรายบุคคลที่มีความแตกต่างกันในความสามารถ ความถนัด ให้ผู้เรียนแต่ละบุคคลบรรลุผลการเรียนรู้เต็มศักยภาพ
  14.             ดังนั้น ในอนาคต การประเมินผลการสอนของครู จะต้องครอบคลุมเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย เน้นการจัดการเรียนการสอนที่เอาใจใส่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ตามที่พ...การศึกษากำหนด
  15.             6. การประกันคุณภาพหลักสูตร
  16.             สาระสำคัญของ พ...การศึกษาแห่งชาติ หมวดที่ 6 ได้กำหนดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในและภายนอกสถานศึกษา โดยให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา มีหน้าที่พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เป็นผู้ประเมินภายนอก
  17.             ดังนั้นในอนาคต การประกันคุณภาพหลักสูตร การประกันคุณภาพการศึกษา จะต้องมีการดำเนินการที่เป็นระบบเครือข่าย ครอบคลุมทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวง ตั้งแต่ระดับชาติ เขตพื้นที่ และสถานศึกษา ในรูปแบบของคณะกรรมการที่มาจากบุคคลทุกระดับ เพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพอย่างแท้จริง
  18.             กล่าวโดยสรุป การประเมินผลหลักสูตร มีแนวโน้มปรับเปลี่ยนไปจากวิธีการเดิม ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ พ...การศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 ประเด็นปัญหาวิจัยที่ควรทำเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตร
                    การวิจัยที่เกี่ยวกับการประเมินหลักสูตร  สามารถทำการประเมินได้หลายลักษณะ เช่นการวิจัยเกี่ยวกับเทคนิควิธีการประเมินหลักสูตรและการวิจัยเชิงประยุกต์ใช้  วิธีการประเมินเพื่อปรับปรุงหลักสูตร  ดังรายละเอียด
    1.  การวิจัยเกี่ยวกับเทคนิควิธีการประเมินหลักสูตร โดยเน้นระเบียบวิธีวิจัย  การวัด  และการประเมิน  ตัวอย่างเช่น
                    1)  การศึกษาความเป็นไปได้ของหลักสูตร  โดยใช้รูปแบบการทดลองแท้ และแบบกึ่งทดลอง  ซึ่งทดลองกับกลุ่มตัวอย่างไม่มากนัก  ผลการทดลองจะตอบคำถามเบื้องต้นว่า หลักสูตรต้นแบบมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพียงใด  เหมาะกับสภาพของระบบการบริหารที่เป็นอยู่หรือไม่
                    2)  การสำรวจความต้องการจำเป็นของหลักสูตรโดยใช้วิธีการประเมินรูปแบบต่าง ๆ  เช่น  ใช้เทคนิคเหตุการณ์วิกฤติ , กลุ่มควบคุมคุณภาพ , กลุ่มสมมุตินัย , อาศรมความคิด , การประชาพิจารณ์  ,การระดมสมอง , เทคนิคเดคัม , การสร้างแผนที่มโนทัศน์ , เทคนิคเดลฟาย , เทคนิควงล้ออนาคต  เป็นต้น 
                    3)  การใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบปุยซองค์ (Puissance Analysis Technique)  เป็นต้น
    2.  การวิจัยเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้วิธีการประเมินเพื่อปรับปรุงหลักสูตร  เช่น การประเมินครอบคลุมองค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตร  เพื่อนำผลที่ได้จากการประเมินไปใช้ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร  ตัวอย่างเช่น
                    - การวิเคราะห์เนื้อหาวิชา
                    - การวิเคราะห์หลักสูตรระดับต่าง ๆ
                    - การประเมินการใช้หลักสูตรระดับต่าง ๆ
                    - การประเมินการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน
                    - การศึกษาสภาพและปัญหาของการนำหลักสูตรไปใช้
                    - การวิเคราะห์กระบวนการหลักสูตร
                    - การประเมินคุณภาพผู้เรียน ผู้สอน
                    - การประเมินกระบวนจัดการเรียนการสอน
                    - การประเมินผลผลิตและผลกระทบของหลักสูตร
    3.  การพัฒนารูปแบบการประเมินหลักสูตร
    4.  การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตร
    5.  การพัฒนาเกณฑ์  ตัวชี้วัดในการประเมินหลักสูตร
                    โดยสรุป  ไม่ว่าจะทำการประเมินในลักษณะใดก็ตาม  การประเมินหลักสูตรควรทำการศึกษาในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง  ขององค์ประกอบหลักสูตร  หรือทำการประเมินหลักสูตรทั้งระบบ  ซึ่งได้แก่  วัตถุประสงค์  เนื้อหาหลักสูตร  กระบวนการจัดการเรียนการสอน  ผู้สอน  ผู้เรียน  สื่อการเรียนการสอน  สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ  การวัดและประเมินผล  อย่างไรก็ตาม  แนวโน้มในอนาคต  โรงเรียนทั่วประเทศจะดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  จึงควรทำการประเมินหลักสูตรที่สอดคล้องกับสาระตามที่ พ.ร.บ. กำหนดด้วยการประเมินระบบหลักสูตร  ส่วนใหญ่จะประเมินครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ด้วย
                    1.  ประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม  เช่น  เศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  ปรัชญาการศึกษา  เป็นต้น
                    2.  ประเมินปัจจัยนำเข้า  ได้แก่  ผู้เรียน  ผู้สอน  เนื้อหาสาระหลักสูตร  เงินงบประมาณ  อาคารสถานที่  อุปกรณ์ในการเรียนการสอน  รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ
                    3.  ประเมินกระบวนการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ  เช่น  กระบวนการจัดตารางสอน  การประเมินผู้สอน  ผู้เรียน  กระบวนการจัดการงบประมาณ และกระบวนการจัดเนื้อหาวิชาในหลักสูตร
                    4.  ประเมินผลผลิตและผลลัพธ์ หรือผลกระทบของหลักสูตรเป็นการตรวจสอบว่าหลักสูตรสัมฤทธิผลหรือไม่  และในระยะยาวก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคม ชุมชน อย่างไร
  19. 5..การติดตามผล  (Follow up)  ของหลักสูตร
  20.             การประเมินหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญ และมีความจำเป็นที่จะต้องทำการประเมินหลักสูตร ในการประเมินมักพบปัญหาต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
  21.             1. ปัญหาจากนักประเมิน ได้แก่
  22.                         1.1 ไม่มีความรู้ ความเข้าใจในหลักสูตรที่ประเมิน หรือขาดความชำนาญในการประเมิน
  23.                         1.2  มีเจตคติทางลบต่อหลักสูตรที่ประเมิน ทำให้ผลการประเมินขาดความเที่ยงตรง ไม่น่าเชื่อถือ
  24.                         1.3 มีความกลัว หรือไม่กล้าเปิดเผยผลการประเมินทำให้ไม่ได้เสนอข้อมูลตามความเป็นจริง บางครั้งนักประเมินกลัวว่าผลการประเมินออกมาไม่ดี จึงให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง
  25.                         1.4 ขาดการวางแผนการประเมิน เช่น ไม่มีการกำหนดปฏิทินการทำงานที่ชัดเจน ขาดข้อมูลในการประเมินกำหนดเวลาไม่เหมาะสม ทำให้เก็บข้อมูลไม่เป็นระบบ
  26.                         1.5 กำหนดเกณฑ์ประเมินไม่ชัดเจน ทำให้ผลการประเมินไม่เป็นที่ยอมรับ และไม่ได้นำไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร
  27.             2. ปัญหาจากผู้ใช้ผลการประเมิน ได้แก่
  28.                         2.1 ขาดความมุ่งมั่นในการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์หรืออาจไม่เห็นความสำคัญของการนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงหลักสูตรซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน ในวงกว้างและในระยะยาว
  29.                         2.2 มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการประเมินหรือต่อคณะผู้ทำการประเมิน ผลจากการประเมินจึงไม่ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด
  30.                         2.3 ไม่ยอมรับผลการประเมิน โดยเฉพาะผลประเมินทางลบ ผู้ใช้ผลประโยชน์อาจไม่พึงพอใจ หรือไม่ยอมรับ จึงเป็นปัญหาในการประเมินหลักสูตร
  31.             3. ปัญหาจากผู้เกี่ยวข้อง
  32.                         3.1 ไม่ยอมรับผลการประเมิน ผู้เกี่ยวข้องมีความคิดว่าพาหะเป็นการจับผิด ผู้ถูกประเมินทำให้มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการประเมิน
  33.                         3.2 คณะกรรมการหลักสูตร/ผู้เกี่ยวข้องไม่เห็นความสำคัญของการประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง

บรรณานุกรม

  1. กระทรวงศึกษาธิการ , กรมวิชาการ   "ทิศทางของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน" 
    วารสารข้าราชการครู ปีที่ 19  ฉบับที่ 3  กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2542 , 26 - 31.
    ใจทิพย์  เชื้อรัตนพงษ์   การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ  กรุงเทพมหานคร 
                    โรงพิมพ์อลีนเพรส 2539.
    วิชัย  วงษ์ใหญ่   กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ
                    กรุงเทพมหานคร  สุวีริยาสาส์น 2537.
    ศักดิ์ศรี  ปาณะกุล   การประเมินหลักสูตร  กรุงเทพมหานคร 
    สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง  พิมพ์ครั้งที่ 2 : 2542.
    สงัด   อุทรานันท์    ทฤษฎีหลักสูตร   กรุงเทพมหานครโรงพิมพ์มิตรสยาม  2530.
    สันต์   ธรรมบำรุง   หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร   เอกสารการนิเทศการศึกษา ฉบับที่ 260
                    กรุงเทพมหานคร  หน่วยศึกษานิเทศน์  กรมการฝึกหัดครู  กระทรวงศึกษาธิการ 2527.
    สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  แนวการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา-
    แห่งชาติ พ.ศ. 2542  สิงหาคม 2542.
    ---------- พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  กรุงเทพมหานคร
                    บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด  2542.
    Cronbach, Lee J.   Essential of Psychological Testing. 3rd. ed. New York : Harper Row, 1970.
    Good, Carter V.  Dictionary of Education. New York : Mc Graw Hill Co., Inc., 1973.
    Stufflebeam, D.L. et al.  Educational Evaluation and Decision Making.  Illinois : Peacock
                    Publisher Inc.
                                    --------------------------------------------------------
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14230เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2006 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท