การเตรียมอุปกรณ์เครือข่าย สำหรับการเรียน e-Learning ของ กศน. ที่รัฐต้องลงทุน


แหล่งการเรียนรู้
  • ทำอย่างไร จึงจะสามารถจัดการศึกษานอกโรงเรียน สำหรับประชาชนนับเป็นล้านคน เป็นโจทย์ที่ กศน. กำลังหาคำตอบ และเริ่มดำเนินการ ตาม roadmap ซึ่งแนวทางหนึ่ง ที่จะต้องนำมาใช้ คือ ICT โดยการนำเทดโนโลยีด้านสารสนเทศ และเทคโนโลยีด้านการสื่อสารเข้ามาช่วย  ซึ่งแนวทางหนึ่งที่นำมาใช้คือ การสร้างแหล่งการเรียนรู้ให้หลากหลาย และทั่วถึง และที่สำคัญคือ ประชาชนต้องเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้นั้นได้
  • แหล่งการเรียนรู้แหล่งหนึ่ง ที่เป็นเป้าหมายในการสร้างคือ แหล่งการเรียนรู้บนเครือข่าย Internet เพราะปัจจุบัน Internet กำลังขยายตัวครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างกว้างขวาง และกำลังขยายไปสู่ Internet ความเร็วสูง และระบบไร้สายเริ่มพัฒนาอย่างรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้ จะเป็นตัวผลักดันให้การสร้างแหล่งการเรียนรู้บนเครือข่าย Internet มีความเป็นไปได้ มากยิ่งขึ้น
  • เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว กศน. ควรเตรียมการอย่างไรบ้าง เพื่อจะให้มีเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้มากขึ้น
    • ประการแรก การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อเป็นการนำเอา องค์ความรู้เข้ามาอยู่ในเครือข่าย หรือแนวคิดของ KM นั่นเอง เพราะเป็นการดึงเอาความรู้ต่างๆ ที่มีในบุคคล เข้าเก็บไว้ และความรู้เหล่านี้ จะเป็นความรู้ใหม่ๆ และนอกจากนั้น การสร้างศูนย์รวมการเรียนรู้ ก็เป็นอีกประการหนึ่งในการรวมเอาความรู้ที่มีอยู่แล้ว เข้ามาจัดให้เป็นระบบ ถ้าทำได้เช่นนี้ ก็เท่ากับว่า เรามีแหล่งการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
    • ประการที่ 2 เมื่อมีแหล่งการเรียนรู้แล้ว ทำอย่างไรให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้เหล่านั้นได้อย่างทั่วถึง สิ่งนี้คงต้องเป็นบริการของรัฐส่วนหนึ่ง สำหรับประชาชนที่ยังไม่พร้อม ซึ่งน่าจะเตรียมในเรื่องต่างๆ คือ
      • เตรียมประชาชน ให้มีความสามารถในการใช้อุปกรณ์ ที่จะเข้าไปถึงแหล่งการเรียนรู้ หรือกล่าวโดยง่ายๆ คือ เตรียมประชาชนให้สามารถใช้ Internet เพื่อการศึกษาหาความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ ซึ่งการศึกษานอกโรงเรียนสามารถทำได้ เพราะปัจจุบัน ก็ดำเนินการในเรื่องนี้อยู่เป็นบางส่วนแล้ว เครื่องไม้เครื่องมือ (ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ) ก็มีกระจายอยู่ทั่วไป
      • เตรียมอุปกรณ์ให้ประชาชนสามารถเรียนรู้ผ่านเครือข่ายได้ นั่นคือ หาแหล่งให้ประชาชน สามารถใช้งาน Internet ได้ ซึ่งประเด็นนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อไข 2 ประการ ประการแรกคือเครื่องคอมพิวเตอร์ และประการที่ 2 คือ เครือข่าย Internet 
        • ในเรื่องเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ปัจจุบัน ประชาชน จำนวนหนึ่ง ได้ซื้อมาใช้เป็นส่วนตัวหรือซื้อให้ลูกหลาน ที่จำเป็นต้องใช้ แต่ประชาชนอีกจำนวนมาก ที่ไม่มีกำลังพอที่จะ:ซื้อ ดังนั้น จะต้องหาวิธีการที่จะจัดหามา ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ จัดหามาบริการยังจุดที่อยู่ใกล้ประชาชน หรือ ให้เอกชนเข้ามาช่วย เช่น การบริการในร้าน Internet โดยรัฐอาจจะจ่ายค่าชั่วโมงการใช้ให้กับนักศึกษา(หรือประชาชนทั่วไป)
        • ส่วนเรื่องเครือข่าย Internet นั้น ต้องยอมรับว่า สามารถใช้การได้อย่างมีประสิทธิภาพ เฉพาะในเมืองเป็นส่วนใหญ่ ในชนบทค่อนข้างจะมีปัญหาเรื่องความเร็ว ดังนั้น ถ้าเทคโนโลยีไร้สาย เริ่มใช้งานได้อย่างแพร่หลาย หรือสามารถใช้งานจนครอบคลุมทุกพื้นที่เหมือนโทรศัพท์มือถือ รัฐจะเข้ามาช่วยดำเนินการในเรื่องนี้เพื่อบริการการศึกษาแก่ประชาชน ก็คงจะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาล
           
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14225เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2006 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 08:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เห็นด้วยกับแนวทางการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ แต่ก็ต้องคำนึงถึงความพอดี และความพร้อมด้วย เพราะเทคโนโลยีต้องลงทุนด้วยราคาแพง ทุกวันนี้เราก็เห็นกันอยู่แล้ว บางหน่วยงาน เครืองคอมพิวเตอร์ กองกันอยู่เต็มไปหมด แต่ใช้งาน 3 อย่างคือ
1 ใช้เป็นเครื่องพิมพ์ดีด (ราคาแพง)
2 เครื่องมือสร้างความบันเทิง (เล่นเกมส์ ดูหนัง ฟังเพลง ร้องคาราโอเกะ)
3 ยกฐานะตัวเอง ว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้
(ที่กล่าวมานี้ไม่ใช่ทั้งหมดนะครับ)
ดังนั้น ถ้า กศน. จะพัฒนาเรื่องนี้ คงต้องศึกษา ให้ชัดเจน และเลือกทำในส่วนที่จะเกิดประโยชน์ เพราะประเทศเราไม่ใช่ประเทศร่ำรวย (ยกเว้นบางคน)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท