การบูรณาการ KM ในฐานะเครื่องมือการบริหารการเปลี่ยนแปลง(2)


"การจัดการความรู้.....เครื่องมือที่ทรงพลังในการบริหารการเปลี่ยนแปลง"

สวัสดีครับ

           คงต้องดำเนินการตามที่ค้างไว้เมื่อวานนี้  วันนี้มาเขียนบทความชื่อเดียวกับบันทึกให้แล้วเสร็จ  เชิญอ่านก่อนเดี่ยวค่อยคุยกันนะครับ

 

 

                                         การบูรณาการKM ในฐานะเครื่องมือที่ทรงพลัง

                               ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติราชการ

                                                                                    พรสกล   ณ ศรีโต
                                                                                                         ที่ปรึกษาอาวุโส   
                                                                                    สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์  จังหวัดชุมพร


 

                  การบริหารราชการในยุคแห่งการปฏิรูประบบราชการที่กำลังเกิดขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาระบบราชการหลายสิ่งหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น  การนำการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้ในระบบราชการซึ่งรูปธรรมที่เห็นได้คือการใช้แผนบริหารราชการแผ่นดินและแผนปฏิบัติราชการเป็นกรอบการปฏิบัติราชการของทุกกระทรวง ทบวง กรม จังหวัด       การใช้เทคนิคการประเมินผลสมัยใหม่โดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการ(KPI) และนำเทคนิค Balanced scorecard มาใช้ในระบบราชการในการจัดทำและวัดผลคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการต่างๆ      การให้ระบบราชการเป็นระบบเปิดโดยการใช้รูปแบบการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในทุกขั้นตอน         ซึ่งส่งผลให้แวดวงข้าราชการส่วนใหญ่มีความรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่  

  
1.ประเภทต่อต้าน   กลุ่มแรกนี้ มีความวิตก  สับสน  ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงภายในความคิดของตนเองและมีข้อสรุปโดยตนเองตั้งรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามสถานการณ์


 2.ประเภทเฝ้าดู   กลุ่มที่สองนี้ มีความสับสนขาดความชัดเจนบ้าง แต่ยังวางเฉย รอจังหวะ เฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงและมีข้อสรุปโดยตนเองรอดูสถานการณ์เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น(กลุ่มนี้เป็นข้าราชการกลุ่มใหญ่ที่สุด) 


3.ประเภทอยากเห็น  กลุ่มที่สามนี้ มีความพึงพอใจ อาจมีความสับสนขาดความชัดเจนบ้าง แต่มีความตื่นเต้นอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งดีกว่าและพยายามใช้โอกาสและจังหวะเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยการมีส่วนร่วมและมีข้อสรุปโดยตนเองพยายามผลักดันการเปลี่ยนแปลงเท่าที่สถานการณ์จะเอื้อให้สามารถดำเนินการได้
 
                ในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้   การจัดการความรู้ (KM) เป็นประเด็นใหม่ที่มีการหยิบยกขึ้นมาโดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดการปฏิบัติราชการที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การในมิติที่ 4 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ  (ก.พ.ร.)   ซึ่งน่าจะขัดแย้งกับแนวคิดการจัดการความรู้ที่เป็นอิสระและการกำหนดการจัดการความรู้อย่างมีส่วนร่วม   แต่อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว ถึงแม้ดูเหมือนจะเป็นวิกฤติแต่ต้องพลิกให้เป็นโอกาส   และแน่นอนการจัดการความรู้(KM)ในครั้งนี้          จะทำให้สำหรับหลายคน     การจัดการความรู้ (KM) อาจจะเป็นเครื่องมือใหม่ เทคนิคใหม่ซึ่งจะต้องความพยายามฝึกฝนเรียนรู้เครื่องมือการบริหารชิ้นนี้  (เรียนรู้ ทดสอบ ฝึกฝนเครื่องมือการบริหารชิ้นนี้)     และสำหรับหลายคนการจัดการความรู้ (KM)เป็นภารกิจใหม่ ชิ้นงานใหม่ ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ (สร้างเครื่องมือการบริหารชิ้นนี้ให้เสร็จ)

     และขณะเดียวกันข้อเท็จจริงของการจัดการความรู้(KM)คือเครื่องมือการบริหารที่ทรงพลังในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องนำมาใช้(หลังจากสร้างแล้วเสร็จและเรียนรู้ฝึกฝนจนมีความชำนาญ)  แต่เครื่องมือการบริหารชิ้นนี้จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆเลย หากไม่นำมาใช้เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน และคงจะไม่มีประโยชน์อันใดเลย  ถ้าจะมีเครื่องมือที่สมบูรณ์แบบแต่ขาดการนำไปใช้ประโยชน์ในงานจริง  และเช่นกันก็จะไม่มีประโยชน์ใดๆเลย  ถ้าจะมีผู้เชี่ยวชาญที่ชำนาญการแต่ไม่เคยนำเครื่องมือชิ้นนี้ไปใช้งาน   เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีจำเป็นใน 3 ประการ คือ


1.    จำเป็นต้องมีการสร้างเครื่องมือที่เหมาะสม(เหมาะสมไม่ใช่สมบูรณ์แบบ)


2.    จำเป็นต้องฝึกฝนผู้ใช้เครื่องมือชิ้นนั้นพอสมควร(สามารถใช้งานได้ไม่ใช่เชี่ยวชาญ)


3.     จำเป็นต้องให้นำมาใช้ในงานจริง(การปฏิบัติงานจริงไม่ใช่วาดความฝัน)


             เนื่องจากกระบวนการข้างต้นทั้ง 3 ประการมีประเด็นเรื่องเวลาที่ทุกคนมีเท่าเทียมเป็นตัวชี้วัดและเป็นตัวกำหนดขั้นตอนและแผนปฏิบัติการจริงในเวลาที่มีอยู่   ซึ่งในการดำเนินการทั้ง 3 ประเด็น (จะขาดประเด็นหนึ่งประเด็นใดไม่ได้)  ข้างต้นคงต้องใช้เวลาบ้างตามสมควร ( คงไม่สามารถสร้างให้แล้วเสร็จในชั่วลัดนิ้วมือเดียวและคงไม่เนิ่นนานจนเกินเหตุ)  ในการดำเนินการจะต้องมีการตรวจสอบความสมดุลย์ในภาพรวมของกระบวนการ 3 ประเด็นข้างต้นตลอดเวลา เพื่อสอบทานยืนยันความสอดคล้องของ    คุณสมบัติของเครื่องมือ   ความสามารถของผู้ใช้เครื่องมือและความสัมพันธ์กับงานที่จะนำมาปฏิบัติจริง   นอกจากจากนี้จะต้องมีการปรับแต่งความสมดุลสอดคล้องของ 3 ประเด็นจนถึงจุดสมดุลเพื่อที่จะนำมาปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ   
  

                ในเบื้องแรกหาก  พิจารณาอย่างแยกส่วน (Partial Approach) ก็จะมองไม่ความเชื่อมโยงที่จะเชื่อมต่อกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและไม่สามารถผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เต็มประสิทธิผลของการจัดการความรู้ได้         แต่หากสามารถใช้ การพิจารณาแบบองค์รวม (Holistic Approach)อย่างเข้าใจในบริบทของระบบราชการไทยและสังคมไทยที่แท้จริง  โดยยอมรับข้อจำกัดที่มีอยู่  ในท่ามกลางโครงสร้าง  กฎ  ระเบียบ  ข้อบังคับจริง ของระบบราชการเท่านั้น     จึงจะสามารถเห็นแนวทางที่จะสร้างความเชื่อมโยง สอดคล้องตลอดจนสร้างความสมดุลของความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้และการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะนำมาบูรณาการซึ่งกันและกันได้อย่างแท้จริง         และสามารถนำไปสู่     การปฏิบัติการ   ”การเปลี่ยนแปลงระบบราชการ”   อย่างแท้จริงได้   

              คงสามารถที่จะกล่าวได้ว่าการจัดการความรู้(KM)จะมีประโยชน์สูงสุดเต็มศักยภาพ          เมื่อมีการบูรณาการKM ในฐานะเครื่องมือที่ทรงพลังในการบริหารการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติราชการที่เกิดขึ้น         ไม่ว่าจะการเปลี่ยนแปลงกระบวนการปฏิบัติงานจริง             การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของส่วนราชการ    การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการปฏิบัติราชการ  การเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาศักยภาพของข้าราชการ    ในวันนี้การเปลี่ยนแปลงระบบราชการกำลังเกิดขึ้นและรอคอยให้เราเข้าไปบริหารจัดการโดยใช้เครื่องมือการบริหารจัดการที่ชื่อว่า”การจัดการความรู้

หมายเหตุ  บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน  ไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่ง องค์การใดๆที่สังกัดทั้งสิ้น

 

  บทความนี้สามารถDownload ได้ที่

http://gotoknow.org/file/45/Km%20Solutions                           

และมีบทความที่เกี่ยวข้องที่น่าจะมีประโยชน์ที่ควรอ่านสามารถDownload ได้ที่

http://gotoknow.org/file/45/CEO%20Solutions.pdf

 

 

ลองค่อยๆอ่านนัยระหว่างบรรทัดนะครับ    น่าจะมีคำตอบสำหรับสิ่งที่กำลังสงสัย  ต้องการคำตอบอยู่นะครับ และยินดีน้อมรับทุกความคิดเห็นครับ

 

                                                                                 พรสกล  ณ ศรีโต

                                                                                      19/7/2548

 

 

              

 

หมายเลขบันทึก: 1419เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2005 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท