beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ไม่ต้องกลัวเนื้อที่เต็ม ! (gotoknow) : ประสบกาณ์จริงจากการลงภาพนิสิตวิชาการเลี้ยงผึ้ง (2/2548)


หากเนื้อที่บันทึกในบล็อกของคุณใกล้จะเต็ม เราก็เพียงไปสมัครอีกหนึ่ง Account แต่ไม่ต้องให้คนอื่นอ่านก็ได้ เราเพียงเอาไว้เก็บรูปภาพ แล้วเราก็ copy file รูปภาพ มา Paste ในบันทึกที่เราต้องการให้คนอื่นอ่าน เท่านี้แหละครับวิธีแก้

   วันนี้ผมได้โอกาสลองวิชาอีกครั้งหนึ่ง ด้วยความที่ผมชอบถ่ายภาพและลงภาพในบันทึกเป็นประจำ ก็เลยกลัวว่าวันหนึ่งเนื้อที่มันจะเต็ม พอคราวหนึ่งผมได้ถามอ.ดร.จันทวรรณว่า เนื้อที่ของ gotoknow 30 ล้านไบต์นั้นคิดอย่างไร อาจารย์ก็ตอบว่า ต่อ 1 Account หรือต่อการสมัครสมาชิก 1 ครั้ง (จะมีกี่บล็อกก็ตาม/1 Account)  ซึ่งโดยปกติก็เป็นการให้เนื้อที่พอสมควร อย่างผมใช้เนื้อที่ใส่ภาพเป็นร้อยๆ ภาพ ก็ยังใช้เนื้อที่ไปแค่ครึ่งหนึ่งคือประมาณ 15 ล้านไบต์ ส่วนอาจารย์วิบูลย์ของผมท่านใช้ไป 20 กว่าล้านไบต์แล้ว ถ้าสถานการณ์เป็นแบบนี้ อาจารย์วิบูลย์ของผมก็คงเขียนได้ไม่เกิน 500 บันทึกเป็นแน่ แต่ไม่ต้องกลัวครับเพราะท่านอาจารย์จันทวรรณท่านบอกจะเพิ่มเนื้อที่ให้เป็น 50 ล้านไบต์ในเร็วๆ นี้ (version 2.0)

   ผมเคยถามคุณโอ (รัตน์ทวี) ผู้อยู่เบี้ยงหลังการเขียนบันทึกของท่านอาจารย์วิบูลย์ว่า หากเนื้อที่ใน gotoknow เต็มจะทำอย่างไร คุณโอบอกว่า "หากเนื้อที่ใกล้จะเต็มก็จะเอาภาพไปไว้อีกไฟล์หนึ่งหรือเอาไปไว้อีก account หนึ่ง" ซึ่งผมเข้าใจเอาเองว่าหลังจากนั้นก็จะใช้วิธี Link เอา คือ ส่วน Text อยู่ใน File หนึ่ง และ รูปภาพอยู่ในอีก Flie หนึ่ง

    "มันคงไม่น่าอ่านนักหรอกบันทึกแบบที่ต้อง Link ไปดูรูปภาพ"  ผมนึก

   คราวหนึ่งที่งาน UKM ที่ตักสิลา ท่านอาจารย์ JJ ของผมท่านก็ถามผมถึงเรื่อง "เนื้อที่เต็ม"   เหมือนกัน ผมก็ตอบไปตามความเข้าใจด้านบน ท่านอาจารย์ JJ ก็บอกว่า "เข้าใจแล้ว" ผมก็แอบงงๆ ว่า "ที่ผมพูดไปผมยังไม่เข้าใจ แล้วอาจารย์เข้าใจได้อย่างไร"

   เพิ่งมาวันนี้เองผมปิ๊งขึ้นมาตอนจะลงภาพของนิสิตที่เรียนวิชาการเลี้ยงผึ้ง ซึ่งผมเคยเอาใส่ไว้ในบล็อกที่ชื่อ "ชมรมฅนรักผึ้ง"  (สมัครไว้ 1 Account แต่มีบล็อกประมาณ 7 บล็อก และมีหลายคนช่วยกันเขียน) มีภาพหนึ่งที่ผมบันทึกไว้ใน "ไฟล์ข้อมูลและรูปภาพ" เนื้อที่ในการจัดเก็บก็คงจะประมาณ "5-7 แสนไบต์" ผมลองเข้าไป copy file ทีมีชื่อว่า (ต้องออกจาก account หนี่ง แล้วเข้าอีก Account หนึ่ง) "http://www.gotoknow.org/file/apiculture/IMG_0018.JPG" ซึ่งผมใส่ไว้ในบล็อกชมรมฅนรักผึ้ง มา Paste ใส่ในหน้าต่างรูปภาพของผมในบันทึกนี้ โดยไม่ต้องมากินเนื้อที่ในบล็อก beeman ของผม เท่ากับประหยัดเนื้อที่ไปถึง 5-7 แสนไบต์เลยทีเดียว

   เมื่อเป็นดังนี้ก็ไม่ต้องกลัวเนื้อที่เต็มอีกแล้ว หากเนื้อที่บันทึกในบล็อกของคุณใกล้จะเต็ม เราก็เพียงไปสมัครอีกหนึ่ง Account แต่ไม่ต้องให้คนอื่นอ่านก็ได้ เราเพียงเอาไว้เก็บรูปภาพ แล้วเราก็ copy file มา Paste ในบันทึกที่เราต้องการให้คนอื่นอ่าน เท่านี้แหละครับวิธีแก้

   ต่อไปนี้ก็ดูภาพของนิสิตที่ลงเรียนวิชาการเลี้ยงผึ้งในภาคเรียนที่ 2/2548 ตัวจริง 14 คน ได้เลยครับ (หลังจากถ่ายภาพแล้วไม่เคยพบ 14 คนพร้อมๆ กันเลย) ใครเป็นใครดูคำบรรยายภาพนะครับ (ยังไม่สมบูรณ์ จะกลับมาแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง และขอสงวนสิทธิ์ของภาพนี้ห้ามนำไปใช้เพื่อการอย่างอื่นนอกจากใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น) ดูภาพต้นฉบับเดิมได้ที่ "ฅนเรียนผึ้งตัวจริง" ในหน้าต่างใหม่ครับ

   
 
 

ภาพผู้เรียนวิชา Apiculture ภาคเรียนที่ 2/2548 (พ.ย.48-มี.ค.49) จากซ้ายไปขวา

  • 1. สุกัลยา วงศ์แก้ว (หนิง)  2. ณิชากร ทิมสูงเนิน (อ้อม)  3. กัลยา บุญมา (กัล)  4. อ้อยทิพย์ คำป้อง (อ้อย)  5. เฉลิมขวัญ เพ็งบุญ (ขวัญ)  6. สุรีวัลย์ กาใจตรง ( เก๋)  7. บุปผา อ่ำสงวน (หนู)  8. ธนวลัย กูลประดิษฐ์ (เจ)  9. นนท์นภัส  พัวพันธุ์  (ติม) 10. ธนัชพร เกิดรุ้ง (ดาว)  11. พรทิพย์ ศิริ (ปุ้ม)  12. ไพลิน เรืองนามกิจ (ลิน)  13. เรณู แก้วนารี (ณู) 14. ไพโรจน์ บรรทูล (กบ)
   
หมายเลขบันทึก: 14176เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2006 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ครูบุปผาตอนนี้สวยกว่าในรูปตั้งเยอะ
ลูกศิษย์ครู อำไพ พุฒจร
น้องปุ๊ดมาใส่ความคิดเห็นเมื่อไหร่  แต่ครูบุปผาก้อน่ารักดีเนาะ!!

ขอขอบคุณ

  • น้องณัฐธิดา ปุ๊ดคำฟู และ น้องลูกศิษย์ครู อำไพ พุฒจร ที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ

     
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท