ความเป็นผู้ประกอบการของคนไทย (2)


"คนไทย" 51% กลัวความล้มเหลว

เล่าต่อนะครับฟ้า

ด้วยความที่เป็นคนขี้สงสัย ผมจึงมีประเด็นสะกิดใจอยู่เล็กน้อย

อันแรกคือ ผลสำรวจนี้ตั้งสมมติฐานว่าคนที่ถูกสำรวจในประเทศไทยทั้งหมดเป็นคนไทย จึงนำไปสู่ข้อสรุป (key findings) อันหนึ่งที่ว่า "A large majority of Thai adults are potential entrepreneurs." ถึงกับมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีให้ความเห็นในที่ประชุมกล่าวว่า นี่ก็แสดงว่าเราสามารถไปสู้กับกลุ่มพวกวัฒนธรรมใช้ตะเกียบ (จีน เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฯลฯ) ได้ ตัวรายงานเองก็ถึงกับผูกโยงการวิเคราะห์ไปถึงรากฐานทางสังคมและวัฒนธรรม

แต่ผมไม่สามารถเห็นข้อมูลดิบจึงไม่อาจแน่ใจว่า ผู้สำรวจ (ซึ่งดูเหมือนเป็นบริษัทฝรั่งที่มารับช่วงอีกที) "เลือก" สำรวจเฉพาะ "คนไทย" จริง ๆ หรือสุ่มสำรวจ หรือสุ่มและมีการเก็บข้อมูลเชื้อชาติ สัญชาติไปด้วย

ไม่ใช่ว่ากำลังจะตั้งประเด็นชาตินิยมนะครับ แต่ผมอยากรู้จริง ๆ ว่าคนไทยจริง ๆ มีความเป็นผู้ประกอบการพุ่งขึ้นสูงปรี๊ดอย่างนั้นจริงหรือเปล่า  เหตุผลก็เพราะว่าประเทศของเราเป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิด ใครจะเข้ามาเปิดกิจการค้าขายอะไรก็ทำได้โดยสะดวก ไม่ต้องพูดถึงคนไทยเชื้อสายจีนที่เพิ่งฉลองตรุษจีนกันไปนะครับ เพราะว่าส่วนใหญ่เราผนวกรวมกันเป็นคนไทยไปเกือบหมดแล้ว (ซึ่งฟ้าคงเห็นด้วยว่าวัฒนธรรมตะเกียบนี่แหละ ที่เป็นฐานอันหนึ่งของเศรษฐกิจบ้านเรามาแต่ไหนแต่ไร) แต่ผมหมายถึงคนต่างชาติที่เกิดในต่างประเทศ พูดภาษาต่างประเทศ และเข้ามาเมืองไทยเพื่อทำธุรกิจโดยเฉพาะ และการอยู่พำนักอาศัยเป็นเพียงผลที่เกิดตามมาชั่วคราว หากเอาความรู้สึกและประสบการณ์เป็นตัววัด คนเหล่านี้มีไม่น้อยนะครับ ผมมีเพื่อนชาวญี่ปุ่นรุ่นราวคราวเดียวกันที่เข้ามาเปิดบริษัทในเมืองไทย จากสำนักงานคูหาเดียวแถวหลักสี่ ตอนนี้เิปิดออฟฟิศอยู่ที่ตึกใหญ่ที่สีลมแล้ว เพื่อนอเมริกันก็ไปเปิดกิจการที่ภูเก็ต เพื่อนอิตาเลียนที่เกาะพีพี ฯลฯ

คือเห็นด้วยว่าระบบเศรษฐกิจบ้านเราคงจะเอื้อต่อการริเริ่มธุรกิจใหม่ แต่คนของเราใ้ช้โอกาสนั้นจริงหรือเปล่า หรือว่าคนต่างชาติใช้โอกาสนั้นได้มากกว่า ผมไม่รังเกียจเพื่อน ๆ ชาวต่างชาติเหล่านั้นเลย ดีใจด้วยซ้ำที่พวกเขามาสร้างเศรษฐกิจของเราให้งอกเงย แต่ผมอยากรู้ เพราะมันเกี่ยวพันกับความสามารถระยะยาวของเราเอง หรือความยั่งยืนของการเรียนรู้ทักษะเรื่องนี้มากกว่า เป็นคำถามว่าความเก่งนั้น "ชั่วคราว" หรือ "ถาวร" ก็คงว่าได้ (แต่อาจมีคนแย้งว่า ทีบริษัทของเราเองที่เกีี่ยวกับความมั่ีนคงแท้ ๆ ยังขายให้สิงคโปร์ได้ในชั่วข้ามคืน อันนี้ก็พูดไม่ออกเหมือนกันครับ)

ในทางตรงข้าม ผมก็มีเพื่อนที่ไปประกอบธุรกิจได้ดิบได้ดีในสหรัฐอเมริกา มีเพื่อนที่ค้าขายสินค้าไทยผ่านทางอินเตอร์เน็ต เช่น อีเบย์ พวก "คนไทย" เหล่านี้จะวิเคราะห์ด้วยการสำรวจชุดนี้ว่าอย่างไร เพราะนี่คือ "ความเก่ง" ของคนไทยจริง ๆ  แต่การประกอบการกลับไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทย

อีกประเด็นหนึ่งที่สงสัยก็คือ ผลการศึกษาบอกว่า "คนไทย" 51% กลัวความล้มเหลว (fear of failure) และัตัวเลขนี้ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ตัวเลขนี้บอกอะไรเรา?

ผมคิดว่าบอกอะไรไม่มากนัก เพราะว่าเป็นเพียงความรู้สึกขณะถูกถาม ไม่ได้แปลว่าเขาจะไม่ทำ หรือทำธุรกิจที่เขาตั้งใจ น่าจะถามว่า "คิดว่ากลไกของสังคมยอมรับผู้ประกอบการที่ล้มเหลว และเอื้อให้กลับเข้ามาแก้ตัวใหม่มากน้อยแค่ไหน" ผมเคยทราบมาว่า สังคมอเมริกันให้โอกาสคนที่ล้มแล้วได้ลุกขึ้นมาใหม่ ในขณะที่ญี่ปุ่นเป็นตรงกันข้าม และนี่คืออุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนไม่กล้าริเริ่มธุรกิจใหม่ ในเมืองไทยเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับที่อื่น?

ก็เอามาเล่าสู่กันฟังเท่านั้นแหละครับ คงไม่ถึงกับลุกขึ้นมาสำรวจเองในเร็ว ๆ นี้แน่นอน 

หมายเลขบันทึก: 14127เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2006 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)


หลักสูตรการขายสินค้าบนอีเบย์ 3 วันเต็มๆ ราคาสุดพิเศษ

หลักสูตรการขายสินค้าบนอีเบย์และวิธีการชำระเงินออนไลน์  
รายละเอียดหลักสูตร  
   - ทำความรู้จักกับอีเบย์และเพพาล  
   - การลงทะเบียนเป็นผู้ซื้อและผู้ขายในอีเบย์   
   - การทดลองซื้อสินค้าในอีเบย์    
   - การขายสินค้าบนอีเบย์    
   - การลงทะเบียนเพพาล    
   - การ verify บัญชีเพพาลของคุณ    
   - การลงทะเบียนบัญชีธนาคารกับเพพาล ( เพื่อเอาไว้ถอนเงินออกมา)    
   - การสมัครบัตรเครดิต virtual credit card (สำหรับผู้ไม่มีบัตรเครดิต)    
   - การบริหารจัดการบัญชีอีเบย์ของคุณ    
   - การบริหารจัดการบัญชีเพพาลของคุณ   
   - การเรียกเก็บเงินและส่งสินค้า    
   - เรียนรู้กฎ - กติกา - มารยาท    
   - เทคนิคและเคล็ดลับ    
   - การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น    
    
หลักสูตร 3 วัน เรียนทั้งสิ้น 3 ครั้ง  
   
ค่าธรรมเนียมการเรียน 1,550 บาท(ประกอบไปด้วย)
  
   - สินค้าสำหรับขายบนอีเบย์ 1 ชุด ( พลอย)    
   - บัตรเครดิตการ์ด 1 ใบ ( Virtual Credit Card)    
   - เอกสารประกอบการเรียน 1 ชุด 

0 9219 5461 หรือ E-mail : [email protected]

รายละเอียดเพิ่มเติม  : http://www.thaismecenter.info/ebay/

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท