ความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงาน มน.


การประกันคุณภาพของ มน. ที่น่าเป็นแบบอย่าง
ระบบประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยนเรศวร

     มหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีนโยบายและได้จัดให้มีการดำเนินการประเมินคุณภาพหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยโดยให้ทุกหน่วยงานทั้งระดับคณะ (Teaching) และระดับหน่วยงานสายสนับสนุน (Non-Teaching) ดำเนินการประกันคุณภาพการปฏิบัติงาน เพื่อยกระดับคุณภาพของการบริหารจัดการและคุณภาพของผลผลิตอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทำมาตรฐาน ดัชนีประเมิน และเกณฑ์การตัดสินเพื่อการดำเนินการประเมินคุณภาพของงานในแต่ละด้าน

จุดประสงค์หลักของการดำเนินการประกันคุณภาพศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร (NUQA) คือ การทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมั่นใจว่า  เมื่อเวลาผ่านไปการบริหารจัดการและผลผลิตของมหาวิทยาลัยจะมีคุณภาพและมาตรฐานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้มหาวิทยาลัยมีความเจริญ รุ่งเรือง และเป็นที่พึ่งทางปัญญาของสังคมต่อไปได้เป็นอย่างดี  หลักการที่สำคัญใน NUQA คือ การมุ่งเน้นหาสภาพจริงของตัวเองและแสวงหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อนำผลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงการการปฏิบัติงาน โดยอาศัยวงจร P D C A โดยอาศัยการประเมินและการติดตามตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ แล้วนำผลการประเมินมาพิจารณาหาแนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนางานให้ดียิ่งขั้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนกลไกหลักนาการดำเนินงานจะอยู่ในรูปของคณะกรรมการชุดต่างๆ โดยมีอธิการบดีด้านประกันคุณภาพคอยช่วยงาน และมีหน่วยประกันคุณภาพการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นทีมเลขานุการและผู้ประสานงานการประเมินคุณภาพภายใน (IQA)  ยังได้ทำการขยายขอบเขตของกิจกรรมด้านประกันคุณภาพการศึกษาให้ครอบคลุมถึงระดับนิสิตด้วย ทั้งนี้เนื่องจากนิสิต เป็นทั้ง Input และจะกลายเป็น Output ที่สำคัญของมหาวิทยาลัย นิสิตจึงควรที่จะได้รับทราบและเข้าใจว่าตนเองเป็นหัวใจและเป็นส่วนสำคัญในระบบประกันคุณภาพการศึกษา  เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีจุดมุ่งหมายและถูกต้องเหมาะสม

     เพื่อในการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย  เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพจึงกำหนดแนวปฏิบัติ  ในการจัดทำรายงานการประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ  โดยให้ทุกหน่วยงานทั้งระดับคณะ (Teaching Unit) และหน่วยงานสนับสนุน (Non-Teaching Unit) ทำรายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report, SAR) รายงานการประเมินตรวจสอบ (Check Assessment Report, CAR) และรายงานสรุปผลการประเมินตนเองประจำปี (Yearly Assessment Report, YAR) เป็นประจำทุกปี  และให้ทุกหน่วยงานป้อนข้อมูลของตนเองลงในระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร (NUQADB) เป็นประจำทุกปี ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันหลังสิ้นปีการศึกษา  กำหนดให้หัวหน้าหน่วยงานทุกหน่วยงานนำเสนอสรุปผลการประเมินในที่ประชุม อกม.  และหน่วยประกันคุณภาพการศึกษา จัดเก็บรายงานดังกล่าว และจัดทำสรุปภาพรวมผลการประเมินตนเองประจำปีในระดับมหาวิทยาลัย (University Self Assessment Report, USAR) ให้แล้วเสร็จภายใน 120 วันหลังสินปีการศึกษา เพื่อจัดส่งให้หน่วยงานต้นสังกัด และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) รวมทั้งนำเสนอต่อสาธารณชนต่อไป 

     แนวทางการประเมินดังกล่าวส่งผลให้เกิดวิวัฒนาการของการประเมินขึ้นในมหาวิทยาลัยฯ  และผู้บริหารทุกคนให้ความสำคัญและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีระบบประกันคุณภาพที่ชันเจนในปัจจุบัน
ระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพ

    มหาวิทยาลัยนเรศวรได้จัดทำระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพ  เน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกหน่วยงานและเพิ่มช่องทางการสื่อสารในทุกรูปแบบเพื่อความรวดเร็วในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร

     โดยมีหน่วยประกันคุณภาพการศึกษา ร่วมกับศูนย์ฝึกอบรมและควบคุมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยนเรศวร  (CITCOMS Innovation Center) ทำหน้าที่ออกแบบและพัฒนาระบบ

     การได้มาของระบบฐานข้อมูลเพื่อการประกันคุณภาพ   เน้นการมีส่วนร่วม  และการทำงานเป็นทีมงาน โดยการวิเคราะห์ความต้องการของระบบและข้อมูลที่จำเป็น (20%)  และการร่วมกันลงมือปฏิบัติ (80%)  ผนวกกับ  การทุ่มเททั้ง  ความรู้  ทรัพยากร  เวลา  เงิน  และบุคลากร   โดยเน้น  การทำจากเล็กไปใหญ่  ทำง่ายๆ  เข้าใจง่ายๆ  มีการจัดเก็บที่เป็นรูปแบบเดียวกัน  และให้หน่วยงานเป็นผู้กรอกรายละเอียด (คล้ายกับเติมคำในช่องว่าง) และมีการประมวลผลแสดงในรูปแบบตาราง

ระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพประกอบด้วย

-  ระบบจัดทำรายงานประจำปี (สมศ.) 8 มาตรฐาน  เป็นระบบการจัดทำรายงานประจำปีของมหาวิทยาลัยฯ ตามมาตรฐานของ สมศ. โดยให้แต่ละหน่วยงานกรอกข้อมูลพื้นฐานในแบบฟอร์มการเก็บข้อมูล โดยมีการสรุปผลรวมในรูปแบบตารางนำเสนอ

-   ระบบฐานข้อมูลด้านการฝึกอบรม  เป็นระบบการจัดการข้อมูลด้านการจัดฝึกอบรม  โดยมีรายละเอียดของโครงการฝึกอบรมต่างๆ   รวมถึงการแสดงผลการประเมินการจัดฝึกอบรมด้วย

-  ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ  ประกอบด้วยระบบ e-Direly และระบบหนังสือเวียน ซึ่ง e-Direly จะเป็นระบบบริหารจัดการในส่วนการดำเนินงานของหน่วยงานภายในมีการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานประจำวัน  การลงเวลาทำงาน  และข้อการลาต่างๆ  สามารถแสดงผลได้ง่ายและชัดเจน  ในส่วนของระบบหนังสือเวียน  เป็นระบบการแจ้งข้อมูลข่าวสารด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์  ไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อความรวดเร็วในการติดต่อประสานงาน


-  ระบบการประชุมทางไกล  เป็นระบบการประชุมผ่านเครือข่าย NUNET ระหว่างหน่วยงานและวิทยาเขตสารสนเทศฯ  เพื่อการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและความสะดวกในการดำเนินการ

  

-  NU  blog   ประกอบด้วย NUQA blog  เป็น blog เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร  และ NUKM blog เป็น blog เกี่ยวกับการบริหารจัดการโดยใช้หลัก KM   โดยมีการนำเสนอแรกเปลี่ยนความรู้  ข้อมูลข่าวสารในด้านต่างๆ  และมีระบบสมาชิก  ทำให้ง่ายต่อการติดต่อ
                 
ระบบฐานข้อมูลอื่นๆ  (e-Service) ประกอบด้วย
-  e-News  คือ บริการด้านข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของคณะ  สำนัก  หน่วยงาน  ภายในมหาวิทยาลัยและข่าวสารในแวดวงการศึกษา ที่จะเป็นประโยชน์แก่ประชาคมมหาวิทยาลัยนเรศวร

-  e-Phone คือ บริการสมุดโทรศัพท์ออนไลน์เพื่อความสะดวกในการสืบค้นเลขหมายโทรศัพท์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

-  e-form คือ บริการแบบฟอร์มการปฏิบัติงานและแบบขอรับบริการ ของคณะ สำนัก และหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย เช่น แบบฟอร์มด้านงานบุคคล  แบบฟอร์มด้านงานทะเบียนและแบบฟอร์มด้านกิจการนิสิต  เป็นต้น  สามารถ Download แบบฟอร์มได้ทันที

- e-Regulation  คือ  บริการสืบค้นข้อมูลด้านกฎระเบียบต่างๆ โดยรวบรวม ประกาศพระราช กฤษฎีกา  ข้อบังคับ  ระเบียบ  ของมหาวิทยาลัยนเรศวรเพื่อความสะดวกในการค้นหาตรวจสอบและใช้บริการ

- e-Journal คือ บริการวารสารอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร  เช่น  วารสาร  ม.นเรศวรสัมพันธ์  วารสาร@CITCOMS เป็นต้น

- e-Activities  คือ บริการข่าวสารการจัดกิจกรรมของคณะ  สำนัก  และหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยนเรศวร  รวมถึงภารกิจของผู้บริหาร  เพื่อแสดงถึงกิจกรรมต่าง ที่จะเกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย

- e-Nu Net คือ บริการข้อมูลการใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยนเรศวรเพื่อให้ผู้ใช้งาน Nu Net ได้ทราบถึงนโยบายการให้บริการ วิธีการใช้งานข่าวสารด้านการให้บริการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  รวมถึงบริการ e-Mail  บริการเปลี่ยน Password เป็นต้น

- e-Resaerch คือ บริการสืบค้นข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยนเรศวรตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2537 จนถึงปัจจุบันโดยในระบบ e-Research จะประกอบด้วย ชื่อโครงการ  ผู้รับผิดชอบโครงการ  ประเภทการวิจัย  แหล่งทุนวิจัย  งบประมาณ  บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและอังกฤษ  รวมทั้งผลการวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อนิสิตและอาจารย์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ  รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลเพื่อการอ้างอิงและเพื่อกระตุ้นให้เกิดการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  จอกจากนั้นระบบ e-Research  ยังรวมถึงโครงการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14114เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2006 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีใจที่ได้เพื่อนใหม่ในชุมชนค่ะ

อ่านแล้วน่าสนใจมากค่ะ กำลังหาข้อมูลว่าจะขอศึกษาดูงาน KM ที่ ม.นเรศวร พออ่านบทความนี้ ทำให้รู้ว่า จะได้ความรู้ IT สำหรับงานประกันคุณภาพอีกด้วย

แล้วงาน IT สำหรับงานประกันคุณภาพ ของม.เกษตร เป็นอย่างไรบ้างคะ เล่าให้ฟังบ้างซิคะ

ดีใจที่ได้เพื่อนใหม่ในชุมชนค่ะ

อ่านแล้วน่าสนใจมากค่ะ กำลังหาข้อมูลว่าจะขอศึกษาดูงาน KM ที่ ม.นเรศวร พออ่านบทความนี้ ทำให้รู้ว่า จะได้ความรู้ IT สำหรับงานประกันคุณภาพอีกด้วย

แล้วงาน IT สำหรับงานประกันคุณภาพ ของม.เกษตร เป็นอย่างไรบ้างคะ เล่าให้ฟังบ้างซิคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท