ทำเรื่องยากๆต้องมีแกนที่ยั่งยืน


มักได้ยิยข้าราชการดีๆมาบอกว่า ดีใจจังที่ อจพูดแบบนั้น

วันนี้ที่ มสช มีการคุยนโยบายสาธารณะสองเรื่อง

เรื่องแรกคือนโยบายเด็ก เยาวชน และครอบครัว มีสมาชิกนักพัฒนาเด็กมาร่วมหลายคน ทั้ง อจ ชนิกา อจนิตยา อจลัดดา คุณเรืองเดช ฯลฯ

อีกเรื่องคือนโยบายการจัดการน้ำ มีสมาชิกสภาที่ปรึกษามาคุยกันหลายคน รวมทั้งคุณชนะ รุ่งแสง อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาที่เคยจับเรื่องนั้มาก่อน และ อจ มิ่งสรรพ์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม หญิงเหล็ก

เรื่องแรกดูจะไม่ยาก ถ้าถามว่าควรมีการทำงานเรื่องอะไรบ้างในสังคมไทย และดูเหมือนมีหน่วยงานมากมายที่ทำเรื่องต่างๆอยู่

แต่คำถามสำคัญอยู่ที่ว่าทำยังไงให้เกิดการทำงานอย่างต่อเนื่องบนฐานความรู้ เพราะหน่วยราชการมักโดนสั่งให้ทำนโยบาย ประเภท ถามวันนี้จะเอาคำตอบเมื่อวานนี้

ส่วนเรื่องที่สองนั้น เนื้อหานโยบายดูจะยากกว่าแยะ แถมผลประโยชน์ และความเห็นต่างก็มากมาย

แต่ฟังการเล่าประสบการณ์จากท่านผู้รู้ที่นั่งรอบโต๊ะ

ดูจะเหมือนกันทั้งสองเรื่องตรงที่ว่า แม้จะมีหน่วยงานรัฐดูแลแต่ละเรื่องอย่ ธรรมชาติของการพัฒนานโยบายดูจะเหมือนกัน คือ คนที่รับผิดชอบ เดี๋ยวมาแล้วก็ไป ถ้าไม่ใช่เพราะย้ายตามธรรมชาติ ก็เป็นการจากไปแบบผิดธรรมชาติ (แต่เจ้าตัวยังมีชีวิตอยู่ดี ซึ่งกรณีนี้อาจเกิดกับเรื่องนำ้)

อีกอย่างคือ มักได้ยินข้าราชการดีๆมาบอกนอกที่ประชุม ว่าดีใจจังที่ อจ พูดแบบนั้น เพราะพวกผมเองจะพูดคงไม่ได้

ผมนึกถึงที่ อจ หมอบรรลุท่านเคยพูดไว้เกี่ยวกับเรื่องผู้สูงอายุ ในฐานะที่ อจ คลุกคลีกับหน่วยงานต่างๆมานาน ได้รับความร่วมมือ และการสนับสนุนจากข้าราชการดีๆมามากมาย

แต่ อจก็ยังสรุปว่าถ้าจะทำเรื่องดีๆให้ต่อเนื่องและมีวิชาการคงต้องพยายามตั้งสถาบันวิชาการผู้สูงอายุ แล้วหาคนเก่งๆมาทำงาน  เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการสร้างความรู็ และขับเคลื่อนสังคม

ไม่รู้ว่าท่านอื่นมีบทเรียนเรื่องอื่นคล้ายกันหรือเปล่า

หรือว่าพวกเราจะชอบตั้งกลไกวิชาการในภาคประชาสังคมมากไปหน่อย 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14070เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2006 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คุณหมอสมศักดิ์ครับ

นโยบายสาธารณะไม่จะเป็นต้องเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ต้องผ่านสองสภา ลองยกตัวอย่าง นโยบายสาธารณะระดับนาโน คือ ในถ้าครอบครัวร่วมกันกำหนดกติกาว่าคุณพ่อจะไม่ดื่มเหล้าเบียร์ต่อหน้าลูก และถ้าช่วงเข้าพรรษาก็หยุดยาวสามเดือนเลย ก็น่าจะมีมรรคผลมากกว่านโยบายสไตล์ฝันกลางวันแล้วสั่งทิ้งๆ ขว้างๆ พูดแล้วคืนคำ แบบเบ่งคลอดแล้วทิ้งถังขยะนะครับ

ขอแจมต่อ เพราะถูกใจครับ ผมขอใช้คำพูดของคอื่นที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนโยบายมาหนับหนุนคุณชาตรี หน่อย

สิ่งที่เรียกว่านโยบายสาธารณะไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่ๆระดับชาติ เพราะส่วนใหญ่เป็นการเข้าฝันที่ส่วนใหญ่จะเป็นฝันร้ายถ้าใครรู้ตัวตื่นขึ้นมาทัน

ถ้าตื่นไม่ทันอาจไหลตาย

ตัวอย่างนโยบายอย่างที่ว่าคือ การที่หมู่บ้านมีข้อตกลง(ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นลายลักษณ์อักษร) ว่าจะไม่ให้มีการเลั้ยงเหล้า ในงานทุกชนิด หรืออย่างน้อยก็ในงานศพ อย่างนี้ก็เป็นนโยายสาธารณะ เพราะมีผลต่อการกระทำของกลุ่มคน

มีอีกเรื่องที่ขอเติม คือพวกนโยบายสาธาณธระดับประเทศปัจจุบันจะเฝือพอควร แต่เป็นประเภท รับแต่ไม่ขับเคลื่อน คือรับปากไปเรื่อยถ้าใครมีนโยบายดีๆไปเสนอ แต่ไม่เห็นมีใครทำอะไร

มีนักเศรษฐศาสตร์เขาบอกว่าเป็นพวก cheap talk แปลไทยน่าจะได้ความทำนองว่า ราคาคุยแยะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท