กฏระเบียบข้อบังคับ


จัดระเบียบกิจการแพปลา

กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
พระราชบัญญัติ

จัดระเบียบกิจการแพปลาพ.ศ.2496                                     
*************************
ภูมิพลอดุลยเดชป.ร.
ให้ไว้ณวันที่๙มกราคมพ.ศ.๒๔๙๖
เป็นปีที่๘ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายจัดระเบียบกิจการแพปลาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรดั่งต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า“พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลาพ.ศ.๒๔๙๖“
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
กิจการแพปลา”หมายความว่าการกระทำอันเป็นปกติธุระอย่างใดอย่างหนึ่งดั่งต่อไปนี้
(ก) การให้กู้ยืมเงินหรือให้เช่าให้เช่าซื้อให้ยืมเรือเครื่องมือทำการประมงหรือสิ่งอุปกรณ์การประมงเพื่อให้ผู้กู้ยืมหรือผู้เช่าผู้เช่าซื้อ ผู้ยืมประกอบกิจการประมงหรือทำการค้าสินค้าสัตว์น้ำโดยมีข้อตกลงกันโดยตรงหรือโดยปริยายว่าผู้กู้ยืมหรือผู้เช่าผู้เช่าซื้อผู้ยืม จะต้องนำสินค้าสัตว์น้ำมาให้ผู้ให้กู้ยืมหรือผู้ให้เช่าผู้ให้เช่าซื้อผู้ให้ยืมเป็นตัวแทนทำการขายสินค้าสัตว์น้ำนั้น
(ข)การรับเป็นตัวแทนทำการขายสินค้าสัตว์น้ำของบุคคลอื่น
(ค) การขายสินค้าสัตว์น้ำโดยวิธีขายทอดตลาด (ง) กิจการค้าสินค้าสัตว์น้ำโดยวิธีอื่นใดตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีการะบุว่าเป็นกิจการแพปลา
“สินค้าสัตว์น้ำ”หมายความว่าสัตว์น้ำตามความหมายแห่งกฎหมายว่าด้วยการประมงไม่ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่และรวมตลอดถึงผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำทุกชนิดซึ่งเป็นวัตถุสินค้า
“สะพานปลา”หมายความว่าสถานที่หรือบริเวณซึ่งได้มีประกาศให้เป็นที่ประกอบกิจการแพปลาตามพระราชบัญญัตินี้
“ค่าบริการ”หมายความว่าเงินค่าจัดสถานที่และอำนวยความสะดวกในการซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา
“คณะกรรมการ”หมายความว่าคณะกรรมการองค์การสะพานปลา
“ผู้อำนวยการ”หมายความว่าผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา
“พนักงาน”หมายความว่าพนักงานองค์การสะพานปลา
“พนักงานเจ้าหน้าที่”หมายความว่าผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
“อธิบดี”หมายความว่าอธิบดีกรมประมง
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้และกำหนดกิจการอื่นๆเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราช บัญญัตินี้กฎกระทรวงนั้นเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
หมวด๑
องค์การสะพานปลา
มาตรา ๕ ให้จัดตั้งองค์การขึ้นองค์การหนึ่งเรียกว่า“องค์การสะพานปลา”มีวัตถุประสงค์ดั่งต่อไปนี้
(๑)จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลาตลาดสินค้าสัตว์น้ำและอุตสาหกรรมการประมง
(๒)จัดดำเนินการหรือควบคุมและอำนวยบริการซึ่งกิจการแพปลาการขนส่งและกิจการอื่นๆอันเกี่ยวกิจการแพปลา
มาตรา ๖ ให้องค์การสะพานปลาเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๗ ให้องค์การสะพานปลาตั้งสำนักงานใหญ่ในจังหวัดพระนคร
มาตรา ๘ องค์การสะพานปลาเห็นสมควรจัดตั้งสะพานปลาขึ้นสำหรับท้องที่ใดเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีแล้วก็ให้ประกาศตั้งขึ้นได้การประกาศให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้สะพานปลาอยู่ในความดูแลดำเนินกิจการขององค์การสะพานปลา
มาตรา ๙ ให้โอนกิจการทรัพย์สินและหนี้สินรวมทั้งบรรดาข้อสัญญาและภาระผูกพันทั้ง สิ้น อันเกิดจาดการดำเนินการจัดตั้งแพปลาของกรมการประมงโดยงบประมาณแผ่นดินให้แก่องค์การสะพานปลา
มาตรา ๑๐ ให้จ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายวิสามัญลงทุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๔๙๖ ของกรมการประมงที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดตั้งแพปลาให้แก่องค์การสะพานปลา
มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการองค์การสะพานปลาขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคนและคณะกรรมการอื่นอีกไม่น้อยหว่าสี่คนแต่ไม่เกินหกคนให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการองค์การสะพานปลา
มาตรา ๑๒ ประธานกรรมการและกรรมการต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย
มาตรา ๑๓ ผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ต้องห้ามมิให้เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการคือ
(๑)เป็นพนักงานหรือ
(๒) มีส่วนได้เสียในสัญญากับองค์การสะพานปลาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่องค์การสะพานปลาไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อม
มาตรา ๑๔ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไป ซึ่งกิจ การขององค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑)วางข้อบังคับเกี่ยวกับการต่างๆตามความในมาตรา๕
(๒)วางข้อบังคับการประชุมและการดำเนินกิจการของคณะกรรมการ
(๓)วางข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุการแต่งตั้งและการถอดถอนพนักงาน
(๔)วางข้อบังคับว่าด้วยระเบียบปฏิบัติงานขององค์การสะพานปลาและข้อบังคับว่าด้วยระเบียบวินัยและการลงโทษพนักงาน
(๕)กำหนดอัตราเงินเดือนของพนักงาน
มาตรา ๑๕ ให้ประธานกรรมการอละกรรมการอยู่ในตำแหน่งมีกำหนดสองปีแต่อาจรับแต่งตั้งใหม่ได้
มาตรา ๑๖ ประธานกรรมการและกรรมการย่อมพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระเมื่อ
(๑)ตาย
(๒)ลาออก
(๓)คณะรัฐมนตรีให้ออก
(๔)เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา๑๓
ในกรณีที่มีการพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระให้มีการแต่งตั้งประธานกรรมการหรือกรรมการเข้าแทนได้แล้วแต่กรณีผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเข้าแทนย่อมอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๑๗ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการประชุมไปไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุมได้เมื่อประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมให้กรรมการเลือกตั้งกันขึ้นเองเป็นประธานชั่วคราว
มาตรา ๑๘ การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาในคณะกรรมการให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณถ้าเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๑๙ ให้องค์การสะพานปลามีอำนาจเรียกเก็บเงินค่าบริการจากผู้ประกอบกิจการแพปลาได้ไม่เกินร้อยละสามของราคาสินค้าสัตว์น้ำที่ซื้อขายกันที่สะพานปลาหรือราคาที่พนักงานประเมินราคาตลาดในวันนั้น
มาตรา ๒๐ ให้แบ่งเงินค่าบริการที่องค์การสะพานปลาเรียกเก็บตามความในมาตรา๑๙ไว้ร้อยละยี่สิบห้าของค่าบริการที่เก็บได้ทั้งหมด เพื่อใช้จ่ายในการส่งเสริมการประมงตามความในมาตรา ๕ (๓) และ (๔) การเก็บรักษาและการเบิกจ่ายเงินค่าบริการที่แบ่งไว้ในวรรคก่อนให้เป็นไปตามระเบียบและวิธีที่คณะกรรมการกำหนดด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๒๑ ให้องค์การสะพานปลาจัดทำงบประมาณประจำปีแยกเป็นงบลงทุนและงบทำการสำหรับงบลงทุนให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบส่วนงบทำการให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
ให้องค์การสะพานปลาเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารตามระเบียบของคณะกรรมการซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๒๒ รายได้ที่องค์การสะพานปลาได้รับในปีหนึ่งๆเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายสำหรับดำเนินงานค่าภาระต่างๆที่เหมาะสมเช่นค่าบำรุงรักษาค่าเสื่อมราคาและเงินสมทบกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในองค์การสะพานปลาเงินสำรองธรรมดาซึ่งตั้งไว้เผื่อขาดเงินสำรองขยายงานและเงินลงทุนตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วเหลือเท่าใดให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐแต่ถ้ารายได้มีจำนวนไม่พอสำหรับรายจ่ายดังกล่าวนอกจากเงินสำรองที่ได้ระบุไว้ในวรรคก่อนและองค์การสะพานปลาไม่สามารถหาเงินจากทางอื่นรัฐพึงจ่ายเงินให้แก่องค์การสะพานปลาเท่าจำนวนที่จำเป็น
มาตรา ๒๓ ทุกปีให้คณะกรรมการตั้งผู้สอบบัญชีคนหนึ่งหรือหลายคนเพื่อสอบและรองรับบัญชีเป็นปีๆไปแล้วนำเสนอรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรีพร้อมด้วยรายงานกิจการประจำปีซึ่งให้กล่าวถึงผลงานในปีที่ล่วงแล้วและให้มีคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการโครงการและแผนงานที่จะจัดทำในภายหน้าห้ามมิให้ตั้งประธานกรรมการกรรมการหรือพนักงานเป็นผู้สอบบัญชีเมื่อรัฐมนตรีร้องขอให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจบัญชีขององค์การสะพานปลา
มาตรา ๒๔ ให้คณะกรรมการเป็นผู้แทนองค์การสะพานปลาในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกแต่คณะกรรมการจะมอบหมายให้ผู้อำนวยการหรือพนักงานอื่นใดขององค์การสะพานปลาเป็นผู้แทนได้
มาตรา ๒๕ ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบจากรัฐมนตรี
มาตรา ๒๖ ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารกิจการขององค์การสะพานปลาตามนโยบายและระเบียบข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนดหรือมอบหมาย
มาตรา ๒๗ ประธานคณะกรรมการและกรรมการย่อมได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๘ ประธานกรรมการกรรมการผู้อำนวยการและพนักงานอาจได้รับเงินรางวัลตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
หมวด๒
กิจการแพปลา
มาตรา ๒๙ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการแพปลาเว้นแต่ได้รับอนุญาตและเสียค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๐ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการเป็นที่ขายทอดตลาดสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลาเว้นแต่ได้รับอนุญาตและเสียค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๑ ให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนดดั่งต่อไปนี้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๑)ให้ผู้ประกอบกิจการแพปลาประกอบกิจการที่สะพานปลาและปฏิบัติตามระเบียบและเงื่อนไขที่กำหนด
(๒)อัตราอย่างสูงสำหรับค่านายหน้าค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ผู้ประกอบกิจการแพปลาจะพึงเรียกจากเจ้าของสินค้าสัตว์น้ำและผู้ซื้อสินค้าสัตว์น้ำ
(๓)วิธีการขายทอดตลาดและการกำหนดหน่วยของน้ำหนักหรือปริมาณสินค้าสัตว์น้ำ
(๔)การจอดเรือการขนส่งและการจราจรที่สะพานปลา
(๕)ให้ผู้ประกอบกิจการแพปลาทำบัญชีและเอกสารเป็นภาษาไทยตามแบบซึ่งกำหนดไว้
มาตรา ๓๒ ให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดแบบพิมพ์ให้ผู้ประกอบกิจการแพปลากรอกรายการข้อความ จำนวนปริมาณชนิดราคาสินค้าและอื่นๆได้ผู้ประกอบกิจการแพปลาต้องกรอกคำตอบลงในแบพิมพ์นั้นตามความเป็นจริง พร้อมทั้งลงชื่อกำกับและจัดการยื่นตามกำหนดเวลาและวิธีการณสถานที่ดังกำหนดไว้ในแบบพิมพ์นั้น
เพื่อประโยชน์แก่การตรวจสอบรายการในแบบพิมพ์ที่กรอกยื่นดังกล่าวเมื่ออธิบดีเห็นสม ควร มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปทำการตรวจสอบสมุดบัญชีหรือเอกสารต่างๆในที่ทำการของผู้ประกอบกิจการแพปลาได้ในระหว่างเวลาราชการให้ผู้ประกอบกิจการแพปลาอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการนี้แต่ในการตรวจสอบนี้ต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อกิจการงานของผู้ประกอบกิจการแพปลา
มาตรา ๓๓ ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการแพปลาไม่ยอมขายทอดตลาดสินค้าสัตว์น้ำรัฐมนตรีหรือผู้ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้องค์การสะพานปลาดำเนินการขายทอดตลาดสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลาเสียเองก็ได้
มาตรา ๓๔ รัฐมนตรีมีอำนาจที่จะสั่งยกเว้นหรือลดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการตามพระราชบัญญัตนี้ให้แก่สหกรณ์การประมงได้ตามที่เห็นสมควร
มาตรา ๓๕ ห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการแพปลาที่สะพานปลารับซื้อสินค้าสัตว์น้ำเสียเองเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของสินค้าสัตว์นำนั้นในกรณีเช่นนี้ห้ามมิให้เรียกเก็บค่านายหน้าจากเจ้าของสินค้าสัตว์น้ำนั้น
มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการแพปลาหรือผู้ขายทอดตลาดสินค้าสัตว์น้ำกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ หรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ชำระค่าบริการที่องค์การสะพานปลาเรียกเก็บหรือสั่งเพิกถอนในอนุญาตได้ในการที่อธิบดีจะสั่งดังกล่าวในวรรคก่อนให้ส่งคำตักเตือนเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบกิจการแพปลาหรือผู้ขายทอดตลาดสินค้าสัตว์น้ำปฏิบัติการให้ถูกต้องภายในเวลาอันสมควรที่กำหนดให้เสียก่อน
มาตรา ๓๗ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ยอมออกใบอนุญาตให้ก็ดีหรือในกรณีที่อธิบดีสั่งให้หยุดกระทำกิจการแพปลาหรือหยุดขายทอดตลาดสินค้าสัตว์น้ำหรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตก็ดีผู้ขออนุญาตหรือผู้ถูกสั่งเช่นว่านั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้โดยยื่นอุทธรณ์ต่ออธิบดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่งให้อธิบดีส่งคำอุทธรณ์นั้นไปยังรัฐมนตรีภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับคำอุทธรณ์ คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
หมวด๓
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๓๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๙ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่ต่ำกว่าห้าพันบาท แต่ไม่ เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา ๓๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๐ มาตรา ๓๕ หรือฝ่าฝืนข้อกำหนดของอธิบดีออกตามความในมาตรา ๓๑ (๑) (๒) (๓) และ(๕) หรือขัขวางการขายทอดตลาดสินค้าสัตว์น้ำโดยองค์การสะพานปลาตามความในมาตรา ๓๓ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา ๔๐ ผู้ใดไม่กรอกแบบพิมพ์ยื่นหรือแกล้งกรอกแบบพิมพ์ที่อธิบดีกำหนดไม่ครบถ้วนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของอธิบดีว่าด้วยการกรอกแบบพิมพ์นั้นหรือกรอกแบบพิมพ์เช่นว่านั้นโดยรู้อยู่ว่าเป็นเท็จหรือไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบสมุดบัญชีหรือเอกสารตามคำสั่งอธิบดี หรือไม่อำนวยความสะดวกในการตรวจสอบเช่นว่านั้นตามความในมาตรา๓๒มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา ๔๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดของอธิบดีออกตามความในมาตรา ๓๑(๔) มีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองร้อยบาท
หมวด๔
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๔๒ ผู้ประกอบกิจการแพปลาและผู้ขายทอดตลาดสินค้าสัตว์น้ำที่กระทำการอยู่แล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามความในพระราชบัญญัตินี้ภายในหกสิบวัน นับตั้งแต่วัน ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้เป็นต้นไป
*************************
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จอมพลป.พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี

แหล่งที่มา:
http://www.fishmarket.co.th/law.html
      



 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14015เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2006 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท