กลุ่มอาการปวดของกล้ามเนื้อ MYOFASCIAL PAIN


myaofascial pain

 ความรู้ดีๆ เรื่อง Myofascial pain syndrome จากหมอเต้ นรุตม์ วิริยะศิริ ค่ะ พอดีเปิดๆ ดู ใช้ได้ทีเดียว

 กลุ่มอาการปวดของกล้ามเนื้อที่กระจายอยู่ในบริเวณหนึ่ง บริเวณใดของร่างกาย อันเนื่องมาจากจุดปวดที่เรียกว่า Trigger point  เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหรือเยื่อพังผืด

ระบาดวิทยา

1.       เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย

2.       ความชุกที่พบบ่อยที่สุดคือ ช่วงอายุระหว่าง 31-50 ปี

3.       กล้ามเนื้อที่เกิด myaofascial pain บ่อยที่สุด คือกลุ่มที่ควบคุมท่าทางและแนวแกนกลางของร่างกาย

4.       เป็นสาเหตุของกลุ่มอาการปวดเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุด

5.       latent trigger point พบได้บ่อยกว่า active trigger point

อาการและอาการแสดง

1.       อาการปวด พบได้บ่อยคือ deep dull aching (ปวดตื้อๆ และรู้สึกปวดอยู่ลึกๆ)

-          refer pain เป็นลักษณะเด่นที่พบบ่อย อาการปวดร้าวซึ่ง trigger point มักจะอยู่ส่วนบนของบริเวณที่รู้สึกปวด

-          bizarre pain บริเวณปวดร้าวไม่เป็นไปตาม simple segment pattern และ neuroanatomy

-          regional  pain บริเวณที่มีอาการปวด

-          Essential referred pain zone: บริเวณที่มีอาการปวดพบใน Myofascial pain syndrome เกือบทุกรายที่มี trigger point  อยู่ในภาวะ active

-          Spillover referred pain zone บริเวณที่มีอาการปวด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กระจายกว้างไกลกว่า essential referred pain zone พบเฉพาะ  MPS รายที่มีความไว (hyperirritability) ของ trigger point มากกว่าปกติ

-          Duration : ปวดตลอดเวลา หรือเฉพาะทำงาน

-          Severity : มีได้แตกต่างกัน ตั้งแต่ปวดมากขึ้นจนไม่สามารถขยับส่วนของร่างกายที่มี active trigger point จนถึงไหนปวดเล็กน้อย ขึ้นกับความรุนแรงของ hyperirritability ของ trigger point สิ่งที่บอกความรุนแรงของ hyperirritability คือ local tenderness, spontaneous referred pain, refered autonomic phenomena และ local twitch response

-          Sensory alteration : MPS เป็นสาเหตุของการรับรู้ความรู้สึกที่เปลี่ยนไปได้ ที่สำคัญคือ  hyperalgesia คือความไวในการตอบสนองต่อการปวดที่เพิ่มขึ้น (decrease pain treshold) ในบริเวณที่มีอาการปวด อาจมี  cutaneous paraesthesia ซึ่งอาการชาเป็นเพียงแค่ความรู้สึก แต่ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติของระบบประสาท

2.       อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic phenomena)

        อาการของระบบประสาทอัตโนมัติที่ไม่ใช่อาการปวด เป็นได้ทั้งจากการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้เกิดในบริเวณที่มีอาการปวด ได้แก่

         Vasomotor disturbance : ในระหว่างที่  Trp ถูกกระตุ้นจะมี  vasoconstriction มีอาการซีด เย็น แต่เมื่อ  Trp  ถูกคลายจะเกิด  rebound hyperemia จาก  vasodilation

Sweating, lacriimation, cortisa, salivation, pilomotor erection, proprioceptive disorders

3.       Trigger point  (Trp)

จุดปวด (local tenderness) ที่ไวต่อการกระตุ้น (hyperirritability) จะต้องอยู่ในกล้ามเนื้อหรือเยื่อพังผืดเท่านั้น  จึงจะเรียกว่า myofascial trigger point ซึ่งจะเป็นจุดที่ pressure pain treshold ต่ำกว่าปกติ และอยู่ใน taut band สามารถกระตุ้นให้แสดงอาการปวด อาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ และกระตุ้นให้เกิด local twitch response  ได้ด้วยแรงกดหรือแทงด้วยปลายเข็ม local twitch response  ได้ด้วยแรงกดหรือแทงด้วยปลายเข็ม

การวินิจฉัย

        เป็น  clinical criteria  อาศัยประวัติและการตรวจร่างกาย

        Clinical criteria  for Diagnosis of Myofascia pain syndrome major criteria

1.       มีอาการปวดกระจายเป็นบริเวณ

2.       มีอาการปวดหรือการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกในบริเวณที่ควรจะมีการปวดร้าวตามแบบแผนของ  myofascial trigger point

3.       ในกล้ามเนื้อมัดที่อยู่ไม่ลึกนักสามารถ  taut band ได้

4.       ในความยาวของ taut band จะต้องมีจุดกดเจ็บเจ็บที่ชัดเจนที่สุด

5.       เมื่อทำการวัดพิสัย การเคลื่อนไหวจะมีการลดลง

Minor Criteria

1.       สามารถกระตุ้นให้เกิดการปวดหรือความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไปได้ด้วยการกดจุดปวดนี้

2.       สามารถกระตุ้นให้เกิด  local twitch response  ได้ด้วยการแทงเข็มหรือคลึงในแนวตั้งฉากกับ  taut band ตรงตำแหน่งที่มีจุดปวด

3.       การบริหารยืดกล้ามเนื้อหรือฉีดยาที่จุดปวดจะทำให้เกิดอาการปวดลดลงได้ การวินิจฉัย  MPS   จะต้องประกอบด้วยทุกกรณีของ major criteria ร่วมกับอย่างน้อย 1 กรณีของ minor criteria

คำสำคัญ (Tags): #myaofascial pain
หมายเลขบันทึก: 139558เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2007 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ดิฉันปาดขาขวามาก

ปาดเปลี่ยนที่ไปเรื่อย

บางครั้งปาดจนยกขาขวาขึนรถไม่ไหว

ต้องใช้มือประคอง

หาหมอกระดูก บอกว่าเป็นเอ็นอักเสบ

ให้ยากินอยู่ระยะหนึ่ง ประมาน 1 เดือนไม่ดีขึ้น

และสังเกตุเห็นขาขวาลีบลง

จึงไปหา หมอเวชศาสตร์ฟื้น

อันอับแรกหมอวัดดูขนาดต่างกัน 1นิ้ว

หมอเขานึกถึง ปัญหาของกระดูกสันหลัง

ให้ทำMRIพบหมอนรองกะดูก เสื่อสที่ L4-L5

และDise Herniation แต่ไม่กด nerve root

หมอบอกว่าดิฉันเป็น myofacial pain

รักษาโดยดึงหลัง่ร่วมกับ ประคบร้อน

และอัลตราซาวด์อยู่พักหนึ่งประมาณ 2 เดือน

มันก็ปาดๆหายๆ อยู่อย่างนั้นจนรำคาญ ทำงานก็ไม่เต็มที่ อ้อมีการฉีดยาเข้าจุดที่ปวดด้วย ฉีดมาสัก 20 ครั้งหรือกว่านั้น

ตอนนี้เป็นมาเกือบปีแล้ว

อยากขอคำแนะนำหน่อยค่ะว่าจะรักษาโดยวิธีอื่นใดอีกไหม เพราะทรมานเหลือเกิน

ผมดีใจที่หลายท่านหลายวิชาชีพได้ให้ความสนใจเรื่องนี้ ผมคิดว่ากลุ่มคนในวัยทำงานมีอาการนี้มากขึ้น ผมเป็นหมอที่ทำคลินิคส่วนตัวเฉพาะเสาร์ อาทิตย์ คนไข้กลุ่มนี้เยอะมาก ส่วนใหญ่ผมแนะนำให้ออกกำลังกายและยืดกล้ามเนื้อ ก่อนอื่นต้องเยนว่าผมเองมีอาการ MPS มาตั้ง ๓๐ ปีแล้วเมื่อครั้งเป็น นศพ ปี ๒ ตอนนั้นเข้าใจว่า MPS ยังไม่ได้กล่าวถึงมากนัก และพวกเรา นศพ ก็ไม่ได้เรียนรู้เรื่องนี้ อาจารย์หมอให้ NSAID และยาคลายเครียดมาก็แค่ทุเลา ต่อมาผมก็จะมีอาการมากขึ้นด้วยความเป็นหมอก็รักษาตัวเอง และทำงานไปเรื่อยๆ จนอาการมากขึ้นจึงตั้งใจตรวจรักษาอย่างละเอียด โดยพี่ๆน้องที่เป็น Orthopeadist ก็ไม่พบโรคสำคัญ อยู่มาวันหนึ่งนั่งคุยกับน้องหมอ Ortho ท่านหนึ่ง น้องเขาฟังอาการเราแล้วก็ถามเราว่ารู้จัก MPS ไหม ผมก็ตอบทันทีเลยว่าไม่รู้เรื่อง น้องเขาเล่าให้ฟังจนผมวินิจฉัยได้เลย และน้องเขาแนะนำให้พบแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ผมได้เรียนรู้จากน้องทั้งสองท่านอย่างดีมาก (ซึ่งก็เป็นความรู้ที่ท่านเขียนไว้) น้องหมอรักษาโดยแทงเข็มเที่ Trigger point และแนะนำให้มาทุกสัปดาห์ แต่เราคงไม่เวลา จึงให้หมอนวดนวดบ้าง หมอนวดแผนไทยจะเรียก Trigger point ว่าจุดเอ็นขอด หมอนวดเก่งๆจะกดตรงจุดนี้เพื่อคลายเอ็น ถ้ามันคลายจะมีเสียงกลิ๊กที่จุดนั้นซึ่งผมเองได้รู้สึกด้วยตัวเองและอาการดีขึ้น ปัจจุบันเนื่องจากเราไม่มีเวลาไปหาหมอ หรือหมอนวด เราก็จะจัดการด้วยตัวเราเอง จนผมมั่นใจว่าชาวบ้านทั่วๆไปสามารถดูแลแก้ปัญหาปวดของตัวเองได้ โดย

๑.ออกกำลังกายประจำ ให้ครบทั้งแอร์โรบิค ความแข็งแรงกล้ามเนื้อ และที่สำคัญที่สุดในโรคนี้คือยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่ดีที่สุดทำได้ง่ายที่สุดคือ "รำไม้พลอง" แนะนำให้ชมรมต่างๆ รพ สอ ได้เผยแพร่การรำไม้พลองให้ชาวบ้านเห็นประโยชน์

๒.นวดบริเวณเอ็นขอดให้ตังเอง โดยใช้กะลามะพร้าว ใช้วิธีนอนทับกะลาโดยเอาน้ำหนักตัวและแรงกดทับพอสมควรก็จะทำให้จุดที่เจ็บคลายได้ อาจะทำทุกวันในคนที่ปวดมากกล้ามเนื้อตรึงมาก ท่านใดที่กลับจากทำงานแล้วมีอาการขึ้นก็นอนลงไปนวดให้ตัวเองได้ตลอดเวลา

ผมใช้กับตัวเองมาแล้วได้ผลดีอธิบายทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ และอยากเพิ่มเติมว่ากลุ่มที่มักมีอาการโรคนี้ คือพวกที่ต้องทำงานในลักษณะเดิมตลอดวันทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง ตึงตลอด เช่น ช่างตัดผม พนักงานพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์ แม่ค้ส้มตำ หมอผ่าตัด ฯลฯ

อยากให้ช่วยบอกต่ครับ จะไม่ได้เปลืองยา นอกจากไม่หายด้วยยาแล้วยายังเป็นอันตรายอีกด้วย

สามารถรักษา ให้หายได้ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดค่ะ

สุพรีมคลินิกกายภาพบำบัด

เป็นคลินิกกายภาพบำบัดที่ผสมผสานระหว่างวิธีการรักษาด้วยเทคนิคทางกายภาพบำบัดร่วมกับการผ่อนคลายบำบัดในบรรยากาศและสถานที่(Environment Therapy)ที่ใช้ในการทำการรักษาที่ผ่อนคลายและแตกต่างจากที่อื่น

เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนบรรยากาศการรักษาแบบสถานพยาบาลทั่วไป และนอกเหนือจากบรรยากาศที่แตกต่างแล้ว คลินิกของเรายังนำการบำบัดด้วยเสียงเพลง(Music Therapy) รวมถึงการนำการบำบัดด้วยกลิ่น(Aroma Therapy)มาร่วมในการรักษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผ่อนคลายและลดความตึงเครียด ซึ่งนำมาใช้ร่วมกันได้ดีในการลดความเจ็บปวด(Pain Management) ซึ่งวิธีการดังกล่าวที่นำมาผสมผสานในข้างต้นจะช่วยส่งเสริมทำให้ผลการรักษาทางกายภาพบำบัดที่ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายมากที่สุด

นอกจากนี้ทางคลินิกของเรายังมีบริการนวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อโดยใช้วิธีMuscle relaxation technique เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดและการเมื่อยล้าจากการทำงาน ซึ่งเหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป

สนใจติดต่อ สุพรีมคลินิกกายภาพบำบัด

195/3 ม. ปรีชาราม1 ถ. ราษฎร์พัฒนา (ซอยมิสทีน) แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กทม. 10240

โทร 02-9171967, 0862328400, 0858125667

แนะนำให้ไปหาหมอจัดกระดูกค่ะ เพราะตัวเองมีอาการปวดแปล็บๆที่บริเวณก้นกบมาประมาณ 2-3 เดือน และอาการหนักขึ้นเรื่อยๆค่ะ นั่งยองๆได้ไม่เกินหนึ่งนาที นอนหงายไม่ได้เลย บริเวณกล้ามเนื้อช่วงบ่าจะแข็งตลอดค่ะ ไปนวดแผนไทยต้องขอให้ลงน้ำหนักแรงมากๆค่ะ กำลังตัดสินใจไปพบแพทย์กระดูกค่ะ คิดว่าตัวเองมีปัญหาแน่ๆ และตรวจร่างกายประจำปีพบว่ากระดูกก้นกบเบี้ยวค่ะ ไม่มีอาการอะไรจนเวลาล่วงเลยมาเป็นปี พอดีมีคนแนะนำให้ลองหาหมอจัดกระดูกดู เค้าบอกว่าเก่ง เราแค่ต้องการไปตรวจเฉยๆ ไม่ได้ตั้งใจรักษาค่ะ กะว่าจะรักษาหมอที่โรงพยาบาลค่ะ เพราะทำงานในโรงพยาบาลอยู่แล้ว แต่คุณหมอจัดการให้รักษาแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว แต่ได้ผลดีมากๆค่ะอาการปวดที่มีหายไปประมาณ 97% บ่าที่แข็งตลอด ก็หายไปทันที รู้สึกว่ามหัศจรรย์มาก แต่แลกมาด้วยน้ำตาสามกะละมังค่ะ เจ็บมาก คุณหมอจัดกระดูกบอกว่า กระดูกคอมันเกยออกมา 3 ชิ้น กระดูกก้นกบเคลื่อนค่ะ แต่ปัจจุบันอาการดีขึ้นเกือบเต็มร้อยค่ะ คุณหมออยู่แถวลาดกระบังค่ะ อ้อ ค่ารักษาเค้าไม่เรียก ให้เราใส่ซองทำบุญเอง เค้าจะเอาไปทำบุญให้ค่ะ ว่างๆลองดูนะคะ ขอให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงค่ะ

อยู่ตรงไหนค่ะ ขอรายละเอียดที่คุณหมอด้วยค่ะ อยู่ต่างจังหวัด ขอละเอียดเลยนะค่ะเพราะแล้วหมอเขาทำอย่างไรบ้างค่ะ ดิฉันก็ปวดก้นกบเหมือนกัน เพราะเคยก้นกระแทก นั่งนาน ๆ ไม่ได้เลย ปวดมากค่ะ รักษามานานยังไม่หาย

ขอรายละเอียดหมอจัดกระดูกด้วยค่ะ เพราะปวดหลังมากหลังแข็งก้มไม่ได้ เพิ่งเอ็กเรย์มามีอาการกระดูกก้นกบเบี้ยว และมีกระดูกงอกที่ข้อกระดูกช่วงบั้นเอว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท