ร้อยเรียง...เรื่องเล่า..นักเรียนชาวนา 3


สำรวย อินทร์บุญ

สืบเนื่องจากการที่ข้าวขวัญคิดไว้ว่า เรามีเกษตรกรนักเรียนชาวนาที่น่าสนใจ และควรค่าแก่การยกย่องอยู่หลายคนมาก และที่เรามีความตั้งใจจะนำเสนอในวาระนี้ ประมาณว่าไม่พูดถึงแล้วเราอาจจะรู้สึกผิดแบบเต็มๆ ก็คือ  น้าสำรวย  อินทร์บุญ  (นักเรียนชาวนาบ้านโพธิ์) ผู้มีใบหน้าที่เปื้อนยิ้มรอต้อนรับใครต่อใครที่ผ่านไปทายทัก

น้าสำรวย  อินทร์บุญ  นักเรียนชาวนาในโรงเรียนชาวนาบ้านโพธิ์  (ตำบล     บ้านโพธิ์  อำเภอเมือง  จังหวัดสุพรรณบุรี)  น้าสำรวยเริ่มสมัครเข้าร่วมโครงการกับมูลนิธิข้าวขวัญเมื่อตั้งแต่ต้นปี  พ.ศ.2547  ที่ผ่านมาไม่นานมานี่เอง  แต่แม้จะเป็นนักเรียนใหม่ในโรงเรียนชาวนาบ้านโพธิ์  ทว่าน้าสำรวยมี      ความสนใจ  ตั้งใจ  ขยัน  และมุ่งใจอย่างจริงจังที่จะปรับกระบวนทัศน์การทำนา  เพื่อทำนาแบบลดต้นทุนและทำนาแบบลดการใช้สารเคมี  ซึ่งน้าสำรวยใช้ระยะเวลาที่ไม่นานนัก  ก็สามารถปรับและเปลี่ยนได้ในระดับหนึ่งแล้ว  ทำให้ทั้งตนเอง  สมาชิกในครอบครัว  และทั้งเพื่อนๆญาติพี่น้องต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า  น้าสำรวยเปลี่ยนไป  และมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม  ด้วยสุขภาวะที่เติมเต็มเข้ามาสู่ชีวิตอยู่ตลอดเวลา


เพราะน้าสำรวยสามารถลดต้นทุนการทำนาข้าว  เดิมทีนั้นก็ไม่เคยจะรู้จักการทำบัญชีรายรับรายได้เกี่ยวกับการทำนาข้าวของตนเองมาก่อนเลย  เป็นเช่นเดียวกับกรณีของป้าบังอรนั่นแหละ  แต่ในภายหลังจากการที่ได้มาเป็นนักเรียนชาวนาแล้ว  น้าสำรวยก็ได้รู้จักการจดบันทึกและการทำบัญชีอย่างง่ายๆด้วยตนเอง  เพื่อให้ได้ทราบถึงรายรับและรายจ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างการทำนาข้าว  แม้จะน่าเสียดายไปสักหน่อยที่ก่อนหน้านี้  (ก่อนที่จะมาทำนาข้าวปลอดสารเคมี)  น้าสำรวยไม่ได้มีการจดบันทึกใดๆเลย  นั่นก็ถือว่าไม่แปลกอะไร  หากในภาวะปัจจุบัน  ภาวะของการเป็นนักเรียนชาวนาของน้าสำรวยอีกคนหนึ่งแล้ว  กระบวนการในโรงเรียนชาวนาทำให้ตัวของน้าสำรวยได้รู้จักปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์...  นี่เป็นเรื่องที่น่ายินดี  คนรู้ใจในครอบครัวของน้าสำรวยบอกกล่าวมาอย่างนั้น 

             คราวนี้มาพิจารณาดูการทำนาลดต้นทุนของคุณสำรวยกันว่า  1  ปีผ่านไป  อะไรคือสิ่งที่น้าสำรวยได้เรียนไปและนำไปปฏิบัติจริงอย่างไร  แปลงนาทดลองของน้าสำรวยจึงจะเป็นคำตอบที่สามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า  ที่แปลงนาข้าวนี้มีคำตอบ  โดยไม่ต้องตั้งคำถามอะไร

ครอบครัวน้าสำรวยมีแปลงนาทั้งหมดจำนวน  4  แปลง  โดยที่แปลงแรก  มีพื้นที่จำนวน  3  ไร่  ส่วนแปลงที่  2  มีพื้นที่ราวๆ  4  ไร่กว่าๆ  ส่วนแปลงที่  3  มีพื้นที่จำนวน  17  ไร่  และแปลงที่สุดท้ายมีพื้นที่จำนวน  6  ไร่  รวมทั้งหมดแล้วก็อยู่ราวๆ  30  ไร่  เมื่อกล่าวได้ว่ามีพื้นที่นา  30  ไร่นี้  จะเรียนรู้อย่างไร

             เมื่อน้าสำรวยกลายมาเป็นนักเรียนชาวนาแล้ว  ตามเงื่อนไขของการเรียนรู้อย่างนักเรียนชาวนานั้น  จะต้องมีแปลงนาทดลองหรือแปลงนาปลอดสารเคมีจำนวนหนึ่ง  เพื่อใช้ในการทดลองและเพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตร  น้าสำรวยจึงตัดสินใจเลือกแปลงนาที่มีพื้นที่จำนวน  3  ไร่  อยู่ติดกับหลัง  ยกเป็นแปลงนานำร่องสำหรับ  ลด – ละ – เลิก  การใช้สารเคมี

              น้าสำรวยกำลังเรียนรู้วิถีเกษตรชีวภาพจากโรงเรียนชาวนา  และใน  1  ปีของการเป็นนักเรียนชาวนา  น้าสำรวยจึงเลือกที่จะลดใช้สารเคมีบางตัวลงไป  เลือกที่จะละแล้วเลิกใช้สารเคมีบางตัวไปเลย  แล้วจึงไม่จำเป็นต้องซื้อสารเคมีที่เคยใช้อีกต่อไป  บางตัวที่ยังต้องใช้อยู่ก็ลดปริมาณการใช้  ก็ทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่จะต้องซื้อหามาได้อยู่หลายสตางค์พอสมควร  จะลดไปมากหรือน้อยต้องมาพิจารณาดูต้นทุนจากบันทึกรายรับรายจ่ายในช่วงระยะเวลา  1  ปี  หรือ  2  รอบการทำนาดูกัน 

บันทึกรายรับรายจ่าย  รอบที่  1  เดือนมีนาคม  2547  ดังนี้

แปลงทดลองที่ไม่ใช้สารเคมี  จำนวน  3  ไร่  ปลูกข้าวพันธุ์หอมปทุม

รายจ่าย  ดังนี้

        1)  ค่าจ้างรถไถ                                                           390    บาท

        2)  ค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว  (ซื้อจากตลาด)                            1,200    บาท

        3)  ค่ายาคุมหญ้า                                                        250    บาท

        4)  ค่าจ้างคนงานฉีดยาคุมหญ้า                                      100    บาท

        5)  ค่าปุ๋ย  (ปุ๋ยยูเรีย  48-0-0  ผสมปุ๋ยสูตร  16-20-0)  3  ถุง         1,380    บาท

        6)  ค่าจ้างรถเกี่ยวข้าว  ค่าแบกหาม  และค่าจ้างรถเข็น                  1,400    บาท
      รวมรายจ่าย                                                                       4,720    บาท

รายรับ  ดังนี้

        1)  ขายข้าวเปลือกได้  จำนวน  2  เกวียน  73  ถัง                    16,160    บาท
     กำไรเบื้องต้น  (16,160 – 4,720)                                             11,440    บาท

เมื่อมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยต้นทุนต่อไร่แล้ว  จึงได้

        1)  ต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่  (4,720  บาท  หาร  3  ไร่)                       1,573.33  บาท 

        2)  กำไรเฉลี่ยต่อไร่   (11,440  บาท  หาร  3  ไร่)                      3,813.33  บาท 

 บันทึกรายรับรายจ่าย  ครั้งที่  2  เดือนธันวาคม  2547  ดังนี้

 แปลงทดลองที่ไม่ใช้สารเคมี  จำนวน  3  ไร่  ปลูกข้าวพันธุ์หอมปทุม

 รายจ่าย  ดังนี้

         1)  ค่าจ้างรถปั่นนา                                                                 390    บาท

         2)  ค่าพันธุ์ข้าว  (12  ถังๆ  ละ  90  บาท)                                 1,080    บาท

         3)  ค่าปุ๋ย  (ปุ๋ยยูเรีย  48-0-0  ผสมปุ๋ยสูตร  16-20-0)                  2,220    บาท

         4)  ค่าจ้างคนงานฉีดยาสมุนไพร                                                300    บาท

         5)  ค่าจ้างรถเกี่ยวข้าว  ค่าแบกหาม  และค่าจ้างรถเข็น                  1,200    บาท
   รวมรายจ่าย                                                                           5,190    บาท

รายรับ  ดังนี้

         1)  ขายข้าวเปลือกได้  จำนวน  2  เกวียน  70  ถัง                    16,160    บาท
   กำไรเบื้องต้น  (16,160 – 5,190)                                                10,970    บาท

 เมื่อมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยต้นทุนต่อไร่แล้ว  จึงได้

         1)  ต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่  (5,190  บาท  หาร  3  ไร่)                       1,730.00   บาท 

         2)  กำไรเฉลี่ยต่อไร่   (10,970  บาท  หาร  3  ไร่)                      3,656.67   บาท 

บันทึกรายรับรายจ่าย  ครั้งที่  3  เดือนมีนาคม  2548  ดังนี้

แปลงทดลองที่ไม่ใช้สารเคมี  จำนวน  3  ไร่  ปลูกข้าวพันธุ์สุพรรณ  60

รายจ่าย  ดังนี้

         1)  ค่าจ้างรถปั่นนา                                                                390    บาท

         2)  ค่าน้ำมัน  (25  ลิตรๆ  ละ  90  บาท)                                     350    บาท

         3)  ค่าพันธุ์ข้าว  (12  ถังๆ  ละ  90  บาท)                                 1,080    บาท

         4)  ค่าปุ๋ย  (ปุ๋ยยูเรีย  48-0-0  ผสมปุ๋ยสูตร  16-20-0)  5  ถุง        2,060    บาท

         5)  ค่าจ้างคนงานฉีดยาสมุนไพร                                               300    บาท

         6)  ค่าจ้างรถเกี่ยวข้าว  ค่าแบกหาม  และค่าจ้างรถเข็น                1,200    บาท
     รวมรายจ่าย                                                                       5,380    บาท

     รายรับ  ดังนี้

         1)  ขายข้าวเปลือกได้  จำนวน  3  เกวียน  60  ถัง                    20,520    บาท
     กำไรเบื้องต้น  (20,140 – 5,380)                                              15,140    บาท

             เมื่อมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยต้นทุนต่อไร่แล้ว  จึงได้ต้นทุนเฉลี่ย  1,793.33  บาท  ต่อไร่  (5,380  บาท  หาร  3  ไร่)  และได้กำไรเฉลี่ยต่อไร่  5,046.67  บาท  (15,140  บาท  หาร  3  ไร่)

             เมื่อมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยต้นทุนต่อไร่แล้ว  จึงได้

             1)  ต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่  (5,380  บาท  หาร  3  ไร่)                       1,793.33   บาท 

             2)  กำไรเฉลี่ยต่อไร่   (15,140  บาท  หาร  3  ไร่)                      5,046.67   บาท 

จากข้อมูลเบื้องต้นของการทำนาแบบลดต้นทุนโดยใช้สมุนไพรพื้นบ้านและฮอร์โมนแทนการใช้สารเคมี  (ด้วยการลดสารเคมี)  ในช่วงระยะ  1  ปี  หรือนับได้  3  รอบของการทำนาข้าว    (นาปี – นาปรัง)  ตั้งแต่ปี  พ.ศ.2547  จนถึงปัจจุบัน  พ.ศ.2548  พบว่า  ผลผลิตที่ได้คือข้าวเริ่มได้ปริมาณเพิ่มมากขึ้น  จากรอบที่  1  (นาปี  2547)  ได้ข้าวเปลือกจำนวน  2  เกวียน  73  ถัง  รอบที่  2  (นาปรัง  2547)  ได้ข้าวเปลือกจำนวน  2  เกวียน  70  ถัง  เมื่อพิจารณาดูใน  2  รอบแรกของนาปีนาปรังแล้ว  จะเห็นได้ว่าปริมาณข้าวเปลือกที่ได้มีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน  แต่ในรอบที่  3  (นาปี  2548)  ได้ข้าวเปลือกเพิ่มมากขึ้นโดยได้ถึง  3  เกวียน  60  ถัง  ซึ่งปริมาณข้าวเปลือกที่ได้ในรอบที่  3  นี้  สอดคล้องกับปริมาณที่เคยมาก่อน  (ก่อนที่เข้ากระบวนการ  ลด – ละ – เลิก  การใช้สารเคมีในนาข้าว)  ซึ่งเคยได้มากถึง  3  เกวียนกว่าๆ  ในช่วงหลายปีที่ผ่านๆมา  (หรือก่อนปี  พ.ศ.2547  หรือก่อนการทำนาแบบลดต้นทุน)

รอบที่

ปริมาณข้าวเปลือก
ที่เก็บเกี่ยวได้
รายจ่าย
รายรับ
กำไร
เบื้องต้น
ต้นทุนเฉลี่ย
ต่อไร่
กำไรเฉลี่ย
ต่อไร่
1
มี.ค.47
2  เกวียน  73  ถัง
4,720.00
16,160.00
11,440.00
1,573.33
3,813.33
2
ธ.ค.47
2  เกวียน  70  ถัง
5,190.00
16,160.00
10,970.00
1,730.00
3,656.67
3
มี.ค.48
3  เกวียน  60  ถัง
5,380.00
20,520.00
15,140.00
1,793.33
5,046.67

ดังนั้น  จากข้อมูลดังกล่าวนี้  จึงทำให้สามารถพบข้อสรุปในเบื้องต้นได้ว่า  การทำนาแบบลดต้นทุน  และลดการใช้สารเคมีนั้น  สามารถให้ผลผลิตได้ในปริมาณที่ไม่แตกต่างกับการทำนาแบบใช้สารเคมี  แม้ว่าในช่วงแรกของการปรับเปลี่ยนจะทำให้ได้ปริมาณที่ต่ำกว่าที่เคยได้ก็ตาม  แต่ทว่าผลผลิตที่ได้ในระยะยาวต่อไปจากนี้  จะทำให้น้าสำรวยไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาสารเคมีอีกต่อไป  และไม่จำเป็นต้องซื้อหรือพึ่งพาผลิตภัณฑ์สารเคมีจากตลาดร้านค้า  นั่นก็จะทำให้สามารถลดค่าใช้จ่าย  นำไปสู่การลดต้นทุนในการทำนาได้เป็นอย่างมาก  จนสามารถรักษาเงินสดที่มีอยู่ในมือได้มากขึ้น  ในขณะเดียวกันก็มีกำไรเพิ่มมากขึ้น  (แม้ว่าราคาข้าวเปลือกที่โรงสีจะสามารถรับซื้อในแต่ละช่วงแต่ละปีจะขึ้นๆลงๆ  แต่คุณสำรวยก็ไม่ได้กังวลใจในเรื่องนั้นอีก  อาจจะได้กำไรเพิ่มมากขึ้นหรือลดน้อยลงก็ได้  แต่ก็คือได้กำไร)  นักเรียนชาวนาอย่างน้าสำรวย  อินทร์บุญ  (และครอบครัว)  ในวันนี้จึงยิ้มได้อย่างมีความสุขด้วยสุขภาวะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13904เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2006 08:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท