ทำคลัสเตอร์ ไม่ยากอย่างที่คิด ? ตอนที่ 2 เครื่องมือ PCM


เมื่อมีกรอบ  มีทฤษฎีไว้ใช้สำหรับอ้างอิงแล้ว  ลำดับต่อไปซึ่งยากยิ่งกว่าก็คือ การนำไปใช้งานอย่างได้ผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ       โดยผู้ปฏิบัติจะต้องนำเครื่องมือต่าง ๆ  มาประยุกต์ใช้เพื่อให้การดำเนินการแล้วเสร็จ  และเครื่องมือหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในแวดวงของผู้ที่ข้องเกี่ยวในการจัดทำคลัสเตอร์ก็คือ เครื่องมือที่มีชื่อว่า   Project  cycle  management  หรือ  PCM  นั่นเอง
มีผู้แปลความหมายคำนี้ เป็นภาษาไทยว่า  การบริหารวงจรของโครงการ  ซึ่งผู้เขียนก็ไม่ได้เห็นขัดแย้งแต่ประการใด     หากเมื่อศึกษาลึกลงไปในรายละเอียดการใช้งานของเครื่องมือนี้อย่างจริงจัง   กลับพบว่าวิธีการนี้ได้ขมวดรูปแบบของการเขียนโครงการแบบ logical  Framework   เข้าไปเป็นกระบวนการส่วนหนึ่งด้วย    จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ PCM   เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์และได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก  สมราคากับการเป็นเครื่องมือที่มีการพัฒนาลิขสิทธิ์ และซื้อขายพัฒนาสืบทอดติดต่อกันมาตั้งแต่  ปี ค.ศ. 1960   จนถึงปัจจุบัน  ในความเห็นของผู้เขียนอยากจะให้ความหมายใหม่ว่า  เป็น การบริหารโครงการแบบครบวงจร  น่าจะครอบคลุมได้มากกว่า
เพื่อเป็นการร่นระยะเวลาในการทำความเข้าใจในพัฒนาการของ PCM (Evolution of PCM) ผู้เขียนขอนำแผนภาพมาอธิบายประกอบ ดังนี้
 
 

EVOLUTION   OF  PCM

1960s :

USAID  develops

Logical  Framework

1970s :

UNDP, UNICEF implement

Logical  Framework

Early  1980s:

GTZ develops Objective-oriented

Project  Planning  (ZOPP)

Late  1980s :

NORAD , FINNIDA

Implement  ZOPP

EARLY  1990s :

FASID  developments  PCM

1992

JICA  implements  PCM

 
 
 


ผู้เขียนขอสรุปความหมาย และองค์ประกอบของ PCM จากที่ได้ค้นคว้ามาดังนี้
PCM  เป็นเครื่องมือในการบริหารเพื่อสนับสนุนการพัฒนา  มีหลายชื่อตั้งแต่เริ่มต้นเป็น Logical  Framework  มีการพัฒนาและปรับปรุงตลอด  และปัจจุบันเป็นลิขสิทธิ์ของ JICA  ซึ่งเป็นมูลนิธิภายในการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น
PCM  เป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารวงจรทั้งหมดของโครงการ  เริ่มตั้งแต่การวางแผน การนำไปปฏิบัติ  จนถึงการประเมินผล  โดยจัดให้อยู่ในรูปแบบ เมทริกซ์ 4 x 4 หรือ  16  ช่อง (Project  Design  Matrix) ซึ่งทุกช่องจะมีความสัมพันธ์กันในเชิงตรรกวิทยา
องค์ประกอบของ PCM   ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ๆ คือ
1.       การวิเคราะห์ปัญหา (Problem  Analusis)
2.       การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ ( Objective  Analysis)
3.        การเลือกโครงการ (Project  Selection)
4.       การออกแบบเมทริกซ์ของโครงการ (Project  Design  Matrix)
แม้ว่า การนำเครื่องมือ PCM  มาใช้งานจะทำให้ผู้ที่เริ่มนำมาใช้  พบกับอุปสรรคบ้าง
เนื่องจากยังไม่มีประสบการณ์ เพียงพอ   แต่หากวิเคราะห์ผลดี ที่จะเกิดขึ้น เมื่อใช้ PCM  ครบถ้วนตามองค์ประกอบต่าง ๆ แล้ว    น่าจะทำให้การดำเนินการโครงการในระยะต่างๆ  มีความร้อยรัดต่อเนื่องกัน  ผู้เข้าประชุมสัมมนาแต่ละครั้ง สามารถเข้าใจประเด็นได้อย่างต่อเนื่อง  ทำให้การประชุมแต่ละครั้ง มีความคืบหน้า ไม่ต้องหวนกลับมานับหนึ่งหรือทบทวนใหม่ ทุกครั้ง   และผลดีของ PCM อีกประการหนึ่ง   คือ สามารถนำมาใช้ในการกำหนดแผนกลยุทธ์ของคลัสเตอร์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น   และ ใช้ในการประเมินโครงการนำร่อง (Pilot  Project) ได้ด้วย   คุ้มค่า  คุ้มราคาที่ไม่ต้องซื้อมาขนาดนี้    ไม่สรุปว่า  เครื่องมือนี้  WORK   ก็น่าจะใจดำเกินทนล่ะครับ
 
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13851เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2006 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท