การตรวจสอบเพื่อปรับปรุงแก้ไข


การตรวจสอบเพื่อปรับปรุงแก้ไข

1. การตรวจสอบเพื่อปรับปรุงแก้ไข
การปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามแต่ละข้อที่ร่างขึ้นนับว่าเป็นงานที่สำคัญมากขั้นหนึ่ง ซึ่งทำได้โดยการตรวจสอบเอง กับให้ผู้รู้ทางวิชาการวิจัยและเรื่องการสร้างแบบสอบถาม รวมทั้งผู้รู้ทางวิชาการสาขาที่ทำวิจัยนั้นเป็นผู้ตรวจสอบ

สำหรับการตรวจสอบภาษา  ผู้ร่างแบบสอบถามควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีคำถามนี้ ถ้ามีจะได้ประโยชน์อะไร

2. คำถามนั้นครอบคลุมไว้เกินกว่าหนึ่งประเด็นหรือไม่ และจะทำให้ตอบได้ง่ายขึ้นหรือเปล่า รวมทั้งจะให้รวบรวมตัวเลขได้ง่ายขึ้นหรือไม่

3. คำถามนั้นทำให้ได้คำตอบที่ตรงตามความเป็นจริงหรือเปล่า และจะต้องถามเพื่อตรวจสอบอีกครั้งหรือไม่

4. ถ้อยคำที่ใช้ในแต่ละคำถามกว้างขวางพอที่จะให้ได้ข้อมูลเพียงพอกับที่ต้องการหรือไม่

5. ถ้อยคำที่ใช้แคบพอที่จะให้ผู้ตอบเข้าใจความหมายได้อย่างเฉพาะเจาะจงหรือไม่



2.มีข้อความหรือคำใดบ้างที่ให้ผู้เข้าใจไขว้เขว เข้าใจยากหรือไม่ชัดเจน

2.


3.ข้อความหรือคำถามที่ใช้เน้นหรือมีอิทธิพลชักจูง ให้ได้คำตอบไปในทางที่คาดหวังไว้หรือไม่
                    

8. คำถามนั้นผู้ตอบมีความรู้ความชำนาญพอที่จะให้คำตอบอันน่าเชื่อถือได้เพียงใด

1.  ควรใช้คำถามตรงหรือคำถามอ้อมจึงจะได้คำตอบตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด
            เมื่อตรวจสอบเกี่ยวกับภาษาเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นการเรียงลำดับคำถาม ซึ่งผู้สร้างแบบสอบถามจะต้องพิจารณาว่า ควรนำคำถามใดขึ้นก่อน คำถามใดไว้หลัง จึงจะก่อให้เกิดความสะดวก ผู้ตอบสามารถคิดติดต่อกันไปเรื่อย ๆ โดยราบรื่น ไม่ต้องคิดวกวนกลับไปกลับมาทำให้เสียเวลา และก่อให้เกิดความสับสนโดยไม่จำเป็น

หมายเลขบันทึก: 13790เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2006 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท