SECI Model


SECI = Socialization-Externalization-Combination-Internalization เป็นModel การจัดการความรู้ของNonaka&Tacheuchi

           วันนี้เป็นอีกวันที่ยุง่มากตั้งแต่เช้ายันสามทุ่ม เพราะตรวจคนไข้แต่เช้าถึงเก้าดมงเช้า สอนนิสิตแพทย์ปี 4 เรื่องDoctor-patient relationship ต่อด้วยการฟังการนำเสนอรายงานเยี่ยมบ้านของผู้ป่วยจนเที่ยง ต้องให้สัมภาณ์กับนักศึกษาปริญญาโทของคณะรัฐศาสตร์เชียงใหม่ที่มาทำวิทยานิพนธ์ที่โรงพยาบาล พอบ่ายโมงไปประชุมคณะกรรมการสภาวิชาการของวิทยาลัยชุมชนถึง 5 โมงเย็น กลับถึงบ้าน 5 โมงครึ่ง ทานข้าวแล้วไปคลินิก ทุ่มครึ่งวิ่งออกกำลังกาย สองทุ่มกลับโรงพยาบาลมาซ้อมบาสเก็ตบอลกับทีมเด็กวัยรุ่นที่สนามโรงพยาบาลถึงสามทุ่ม มาตรวจเซนต์เอกสารที่ห้องแล้วก็เขียนบันทึกและก็จะลงไปอาบน้ำ อ่าหนังสือให้ลูกฟังแล้วก็นอน

             คุณไกรวุฒิเป็นนักศึกษาปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มาทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการจัดการความรู้ที่โรงพยาบาลบ้านตาก และได้ขอสัมภาษณ์ผม เนื่องจากตารางเต็มเหยียดก็เลยใช้ช่วงทานอาหารกลางวันพูดคุยกันไปทานกันไปที่ร้านก๊วยเตี๋ยวในโรงพยาบาล(ติ๋มโภชนา)

             มีหลายคำถามที่ถามเรื่องการจัดการความรู้ของรพ.บ้านตากซึ่งผมมองว่ายังไม่สามารถสรางbest practiceที่โดเด่นมากนัก วิธีปฏิบัติหลายอย่างยังขาดตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ชัดเจน ส่วนปัญหาเรื่องคนก็มีบ้างแต่ไม่มากนัก เขาถามผมว่าคนเก่ากับคนใหม่มีปัญหาไหม ผมก็มองว่าปัญหาจุกจิกกวนใจนะมีแต่ไม่ใช่เรื่องใหญ่โต เป็นปัญหาที่กระตุ้นให้กระฉับกระเฉงมากกว่า

              ในการพูดคุยนั้น ออกจะไปทางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากกว่า แต่ผมอาจจะพูดมากกว่าหน่อยเพราะเป็นผู้ถูกถาม ผมได้อ่านรายละเอียดในวิทยานิพนธ์แล้ว ชื่นชมว่าเขาเรียบเรียงและค้นคว้ามาได้ดีมาก มีบางคำที่ผมบอกว่าถ้าเราเรียนรัฐประศาสนศาสตร์ เราน่าจะใช้ได้ถูกต้องนะ คือคำว่า องค์กร กับ องค์การ ซึ่งผมได้เขียนเป็นบันทึกไว้นานแล้ว เขาบอกว่าตอนแรกเขาใช้องค์การ แต่กรรมการบัณฑิตของคณะให้เปลี่ยนเป็นองค์กร โดยที่กรรมการเองไม่ได้อยู่ในสายของรัฐประศาสนศาสตร์  เขาเองก็ไม่อยากขัดใจเดี๋ยวจะเสียเวลาเก็บข้อมูลก็เลยยอมตามกรรมการ มันสะท้อนอะไรในระบบมหาวิทยาลัยไหมครับ

              การพูดคุยในร้านก๊วยเตี๋ยวเล็กๆนี่ให้บรรยากาศที่ดีมากเลย เราคุยกันไปเรื่อยๆ แล้วก็ถามว่าในการจัดการความรู้นั้น ผมจะเน้นไปทางไหน ผมก็บอกว่าเน้นในองค์การของตนเองก่อน โดยเฉพาะให้ผู้ปฏิบัติกับผู้ปฏิบัติได้จัดการโดยพยายามให้เกิดวงจรSECIขึ้น แต่ไม่ได้เน้นการบันทึกมากนักเพราะในการใช้ของเราจะเป็นประเภทผู้ปฏิบัติมาพูดคุยกันแบบไม่เป็นทางการเพื่อเล่าประสบการณ์ที่เจอจากการทำงานให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นฟัง เสร็จแล้วทีมก็คุยกันว่าควรจะปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างไรดีแล้วก็ตกลงกันเลยว่าต่อไปนี้จะทำอย่างนี้นะ แล้วก็แยกย้ายกันไปปฏิบัติ โดยไม่ค่อยได้บันทึกมากนักเพราะเวลางานจะยุ่ง ผมก็เลยบอกว่าในความคิดของผมนั้นการทำExternalizationจำเป็นต้องมีการบันทึกเท่านั้นหรือจึงจะใช่ ซึ่งผมว่าไม่น่าใช่ คุณไกรวุฒิก็บอกว่าเขาเองอ่านตราที่แปลของคนไทยก็บอกว่าให้มีการบันทึก ถ้าไม่มีถือว่าไม่ใช่ แต่เขาอ่านตำราต้นฉบับของฝรั่งแล้ว ไม่ได้บอกไว้อย่างนั้น

              ผมก็บอกว่า ผมจะเน้นการทำการจัดการความรู้แบบครบวงจรคือเมื่อทำได้ดีแล้ว ก็เอามาแลกมาบอก แล้วตกลงกันว่าจะทำอย่างไร จะเขียนเป็นอักษรหรือไม่ก็ได้ พอตกลงกันแล้วทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องเอาไปทำจริง จึงจะถือเป็นการจัดการความรู้ที่มุ่งไปสู่ผลลัพธ์ ผมไม่ชอบการทำแค่ขั้นกระบวนการหรือแค่มาจัดเวทีแลกเปลี่ยนกัน แล้วก็กลับบ้านใครบ้านมันแบบมือเปล่า ไม่ได้ทำตามของคนที่ดีกว่าเลย ผมจึงมองว่าความสำคัญของKMจะอยู่ที่ผลลัพธ์

               ถ้าไม่อย่างนั้น ใครคิดทำอะไรแปลกๆ แหวกแนว หรือทำขั้นตอนมากกว่าที่อื่น เราก็บอกว่านี่เป็นนวัตกรรม นี่เป็นBest practice ซึ่งในความเห็นผม เป็นนวัตกรรม นะใช่เพราะเป็นสิ่งใหม่ แต่เป็นBest practiceหรือไม่นั้น ยังบอกไม่ได้ ต้องตามไปดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากวิธีการปฏิบัตินั้น ว่าดีกว่าที่ทำแบบเดิมๆหรือแบบธรรมดาหรือไม่ อย่างไร เพราะบางทีทำขั้นตอนมากขึ้นแต่ผลลัพธ์เท่าเดิมก็มี แต่เสียคนเยอะกว่าเดิม เสียเงินเยอะกว่าเดิม เสียเวลาเยอะกว่าเดิม ขั้นตอนเยอะกว่าเดิม อย่างนี้จะเรียนBest practiceได้อย่างไร ถ้าเป็นอย่างนี้ความเชื่อถือก็จะน้อยลงไปเพราะไม่แน่ใจว่าดีจริงหรือเปล่า

               ถ้าเราทำการจัดการความรู้แบบครึ่งทาง พอแลกเปลี่ยนมีเวทีแล้วก็จบ กลับไปก็ไม่เชื่อกัน ไม่ลองเอาไปปฏิบัติจนได้Best practiceที่ส่งผลถึงผลลัพธ์ที่ดีขององค์การ อีกหน่อยคนทำก็จะรู้สึกว่า เอ๊ะ มันไม่เห็นได้ผลอะไรเลยนี่ สุดท้ายก็จะเป็นเหมือนเครื่องมืออื่นๆ ที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปเพราะทำไปไม่ถึงผลลัพธ์ กลายเป็นของเล่นใหม่ๆชั่วคราว พอซาๆไปก็เลิก ซึ่งน่าเสียดายมาก (อาจจะเป็นวิตกจริตของผมไปเองก็ได้)

                เราคุยกันอีกหลายเรื่องในช่วงเวลา 45 นาที ก่อนจบเขาก็บอกว่า ถ้างั้นวันนี้ที่เรานั่งคุยกันในร้านก๊วยเตี๋ยวนี่ก็ถือเป็นKMแล้วนะ ผมก็คิดว่าใช่ แต่ว่าจะเป็นแบบสมบูรณ์ทั้งเขาและผมต้องเอาความรู้ที่แลกได้นี่ไปประยุกต์ปฏิบัติหรือใช้จริงในองค์การก่อนจึงจะสมบูรณ์แท้จริง และเราก็แยกกันด้วยความสดชื่น ผมบอกเขาว่าขอให้เขียนงานวิจัยนี้แบบตรงไปตรงมา ไม่ต้องเอาใจผม ไม่ต้องเอาใจโรงพยาบาลเพราะผมอยากได้ข้อมูลจริงเพื่อนำมาปรับปรุงโรงพยาบาลด้วย เขาขอถ่ายรูปในโรงพยาบาลต่อ ส่วนผมรีบขับรถไปประชุมที่วิทยาลัยชุมชนตาก

                

คำสำคัญ (Tags): #kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 13691เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2006 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 11:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ก็ดีนะคะ

แต่อยากถามว่าคณะรัฐศาสตร์กับรัฐประศาสนศาสตร์สาขาไหนเรียนยากกว่ากันและแต่ละคณะเรียนเกี่ยวกับอะไร  แล้วถ้าเกรดเฉลี่ยของฉันประมาณ3.4 จะเข้าเรียนทั้งสองคณะได้ไหมค่ะ ช่วยตอบมาทางอีเมลล์หน่อยนะคะ  ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

เกรดขนาดนี้ น่าจะเรียนได้ทั้งสองคณะครับ ยากง่ายคงบอกยาก รํฐศาสตร์จะเน้นการเมืองการปกครอง ส่วนรัฐประศาสนศาสตร์เรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการภาครัฐ ในส่วนรายละเอียดน่าจะค้นด้จากอินเตอร์เน็ตหรือหลักสูตรในมหาวิทยาลัยซึ่งมีเกือยทุกมหาวิทยาลัยครับ และไม่ทราบอีเมล์ของคุณเลยต้องตอบที่บล็อคนี้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท