วิธีเก็บน้ำส้มควันไม้จากการเผาถ่าน


      จากการที่ผมได้นำเสนอเรื่องการทำเตาเผาถ่านจากถังน้ำมัน 200 ลิตร แบบนอนไปแล้วนั้น ก็มาต่อด้วยเรื่องการเก็บน้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้เป็นผลพลอยได้จากการเผาถ่าน

      ​น้ำ​ส้มควันไม้​ ​คือ ควันที่​เกิด​จาก​การเผาถ่าน​ใน​ช่วงที่​ไม้กำ​ลังเปลี่ยน​เป็น​ถ่านเมื่อทำ​ให้​เย็นลงจนควบแน่น แล้ว​กลั่นตัว​เป็น​หยดน้ำ​ ​ของเหลวที่​ได้​นี้​เรียกว่า ​น้ำ​ส้มควันไม้​ มีกลิ่นไหม้​ ​ส่วน​ประกอบ​ส่วน​ใหญ่​เป็น​กรดอะซิติก มี​ความ​เป็น​กรดต่ำ​ ​มีสีน้ำ​ตาลแกมแดง​ ​นำ​น้ำ​ส้มควันไม้ที่​ได้​ทิ้ง​ไว้​ใน​ภาชนะพลาสติกประมาณ​ 3 ​เดือนใน​ที่ร่ม​ ​ไม่​สั่นสะ​เทือนเพื่อ​ให้​น้ำ​ส้มควันไม้ที่​ได้​ตกตะกอน​และ​แยกตัว​เป็น​ 3 ​ชั้น​ ​คือ​ ​น้ำ​มันเบา​ (ลอย​อยู่​ผิวน้ำ​) น้ำ​ส้มไม้​ ​และ​น้ำ​มันทาร์​ (ตกตะกอน​อยู่​ด้านล่าง) ​แยกน้ำ​ส้มควันไม้มา​ใช้​ประ​โยชน์ต่อไป

ที่มา : http://www.fisheries.go.th/cf-kung_krabaen/agricul1.htm

     มาถึงวิธีการที่ผมเก็บน้ำส้มควันไม้ เดิมผมใช้ท่อใยหินขนาด 4 นิ้วมาใช้ในการเก็บน้ำส้มควันไม้ มันหนักมากเวลาใช้งานแต่ละทีก็ลำบาก หลังสุดมันตกลงมาหัก 2 ท่อน เลยต้องไปตัดไม้ไผ่ตงหลังมาบ้านมาใช้งานแทน


ไม้ใผ่ตงยาวพอประมาณนะครับขนาดต้องพอดีหรือใหญ่กว่าท่อใยหินที่โคนก็ตามรูปนะครับ


ห่างขึ้นไป 1 ข้อไม้ใผ่ ก็ใช้เลื่อยตัดให้เป็นดังรูปเพื่อให้น้ำส้มควันไม้หยดลงมา


ขึ้นไปอีก 1 ข้อไม้ใผ่ติดตั้งระบบหล่อเย็นโดยหาผ้าชุบน้ำมาพันให้รอบ และติดตั้งระบบน้ำหยดเพื่อให้เย็นอยู่ตลอดเวลา


ระบบหล่อเย็นแบบชัดๆ ขวดน้ำอัดลมเจารูที่ฝา และเจาะรูที่ก้นขวดแล้วเอาไม้เสียบเพื่อควบคุมความเร็วของน้ำที่หยดลง


เริ่มเก็บได้แล้วครับ


ได้เยอะครับผมเผาครั้งนี้ได้แบบนี้ 3 ครั้ง ก็ประมาณ 3 ลิตร

     การเก็บน้าส้มควันไม้ใช่ว่าจะเก็บได้ทันทีหลังจากที่จุดไฟหน้าเตานะครับ ต้องให้มีควันบ้ามาก่อน ควันบ้าคือควันสีส้มๆ จะเกิดขึ้นหลังจากที่เวลาผ่านไปประมาณ 2-3 ชั่วโมงแล้วเลิกเก็บตอนที่น้ำมันสีดำเริ่มออกมา

      ผมมีตัวอย่างที่ผมจดบันทึกเอาไว้

วันที่ 6/10/2550 เผาปีกไม้เทียม(สะเดาช้าง) 

07.00 น. ติดไฟหน้าเตา
10.15 น. เริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้
18.00 น. หยุดเก็บน้ำส้มควันไม้
20.15 น. ปิดเตา

วันที่ 8/10/2550 เผาไม้ละมุด

08.00 น. ติดไฟหน้าเตา
10.30 น. เริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้
17.00 น. หยุดเก็บน้ำส้มควันไม้
18.30 น. ปิดเตา

     ไม้แต่ละชนิดจะใช้เวลาไม่เท่ากันทั้งนี้ต้องอาศัยการดูควัน และดูสีของน้ำส้มควันไม้ สังเกตควันอาจดูยากซักหน่อย แต่ถ้ามีการเก็บน้ำส้มควันไม้สามารบอกเวลาได้แน่นอน เช่น ตอนที่น้ำส้มควันไม้เริ่มมียางสีดำหยดลงมา ก็สามารถเปิดหน้าเตาได้เลย เป็นขั้นตอนที่ทำให้ถ่านบริสุทธิ์

     ในการเผาแต่ละครั้งได้น้ำส้มควันไม้ประมาณ 3 ลิตร โดยการทำวิธีนี้ ก็คิดๆ อยู่ครับว่าถ้าใช้ท่อสแตนเลสแบบ 2 ชั้น แล้วใส่น้ำให้หล่อเย็นอยู่ตลอดเวลาน่าจะได้น้ำส้มควันไม้เยอะมาก แต่เป็นการทำที่ลงทุนมาก และเกินตัว แค่คิดไว้เฉยๆ ตอนนี้ผมก็มีน้ำส้มควันไม้ไว้ใช้งานประมาณ 8 ลิตรแค่นี้ก็เหลือเฟือแล้ว

     ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรเชิญแลกเปลี่ยนครับ 

หมายเลขบันทึก: 136531เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2007 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (58)

สวัสดีค่ะ

  • ที่โรงเรียน..ครูวิทย์ฯเคยพาเด็กทำน้ำส้มควันไม้ค่ะ...แต่ดูเหมือนจะยุ่งยากกว่าที่บ้านสวนฯ ทำนะคะ..ต้องคอยปิดเปิดเตาท้างคืน
  • ไม่ได้หลับได้นอนกัน.....

คงต้องลองแบบที่แนะนำนี่ละค่ะ..ขอบคุณค่ะ...

ยอดเยี่ยมมากๆครับ ผมไม่เคยเห็นกรรมวิธีที่ละเอียดแบบนี้

มันเป็นคำถามในใจมาโดยตลอดว่าน้ำส้มควันไม้คืออะไร ทำอะไร มีกรรมวิธี ครั้งที่แล้วไปที่หนองจอก กทม.ก็เห็นสรรพคุณที่มีประโยชน์ แต่ไม่เห็นวิธีทำ..

ทำไมต้องเป็นน้ำส้ม???

  • เยี่ยมเลยครับ
  • น้อง ชอบมาก
  • เพิ่งเคยเห็นของจริงๆวันนี้เอง
  • มีประโยชน์มาก
  • จะขอนำไปแนะนำท่านอื่นๆๆนะครับ
  • ขอบคุณครับ

ขอนำบล็อกคุณขึ้นแพลนเน็ตตัวเองเลยนะคะ จะได้ติดตามเรื่องราวดีๆแบบไม่ตกข่าว

เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ และที่อธิบายมาดูไม่ยุ่งยากนักทำให้มีกำลังใจที่คิดจะทำ เพราะเราใช้อยู่แล้ว หรือ เอ...หากซื้อจากที่เขาทำเช่นพวกสันติอโศก ก็จะได้อุดหนุนเขาเหมือนกัน อย่างไรก็ตามได้ความรู้นี้ดีมาก ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์ Gutjang

  • ผมก็ไม่แน่ในนะครับว่าสิ่งที่ผมทำถูกหรือเปล่าเคยเห็นมา แล้วมาประยุกต์อีกที
  • ส่วนการเปิดเตาปิดเตา ค่อยมาพูดอีกทีในเรื่องของการเผาถ่าน ผมทดลองมาแล้วครับ แล้วค่อยมาเล่าอีกทีครับ

สวัสดีครับคุณ จตุพร​

  • ทำไมต้องเป็นน้ำส้ม ก็เพราะรสมันเปรี้ยว ไม่ได้กวนนะครับ ผมชิมแล้วรสมันเปรี้ยวจริงๆ

สวัสดีครับ พี่ ขจิต​

  • ขอบคุณครับ
  • ยินดีครับ

สวัสดีครับ คุณนายดอกเตอร์

  • ยินดีครับ
  • ซื้อเขาก็แพงนะครับ ไม่ทราบว่าแถวโน้นราคาเท่าไหร่ผมเคยเห็นบางที่ครึ่งลิตร 50 บาท 

ได้ยินมาระยะหนึ่งแล้ว เพิ่งทราบรายละเอียด ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

สวัสดีครับ คุณธวัชชัย คุณหมอธนพันธ์

  • ด้วยความยินดีครับ 

สวัสดีครับ

  ที่บ้านผมก็ทำเหมือนกัน คล้ายๆกับของที่บ้านสวน ต่างกันตรงที่ นำหล่อเย็นนี่แหละ ของผมไม่มี และอีกอย่างก็คือผมใส่ไม้ข้างหน้าแบบเดิมๆ สงสัยจะต้องขอนุญาติลองใส่ไม้ด้านบนแบบนี้ดูบ้าง ปริมาณนำส้มที่ได้ของผมก็ประมาณนี้แหละครับ คือเผา 1 ครั้งต่อ 1 เตา ไม้หมาดๆ ไม่สดเกินไปและไม่แห้งเกินไป ได้นำส้ม 2 ขวดโค๊กลิตร ถ้าไม้แห้งก็จะได้ประมาณ ขวดเดียวครับ

อัครชัย  อมัติรัตนะ

 

ชัดเจนครับ / จะเอาความรู้ที่ได้ไปลองทำด้วยคนครับ

ผมขอคำแนะนำ คือว่าผมมีเตาเผาถ่านแบบตั้ง 200ลิตรของพพ.แล้วทีนี้การเก็บส้มควันไม้เก็บที่มียางไม้สีดำด้วยไม่ได้หรือครับ และถ้าเก็บมาแล้วจะใช้ได้ไหมครับ และส้มควันไม้ของผมใกล้จะ3เดือน การนำไปใช้ใช้ยังไงครับสัดส่วนการผสมอย่างไงครับ

ขอความกรุณาด้วยครับ

อยากทราบวิธีการนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ในแต่ละชั้นคะ

ว่านำส่วนไหนไปใช้ได้อย่างไรบ้าง

ผมขอความรู้หน่อยครับ ถ้า เรา ทำอ่าง ปูนซีเมน เป็นบ่อ พัก น้ำส้มได้ป่าวครับ ขอบคุณมากนะครับ

น้ำส้มควันไม้ ควันที่เกิดจากการเผาถ่านในช่วงที่ไม้กำลังเปลี่ยนเป็นถ่านเมื่อทำให้เย็นลงจนควบแน่น

แล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ของเหลวที่ได้นี้เรียกว่า น้ำส้มควันไม้ มีกลิ่นไหม้ ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะซิติก

มีความเป็นกรดต่ำ มีสีน้ำตาลแกมแดง นำน้ำส้มควันไม้ที่ได้ทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติกประมาณ 3 เดือน

ในที่ร่ม ไม่สั่นสะเทือนเพื่อให้น้ำส้มควันไม้ที่ได้ตกตะกอนและแยกตัวเป็น 3 ชั้น คือ น้ำมันเบา (ลอยอยู่ผิวน้ำ)

น้ำส้มไม้ และน้ำมันทาร์ (ตกตะกอนอยู่ด้านล่าง) แยกน้ำส้มควันไม้มาใช้ประโยชน์ต่อไป

ประโยชน์และการนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์

น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆ มากมาย เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรจะมีคุณสมบัติ เช่น เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเติบโตของพืช นอกจากนี้ มีการนำน้ำส้มควันไม้

ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม เช่น ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว ผลิตสารปรับผิวนุ่ม ใช้ผลิตยารักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น

เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ดังนั้นก่อนที่จะนำไปใช้ควรจะนำมาเจือจางให้เกิดสภาวะที่เหมาะสม

กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ดังนี้

อัตราส่วน 1: 20 (ผสมน้ำ 20 เท่า) พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นประโยชน์และแมลงในดิน

ซึ่งควรทำก่อนการเพาะปลูก 10 วัน

อัตราส่วน 1: 50 (ผสมน้ำ 50 เท่า) พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช หากใช้ความเข้มข้นที่มากกว่านี้

รากพืชอาจได้รับอันตรายได้

อัตราส่วน 1: 100 (ผสมน้ำ 100 เท่า) ราดโคนต้นไม้รักษาโรครา และโรคเน่า รวมทั้งป้องกันแมลงมาวางไข่

อัตราส่วน 1: 200 (ผสมน้ำ 200 เท่า) พ่นใบไม้รวมทั้งพื้นดินรอบๆ ต้นพืชทุกๆ 7-15 วัน เพื่อขับไล่แมลงและ

ป้องกันเชื้อรา และรดโคนต้นไม้เพื่อเร่งการเจริญเติบโต

อัตราส่วน 1: 500 (ผสมน้ำ 500 เท่า) พ่นผลอ่อน หลังจากติดผลแล้ว 15 วัน ช่วยขยายผลให้โตขึ้นและพ่นอีกครั้ง

ก่อนเก็บเกี่ยว 20 วัน เพื่อเพิ่มน้ำตาลในผลไม้

อัตราส่วน 1: 1,000 (ผสมน้ำ 1,000 เท่า) เป็นสารจับใบ เนื่องจากสารเคมีสามารถออกฤทธิ์ได้ดีในสารละลาย

ที่เป็นกรดอ่อนๆ ช่วยเสริมประสิทธิภาพของสารเคมีทำให้สามารถลดการใช้สารเคมีมากกว่าครึ่งด้วย

ลักษณะสีของน้ำส้มควันไม้ที่ผสมน้ำในอัตราส่วนต่างๆ

การนำน้ำส้มควันไม้ ไปใช้ด้านอื่นๆ

นอกจากการนำไปใช้ทางด้านเกษตรและปศุสัตว์แล้ว ยังสามารถนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ด้านอื่นๆ ได้อีก เช่น

1.ความเข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์ ใช้รักษาแผลสด แผลถูกน้ำร้อน รักษาโรคน้ำกัดเท้าและเชื้อราที่ผิวหนัง

2.น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำ 20 เท่า ราดทำลายปลวดและมด

3.น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำ 50 เท่า ใช้ป้องกันปลวก มด และสัตว์ต่างๆ เช่น ตะขาบ แมงป่อง

4.น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำ 100 เท่า ใช้ฉีดพ่นถังขยะเพื่อป้องกันกลิ่นและแมลงวัน ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ ห้องครัวและ

บริเวณชื้นแฉะ

ข้อควรระวังในการ ใช้น้ำส้มควันไม้

1.ก่อนนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องทิ้งไว้จากการกักเก็บก่อนอย่างน้อย 3 เดือน

2.เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ควรระวังอย่าให้เข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้

3.น้ำส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ยแต่เป็นตัวเร่งปฎิกิริยา ดังนั้นการนำไปใช้ทางการเกษตรจะเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพ

ให้กับพืชแต่ไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้

4.การใช้เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดิน ควรทำก่อนเพาะปลูกอย่างน้อย 10 วัน

5.การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องผสมน้ำให้เจือจางตามความเหมาะสมที่จะนำไปใช้

6.การฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ เพื่อให้ดอกติดผล ควรพ่นก่อนที่ดอกจะบาน หากฉีดพ่นหลังจากดอกบานแมลงจะไม่เข้า

มาผสมเกสร เพราะกลิ่นฉุนของน้ำส้มควันไม้และดอกจะร่วงง่าย

เตาเผาถ่าน 200 ลิตร

เตาเผาถ่าน 200 ลิตร เป็นเตาที่มีประสิทธิภาพสูง เตาประเภทนี้อาศัยความร้อนไล่ความชื้นในเนื้อไม้

ที่มีอยู่ในเตา ทำให้ไม้กลายเป็นถ่าน หรือเรียกว่า กระบวนการคาร์บอนไนเซชั่น

นอกจากนี้โครงสร้างลักษณะปิดทำให้สามารถควบคุมอากาศได้ จึงไม่มีการลุกติดไฟของเนื้อไม้ ผลผลิตที่ได้จึง

เป็นถ่านที่มีคุณภาพ ขี้เถ้าน้อยและผลพลอยได้จากกระบวนการเผาถ่าน อีกอย่างหนึ่งคือ น้ำส้มควันไม้ที่สามารถ

นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรได้

การนำไม้เข้าเตาเผาถ่าน

1.นำไม้ที่ต้องการเผาถ่าน มาจัดแยกกลุ่ม

ตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของไม้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

-ขนาดเล็ก

-ขนาดกลาง

-ขนาดใหญ่

2.เรียงไม้ที่มีขนาดเล็กไว้ด้านล่างของเตา

ขนาดใหญ่ไว้ด้านบน โดยวางทับไม้หมอนยาวประมาณ

30-40เซนติเมตร การเรียงไม้นี้มีความสำคัญมาก

เนื่องจากอุณหภูมิในเตา ขณะเผาถ่านไม่เท่ากัน

โดยอุณหภูมิด้านล่างเตาจะต่ำ

ส่วนอุณหภูมิที่อยู่ด้านบนเตาจะสูงกว่า

ขั้นตอนการเผาถ่าน

ช่วงที่ 1 ไล่ความชื้น หรือคายความร้อน

เริ่มจุดไฟเตา บริเวณที่อยู่หน้าเตา ใส่เชื้อเพลิงให้ความร้อนกระจายเข้าสู่เตาเพื่อไล่อากาศเย็นและ

ความชื้นที่อยู่ในเตาและในเนื้อไม้ ควันที่ออกมาจากปล่องควันจะเป็นสีขาว ควันจะมีกลิ่นเหม็น ซึ่งเป็น

กลิ่นของกรดประเภทเมธาทอลที่อยู่ในเนื้อไม้ อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควันประมาณ 70 - 75 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 150 องศาเซลเซียส ใส่เชื้อเพลิงต่อไป ควันสีาวตรงปล่องควันจะเพิ่มขึ้น

อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควันประมาณ 70-75 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ

200-250 องศาเซลเซียส ควันมีกลิ่นเหม็นฉุน

ช่วงที่ 2 เมื่อไม้กลายเป็นถ่าน หรือ ปฏิกิริยาคลายความร้อน

เมื่อเผาไปอีกระยะหนึ่ง ควันสีขาวจะเริ่มบางลง และเปลี่ยนเป็นสีเทา อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควัน

ประมาณ 80-85 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 300-400 องศาเซลเซียส ไม้ที่อยู่ในเตา

จะคายความร้อนที่สะสมเอาไว้เพียงพอที่จะทำให้อุณหภูมิในเตาจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้ค่อยๆ ลดการป้อน

เชื้อเพลิงหน้าเตาจนหยุดการป้อนเชื้อเพลิง และเริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้ หลังจากการหยุดการป้อนเชื้อเพลิง

หน้าเตา จะต้องควบคุมอากาศโดยการหรี่หน้าเตาหรือลดพื้นที่หน้าเตาลงให้เหลือช่องพื้นที่หน้าเตา

ประมาณ 20-30 ตารางเซนติเมตร สำหรับให้อากาศเข้า เพื่อรักษาระดับของอุณหภูมิในเตาไว้ให้นานที่สุด

และยืดระยะเวลาการเก็บน้ำส้มควันไม้ให้นานที่สุด โดยช่วงที่เหมาะสมกับการเก็บน้ำส้มควันไม้ควรมีอุณหภูมิ

บริเวณปากปล่องควัน ประมาณ 85-120 องศาเซลเซียส เนื่องจากเป็นช่วงที่สารในเนื้อไม้ถูกขับออกมา

จากนั้นควันก็เปลี่ยนจากควันสีเทาเป็นสีน้ำเงิน จึงหยุดเก็บน้ำส้มควันไม้ อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควัน

ประมาณ 100-200 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 400-450 องศาเซลเซียส

ช่วงที่ 3 ช่วงทำถ่านให้บริสุทธิ์

ขั้นตอนนี้เป็นช่วงที่ไม้จะเปลี่ยนเป็นถ่าน ต้องทำการเพิ่มอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว โดยการเปิดหน้าเตา

ประมาณ 1 ใน 3 ของหน้าเตาทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เมื่อควันสีน้ำเงิน เป็นเสีฟ้า แสดงว่าไม้เริ่มเป็นถ่านใกล้หมด

จากนั้นควันสีฟ้าอ่อนลงและจะกลายเป็นควันใสแทน เมื่อมีควันใสเริ่มทำการปิดหน้าเตา โดยใช้ดินเหนียวปิดรอยรั่ว

และรอยต่อ จากนั้นทำการปิดปล่องควันให้สนิทและอุดรูรั่วทั้งหมด ไม่ให้อากาศภายนอกผ่านเข้าไปได้

ช่วงที่ 4 ช่วงทำการให้ถ่านในเตาเย็นลง

เกลี่ยดินบนเตาออกให้เห็นหลังเตา เพื่อระบายความร้อนในเตา จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน

หรือประมาณ 8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ถ่านดับสนิท แล้วจึงเริ่มการเปิดเตาเพื่อนำถ่านออกจากเตา และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

เครื่องแยกน้ำมันดินออกจากน้ำส้มควันไม้

Tar separator from wood vinegar

ผู้แต่ง ผศ.ดร.จันทิมา ชั่งสิริพร นายสมคิด จีนาพงศ์ นางจรรยา อินทมณี

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

น้ำส้มควันไม้ เป็นสารเกษตรอินทรีย์ธรรมชาติที่เป็นผลพลอยได้จากการเผาถ่านไม้ในเตาเผา ภายใต้สภาวะจำกัดอากาศ น้ำส้มควันไม้มีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองถึงสีน้ำตาลแดง ใส มีกลิ่นควันไม้ มีรสเปรี้ยว มี pH 1.5-3.7 ประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้ ได้แก่ ใช้กันมอดแมลงในการเกษตรกรรม ปศุสัตว์ ยารักษาโรค เป็นส่วนผสมเครื่องสำอาง เคลือบผิวงานไม้ และใช้ทดแทนสารเคมีที่เป็นอันตรายบางชนิดได้ ในปัจจุบันการผลิตน้ำส้มควันไม้เริ่มเป็นที่รู้จักและนำไปใช้ประโยชน์กันอย่างกว้างขวางมากขึ้นในประเทศไทย จึงได้มีกลุ่มชุมชนหลายกลุ่มทำการผลิตน้ำส้มควันไม้เพื่อขาย โดยมีวิธีการผลิตโดยทั่วไป คือ การนำเศษไม้มาเผาเพื่อให้เกิดควันไม้และทำการควบแน่นควันไม้ผ่านกระบอกไม้ไผ่ยาว 4-5 เมตร เพื่อให้เกิดการถ่ายเทความร้อนกับอากาศและควบแน่นเป็นหยดของเหลวไหลออกมาเป็นผลิตภัณฑ์น้ำส้มควันไม้

วิธีการทั่วไปที่กลุ่มชุมชนใช้ในการผลิตน้ำส้มควันไม้นี้มีข้อเสีย คือ ใช้เวลาในการผลิตนาน มีประสิทธิภาพในการควบแน่นควันไม้ต่ำ ทำให้เกิดการสูญเสียสารสำคัญซึ่งเป็นกรดอินทรีย์บางชนิด ซึ่งพบว่าน้ำส้มควันไม้ที่ผลิตได้มีค่า pH 3.4-4.0 สูงกว่าน้ำส้มควันไม้ที่มีคุณภาพโดยทั่วไป นอกจากนั้นวิธีการนี้ยังทำให้ได้น้ำส้มควันไม้ที่มีน้ำมันดิน (tar) ผสมอยู่ในปริมาณสูง ไม่สามารถนำน้ำส้มควันไม้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีหลังการผลิต จะต้องผ่านการแยกน้ำมันดินด้วยการวางน้ำส้มควันไม้ทิ้งไว้เป็นเวลา 45-90 วัน เนื่องจากน้ำมันดินจะก่อให้เกิดการอุดตันที่รูใบของพืชทำให้พืชตายได้และน้ำมันดินเป็นสารอันตรายที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งในคนและสัตว์ ผู้ผลิตน้ำส้มควันไม้จึงต้องใช้เวลานานในการผลิต ทำให้ไม่สามารถผลิตและขายน้ำส้มควันไม้ได้ทันกับความต้องการของตลาด

เครื่องแยกน้ำมันดินออกจากน้ำส้มควันไม้ จึงเป็นเครื่องมือที่ออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิตน้ำส้มควันไม้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการผลิตน้ำส้มควันไม้พร้อมใช้ที่สามารถแยกน้ำมันดินออกจากควันไม้ก่อนการควบแน่นของควันไม้เป็นน้ำส้มควันไม้ โดยอาศัยหลักการพื้นฐานจากกระบวนการการกลั่น (distillation) ที่มีการถ่ายโอนมวลและความร้อนของสาร อันจะทำให้เกิดการแยกของสารตามที่ต้องการ ประกอบกับการมีระบบควบแน่นของควันไม้อย่างประสิทธิภาพและประหยัด ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ได้น้ำส้มควันไม้ที่ไม่ปนเปื้อนน้ำมันดิน ได้น้ำส้มควันไม้ที่มีคุณภาพสูง คือ มีค่า pH 2.6-3.0 และช่วยลดระยะเวลาในการผลิตน้ำส้มควันไม้ได้เป็นอย่างมาก

เครื่องแยกน้ำมันดินออกจากน้ำส้มควันไม้ ได้ผ่านการดำเนินการศึกษาวิจัยที่ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และทำการติดตั้งใช้งานเป็นเครื่องแรกที่ชุมชนศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านนายกรอย อ.ป่าบอน จ.พัทลุง และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการดำเนินการปรับปรุงระบบการผลิตน้ำส้มควันไม้ด้วยเครื่องแยกน้ำมันดินเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์เดิมที่กลุ่มชุมชนผลิตได้ด้วยการวางทิ้งไว้เป็นเวลา 3 เดือน จากการดำเนินการด้วยเครื่องแยกน้ำมันดินเพื่อการผลิตน้ำส้มควันไม้พร้อมใช้ที่ได้กล่าวมา จะทำให้สามารถทำการแยกน้ำมันดินออกจากควันไม้ก่อนการควบแน่นเป็นน้ำส้มควันไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ได้น้ำส้มควันไม้ที่ไม่ปนเปื้อนน้ำมันดิน มีสีเหลืองอ่อน ใส มีสารสำคัญของน้ำส้มควันไม้ที่สมบูรณ์ และได้น้ำส้มควันไม้ที่มีคุณภาพสูง โดยไม่ต้องนำน้ำส้มควันไม้ไปผ่านกระบวนการกลั่นแยกเพื่อให้เกิดการแยกน้ำมันดินออกจากน้ำส้มควันไม้อย่างสมบูรณ์สำหรับกรณีที่ต้องการพัฒนาน้ำส้มควันไม้สู่การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น ส่งผลให้สามารถประหยัดพลังงานและมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ต่ำ

นวัตกรรมนี้ได้รับรางวัลรางวัลโครงการ “ค่ายนักประดิษฐ์รุ่นใหม่”

ในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2552และรางวัลผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อชุมชน ประจำปี 2551

และได้จดลิขสิทธไว้แล้ว สนใจติดต่อได้ที่ผศ.ดร.จันทิมา ชั่งสิริพร 0894638832

ผมอยากทราบขั้นตอนการทำเตาเผาถ่าน และวิธีการเก็บน้ำส้มควันไม้ครับ

อาตมาได้ทำน้ำส้มคว้นไม้ที่วัด สามารถเคลื่อนย้ายได้ ราคาถูก ได้ผลดี ถ้าต้องการติดต่อมาได้ อาตมาต้องการช่วยเป็นวิทยาทาน สามารถทำเป็นยาได้หลายอย่าง

พระมหานพดล Email [email protected]

เรียน ท่านผ้มีอุปการุคุณทุกท่าน กระผมได้ช่วยชาวบ้านแก้ไขปัญหาควัญไฟจากการเผาถ่านของชาวบ้าน สามรถช่วยได้บางส่วน แต่อยากได้ความรู้เรื่องนำส้มควัญไม้ว่า ส่วนประกอบอะไรบ้าง ประโยชน์ที่เห็นผลจริงๆได้อย่างไรบ้าง นำส้มที่ได้จากไม้ชนิดใดที่มีประโยชน์สูงสุด

จักขอพระคุณมากหากท่านส่งข้อมูลทางอีเมลที่แจ้ง [email protected]

น้ำส้มควันไม้คุณภาพ 90-180วัน ผลิตจากไม้เงาะ กักเก็บน้ำส้มด้วยท่อเเสตนเลส,อลูมิเนียมทำให้ได้คุณภาพดี ลิตรละ 70 สนใจติดต่อ 089-8070845 รับให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเผาถ่าน,การผลิตน้ำส้มคุณภาพ

ผมทดลองตามรูปแบบดังกล่าว โดยใช้ไม้ไผ่ยาว 4 เมตร เก็บได้ไม่มากเท่าที่ควร

กำลังค้นหาวิธีที่ดีกว่านี้ โดยลงทุนแบบพอเพียงและใช้วัสดุราคาถูก เคยคิดจะเปลี่ยนเป็นท่อสแตนเลส จากถังเลย ก็ลงทุนมากไป ใครมีคำแนะนำดีๆ ติดต่อแลกเปลี่ยนกันได้ครับที่081-838-3407 หรือที่ [email protected]

อีกปัญหาคือผลิตได้แล้ว ได้มากกว่าที่ใช้เองหมด เหลือเก็บใส่ถังตกตะกอนไว้เยอะเลยครับ เพราะผมใช้ไม้ยูคาที่เหลือจากส่งโรงงานมาเผา เอาไปใช้ในสวน ในนา พืชสวนครัวรวมทั้งแจกเพื่อนๆ ยังเหลือเยอะเลยครับ กำลังคิดว่าถ้าขืนเก็บต่อไป จะไม่มีถังเก็บแล้ว

ใครมีข้อแนะนำดีๆ แนะนำด้วยครับ ผมทำอยู่ที่จังหวัดอ่างทองครับ

สำหรับคุณภาพ ผมวัดค่าความถ่วงจำเพาะ และความเป็นกรด ได้ตามมาตราฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนครับ

ส่วนถ่านไม่มีปัญหาครับ เผาได้เท่าไหร่ไม่พอขายครับ ลูกค้าติดใจเพราะถ่านแรง ติดนาน

ติดง่ายครับ

ตอนนี้ทดลองทำเตาเผาถ่านแบบ200ลิตร ค่ะแต่ประสบปัญหาเตาระเบิด เนื่องจากอะไรก็มิอาจทราบได้ เลยมีข้อสงสัยคะ

1.อยากทราบว่าเมื่อใส่ไม้ในเตาเสร็จแล้ว ต้องเอาฝาถังของมันที่ตัดเอาไว้ครอบกลับเข้าที่เดิมหรือเปล่า??? แล้วทำไงต่อ????

2.ต้องเอาดินถมทับข้างบนเตามากไหมคะ????

3.การจุดไฟหน้าเตาทำอย่างไง???? แล้วจะรู้ได้ไงว่าไฟติดแล้ว?????

4.ปิดหน้าเตาตอนไหน???

ช่วยตอบทีเน้อ!!!ขอบคุณหลายๆๆๆๆๆ

เด็กอยากลอง

ถึง คุณพระนอกกรุ ดิฉันมีความสนใจในน้ำส้มควันไม้อยู่ค่ะ

คิดจะเอามาผสมในปุ๋ยอินทรีย์ ตอนนี้หาแหล่งผลิตที่ราคาไม่แพงมากนัก แต่ได้คุณภาพ

อยากรบกวนค่ะ ถ้าทางบริษัทฯ สนใจจะสั่งซื้อน้ำส้มควันไม้จากท่าน ขอให้ท่าน

เสนอราคามาได้ที่ [email protected] นะคะ

จาก...คุณอุ๊ (หาดใหญ่)

ที่นี่มีน้ำส้มควันไม้คุณภาพดีขาย..ราคากันเอง

อยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอเสนา

สนใจติดต่อ 084-1067024

เพราะเราอยากให้ท่านได้ของดี มีประสิทธิภาพ

ผมทำเกษตรอินทรีย์ครับ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง คงมีปริมาณไม่มากพอส่งในเชิงอุตสาหกรรมนะครับ และไม้ยูคาที่ผมนำมาเผาก็หมดแล้ว จึงไม่สามารถรองรับคำสั่งซื้อเชิงอุตสาหกรรมได้ครับ อย่างไรก็ตามขอขอบคุณเป็นอย่างสูงที่ให้ความสนใจ คิดว่าคงมีโอกาสได้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ทางบริษัทคุณอุ๊ผลิตนะครับ ปัจจุบันผมใช้ทำปุ๋ยตามวิธีของกรมที่ดินและปราชญ์ชาวบ้านบางท่าน แต่ติดปัญหาการพิสูจน์คุณภาพปุ๋ยที่ได้ เพราะหากทำแล็ปคงต้องใช้เงินมหาศาลทีเดียวครับ หากมีคำแนะนำประการใด ขอคำชี้แนะด้วยครับ

ไม่เป็นไรค่ะ ขอบคุณมากนะคะ

อยากทราบว่าสามารถทำน้ำส้มครันไม้ได้จากไม้ทุกชนิดหรือเปล่าครับ ตอนนี้มีเตาเผาถ่านขนาน 3.2x3.5x0.9 เมตร กำลังหาวิธีดัดแปลงอยู่ครับ และหากผลิตมากๆจะมีตลาดรองรับอย่างไรบ้างครับ

ผมทำน้ำส้มควันไม้ไดหลายลิตรแล้วเหลือรอการใช้ ถ้าครบสามเดือนจะลองใช้กับส้มโอก่อนเป็นรายแรกไม่รู้จะได้ผลขนาดไหนต่อไปจะใช้กับพวกไม้ มะฮอกกานี ไม้ยางนา พยอม ไม้ขุดล้อมต่าง มีผู้ใดเคยใช้แบบผมบ้าง แนะนำดด้วยผมปลูกมะฮอกกานไว้มาก ว่างจะเอารูปให้ดู ส่วนการเผาถ่านเดี๋ยวนี้ได้น้ำส้มครั้งละประมาณ 4 ลิตร แต่ยังไม่แยกน้ำมันดิน(ยังไม่ถึงสามเดือน)ใครมีวิธีแยกแบบง่ายช่วยแนะนำบ้างนะครับ ส่วนไม้ใช้ไม้ไผ่รวกที่เหลือจากการขายตอที่เขาเอาไปปลูก น้ำส้มออกดีมาก ถ่านก็ดีแต่ต้องแนะนำเพราะไม่มีคนเคยใช้ถ่านไม้ไผ่ สนใจมาดูได้หรือโทรมาคุยกับ ตำรวจพอเพียงบ้าง 0896021145 หรือ gmail ข้างบนก็ได้ อยู่เมืองสระแก้วครับผม [email protected] ผมรักธรรมชาติชอบต้นไม้ได้ทั้งเงินและความสุขหวังว่าคงจะมีผู้แนะนำผมบ้าง หรือผู้ใช้แล้วช่วยยืนยันเพื่อกำลังใจผมบ้างขอบคุณล่วงหน้าครับกระผม

ผมย้ายการเขียนบล็อกไปที่ http://www.bansuanporpeang.com
มีอะไรคุยกันที่เวบ หรือ [email protected]

ขอบคุณมากนะคะ

พอดีที่รร.ก็กำลังหาแนวทางในเรื่องนี้อยู่ค่ะ

ได้ความรู้ที่เห็นชัดจากการปฏิบัติจริงค่ะ

เมื่อวานคูรพาพวกเราไปที่ วิทยาลัยเกษตร ฯ ชุมพร

ไปดูการทำนําส้มควันไม้

เมื่อเผาถ่านเสร็จจะได้ถ่านคาร์บอนบริสุทธิ์

ทำไมในเว็บนี้ถึงไม่มีบอกไว้ล่ะครับ

ถ้ามีข้อมูลเรื่องนี้ด้วยก็จะเป็นการดียิ่งขึ้นนะครับ

>เมื่อเผาถ่านเสร็จจะได้ถ่านคาร์บอนบริสุทธิ์
>ทำไมในเว็บนี้ถึงไม่มีบอกไว้ล่ะครับ

ปกติผมจะไม่ค่อยตอบในนี้นี้นะครับ แต่เมื่อมีการพาดพิง
ก็จำเป็นต้องตอบ
หัวข้อเรื่องนี้เป็นเรื่องการเก็บน้ำส้มควันไม้ ไม่ใช่การเผาถ่าน

การเอาถ่านทุกครั้งใช่ว่าจะได้คาร์บอนบริสุทธิ์ทุกครั้งไปอยู่ที่ความชำนาญของคนเผาด้วย

ผมไม่ได้เขียนบล็อกที่นี่แล้ว มีอะไรติดตามได้จาก

http://www.bansuanporpeang.com หรือ คุยกันได้ที่ [email protected]

อยากทราบว่าไม้ไผ่ที่ใช้ต้องเจาะรูทุกข้อรึเปล่าครับ...

วิธีการเก็บน้ำส้มควันไม้ดีมากเลยค่ะ

รบกวนสอบถามค่ะ

ไม้ไผ่ตรงที่นำมาต่อเข้ากับท่อใยหินนั้น ต้องเจอะปล้องภายในตรงกลางข้อปล้องหรือเปล่าคะ สงสัยว่าควันเข้าไปในปล้องไม้ไผ่ได้อย่างไร

นายวุฒิ โชติธนธิติพร

ได้ทดลองทำตามรูปภาพแล้ว ปรากฏว่า มีน้ำออกมาเหมือนยางข้น ๆ เหนียวสีน้ำตาลออกดำ ทำไมไม่ออกเป็นน้ำครับ

ช่วยกรุณาบอกได้ไหมครับ ว่าผิดขั้นตอนตรงไหนครับ จะได้ไปปรับวิธีการทำใหม่ (เพิ่งหัดทำครั้งแรก)

ถ้าทำน้ำส้มควันไม้จากการเผาแกลบแทนจะได้ไหมอ่า

สวัสดีครับ ผมอยากทราบว่าน้ำส้มควันไม้สามารถฆ่าเชื้อราในหน้ายางที่เปิดกลีดแล้วได้มั้ยครับ

บ้านผมดีกว่า นี้อีก.........................อิอิอิ

ไปดูการทำน้ำส้มควันไม้ได้ที่ไหนค่ะ

บอกด้วยได้ไหมค่ะ

พอดีทำวิจัยส่งอาจารย์อ่ะคะ

ขอบคุณนะคะ

คนที่คุณก็รู้ว่าใคร

มีประโยชน์มากๆค่ะ>o<

น้ำส้มควันไม้นี่มีประโยชน์เจงๆนะ

กำลังจะทำโครงงานวิทยาศาสตร์พอดีนึกออกแล้วว่าจะทำอะไรดี^^

มีน้ำส้มควันไม้ขาย กิโลกรัมละ 50 บาท หน้าร้านอยู่ ต.พระแท่น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 081-9812542 สนใจเชิญครับ

น้าส้มไม้ไทยเวย์ (Thaiways Wood Vinegar)

เป็นผลผลิตที่ได้จากการเผาถ่านไม้ปลูกเช่น สะเดา ยูคา ไผ่ กระถิน กะลามะพร้าว กะลาลูกตาล ผสมในปริมาณใกล้เคียงกัน

สถานที่ผลิตอยู่ที่ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี และที่ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว

สถานที่บรรจุพร้อมกับสกัดน้ำมันและสารพิษออกจากน้ำส้ม อยู่ที่ 201 ม.5 ต.คูคต ฮ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี โทร 02 987 3541

ลักษณะทั่วไป

เป็นของเหลวสีเหลืองน้ำตาลเข้มกลิ่นควันไม้ รสเปรี้ยวจัด ไม่มีตะกอนและน้ำมันดำ จึงไม่มีสารที่เป็นอันตรายต่อความเจริญของพืช ค่าความเป็นกรด( pH)ประมาณ 2.5

ประโยชน์

ใช้ผสมน้ำฉีดพ่นเพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้ต้นไม้ ช่วยการติดผล เพิ่มรสหวาน ใช้ไล่แมลงและสัตรูพืชได้เกือบทุกชนิดในไร่ นา สวน โดยไม่มีอันตรายต่อ พืช คนและสัตว์เลี้ยง ถ้าใช้ถูกวิธี หรือเข้าดูที่อ่านได้ง่ายๆจากท่านผู้รู้ ในเว็บต่างๆ

ราคาจำหน่ายน้ำส้มไม้ไทยเวย์ ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดส่งและปริมาณการซื้อ

1 จำนวนเล็กน้อยจะจัดส่งให้ทางไปรษณีย์ ราคารวมค่าส่ง

บรรจุขวด 500 ซีซี ขวดละ 60บาท

บรรจุขว600 ซีซี ขวดละ65บาท

บรรจุ1,000 ซีซี ขวดละ75บาท

บรรจุ 1,500 ซีซี ขวดละ100บาท

2 จัดส่งใน กทม.และปริมณฑล โดยใส่ใน ถังพล้าสติก

10-50 กก.ๆละ 55บาท

50-100 กก.ๆละ 50บาท

100 กก.ขึ้นไป กก.ละ45บาท

3 ส่งต่างจังหวัด จะบรรจุน้ำส้มในถังพล้าสติกหนา ผู้ซื้อต้องมารับของที่บริษัทรับขนส่งปลายทาง ที่จังหวัดหรืออำเภอที่ผู้ซื้อกำหนด และจ่ายค่าส่งประมาณ กก.ละ 1 บาท

สั่งซื้อ 50-100กก. ๆ .ละ 45 บาท

สั่งซื้อ 100 กก.ขึ้นไป กก.ละ 40 บาท

4 มารับที่จำหน่าย/ บรรจุ อยู่ที่201 ซอยลำลูกกา11/10 ถ.ลำลูกกา11(คลอง2)

นำภาชนะเปล่าไปใส่ด้วย 35 บาท/กก.

ไม่นำภาชนะไปใส่ 38 บาท/กก..(ให้ผู้ขายจัดหาภาชนะใส่ให้)

การสั่งซื้อ

โทรไปที่ ลุงอรรถ 081 459 0671 หรือที่ Thaiways คลองสอง 02 987 3541

ส่งข้อความไปที่ [email protected]

การจ่ายเงิน

สั่งไม่เกิน 2,000 บาท ของถึงถูกต้อง พอใจแล้วจึง โอนเงินใน 7วัน(ไม่พอใจไม่ต้องจ่ายและไม่ต้องคืนของ)

สั่งเกิน 2,000บาทจ่ายก่อน 50% ที่เหลือเมื่อรับของถูกต้องและพอใจแล้วจึงจ่ายภายใน 7วัน

บัญชี ที่โอนและจ่ายเงินทางธนาคาร ชื่อ อรรถพล ศิริ (Attaphon Siri)

ธนาคารกรุงไทย สาขาบางขุนนนท์ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 058 101 8443

ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางขุนนนท์ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 753 203 8140

ธนาคารกรุงเทพ สาขาลำลูกกาคลอง 2 บัญชีสะสมทรัพย์ เลขที่ 071 036 3276

ธนาคารกรุงศรีอยุธยาสาขาลำลูกกาคลอง 2 บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 417 116 3649

ธนาคารไทยพานิช สาขาลำลูกกาคลอง2 บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 351 221 2654

ของดีราคาถูกเพื่อ อยากให้คนไทยปลอดภัยจากโรคและมีอายุยืน โดยกลับมาใช้สารจากธรรมชาติที่ปลอดภัยให้ผลผลิตมากกว่า

หรือต้องการซื้อเตาเผาถ่าน หรือขอลอกแบบเตาเอาไปทำก็ติดต่อไปได้ที่ 081 459 0671 ยินดีให้ความรู้ที่มีเล็กน้อย ตลอดเวลา

อยากลองทำดูเหมือนกันครับ น้ำส้มควันไม้

เป็นประโยชน์มากครับ ถ้ายังไงขออนุญาตนำไปเผยแพร่ต่อให้กับผู้สนใจด้วยนะครับ

ในการทำน้ำส้มควันไม้ควรใช้ไม้อะไรดีคะ

สมาชิกใหม่  ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

ที่บ้านมีท่อระบายน้ำเก่าเป็นคสล. ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง40-45 cm. ประยุกต์ใช้แทนถังได้ไหมคะ ออกแบบไงดี

ผมสมาชิกใหม่ สวัสดีคับ ได้รับสาระดีๆมาหลายๆสาระขอบคุณคับ

มีน้ำส้มควันไม้ขายคะ 0812928945

มีถ่านกะลา ถ่านอัดแท่ง น้ำส้มควันไม้ขายในราคาย่อมเยาว์ สนใจติดต่อ คุณเอ 0812928945 0847553107

เป็นข้อมูลที่ดีมากอยากให้มีรูปมากกว่านี้  และขั้นตอนวิธีการทำที่ละเอี่ยดกว่านี้

ไม้ไผ่ให้น้ำส้มควันไม้ได้ดีไหมครับ

ใช้ไม้ชนิดใดเผาเป็นเชื้อเพลิงได้มั้งค่ะ

แล้วไม้ไหนได้ผลดีที่สุดค่ะ

มาดูตัวอย่างเตาผลิตน้ำส้มควันไม้ได้ที่ สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ (ห้วยเมืองงาม) ต.ท่าตอน อ.แม่อายจ.เชียงใหม่

อยากเห็นนักวิจัยพื้นบ้านแบบนี้มากๆ ครับ ชอบที่จดบันทึก ให้เวลา ข้อสังเกต

ไม้ไผ่ต้องเจาะรูระหว่างข้อทั้งหมดเลยมั้ยคับ

ผมอยากลองทำดูเลยต้องศึกษาจากท่านทั้งหลายที่เป็นผู้รู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท