มีอะไร ข้างในเนย


เราๆ ท่านๆ อาจจะคิดว่า ขนมปังทาเนยเป็นอาหารเช้าง่ายๆ เบาๆ สบายๆ เพียงแค่ขนมปังทาเนยสักแผ่น กาแฟสักแก้วก็พอไปทำงานได้อย่างสบาย ไม่ทันได้ฉุกคิดว่า ข้างในเนยมีอะไร...

เราๆ ท่านๆ อาจจะคิดว่า ขนมปังทาเนยเป็นอาหารเช้าง่ายๆ เบาๆ สบายๆ เพียงแค่ขนมปังทาเนยสักแผ่น กาแฟสักแก้วก็พอไปทำงานได้อย่างสบาย ไม่ทันได้ฉุกคิดว่า ข้างในเนยมีอะไร...

คณะกรรมการอาหารและยาแนะนำให้คนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปกินไขมันอิ่มตัวไม่เกินวันละ 20 กรัม

Ski Jump

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐร่วมกับสถาบันอาหาร โครงการอาหารปลอดภัย องค์กรเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรมตีพิมพ์ผลการตรวจสอบไขมันอิ่มตัวในเนยที่มีขายในประเทศไทยพบว่า มีไขมันอิ่มตัวดังต่อไปนี้...

  • เนยเทียม(มาร์การีน)สูตรน้ำมันมะพร้าวผสมน้ำมันปาล์ม ยี่ห้อหนึ่ง = 45.13 กรัม/ดล.(ไขมันอิ่มตัว 45.13 กรัม/เนย 100 กรัม)
  • เนยเทียม(มาร์การีน)สูตรไขมันถั่วเหลืองผสมน้ำมันปาล์ม ยี่ห้อสอง = 30.61 กรัม/ดล.(ไขมันอิ่มตัว 30.61 กรัม/เนย 100 กรัม)
  • เนยจืด ยี่ห้อสาม = 43.38 กรัม/ดล.(ไขมันอิ่มตัว 43.38 กรัม/เนย 100 กรัม)
  • เนยจืด ยี่ห้อสี่ = 48.11 กรัม/ดล.(ไขมันอิ่มตัว 48.11 กรัม/เนย 100 กรัม)

 Ski Jump 

สรุปง่ายๆ คือ เนยเทียมและเนยแท้ต่างก็มีไขมันอิ่มตัวสูง ผลการตรวจสอบนี้ไม่ได้ระบุว่า เนยเทียมมีปริมาณไขมันทรานส์ หรือไขมันเติมไฮโดรเจนมากเท่าไร

ไขมันทรานส์ (transfat) เป็นไขมันที่แปรรูป จากเดิมน้ำมันใสที่ไม่ละลายในน้ำ นำมาเติมไฮโดรเจน ทำให้กลายเป็นไขมันข้นขุ่น และละลายน้ำได้ดีขึ้น ตัวอย่างไขมันทรานส์ที่พบบ่อยได้แก่ ครีมเทียม(คอฟฟี่เมต)

Ski Jump

ไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์มีส่วนทำให้ร่างกายสร้างโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น นับเป็นอาหารที่มีอันตรายต่อสุขภาพ จึงควรกินให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

ถ้าวันไหนกินเนยหรืออาหารผสมเนย เช่น เนยทาขนมปัง พิซซ่า ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่(ขนมปัง) ฯลฯ ควรกินผักผลไม้ให้มากขึ้น และกินอาหารมันชนิดอื่นให้น้อยที่สุดต่อไปอีก 1-2 วัน เพื่อลดความเสี่ยงโรคเส้นเลือดอุดตัน กินข้าวกล้องหรือข้าวโอ๊ตปลอดภัยกว่ากันเยอะเลย...

Ski Jump

หมายเหตุ:

  • กรัม/ดล. หรือกรัม% เท่ากับจำนวนกรัมของไขมันอิ่มตัวเป็นกรัมต่ออาหาร 100 กรัม

Ski Jump

แหล่งข้อมูล:

  • ขอขอบคุณ > คอลัมน์มันมากับอาหาร > กรดไขมันอิ่มตัว: สาเหตุโรคร้ายหลายชนิด. ไทยรัฐ. 27 มกราคม 2549. หน้า 7. // ข้อมูลจากสถาบันอาหาร โครงการอาหารปลอดภัย องค์กรเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม (www.nfi.or.th & http://foodsafety.nfi.or.th).
  • ขอขอบคุณ > คณะกรรมการอาหารและยา (www.fda.moph.go.th & www.oryor.com).
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์มะเร็งลำปาง จัดทำ > ๒๗ มกราคม ๒๕๔๙.
หมายเลขบันทึก: 13589เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2006 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะอาจารย์ คำแนะนำอาจารย์ดีมากเลยค่ะ ซึ่งขณะที่ตัวหนูเองกำลังดูแลสุขภาพ เนื่องจากโคลเลสเตอรอลสูงกว่าปกติ คือ ขึ้นมา 250 คุณหมอที่รับการตรวจแนะนำให้ควบคุมอาหารและให้ออกกำลังกาย ภายใน 3 เดือน ต้องทำการเจาะเลือดและตรวจกันใหม่ อยากจะเรียนถามอาจารย์ถ้าเราควบคุมให้ลงไปที่200ไม่ได้ จะมีผลอย่างไร เนื่องจากได้รับความรู้มาอีกว่า ถ้าสูงเกิน 220 จะมีโอกาสเป็นอัมพาต 25 เปอร์เซ็นต์ จริงตามนี้มั้ยค่ะ ขอบคุณค่ะ

นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • โคเลสเตอรอล 70 % มาจากภายใน(ตับสร้างขึ้น) 30 % มาจากภายนอก(อาหาร)
  • การลดโคเลสเตอรอลควรระวังอาหารที่เพิ่มการสร้างโคเลสเตอรอลที่ตับ โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ โดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม กะทิ คอฟฟี่เมต เนยเทียม(มีมากในเบเกอรี่) ไขมันสัตว์
  • ต่อไปให้ลดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง โดยเฉพาะนม(ให้กินนมไขมันต่ำ หรือไม่มีไขมันแทน) อาหารทะเล(ยกเว้นปลากับปลิง) เครื่องใน และสมอง กินเนื้อให้น้อยลง กินข้าวกล้อง ถั่ว งา ผักเพิ่มขึ้น
  • และลดน้ำตาลลง เช่น ลดขนม ไม่กินนมเกิน 2 แก้ว (400 ml.)ต่อวัน กินผลไม้ให้น้อยลง ฯลฯ
  • อย่าดื่มเหล้า เหล้าและน้ำตาลเพิ่มไขมันไตรกลีเซอไรด์
  • งดบุหรี่ บุหรี่ทำลายเส้นเลือด
  • ออกกำลัง เดินเร็วอย่างน้อยวันละ 30 นาที(อย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ดีกว่านั้นคือทุกวัน) หรือวิ่ง 20 นาที(อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์) ใช้บันไดแทนลิฟต์
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • เสนอให้คุณสุวรรณาซื้อหนังสือ "โคเลสเตอรอล" ของอาจารย์ นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์มาอ่าน อาจารย์ท่านมีคำแนะนำดีๆ มากมาย เช่น ให้คนที่โคเลสเตอ
    รอลสูงกินนมถั่วเหลืองแทนนมสัตว์ เพราะนมสัตว์(แม้จะเป็นชนิดไม่มีไขมัน)ก็มีน้ำตาลนมสูงถึง 4.5 % ฯลฯ เนื่องจากน้ำตาลเพิ่มไขมันไตรกลีเซอไรด์
  • ขออภัยครับ... ข้อคิดเห็นตอนก่อนหน้านี้แนะนำให้กินนมไม่เกิน 400 มล. อันนั้นยังไม่ถูกต้อง ที่ถูกคือ ควรทำตามที่อาจารย์ นพ.สมเกียรติท่านว่า คือ งดนมสัตว์ กินนมถั่วเหลือง
  • เสนอให้คุณสุวรรณาอ่านบทความย้อนหลังเรื่อง "ประเมินความเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจ", "เลือกนมอย่างไรดี", "ออกกำลังช่วยอะไร ไม่ช่วยอะไร" และ "ไข่กับโคเลสเตอรอล"
  • ข่าวดีครับ...อาจารย์ นพ.ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา อายุรแพทย์โรคหัวใจท่านกรุณารับตอบคำถามที่ webboard ของ www.thaiheartweb.com หรือถามที่ [email protected]
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ผมมีเรื่องที่อยากจะเล่าให้ฟังคือ คุณพ่อผมเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน ท่านเสียชีวิตจากหัวใจวายทันทีที่อายุ 52 ปี ผมก็เคยมีโคเลสเตอรอลสูงถึง 225 ทั้งๆ ที่ผอม วิ่งออกกำลังกายเป็นประจำ และเดินค่อนข้างมากแทบทุกวัน
  • เมื่อทบทวนดูว่า อะไรน่าจะเป็นสาเหตุ พบว่า ช่วงที่โค
    เลสเตอรอลสูงกิน "ชิ้นปิ้ง(หมูปิ้ง)" บ่อย อาหารทางเหนือใช้น้ำมันหมู และน้ำมันปาล์ม ซึ่งมีไขมันอิ่มตัวสูงมาก
  • ผมเลยเปลี่ยนอาหารใหม่เป็นหุงข้าวกล้อง กินผักมากขึ้น งดกินหมูปิ้ง กินเนื้อแดงน้อยลง และใช้น้ำมันพืชที่ไม่ใช่น้ำมันปาล์มแทน
  • เมื่อตรวจเลือดติดตามก็ได้โคเลสเตอรอล 200 พอดี แถมมีโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) เพิ่มขึ้น (43-71) ครั้งหลังสุดนี่โคเลสเตอรอลประมาณ 179 (ถ้าคุมด้วยอาหารและออกกำลังไม่ได้ 6 เดือน แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยา)
  • เสนอให้คุณสุวรรณาหุงข้าวกล้อง และทำกับข้าวกินเองอย่างน้อยวันละ 1 มื้อ อาหารที่ทำขายใช้น้ำมันปาล์มถึง 70 % นี่คือ ตัวอันตราย
  • ขอให้ประสบความสำเร็จในเรื่องสุขภาพ และมีความสุขความเจริญครับ...

ขอขอบคุณ สำหรับคำแนะนำของท่านอาจารย์มากนะคะ อาจารย์ละเอียดต่อการให้คำแนะนำมากเชียวคะ  หนูจะรับไปปฏิบัติตัวเองและครอบครัวอย่างเคร่งครัดเลยนะคะ   ซึ่งสัปดาห์หน้าต้องโดนคุณหมอเจาะเลือดอีกแล้วค่ะ ขอบคุณสำหรับคำอวยพรจากคุณหมอ เช่นกันค่ะขอให้คุณพ่อมีสุขภาพแข็งแรง มีความสุขในชีวิตนี้ยิ่งๆขึ้นนะคะ

นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
ขอขอบคุณ และขอให้มีสุขภาพดีครับ...//
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท