วิจัยเพื่อรู้กับวิจัยเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง บริหารจัดการต่างกัน


วิจัยเพื่อรู้กับวิจัยเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง  บริหารจัดการต่างกัน

         ผมเกิดความคิดนี้ระหว่างร่วมประชุม อกพร. ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์   เมื่อวันที่ 23 ม.ค.49   กพร. ว่าจ้างอาจารย์ที่นิด้าทำวิจัยสำรวจกระบวนทัศน์  วัฒนธรรม  และค่านิยมของข้าราชการไทยตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์   ได้ผลออกมาน่าสนใจ

         คำถามของผม (ถามตัวเอง) ก็คือ   จะเอาผลวิจัยนี้ไปทำอะไร

         ส่วนใหญ่มักจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม  แจกจ่าย  แต่วิธีนี้จะไม่สร้างการเปลี่ยนแปลง

         บางคนบอกว่าจะเอาผลไปนำเสนอนายกรัฐมนตรี   เสนอผู้มีตำแหน่งในรัฐบาล

         ผมบอกตัวเองว่า   ถ้าผมเป็นผู้รับผิดชอบ   ผมจะวิเคราะห์ใหม่   หาบุคคล/หน่วยงานที่มีคะแนน (ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์) สูงมาจำนวนหนึ่ง   แล้วหาคนไป "จับภาพ" คัดให้ได้ "ของแท้" ในระดับพฤติกรรม   เชิญมา ลปรร. ว่าทำไมจึงมีพฤติกรรม/การปฏิบัติตามคุณลักษณะดังกล่าว   แล้วนำออกเผยแพร่รวมทั้งชักชวนสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมหน่วยราชการดังกล่าว

         เป็นการวิจัยค้นหาความดี   เอามาขับเคลื่อนสังคม

วิจารณ์  พานิช
 24 ม.ค.49

หมายเลขบันทึก: 13581เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2006 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอสนับสนุนความคิดของอาจารย์วิจารณ์ค่ะ

เรียน อาจารย์/ท่านผู้รู้

       ผมกำลังศึกษาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาและสนใจเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ ที่เป็นรูปแบบ นวตกรรม อยากทราบว่าผมจะสามารถศึกษาตัวอย่างการจัดการความรู้ โดยเฉพาะในระดับชุมชน ว่าเขาทำกันอย่างไร มีข้อดี ข้อด้อยอย่างไร ไม่ทราบมีผู้ศึกษาไว้บ้างหรือเปล่า รวบรวมไว้บ้างหรือเปล่า สถาบัน KMI มีเอกสารเหล่านี้บ้างหรือเปล่าจะได้สามรถยืม หรือมีท่านผู้ใดจะช่วยแลกเปลี่ยน เติมเต็มองค์ความรู้เหล่านี้ได้บ้าง     ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท